“ความสำเร็จของเราที่ทำให้ใครสักคนมีความสุข นี่คือคุณค่าของงานเรา”

สรุป Session Yarigai: Re-define your own Meaning of Success โดยอาจารย์เกด – กฤตินี พงษ์รนเลิศ นักเขียน, อาจารย์พิเศษภาควิชาการตลาด และเจ้าของเพจ เกตุวดี Marumura ในงาน CTC2024

Rinen ปรัชญาธุรกิจแบบญี่ปุ่น คือการพาผู้ประกอบการกลับมาเจอแก่นของตัวเอง เราไม่ได้ทำธุรกิจเพื่อยอดขายเท่านั้น บางคนอยากมีความสุขกับการทำงาน อยากค้นพบงานที่ตัวเองชอบ

Yarigai ต้องเริ่มจากความสำเร็จเป็นอย่างไร
อาจารย์ยกตัวอย่างเคสโรงพยาบาลที่ชื่อ Nuigurumi เป็นโรงพยาบาลซ่อมตุ๊กตา มีพยาบาล มีทีมแพทย์ ผู้ก่อตั้งคือคุณ Horiguchi ผู้ก่อตั้ง เธอบอกว่า เพราะ “ตุ๊กตาเคยช่วยเยียวยาหัวใจฉัน” ทำให้เจอผูกพันกับตุ๊กตา

จนวันนึงขายดีมาก แต่ไม่แฮปปี้เพราะรู้สึกว่า treat ตุ๊กตาเป็นแค่สิ่งของ เธอเลยเปลี่ยนการอัปเดต status จาก ‘จัดส่งสินค้าแล้ว’ ไปเป็น ‘คุณตุ๊กตาออกเดินทางแล้วค่ะ’

แน่นอนว่าอาจมีคนเห็นไม่เห็นด้วยกับสิ่งนี้ เพราะเป็นแค่ตุ๊กตาเองนะ แต่สำหรับเธอแล้ว แค่ได้ทำสิ่งนี้ก็พอใจแล้ว ความสุขของเธอ ไม่ต้องเปรียบเทียบกับใคร เพราะเธอมองว่าโรงพยาบาลนี้เกิดมาเพื่อรักษาทุกตาให้กลับมาเหมือนใหม่ โรงพยาบาลนี้ไม่ได้รักษาแค่ตุ๊กตาและรักษาจิตใจของคนอีกด้วย

“ความสำเร็จที่ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับใคร ไม่ต้องไล่ตามตัวเลขหรือตั้งเป้าเพื่อกดดันตัวเอง”

Yarigai = Yaru (ทำ) + Gai (ควรค่า) ควรค่าแก่การลงมือทำ

❓ อะไรที่ทำให้เจอ Yarigai
🧡 Be yourself เป็นตัวของตัวเอง
ทุกวันนี้มีหลายสิ่งที่กระทบความเป็นตัวเอง เช่น เสียงจากคนรอบข้างโดยเฉพาะคนที่เรารัก, การเปรียบเทียบกับคนอื่น, ความกังวลเกี่ยวกับอนาคต, ความกังวลเกี่ยวกับตัวเอง

วิธีค้นพบตนเอง เช่น สิ่งที่เราใส่ใจเป็นพิเศษ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามเองเกินสิ่งที่ได้รับมอบหมาย, อย่าเลือกงานจากสิ่งที่เรารัก แต่ให้ดูว่าทักษะอะไรที่เรามี อาจารย์เองเขียนหนังสือเก่ง คนรอบตัวชมว่าเขียนดี แต่อาจารย์ไม่รู้ตัว จากนั้นเรามาดูว่า เราเชื่อในอะไร และเราอยากเห็นอะไร

“ทักษะที่เรามีมักจะแนบเนียนมาก ๆ”

ลองตั้งคำถามดูว่า เรามักจะหงุดหงิดเรื่องอะไรบ่อย ๆ เราทำสิ่งนี้ได้โดยเป็นธรรมชาติเลยหงุดหงิด นั่นอาจจะเป็นทักษะของคุณ หรือ ถ้าให้คนอื่นมาทำงานที่เราทำอยู่ตอนนี้ งานจะออกมาแตกต่างเป็นอย่างไร อะไรคือสิ่งที่เราใส่ใจเป็นพิเศษ

🧡 Be kind ทำประโยชน์ให้กับคนอื่น
“ลองทำดูสักครั้ง ถ้าทำไม่ได้ก็แค่เลิกทำ”

🧑🏻อาจารย์ยกตัวอย่างเคสนึงของญี่ปุ่น ‘ไอซัง’
ตอนเด็ก ๆ ไอซังโดนแกล้ง ทำให้กลัวคน เลยใช้เวลานานในการเรียนมหาลัย สุดท้ายไม่ทำงานเพราะกลัวคน อยู่บ้านเล่นเกมอย่างเดียว วันนึงเห็นประกาศรับไรเดอร์ เพราะไม่เจอคน รับอาหารแล้วไปส่งแค่นั้น ครั้งแรกที่ไปส่งอาหาร เจอลูกค้าว่านิดหน่อยก็มีกลัวบ้าง

แต่พอผ่านไปเดือนนึงก็เริ่มหาเงินได้ เริ่มรับงานส่งอาหารมากขึ้น จนได้ไปเจอลูกค้าใจดีที่พูดขอบคุณที่ส่งอาหาร พอได้รับคำขอบคุณก็เริ่มแต่งตัวดีขึ้น ทำไปเรื่อย ๆ ก็เริ่มสนุกกับการทำงาน เหมือนเล่นเกม พอมีเงินเยอะขึ้นก็เริ่มแบ่งปันให้คนอื่น บริจาคเงินให้มูลนิธิต่าง ๆ

ไอซังไม่ได้ทำงานเพราะรัก แต่เพราะเงิน แต่พอทำไปเรื่อย ๆ ก็เห็นถึงประโยชน์จากการทำงาน

วิธีที่เราจะ Be kind เช่น สังเกตและสัมผัสคำขอบคุณที่ได้รับ เช่น เวลาอาจารย์ได้รับคำขอบคุณจากผู้ฟัง ทำให้อาจารย์จะรู้สึกใจฟูมาก หรือลองจินตนาการถึงลูกค้าปลายทาง งานเราช่วยให้ชีวิตเขาดีขึ้นได้อย่างไร เช่น ถ้าแอปโอนเงินเราดีก็จะทำให้ลูกค้าโอนเงินได้เร็วขึ้น เห็นว่างาน impact กับคนอื่น

อาจารย์ฝากไว้ว่าให้ “ใช้ทักษะที่เรามีไปช่วยเหลือผู้อื่น” สุขในการเป็นตัวตนที่เราเป็นและสุขในการไปช่วยเหลือคนอื่น

#CTC2024 #Skooldio

More in:Business

Comments are closed.