[Blog Cover]วิธีเล่า Data ให้คนเปลี่ยนใจ!

เล่าเรื่องยังไง ให้กินใจ ย่อยง่าย สร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริง

สรุปเซสชัน Call to Action: Creating Data Stories for Impact โดย Nabilah Said, Editorial Lead และ Siti Aishah, Front-end Tech Lead จาก Kontinentalist ในงาน Data Connect 2024

Data Storytelling คืออะไร ?


คือการเล่าเรื่องจากข้อมูลประกอบด้วย 3 elements คือ Data (ข้อมูล), Narrative (การเล่าเรื่อง) และ Visualization (การทำภาพ) ถ้าขาด 1 ในนี้ไปมันจะเป็นแค่ Infographic

ทำไมเราถึงเล่าเรื่องด้วย Data ?

การนำเสนอข้อมูลผ่านเรื่องราว จะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจถึงบริบทและภาพรวมของข้อมูลได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ทำให้ทุกคนมองเห็นภาพเดียวกัน เรื่องราวที่ดีจะสามารถกระตุ้นอารมณ์และความรู้สึกของผู้ฟังได้ ทำให้ผู้ฟังรู้สึกเชื่อมโยงกับข้อมูลและเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และจะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ในการตัดสินใจหรือสร้างการเปลี่ยนแปลงได้

การจะทำให้คนแคร์ ต้องเริ่มจากข้อมูลก่อน ยกตัวอย่างงานที่ Kontinentalist ใช้ Data Storytelling เข้ามาคือเรื่องของชาวโรฮิงญาที่เป็นประเด็นปัญหาด้านมนุษยธรรม มีใช้ทั้งสถิติ / excel spreadsheet โดยงานของเขาคือการทำให้ข้อมูลเหล่านี้มีควาหมายและรูปแบบมากขึ้น

Kontinentalist มีการทำภาพ คลิป เพื่อสร้างบรรยากาศและเล่าให้ผู้ฟังผ่านการใช้แผนที่อธิบายว่าผู้อพยพต้องเดินทางไกลแค่ไหน และจะมีกล่องข้อความขึ้นบอก มีเส้นสีฟ้าขึ้นที่ระบุว่าผู้อพยพเดินทางไปที่ไหน ใช้เวลาเท่าไหร่ กว่าจะถึงแคมป์ เดินทางข้ามที่ไหนบ้าง

สาส์นสำคัญ คือ การเล่าถึงความอันตรายที่ผู้อพยพต้องเผชิญ เพื่อไม่ให้รัฐบาลเมินเฉยเวลาพวกเขาเข้ามาในเขตประเทศ Kontinentalist ใช้วิธีนี้ในการพูดว่า มนุษย์ไม่ใช่แค่ตัวเลข แต่นี่เป็นสิ่งที่เขาต้องเจอจริง ๆ

การเล่าเรื่องที่ดีทำให้เราลงมือแก้ไขได้ และสามารถเรียกร้องให้ทุกคนมีมาตรการตอบสนองและสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางบวกได้

เรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมเป็นวิธีการที่เรามองโลก คุณค่า ทัศนคติ

สิ่งที่ Kontinentalist ตั้งใจคือเรื่องการนำเสนอข้อมูลวัฒนธรรมในเอเชีย อาจดูเหมือนไม่น่าฟัง แต่ทำไมเขาถึงอยากเล่า?

คำตอบก็คือเพราะมันทำให้เข้าใจ ความลึกซึ้งในแต่ละส่วนของประเทศ อย่างการที่เขาวิเคราะห์เพลง Pop ของไทย หรือเมื่อสองปีที่แล้วก็มีการทำเกี่ยวกับดนตรีในเมียนมาร์ โดย Kontinentalist มีการทำงานกับคนในประเทศนั้น ๆ ทำงานร่วมกันกับคนในชุมชน

ข้อมูลต่าง ๆ แสดงให้เห็นไปถึงว่าแต่ละวัฒนธรรมคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ แตกต่างกันอย่างไร

นอกจากนี้ ทาง Kontinentalist ก็มีบทความที่ยังไม่ได้เผยแพร่ ที่จะพูดเรื่อง Gaza กับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งเขาทำงานร่วมกันกับบริษัทในปาเลสไตน์เพื่อสื่อสารประสบการณ์ผ่านมุมมองคนปาเลสไตน์

Kontinentalist แชร์แนวคิดให้ฟังว่า เวลาจะเล่าเรื่องอะไร ต้องถามตัวเองว่า เราจะแสดงข้อมูลออกมาเป็นภาพได้ยังไง เและต้องเป็นวิธีการเล่าเรื่องของคนในชุมชนจริง ๆ โดยในบทความเกี่ยวกับ Gaza นี้เขาใช้วิธีแสดงข้อมูลผ่าน เครื่องทอ ของ Gaza ซึ่งแต่ละฝีเข็มก็แสดงถึงสถานที่ที่ถูกทำลาย ไม่ว่าจะ โรงเรียน หรือพิพิธภัณฑ์

วัฒนธรรมเป็นเรื่องของผู้คน แต่พวกเขาคือคนที่ขยายเรื่องราวเหล่านั้น และผลักดันให้ชุมชนเล่าเรื่องของตัวเอง

การเล่าเรื่องด้วย Data จะมีพลังมากขึ้นไปอีกถ้าเราทำงานร่วมกันในระดับเอเชีย จะทำให้เราได้มุมมองที่แตกต่างกันมากขึ้น และจะสร้างแรงบันดาลใจได้

More in:Data

Comments are closed.