atomic habit

🤔เคยมั้ย ?  ขึ้นปีใหม่ทั้งที ก็อดไม่ได้ อยากเป็นคนใหม่ที่…

มีวินัยขยันออกกำลังกาย

เรียนรู้สกิลใหม่ ๆ ให้เก่งขึ้น

มีเวลาให้ครอบครัวเสมอ

จัดการชีวิตได้เป็นอย่างดี ฯลฯ  

แต่จนแล้วจนรอด เป้าปณิธานที่ทำสำเร็จนั้นแทบจะนับนิ้วได้ 🥲 และแน่นอนว่าไม่ใช่คุณคนเดียวที่เผชิญปัญหานี้ 

ทำไมการสร้างนิสัยใหม่ถึงทำได้ยาก ?

เพราะการจะสร้างนิสัยใหม่ภายในข้ามคืนไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยธรรมชาติของคนที่มักมี ‘Status Quo Bias’ หรืออคติที่ทำให้เรายึดติดกับสภาวะที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบพฤติกรรม หรือ รูทีนแบบเดิม ๆ ทั้งที่เป็นประโยชน์กับเราหรือไม่ก็ตาม 

แล้วจะสร้างนิสัยใหม่ได้ยังไง ?

ในหนังสือ Atomic Habits : เพราะชีวิตดีได้กว่าที่เป็น James Clear จึงได้แนะนำว่า กุญแจสำคัญในการพัฒนาตัวเอง อาจไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงก้าวใหญ่ แต่เป็นจุดเริ่มต้น ‘ก้าวเล็ก ๆ’  ที่ค่อย ๆ เปลี่ยนเราไปทีละนิด หรือที่ในหนังสือเรียกว่า Marginal Gain ที่หากเวลาผ่านไปผลลัพธ์เล็ก ๆ ที่อาจสังเกตได้ยาก จาก Gain เหล่านี้ ก็จะสะสมเรื่อย ๆ จนกลายเป็นความเปลี่ยนแปลงที่มีพลังจนเห็นผลได้ชัดเจน  

หากใครยังนึกภาพไม่ออกว่า เจ้า ‘ก้าวเล็ก ๆ’  เหล่านี้ จะสร้างImpact อะไรได้ ? 

James Clear ได้ให้เราลองคำนวณเป็นตัวเลขดูว่า หากเราพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นวันละ 1% จากเดิม ทุก ๆ วันภายใน 1 ปี ผลที่ได้คือ  Marginal Gain ที่สะสมมาจะทวีคูณมากถึง 37 เท่า หรือแปลได้ว่า ถ้าเราทำอะไรให้ดีขึ้น 1 % ได้ในทุก ๆ วัน 1 ปี เราจะดีขึ้นกว่าตัวเราปีก่อนหน้า 37 เท่า

Marginal Gain ถูกเอาไปใช้ยังไงบ้าง ?

กลยุทธ์การพัฒนาตัวเองแบบ Marginal Gain ได้ถูกนำไปใช้จนประสบความอย่างแพร่หลาย ยกตัวอย่างเช่นในวงการกีฬาที่ในหนังสืออ้างถึง เรื่องของเหล่านักปั่นจักรยานทีมชาติอังกฤษที่พลิกโฉมจากทีมชาติที่ไม่เคยชนะมาตลอด110 ปีที่ลงแข่ง สู่การเป็นทีมนักปั่น แชมป์ Tour de France ถึง 6 ปีซ้อน ภายใต้การฝึกของโค้ชคนใหม่อย่าง Brailsford 

Brailsford เริ่มเปลี่ยนทีมนักปั่นรั้งท้ายสู่ตัวเต็งจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยเล็ก ๆ ทั้งหมดที่ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการแข่งขัน ตั้งแต่เนื้อผ้าของชุดแข่ง สุขอนามัยของนักกีฬา ไปจนถึงสีของรถกระบะขนจักรยาน! แม้แต่เรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่ได้มีผลกระทบร้ายแรง Brailsford ก็ไม่ได้มองข้าม เพราะเขามองว่า 1% ของการกระทำที่ช่วยให้นักปั่นทำผลงานดีขึ้น เมื่อสะสมไปเรื่อย ๆ ก็นำไปสู่พัฒนาการที่สำคัญของนักกีฬาได้เช่นกัน

สรุป

ตัวอย่างความสำเร็จ จาก Atomic Habits  ได้ชี้ชวนให้เห็นว่า สำคัญมากพอ ๆ กับการกำหนดเป้าหมาย หรือตอบคำถามที่ว่า “เรามีเป้าหมายอะไร?”  คือ “เราจะทำอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น” หากเข้าใจธรรมชาติของตัวเอง และหาวิธีการทำตามเป้าให้เหมาะสม  New Year Resolution ไม่ใช่แค่ฝันเกินเอื้อมแน่นอน

Skooldio อยากให้ทุกคนเริ่มต้นปีอย่างมั่นใจ ผ่านการอัปสกิลทักษะแห่งอนาคตทั้งสาย Data Tech Design และ Business Solution ถ้าใครพร้อมที่จะพัฒนาตัวเองวันละ 1% เพื่อเป็นคนใหม่ที่เก่งกว่าเดิม มาเรียนรู้ทักษะเหล่านี้ไปกับเราได้ในคอร์สคุณภาพกว่าร้อยหลักสูตรที่ https://toskooldiocom/AmpyfsmTPFb

 

 

More in:Productivity

Comments are closed.