ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Skooldio ได้จัดงาน Beta Conference ขึ้นมาเป็นครั้งแรก หมายมั่นว่าจะเป็นพื้นที่สำหรับทุกคนที่อยากเก่งขึ้น อยากอัพสกิลทักษะแห่งอนาคต สำหรับมนุษย์ที่อยากเรียนรู้ตลอดชีวิตได้มาเจอกัน คุยกัน มารู้จักว่ามีอะไรให้เราเรียนรู้ได้อีกในวันพรุ่งนี้

ไฮไลท์หลักก็เลยตกเป็นของ speaker ที่เราจะต้องคัดเลือกอย่างดี เพราะเขาและเธอจะเป็นตัวแทนของความรู้ ทักษะสมัยใหม่ เป็นอนาคตของบ้านเมืองเรา เป็นแบบอย่างให้กับคนที่มาฟังได้เก็บเกี่ยวและเรียนรู้

Speaker แต่ละคนก็มีสไตล์แตกต่างกันไป การพูด talk สั้นๆ แค่ 20 นาทีเพื่อสร้าง awareness กระตุ้นความอยากจะเรียนรู้ของผู้ฟังนับว่าเป็นเวลาที่น้อยมาก และยากมากที่จะทำมันให้สำเร็จ อีกทั้งยังเป็น Beta Conference ครั้งแรก ยังไม่มีตัวอย่างและ reference ที่ช่วยให้เห็นภาพชัดเจนนักว่า talk ควรออกมาในรูปแบบไหน

ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blogออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog

ผมและพี่ต้า พี่ต้าผู้ช่ำชองเวทีและเคยขึ้นพูดใน TEDxBangkok มาก่อน (และเราสองคนปลาบปลื้ม TED Talk มาก) เลยเตรียมสิ่งที่เราเรียกกันเองว่า The 5-minute guide to delivering a good talk ให้กับ speaker ทุกท่านได้อ่านเพื่อเตรียมตัวและเห็นภาพเดียวกัน ว่า talk และ conference จะออกมาประมาณไหน โดยเรียบเรียงจากหนังสือสองเล่ม คือ TED Talks โดย Chris Anderson และ Talk Like TED โดย Carmine Galio

ในโอกาสนี้เราก็เลยเอามาแบ่งปันให้กับทุกคน สำหรับใครที่เตรียมจะขึ้นพูด เตรียมสอน เตรียมเป็นวิทยากร ในงานไหนก็ตาม คิดว่าจะช่วยให้คุณเตรียม talk ของคุณให้พิเศษมากขึ้น ให้ inspire และ impact กับคนฟังมากขึ้นครับ 😀

ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog
ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog

5 steps to describe your talk

แอบเล่าเบื้องหลังให้ฟังเล็กน้อย 😀 ก่อนที่เราจะสรุปกันว่า speaker คนไหนจะพูดในหัวข้อใด ผ่าน process มาเยอะพอสมควร (นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม agenda ถึงได้มาประกาศเอาสัปดาห์สุดท้ายก่อนงาน) เราเริ่มต้นจากการนัดคุยกันว่ามีเรื่องอะไรน่าสนใจบ้าง/พูดเรื่องอะไรดี (ถ้า speaker คนไหนธุระเยอะหน่อยก็ call กัน หรือบรีฟกันทาง chat เลยก็มี) เมื่อคุยเสร็จ ผมก็จะเขียน minute of meeting สรุปใจความสำคัญ 5 ข้อ ส่งกลับไปให้ speaker ด้วย format ที่แอบบอกใบ้ไปว่า อยากเห็นอะไรใน talk ซึ่งจะขอยกตัวอย่างไปพร้อมๆ กับ talk หนึ่งในงานของเรา

Introduction: Technology ใน China วันนี้มีอะไรบ้าง

Context: เทรนด์ในจีนที่คนไทยไม่ค่อยรู้ วิสัยทัศน์และการเปลี่ยนแปลงของคนจีนที่ unique ไม่เหมือนใคร และไม่เหมือนอเมริกา เช่น Alibaba เกิดจากการแข่งขันที่ดุเดือดมาก และเรื่อง AI

Main Concepts: misconception ของคนไทยเกี่ยวกับธุรกิจจีน อะไรที่ drive ธุรกิจพวกนี้ ให้จีนกระโดดเข้ายุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว

Practical Implications: สุดท้ายแล้วมัน connect กันยังไง ระหว่าง tech กับ โลกภายนอกที่ไม่ใช่ tech

Conclusion: The Rise of China น่าจะเป็นเทรนด์ใหญ่สุดในยุคพวกเรา มีเรื่อง tech ต่างๆ เพราะมันไม่ยากที่จะเรียน แข่งขันกับอเมริกาได้ และคนจีนก็เป็นคนที่ใฝ่รู้มาก การ rise ของ China ก็เป็น rise ของ technology ด้วย และเป็น mindset ของคนจีนว่าเป็นยุคของเทคโนโลยี อยากจะเก่งเทคโนโลยีตลอดเวลา สมัยก่อนเราอาจจะเรียนจากตะวันตก แต่สมัยนี้เราต้องเรียนจากจีน

หลังจากนั้น speaker ก็จะกลับไปเตรียม content อีกรอบหนึ่ง สุดท้ายแล้วก็ออกมาเป็น Talk China 5.0: The Rise of Chinese Tech โดย ดร. อาร์ม ตั้งนิรันดร นั่นเอง (รอติดตามวีดิโอ talk ในงานได้ เร็วๆ นี้!) โดยโครงสร้างของ 5 ขั้นตอนนี้คือ

  1. Introduction เกริ่นนำ ดึงความสนใจ
  2. Context ข้อมูลที่ผู้ฟังควรรู้ก่อน ถึงจะอินกับ talk ของเรา
  3. Main Concepts ใจความสำคัญที่เราอยากจะสื่อสาร
  4. Practical Implications เอามาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร / ยกตัวอย่าง
  5. Conclusion บทสรุป และ key takeaways

5 ข้อนี้จะเป็นตัว frame ความฟุ้งในหัวของเราให้เหลือเพียงแก่น หรือใจความสำคัญที่เราอยากจะสื่อสาร และช่วยในการเรียบเรียง talk ให้ออกมาเข้าที่เข้าทาง ไม่กว้างไป ไม่แคบไป และที่สำคัญที่สุดคือ practical implications ที่จะเป็นประโยชน์กับผู้ฟัง ให้นำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ และผู้ฟังก็จะจดจำ talk เราได้นานอีกด้วย ลองเรียบเรียงกับ talk ของตัวเองกันดูนะครับ

ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog
ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog

Checklist to make sure you are delivering a good talk.

Checklist นี้สร้างขึ้นจากมุมมองของผู้ฟัง เพื่อเตรียมความพร้อมให้ตัวคุณและเรื่องราวของคุณ มีความหมายต่อผู้ฟังมากยิ่งขึ้น

ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog
  • Is this a topic I’m passionate about? สิ่งที่คุณจะเล่าเป็นเรื่องที่คุณหลงใหลหรือเปล่า?
  • Does it inspire curiosity? สิ่งที่คุณจะเล่า กระตุ้นความอยากรู้ ความสงสัยของผู้ฟังหรือเปล่า?
  • Will it make a difference to the audience to have this knowledge? ผู้ฟังจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นไหมเมื่อได้ฟังสิ่งที่คุณเล่า… หรือฟังแล้วก็ผ่านไป
  • Is the information fresh, or it is already out there? สิ่งที่คุณจะเล่าคือเรื่องสดใหม่ หรือว่าเป็นเรื่องที่มีให้เห็นอยู่แล้วทั่วไป?
  • Can I truly explain the topic in the 20-minute time slot allocated, complete with necessary examples? คุณสามารถเล่าเรื่องราวของคุณในกรอบเวลาที่กำหนดได้หรือไม่
  • Do I know enough about this to make a talk worth the audience’s time? คุณเข้าใจสิ่งที่จะเล่ามากพอที่จะทำให้ผู้ฟังไม่รู้สึกเสียเวลาหรือไม่?
  • Do I have the credibility to take on this topic? ต้องเป็นคุณเท่านั้นหรือไม่ที่จะเล่าในเรื่องนี้ได้?

Checklist ด้านบนจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะกระตุ้นความตั้งใจของผู้พูด ให้ลงรายละเอียดและเนรมิตเรื่องราวที่จะเล่าออกมาให้ได้ดีที่สุด เพื่อตอบคำถามเหล่านั้น

ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog

เมื่อได้แก่นของสิ่งที่คุณจะเล่าแล้ว ก็มี tips ที่จะช่วยเกลา talk ให้ออกมาสนุก น่าติดตาม และน่าจดจำมากขึ้น 8 ข้อ

8 powerful tips for public speaking

1. Be passionate about your talk

Dig deep to identify your unique and meaningful connection to your talk. Passion leads to mastery and your presentation is nothing without it. You cannot inspire others unless you are inspired yourself

วิทยาศาสตร์เผยว่าความหลงใหลเป็นสิ่งที่ติดต่อถึงกันได้อย่างแท้จริง คุณมีโอกาสสูงกว่าในการโน้มน้าวและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ฟังหากสามารถแสดงออกถึงสายสัมพันธ์กับหัวข้อที่นำเสนออย่างกระตือรือร้น มีความหลงใหล และเปี่ยมความหมาย

น่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่คุณจะต้องรักในสิ่งที่คุณจะพูด

ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog
ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog

From Pixels to Passion จากความหลงใหลและทุ่มเทด้าน AI ของ ดร. ศุภศรณ์ สุวจนกรณ์ ที่ถ่ายทอดถึงผู้ฟัง

2. Master the arts of storytelling

Tell your stories to reach people’s heart and minds. Stories stimulate and engage the human brain, helping the speaker connect with the audience. Three effective types of stories are personal stories, stories about other people and stories about brand success

เหตุผลเดียวกับที่เราชอบดูหนัง ฟังเพลง ซีรี่ส์ มิวสิควีดิโอ หนังสั้น ละครเวที เพราะ ‘เรื่องราว’ กระตุ้นและทำให้สมองของเรามีส่วนร่วม สร้างเชื่อมโยงระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง และมีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ฟังจะเห็นด้วยกับมุมมองของผู้พูด โดย 3 เรื่องราวที่เรียบง่ายและได้ผล คือ

  • เรื่องราวส่วนตัว เล่าเรื่องราวที่มีแต่คุณเท่านั้นที่รู้ ทำให้มันเป็นส่วนตัว พาผู้ฟังเดินทางไปกับคุณ บรรยายให้ละเอียด ให้พวกเขาเห็นภาพจนจินตนาการว่าอยู่กับคุณในเหตุการณ์จริง
  • เรื่องราวเกี่ยวกับคนอื่น เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับคนอื่น ช่วยให้เรารู้สึกถึงอารมณ์ของคนในเรื่อง
  • เรื่องราวเกี่ยวกับความสำเร็จของแบรนด์ จะมีอะไรดีไปกว่าการได้ฟังตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงบนโลกใบนี้ และเชื่อมโยงตัวเองเข้าไปเพื่อหวังว่าเราก็สามารถสำเร็จได้เช่นกัน
ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog
ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog

เล่า personal story ในการนำ OKRs และ Moonshot Thinking ใช้กับธุรกิจของตนเองอย่าง Jitta จนประสบความสำเร็จ

3. Talk like having a conversation, practice makes perfect

Practice relentlessly and internalize your content so you can deliver the presentation as comfortably as having a conversation with a close friend. True persuasion occurs only after you have built an emotional rapport with your listeners and have gain their trust

ซ้อม ซ้อม แล้วก็ซ้อม! เวลาเรานั่งคุยกับเพื่อนสนิท เราไม่ต้องจด แต่เราก็สามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จงพูดให้เหมือนบทสนทนาระหว่างเพื่อน โดยองค์ประกอบในการถ่ายทอดข้อมูลผ่านคำพูดที่จะช่วยออกแบบ talk ของคุณคือ

  • อัตราเร็ว: ระดับความเร็วที่คุณพูด
  • ความดัง: เสียงดังหรือเบา
  • ระดับเสียง: ใช้เสียงสูงหรือต่ำ
  • การเว้นจังหวะ: หยุดพูดในช่วงสั้นๆ เพื่อเน้นคำสำคัญ

รวมถึงการใช้ท่าทาง ภาษากายด้วย ปล่อยให้เป็นธรรมชาติเหมือนอยู่กับเพื่อน แต่กว่าจะถึงจุดนั้นได้ก็ต้องซ้อม ซ้อม แล้วก็ซ้อม!

4. Teach me something new

Reveal information that’s completely new to your audience, packaged differently, or offers a fresh and novel way to solve an old problem. Because the human brain loves novelty. An unfamiliar, unusual, or unexpected element in a presentation intrigues the audiences

คุณรู้ไหมครับว่าใครเหยียบดวงจันทร์เป็นคนที่สองต่อจาก Neil Armstrong ครับ?

ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก… ใครได้ดูภาพยนตร์เรื่อง First Man ที่ฉายเมื่อปี 2018 อาจนึกออก แต่ถ้านึกไม่ออก ผมจะเฉลยให้ นั่นก็คือ Buzz Aldrin ครับ… ถึงจุดนี้หลายคนก็จะพยักหน้าแล้วบ่นว่าแย่หน่อยนะที่จำได้แต่ที่หนึ่ง จำชื่อคนที่สองไม่ได้ ผมจะบอกให้อีกอย่างครับ ว่าชื่อของเขาถูกเอาไปตั้งเป็นชื่อตัวละครในภาพยนตร์การ์ตูนที่ผมเชื่อมั่นว่าคุณจะต้องรู้จัก…

Buzz Lightyear ใน Toy Story ไงครับ 😊

นี่คือตัวอย่างของการเปิดเผยเรื่องราวใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน เพราะสมองมนุษย์ชอบความแปลกใหม่ องค์ประกอบที่ไม่คุ้นเคย ไม่ธรรมดา หรือคาดไม่ถึงในการนำเสนอข้อมูลจะทำให้ผู้ฟังตื่นเต้น ปลุกพวกเขาให้ตื่นจากความคิดเดิมๆ การเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ กระตุ้นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับรางวัล เหมือนตอนที่คุณเล่นเกมแล้วเข้าสู่ด่านใหม่เป็นครั้งแรก หลังจากเจอกับประสบการณ์ ‘ครั้งแรก’ แล้ว คุณจะจดจำมันแทบจะตลอดไป

ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog
ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog

5. Deliver jaw-dropping moments

The jaw-dropping moment in a presentation is when the presenter delivers a shocking, impressive, or surprising moment that is so moving and memorable. It grabs the listener’s attention and is remembered long after the presentation is over

จำเหตุการณ์นี้ได้ไหมครับ

มันคือเหตุการณ์ชวนอ้าปากค้างระดับตำนานที่เป็นเคสตัวอย่างการนำเสนอไปอีกนาน เพราะว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะกระตุ้นอารมณ์ของคุณให้พลุ่งพล่าน และจะจดจำคุณได้ไปอีกนานแสนนาน เช่น ตอนที่สตีฟ จ็อบส์ ดึง Macbook Air ออกมาจากซองเอกสารสีน้ำตาลซองนั้น หรือตอนที่สตีฟ จ็อบส์บอกว่า 1,000 เพลงในกระเป๋าของคุณ! แล้วชู iPod ขึ้นมาให้โลกเห็นเป็นครั้งแรก

หรือถ้าใครมางาน Beta Conference ยังจำภาพของเมืองเซินเจิ้นได้มั้ยครับ (ใครไม่ได้มางาน อดใจรอดูวีดิโอนะ 😉)

6. Lighten up

Don’t take yourself (or your topic) too seriously. The brain loves humor. Give your audience something to smile about. It also makes you seem more likable, and people are more willing to do business with or support someone they like

วีดิโอ TED Talk ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด ไม่ใช่ของดาราคนไหน แต่คือ Do schools kill creativity? ของเซอร์ เคน โรบินสัน เมื่อประเมินแล้วพบว่าใน talk นี้คือเรื่องความแปลกใหม่ (ตามข้อข้างบน) และยังมีส่วนผสมของอารมณ์ขันด้วย เพราะอารมณ์ขันช่วยลดกำแพงของผู้ฟังลง ทำให้ผู้ฟังเปิดรับสารของคุณมากขึ้น

ฟังไปยิ้มไป ดีกว่าฟังไปเครียดไป คุณว่าไหม?

ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog
ใน talk ของ ดร. วิโรจน์ ที่หยิบยกเกมอีเจี๊ยบ vs. จ่า มาให้ผู้ฟังได้ร่วมสนุก ฟังไปยิ้มไป และทำให้ผู้ฟังตระหนักได้ว่าใครๆ ก็สามารถเริ่มนำข้อมูลมาใช้ได้

7. Paint a mental picture with multisensory experiences

Deliver presentations with components that touch more than one of the sense: visual, sound and touch. Remember, the brain does not pay attention to boring things. It’s nearly impossible to be bored if you’re exposed to mesmerizing images, captivating videos, intriguing props, and beautiful words

สมองเราจะไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่น่าเบื่อ! อย่าปล่อยให้ผู้ชมของคุณเกิดอาการเบื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ยาวเกินไป ข้อความที่มากเกินไป ลองใส่สัมผัสต่างๆ เพิ่มความน่าสนใจและลูกเล่นให้กับ talk ของคุณ ไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง วีดิโอ ซึ่งสมองของคนฟังอยากเจอและชอบ และยังช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ด้วย

รองเท้าบนศีรษะของพิเชษฐ กลั่นชื่น ใน TEDxBangkok เพิ่มการรับรู้อีกสัมผัสให้กับผู้ชม (รวมถึงผสมกับอีกหลายๆ ข้อที่กล่าวมา ทั้งเล่าเรื่องส่วนตัว ทั้งเรื่องตลก)

8. Stay in your lane

Be authentic, open, and transparent. Most people can spot a phony. If you try to be something or someone you’re not, you’ll failed to gain the trust of your audience

เป็นตัวของตัวเอง คุณอาจเรียนรู้จากคนอื่นและลอกเลียนวิธีการพูดได้ คุณอาจพูดเรื่องที่คุณไม่เชี่ยวชาญก็ได้เพียงแค่คุณไปฟังมาเยอะๆ แล้วเลียนวิธีของเขามา แต่คุณจะไม่มีวันสร้างความประทับใจให้ใครได้เลย ถ้าคุณไม่ใช่ตัวของคุณเอง

ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog
ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog

Conclusion

สำหรับใครที่กำลังเตรียมตัว talk ในงานไหนอยู่ หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ talk ของคุณทรงพลังและน่าจดจำมากขึ้นนะครับ แต่ไม่ต้องห่วงนะถ้าทำไม่ได้ทั้งหมด เป็นเรื่องปกติ ค่อยเป็นค่อยไป เลือกเทคนิคที่เราคุ้นเคยและชอบที่สุด และทำมันให้ดีที่สุด เท่านั้นก็เพียงพอแล้วครับ

Talk ในงาน Beta Conference ในมุมมองของผมจึงออกมากลมกล่อมและน่าจดจำ ตามความตั้งใจเล็กๆ ของผม ที่อยากให้ทุก talk ออกมาจุดประกายไฟผู้ฟัง สร้างแรงบันดาลใจให้เดินทางต่อ จริงอยู่ว่าเวลาเพียง 20 นาทีต่อ talk ไม่สามารถให้ความรู้ได้ทั้งหมด แต่ต้องมากเพียงพอที่จะจุดประกายความอยากรู้ ความสงสัย และพาให้ทุกคนที่สงสัยใคร่รู้ในเรื่องเหล่านั้นได้หาความรู้ต่อ ศึกษาต่อ และพัฒนาตัวเองไปในทิศทางที่ต้องการได้ตามความตั้งใจของงาน Beta Conference ที่เราต้องพัฒนาและปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ

ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ศึกษาลงลึกไปจนสุดทางในองค์ความรู้ต่างๆ แต่อย่างน้อย การได้เริ่มเรียน การได้เริ่มรู้จัก ก็นับว่าเป็นการพัฒนาของเราแล้ว

แค่นี้เราก็เก่งขึ้นกว่าเมื่อวานแล้ว 🙂

ออกแบบ Talk ให้สนุกและทรงพลัง สไตล์ TED | Skooldio Blog

พบกันใหม่ใน Beta Conference 2020 ครับ!
Chayaporn Tantisukarom
General Manager at Skooldio Tech

More in:Productivity

Comments are closed.