ความสามารถ ‘ทนความเจ็บปวด’ คือสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องมี เหมือนตัวละครใน One Piece อย่าง ลูฟี่ ที่มีร่างกายเป็นยาง ฟันไม่เข้า ยิงไม่เจ็บ!

สรุป Panel session Generations of Entrepreneurs โดยคุณท๊อป จิรายุส – Topp Jirayut ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Bitkub, คุณตัน ภาสกรนที ผู้ก่อตั้งและ CEO บริษัท ICHITAN Group, คุณยอด ชินสุภัคกุล CEO บริษัท LINE MAN Wongnai ใน Bitkub Meetup #5

✅ เริ่มต้นด้วยการแชร์สูตรสำเร็จจากทั้ง 3 ท่าน

คุณท๊อปเล่าว่าในช่วงที่มีหน้าคุณท๊อปติดตาม billboard ถือว่าเป็นการลงทุนในช่วงแรกของ Startup ที่ทำให้ยอดคนใช้ Bitkub โตขึ้นจากหลักแสนเป็นหลักล้าน อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อเสียคือทำให้หน้าของคุณท๊อปกลายเป็นเหมือนตัวแทนของ industry เช่น ถ้าพูดถึงคริปโท ก็นึกถึงหน้าคุณท๊อป เวลาเหรียญตกคนก็มองว่าเพราะคุณท๊อป

ฝั่งคุณตัน ที่ถือว่าเป็นเจ้าพ่อคอนเทนต์ในยุคก่อน มีคนกดไลก์เป็นล้าน เขามองว่าในสมัยนี้สื่อมีอิทธิพลมาก แถมต้นทุนต่ำ ต้องใช้ให้เกิดประโยชน์ คนจำคอนเทนต์ดราม่าได้และชอบอะไรเรียล ๆ อย่าไปคิดอะไรมาก ตราบใดที่เราไม่ทำผิด

สำหรับคุณยอด คิดว่าสูตรของ LMWN ค่อนข้างเป็น Digital Marketing โตขึ้นมาด้วย Data ค่อนข้างเยอะ มีทีมที่วัดผลเยอะ สิ่งที่ LMWN ทำเช่น แบ่ง user ออกเป็น segment ที่แต่ละคนจะได้รับ offer คูปอง ไม่เหมือนกัน มีการทำ A/B Testing ที่ทำให้รู้ว่าคูปองแบบไหน หน้า home แบบไหนที่คนชอบ

คุณตันเสริมเริ่มเคล็ดลับในการทำแคมเปญ เขาเป็นผู้ริเริ่มคูปองเซเว่น 40 บาทแลกซื้อ โปรโมชันคลาสสิกในเซเว่น การเพิ่มเงื่อนไขอย่างการจำกัดวันใช้คูปอง ทำให้เงื่อนไขเรามีคุณค่าและคนจะเกิดความรู้สึกว่าถ้าไม่ไปใช้ตนจะเสียสิทธิ
===================

✅ TW: Death

คุณตันชอบคิดเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ มันมีเคล็ดลับลึก ๆ ที่คาดไม่ถึง เราต้องไปค้นให้มันเจอ นอกจากนี้คุณตันเสริมว่าจังหวะที่ชีวิตอยู่ระหว่างเส้นความเป็นความตาย ในเวลาสั้น ๆ นั้นจะรู้สึกคิดได้หลายอย่าง เช่นหวนคิดถึงความเสียดายในอดีต ว่าน่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าตอนนั้น…. ถ้าวันนั้นเรา… ตอนนี้จะเป็นไง เรียกว่าเป็น “มรณะ marketing”

นอกจากนี้เรื่องทัศนคติก็สำคัญมาก บางทีเราก็ต้องกล้าได้ กล้าเสี่ยง ทั้งนี้เราก็ควรลงทุนในความเสี่ยงที่เรารับได้ ถ้าเราไม่กล้าลงทุนแบบนี้ เราก็เป็นเศรษฐีคนใหม่ไม่ได้
===================

✅ ความยากที่ก้าวข้ามมาได้ และความล้มเหลวที่เป็นบทเรียนของทั้ง 3 ท่าน

คุณท๊อปผ่านจุดที่แย่มาก ๆ มาหลายครั้ง ผิดพลาดตั้งแต่ตอนก่อตั้งบริษัท ตอนนั้นเขา overvalue startup ตัวเอง ด้วยความที่เริ่มต้นสูงกว่าคนอื่น ก็ต้องโตกว่าคนอื่น สิบเดือนแรกเขาไม่ได้จ่ายเงินเดือนตัวเอง

“ทุกอย่างมีราคา ความสำเร็จมีราคา แต่คนส่วนใหญ่ไม่อยากจ่ายเพื่อให้ได้ความสำเร็จนั้น”

ความเจ็บปวดของคุณท๊อปคือการเรียนรู้จากอดีต แต่ไม่มองอนาคต ถ้าย้อนเวลากลับไปจะไม่ทำ เพราะต้องเสียสละหลายเรื่องมาก

คุณท๊อปบอกว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องมี คือความสามารถในการรับความเจ็บปวดที่สูงกว่าคนทั่วไป ไม่มีใครประสบความสำเร็จได้โดยไม่เจ็บปวด

ในฝั่งของคุณยอด บอกว่า 2 ปีแรกก็อยากเลิกอยู่แล้ว struggle อยากเลิกทุกวัน เงินเก็บหมด ไม่มีเงินไว้จ่ายเงินเดือน เริ่มต้องขอเงินญาติเพื่อโปะ จนเริ่มมีนักลงทุนจากญี่ปุ่นมาให้เงินลงทุน

เมื่ออะไรเกิดขึ้นหลังจากนี้พอเทียบกับวันนั้นคือเบาไปเลย

ความสามารถในการทนความเจ็บปวดคือสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องมี เหมือนตัวละครจากวันพีซอย่าง ลูฟี่ ที่มีร่างกายเป็นยาง ฟันไม่เข้ายิงไม่เจ็บ

ส่วนคุณตัน เล่าว่าลำบากที่สุดคือตอนทำโออิชิ ในตอนที่ตนตัดสินใจลงทุนทำโรงงาน เพราะยอดขายชาเขียวที่ขายดีขึ้น ความยากคือการที่คุณตันต้องไปทำโรงงานอุตสาหกรรมที่ตัวเองไม่รู้จักเลย โดยในตอนนั้นคุณตันก็ได้บอกกับหุ้นส่วนไว้ว่า ถ้าภายในหกเดือนสินค้าไม่เดิน ตีกลับ ก็ต้องปิดโรงงาน เป็นการเดิมพันครั้งที่เทหมดหน้าตัก

More in:Business

Comments are closed.