Cover image | Skooldio Blog - PM สาย UX/UI ทักษะไหนที่ทำให้เราโดดเด่น

Blog Series: Product Managers – The Mutants Among Us ภาคต่อของ Skooldio LIVE ที่ได้นำเรื่องราวของเหล่า PM ที่เป็นเหมือนมนุษย์กลายพันธุ์ ย้ายสายงานจากเดิมที่เคยทำอยู่ โดยยังใช้ความรู้ที่มี มาประกอบกับการเก็บ Skill ใหม่ๆ ให้กลายเป็น PM ในปัจจุบัน มาเล่าสู่กันฟัง

มาพบกับ Product Manager คนที่สองของ Series นี้ คุณโอเจ ที่เรียกได้ว่ามีประสบการณ์ข้ามน้ำข้ามทะเล ทั้งสายสถาปัตยกรรม สายการตลาด สาย UX/UI แล้วได้นำทุกความรู้มารวมกัน เป็นอาชีพ Product Manager ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สำหรับใครมามาจากสายต่างๆเหล่านี้ บอกเลยว่าพลาดไม่ได้จริงๆ

อ่านตอนที่ 1: เศรษฐศาสตร์ / Developer / Product Manager ข้ามสามสายเพื่อได้มาลงตัวที่นี่

อ่านตอนที่ 3: จาก Process Engineer สู่ Product Manager: ความเหมือนที่แตกต่าง

แนะนำตัว

โอเจ | Skooldio Blog - PM สาย UX/UI (PM Bootcamp)
คุณโอเจที่ออฟฟิสของ Health At Home (JustCo Samyan Mitrtown)

ชื่อโอเจ นภัส กิติรัตน์ตระการค่ะ ตอนนี้เป็น Product Lead ที่ Health At Home ค่ะ

Health at Home หลักๆ คือ Vision ของเราคือให้ทุกคนสุขภาพดีได้ที่บ้าน ฉะนั้นเราก็จะเริ่มจากคนที่ต้องการมากที่สุด ก็คือคนแก่หรือคนสูงอายุ แล้วก็เราก็พยายามขยายฐานไปดูแลสุขภาพ คนใน target อื่นๆ

Health at Home | Product Manager สาย UX/UI ทักษะไหนที่ทำให้เราโดดเด่น (PM Bootcamp)
Health at Home บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

เล่า Background ให้ฟังหน่อย

จบจาก INDA (International Program in Design and Architect) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วก็เริ่มทำงานเป็น Strategic Planner หรือนักวางกลยุทธ์ของแบรนด์ ที่ McCann Worldgroup (Thailand) ก่อนจะย้ายมาเป็นหนึ่งในทีมเริ่มต้น ของ Health at Home

จากการเป็น Strategic Planner ย้ายมาเป็น UX/UI Designer ได้ยังไง?

ตอนมาอยู่ Health at Home ด้วยความที่เป็น Startup ที่เพิ่งเริ่มต้นมากๆ มีงานให้ทำหลายๆ แบบ เราเรียนด้านการออกแบบมาอยู่แล้ว มี Skill ด้านนี้ บวกกับตอนทำ Strategic Planner ก็ทำให้เรามี Skill ด้าน User Research พอสองสิ่งนี้มารวมกัน ในวงการ Startup เราเลยกลายเป็น UX/UI

เริ่มเปลี่ยนเป็น Product Manager ได้อย่างไร?

จริงๆ ตอนแรก ไม่ได้รู้จักตำแหน่งนี้มาก่อน ไม่ใช่ว่าเห็นแล้วอยากเป็นเลยไปค้นหาข้อมูลมา แต่มันคือการที่เราทำงานอยู่ที่เดิม แล้วเริ่มรู้สึกว่า ทำไมไม่มีคนคุม Direction รวมๆของ Product ทุกคนเก่งและวิ่งเร็ว แต่ไปกันคนละทิศคนละทาง ทำให้การทำงานกลายเป็นไม่มีประสิทธิภาพ 

พอเราเห็นปัญหาตรงนี้ เราเป็นหนึ่งในทีมที่เข้ามาตั้งแต่เริ่ม มี Input ต่างๆในบริษัทนี้ เราเลยเข้ามาเริ่มวางแพลนต่างๆ เรารู้สึกว่าเราต้องดูว่า Product นี้ Deliver Value ให้กับลูกค้าเราหรือไม่ ทำมาก่อนที่จะรู้ด้วยซ้ำว่าตำแหน่ง Product Manager คืออะไร

เรานำความรู้ที่ได้ในการทำ Strategy Planning มาจับกับตัว Product ที่เราดูอยู่ เพื่อตอบปัญหาต่างๆเช่น เรากำลังจะทำอะไร เพื่ออะไร ถ้าในมุมของ Strategy Planning ก็จะเป็นการวาง Roadmap ของการสื่อสารแบรนด์ แต่ในมุมของการทำ Product มันคือการวาง Product Roadmap ว่าเราควรจะทำอะไรก่อนหลังอย่างไร 

พอเราเริ่มอยากศึกษาเพิ่ม ว่าจะทำ Roadmap ให้ดีขึ้นได้อย่างไร ก็ไปพบว่าทุกๆอย่างที่เราทำอยู่ตอนนี้ มันคือสิ่งที่ Prouct Manager ทำอยู่ทั้งนั้น เรียกได้ว่า Search อะไรก็เจอ PM เลยเพิ่งรู้ตัวว่า อ๋อ ที่เราทำอยู่ตอนนี้ มันคือตำแหน่งที่เรียกว่า PM นั่นเอง

พอก้าวเข้าสู่การเป็น PM จริงๆแล้ว ได้เจอ Skill อะไรที่เรายังขาดอยู่บ้าง?

หลักๆคือเรื่องการทำความเข้าใจในการ Track Data จริงๆการนำข้อมูลมาใช้ มาเชื่อมโยงกัน เป็น Skill ที่เราต้องมีอยู่แล้วตั้งแต่ทำ Strategy Planning แต่สิ่งที่เรามาเรียนรู้ตอนเป็น PM คือการที่เราจะเก็บข้อมูลอะไร เราต้องออกแบบมาตั้งแต่แรก การที่แอปฯมีหน้าตาแบบนี้ คนสามารถกรอกข้อมูลได้แบบนี้ ทำให้เราเก็บข้อมูลนี้ได้ เป็นการเตรียม Data ให้พร้อมดึงมาดู ซึ่งสิ่งนี้ต้องอาศัยการวางแผนล่วงหน้าอย่างมาก

แล้วเก็บ Skill เหล่านี้มาจากไหน?

เราไม่ใช่คนสายอ่านหนังสือ จะชอบอ่านเป็นบทความมากกว่า เพราะรู้สึกว่า Job Description ของ Product Manager ไปเร็วมาก มี Tools ใหม่ๆ มีวิธีให้ Optimise สิ่งต่างๆเกิดขึ้นตลอดเวลา ส่วนตัวเลยคิดว่า หนังสืออาจจะตามไม่ทัน

สิ่งที่ชอบมากๆเกี่ยวกับการอ่านบทความ คือความสามารถในการถูกอัปเดทตลอดเวลาของมัน บางบทความผู้เขียนเพิ่งปล่อยได้เมื่อวาน วันนี้มาแก้เพิ่มเติมแล้ว 

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราชอบการอ่านเป็นบทความ คือการที่เราชอบอ่านความคิดเห็นของผู้เขียนหลายๆคน แล้วเอามาเปรียบเทียบกัน ว่าในทฤษฎีของแต่ละกัน ก็มีสิ่งที่แตกต่างกันออกไป แต่จะมีเส้นแกนหลักที่คล้ายคลึงกันอยู่ เพราะฉะนั้น เราไม่จำเป็นต้องเหมือนใครก็ได้ แต่แค่ต้องคงเส้นประมานนี้เอาไว้ เพิ่มความเป็นตัวเองเข้าไปในวิธีการบริหาร Product ของเรา

อีกอย่างนึงที่ชอบทำมากๆเลย คือดู Youtube หรือฟัง Podcast ที่เป็นการสัมภาษณ์ Product Manager จากบริษัทใหญ่ๆเช่น Facebook, Google เค้าก็จะยกเคสขึ้นมาเล่าให้ฟัง เช่นการที่จะทำ Feature นี้ แต่ละคนจะมีการ Develop Value Proposition ที่ไม่เหมือนกัน เราก็จะได้เห็นการนำ Skill ต่างๆที่ Product Manager ต้องมี มาใช้จริงๆ ไม่ใช่แค่อ่านเอาลอยๆ

ช่องนึงที่แนะนำเลยคือ Exponent จริงๆมีหลายอันมากๆ แต่ชอบอันนี้สุดค่ะ

Exponent | Product Manager สาย UX/UI ทักษะไหนที่ทำให้เราโดดเด่น (PM Bootcamp)
Channel “Exponent” ใน Youtube

อยากฝากอะไรถึงคนที่กำลังทำสาย UX/UI แล้วอยากเริ่มเปลี่ยนเป็น Product Manager บ้าง?

คนที่ทำงานสาย Design มาก่อน อาจจะกลัวว่าเราไม่มี Business Background ไม่มีความรู้ด้าน Technical ที่ลึกๆ หรือ ไม่รู้จักวิธีการใช้ Data ดูเลข แต่สายงาน Product Management เป็นสายงานที่ Mixed Skills มากๆ เราอาจจะมีด้านที่เด่นด้านนึง แล้วค่อยๆพยายามพัฒนาสกิลด้านอื่นๆต่อมา

สิ่งสำคัญคือทุกอย่างอยู่ที่ทัศนคติของเรามากกว่า ว่าเราอยากพัฒนาทักษะด้านไหนให้แข็งแรงขึ้น และไม่ใช่แค่อยาก อยากแล้วต้องรู้ด้วยว่า แล้วจะทำยังไงให้ได้ทักษะเหล่านั้นมา Action ต่อไปของเราคืออะไร เพื่อที่จะได้ความรู้เหล่านั้นมา

อย่างตอนที่เราอยากรู้เรื่อง Design Thinking เราก็ลองไปทำเคส ไปเข้าการแข่งขันแบบออนไลน์ มีกรรมการคอยช่วยคอมเม้นท์งาน แล้วเราก็เรียนรู้จากตรงนั้นไป หรือพยายามหาคนเป็น Mentor ให้เรา ซึ่งในสาย PM ตรงๆเลยในไทยอาจจะยาก แต่ถ้าเจาะลงไปทีละสาย ทั้ง UX/UI สาย Data สาย Business เราเชื่อว่ามีคนพร้อมจะช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลาแน่ๆ

สรุปก็คือ 

  1. ต้องเป็นคนอยากเรียนรู้
  2. ต้องรู้ด้วยว่า ถ้าอยากรู้สิ่งนี้ ต้องเริ่มทำอะไร มี Action Plan ให้ตัวเอง

อย่าห่วงว่า Background เราจะเป็นยังไงมา ทักษะต่างๆมาพัฒนาขึ้นได้ทุกวัน เราเก่งขึ้นได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถไปหามันได้มั้ยเท่านั้นเอง



Skooldio เปิด Bootcamp ให้คุณได้พัฒนาหลักในการเป็น Product Manager กับ Product Management Bootcamp หลักสูตร 10 สัปดาห์ (PM Bootcamp) เพื่อเตรียมคุณให้พร้อมสู่การเป็น Product Manager เปิดรับสมัครแล้ววันนี้!

Product Management Bootcamp

More in:Business

Comments are closed.