“ล้มแล้วต้องลุกได้ ร้องไห้ได้แต่ก็ต้องไปต่อ”

สรุป Session Keep Calm, But Don’t Carry On: Hear You Broken Heart ล้มแล้วอย่ารีบลุก ซ่อมความสุขเมื่อใจสลาย โดยคุณ Guy Winch TED Talk Speaker และผู้เขียนหนังสือชื่อดังอย่าง Emotional First Aid ในงาน CTC 2024

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเกิดโรคระบาดทำให้เรามี emotional health damage ไม่ว่าจะเป็น Boreout ,Burnout, Brownout, Broken heart, Dead inside, Compassion, Fatigue

ปัญหาใหญ่ที่เกิดคือการ Burnout ส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและใจ แต่พนักงาน burn out ไม่ได้หยุดละไป recover กลับบ้านไปก็ยังคงอยู่กับงาน ไม่มี recovering time จนสุดท้ายก็รู้สึก dead inside

แม้ว่าหลายรีเสิร์ชบอกว่า พนักงานที่มีสุขภาพจิตดีมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น แต่บริษัทส่วนใหญ่ยังลังเลที่จะให้สวัสดิการด้านสุขภาพจิต

❓ เราในฐานะคนทำงานจะ support ยังไง
คุณ Guy Winch แนะนำว่าที่ดีที่สุดคือทำให้อยู่ในบทสนทนาในที่ทำงานไปเลย เริ่มการมีตติ้ง เช่น daily meeting ในแต่ละวันด้วยการถามไถ่เรื่องส่วนตัวไม่ใช่แค่เรื่องงาน

ทำให้มี ‘ความเป็นมนุษย์’ ไม่ใช่แค่ ‘คนทำงาน’

และไม่รอให้บริษัทมีสวัสดิการ หรือรอให้เมเนเจอร์เป็นคนที่ดีขึ้น เริ่มที่ตัวเองเลย หาเครื่องมือที่จะช่วยดูแล emotional health ของเรา

หนึ่งในสิ่งที่เรามักเจอเยอะคือ ความผิดพลาด (Failure) แน่นอนว่ามันจะทำให้รู้สึกไม่ดีแต่เราต้องเอามาควบคุมให้ได้ ฝึกควบคุมอารมณ์ (self-control) เรียนรู้จากความผิดพลาด พัฒนาตัวเอง

เวลาผิดพลาดเรามักคิดว่าเป็นที่ปัจจัยภายนอก เราลองมองกลับมาที่ตัวเองว่าจะเปลี่ยนสิ่งนี้ได้ยังไง

“บางครั้งการแก้ปัญหาหนึ่งอัน อาจจะไปช่วยแก้ปัญหาอีกเป็นพันก็ได้”

อาการอกหัก เราไม่ได้เจอแค่เรื่องความรักอย่างเดียว แต่ยังเกิดขึ้นกับเรื่องงานได้ด้วย เช่น ถ้าเราพยายามทำงานอย่างหนักเพื่อโปรโมท แต่คนอื่นได้โปรโมทแทน บาดแผลนี้ทำให้เราแทนที่จะพยายามมากขึ้นแต่กลับรู้สึกว่าไม่อยากพยายามต่อแล้ว

“การที่จะซ่อมแซมตัวเองได้ไม่ใช่ passive process แต่ต้อง active ต้องทำให้เกิดขึ้นเอง”

ความเครียดทำให้เรารู้สึกกดดัน ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร เราต้องควบคุมให้ได้ แค่คิดตลอดว่า มีงานเยอะจัง ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้ทำให้งานเราเสร็จ เราต้องคิดว่าเราเครียดเรื่องอะไรจริง ๆ งานไหนที่เรากังวล กังวลเรื่องอะไรบ้าง ทำ action plan ว่าเราจะทำอะไรให้มันเสร็จ ที่สำคัญคือต้องตามความคิดของเราให้ทัน

“การแบกงานกลับมาบ้านไม่ใด้แปลว่าเป็นคนขยัน แต่เปลว่าเราไม่ได้มี action plan ที่ดี”

คุณ Guy Winch มีพันธกิจที่อยาก democratize เรื่องการรักษาสุขภาพจิต อยากให้เข้าถึงได้ทุกคน เลยทำ podcast ที่คือว่า ‘Dear Therapists’ และมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญของชีวิตเลย อยากให้เด็ก ๆ ได้รู้บ้าง เราเรียนแต่การดูแลร่างกาย ก็น่าจะมีเรียนเรื่องรักษาสุขภาพจิตด้วย

“ทุกคนมักคิดว่าปัญหาของเรา unique แต่จริง ๆ แล้วหลาย ๆ คนก็เจอเหมือนกัน”

ถ้าฟัง podcast มันอาจจะเหมือนเป็นเรื่องของคน ๆ นั้นโดยเฉพาะ เช่น เด็กคนนึงอ่านหนังสือเข้ามหาวิทยาลัยหนักมาก โดยไม่มีเวลาให้กับตัวเอง เราอาจมองว่าเป็นเรื่องของเด็กคนนึง แต่เราทุกคนก็ relate ได้ เพราะแกนของมันคือการที่เราทุ่มเททำอะไรบ้างอย่างโดยไม่มีเวลาให้กับตัวเอง

“หากบาดแผลทางใจ มองเห็นได้ด้วยตา เราคงใจร้ายน้อยลง”
ถ้าเจอกับร่างกายเรารู้ได้ เราเห็นอาการชัดเจน แต่ถ้าเกิดกับจิตใจ เราไม่รู้เลยว่าบาดแผลมันเป็นอย่างไร

แล้วเราจะช่วยกันดูแลสุขภาพจิตให้ดีขึ้นยังไงได้บ้าง -> Listen, Connect, Support และ Protect

การโดนปฏิเสธเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกคน เช่น เราโพสต์รูปลงในโซเชียล ไม่มีคนกดไลก์ นี่ก็เป็นหนึ่งการโดนปฏิเสธ ถ้าโดนไปเรื่อย ๆ แล้วก็จะเกิด pain

เราต้องสร้างความตระหนักรู้ว่า มันไม่ได้เกิดกับเราแต่คนเดียว แล้วเราจะได้ไม่รู้สึกอีก กับอีกสิ่งที่คุณ Guy Winch ฝากไว้คือต้องมี Emotional resilience – ล้มแล้วต้องลุกได้

การร้องไห้มันเป็น function ในการปลดปล่อยความเครียดความเศร้าของร่างกาย และมีประโยชน์มาก ถ้าร้องไห้แล้วเราจะรู้สึกดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ร้องไห้ได้แต่ก็ต้องไปต่อ

รถ ถ้ามัน breakdown ก็ไม่สามารถขับได้ คนก็เช่นกัน

“อย่าให้ความเจ็บปวดเป็นมิตรสหายข้างกายคุณ”

#CTC2024 #Skooldio

More in:Business

Comments are closed.