องค์กรที่ให้ความสำคัญกับ Well-being จะได้เปรียบทั้งในการดึงดูดคนใหม่ ๆ และการรักษาคนเก่ง ๆ ให้อยู่กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน
สรุป Session Workforce Wellbeing with People Analytics โดยคุณสุภาพร บัญชาจารุรัตน์ – ผู้อำนวยการสายทรัพยากรบุคคล, เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล และ คุณสุดคนึง ขัมภรัตน์ – นายกสมาคม PMAT ในงาน Thailand HR Tech 2025 PMAT – Personnel Management Association of Thailand
ทุกคนอาจมองภาพ Well-being ว่าดูเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ บางคนคิดว่าเป็นเพียงค่าใช้จ่าย แต่จริง ๆ แล้ว เป็นเทรนด์ที่โลกกำลังจับตามองเรื่องนี้ เพราะตอนนี้คนรุ่นใหม่กำลังสนใจเรื่อง Well-being เพราะการที่ลูกจ้างมีความสุข องค์กรก็จะดีตามไปด้วย
Table of Contents
เจาะลึก 7 มิติของ Well-being องค์กรยุคใหม่
สุขภาวะกาย (Physical Well-being)
การดูแลร่างกายให้แข็งแรง เช่น การออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพประจำปี และส่งเสริมพฤติกรรมการกินที่ดี
สุขภาวะจิต (Mental Well-being)
สร้างสมดุลทางอารมณ์ ลดความเครียด และการเข้าถึงบริการให้คำปรึกษา
สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (Spiritual Well-being)
ส่งเสริมการมีสติ สมาธิ และเป้าหมายในชีวิต
สุขภาวะทางสังคม (Social Well-being)
การมีเพื่อนร่วมงานที่ดี บรรยากาศการทำงานที่เกื้อหนุน และการสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม
สุขภาวะสิ่งแวดล้อม (Environmental Well-being)
พื้นที่ทำงานที่ปลอดภัย สะอาด อากาศดี มีแสงธรรมชาติ และส่งเสริมสุขภาพ
สุขภาวะทางการเงิน (Financial Well-being)
ให้ความรู้เรื่องการบริหารเงิน วางแผนเกษียณ และดูแลค่าใช้จ่ายสุขภาพในระยะยาว
สุขภาวะทางอาชีพ (Career Well-being)
สร้างโอกาสให้พนักงานเติบโต เช่น การสนับสนุนเส้นทางอาชีพของพนักงาน พัฒนาทักษะใหม่ และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในงานที่ทำ
ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของพนักงาน (Employee Healthcare Cost)
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- Direct Cost 30% เช่น ค่ายา หรือค่ารักษา
- Indirect Cost 70% เช่น การขาดงาน (Absenteeism) และการมาทำงานแต่ไม่เต็ม- ประสิทธิภาพ (Presenteeism) ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่คุณภาพงานที่ลดลง ลูกค้าไม่พอใจ และเป็นต้นทุนแฝงในการฝึกอบรมพนักงานใหม่ หรือพนักงานชั่วคราว
ดังนั้น การลงทุนในระบบดูแลสุขภาวะ เช่น HPM หรือเครื่องมือวิเคราะห์เชิงลึก จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและยั่งยืนสำหรับองค์กร
ตัวอย่าง Case ของทางโรงพยาบาลพญาไท – เปาโล
หลังจากการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ แล้วทางโรงพยาบาลจะมีการจัดระบบดูแลสุขภาพพนักงาน ผ่าน 3 Tools ได้แก่
Tools 1: Let’s Get Healthy!
เครื่องมือดูแลสุขภาพพนักงานครบวงจร เป็นโครงการจาก BDMS และ OHSU ที่พัฒนาเครื่องมือดูแลสุขภาพเชิงรุกแบบ Personalized
โดยเครื่องมือนี้จะครอบคลุมทั้งสุขภาวะกายและใจ ทุกข้อมูลที่เก็บจะถูกวิเคราะห์ออกมาเป็น Metabolic Report ที่โดยจำแนกตามแผนก (เช่น หากฝ่ายบัญชีมีแนวโน้มโรคอ้วน องค์กรสามารถติดตามจากพฤติกรรมการกิน และวางแผนช่วยเหลือเฉพาะจุดได้ทันที)
ดังนั้น การพัฒนาเครื่องมือดูแลสุขภาพนี้ สามารถลดการเสีย Productivity ได้ทั้งจากการลาป่วย และการมาทำงานแบบไม่เต็มประสิทธิภาพ
Tools 2: HPM (High Performance Material)
เป็นมองเห็นภาพรวมสุขภาพทั้งองค์กร แยกตามเพศ อายุ และตำแหน่งงาน นอกจากเป็นการยกระดับเรื่องการดูแลสุขภาพ คุณภาพชีวิตแล้ว ก็ยังช่วยให้ HR บริหารต้นทุน ตัดสินใจเรื่องงบประมาณให้คุ้มค่า และเห็นผลลัพธ์ชัดเจนที่จะนำไปสู่ Positive ROI จากการเพิ่ม Productivity ในการทำงาน
Tool 3 : Healthy Together Model
คือกระบวนการดูแลสุขภาพพนักงานที่ผสานข้อมูล Medical Result กับ Health Risk Behavior ให้ออกมาเป็น Health Report เพื่อให้ HR และองค์กรสามารถออกแบบแผนดูแลสุขภาวะได้อย่างตรงจุด โดยมีโครงสร้างหลัก 3 ขั้นตอน
- Health Report: รวมข้อมูลผลตรวจสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงและคุณภาพชีวิตของพนักงาน
- Intervention Design: ออกแบบกิจกรรมดูแลสุขภาพเฉพาะกลุ่ม เช่น เวิร์กช็อป โภชนาการ ปรับสิ่งแวดล้อม
- Follow up: ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง พร้อมวัดประสิทธิภาพและ ROI จากการดูแลสุขภาพพนักงาน
ตัวอย่างกิจกรรมจากเครือพญาไท–เปาโล ได้แก่ Healthy Hero กิจกรรมที่ส่งเสริมการลดน้ำหนักของพนักงานโดยให้พนักงานชั่งน้ำหนักในตอนเริ่มต้น และส่งภาพอาหารให้ทีมผู้เชี่ยวชาญ ตามความสมัครใจ โดยมีรางวัลเป็นแรงจูงใจ อีกทั้งทางโรงพยาบาลยังมีการทำแอป Get Health by Healthy Together เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายแก่พนักงานอีกด้วย
องค์กรที่ยังมอง Well-being เป็นเพียงต้นทุน กำลังมองข้ามต้นเหตุของ Productivity ที่หายไป โดยไม่รู้ตัว ในขณะที่องค์กรที่ใช้ข้อมูลสุขภาพอย่างเป็นระบบจะสามารถดูแลพนักงานได้ตรงจุด ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มผลลัพธ์ทางธุรกิจอย่างยั่งยืน
ในยุคที่ HR ต้องมากกว่าผู้จัดสวัสดิการ การใช้ข้อมูล ควบคู่กับใจ คือหัวใจของการดูแลคนแบบ Human-Centric อย่างแท้จริง HR ควรใส่ใจรายบุคคล ไม่เหมารวม ใช้ข้อมูลวิเคราะห์เชิงลึก เพื่อออกแบบกิจกรรมให้ตรงจุด และบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้างทั้งความสุขในการทำงานและความยั่งยืนให้องค์กรในระยะยาว
เริ่มต้นดูแลสุขภาพใจ พร้อมรู้เท่าทันในตนเอง ไปกับคอร์ส Mental Health First Aid ทดลองเรียนได้ฟรี คลิกเลย!