ใช้ data เข้าถึงคน ทำระบบแก้ปัญหาคนตัวเล็กที่ถูกลืม
สรุปเซสชัน เขย่าการเมือง ด้วยพลังข้อมูล Shaking Up Politics with Data โดยคุณยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ iLaw , คุณปราบ เลาหะโรจนพันธ์ Senior Strategist AGO และคุณมนตรี ถนัดค้า Managing Director Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต ในงาน Data Connect 2024
คุณยิ่งชีพแชร์ว่าสำหรับ iLaw ในเรื่องการเมือง บางครั้งการพูดจุดยืนออกมาตรง ๆ มันไม่มีประโยชน์ เราต้องพูดถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ‘เปิด 10 อันดับคดีมาตรา 112 ที่ลงโทษหนักที่สุด’ เราไม่ได้พูดว่าคดีนี้โทษสูงไป เป็นการเอาข้อมูลมาโชว์ให้ดู แล้วให้คนคิดเอง อีกตัวอย่างคือผลการเลือกสว. ที่แชร์ให้ดูว่า Top 8 จังหวัดที่ได้สว.เยอะจนผิดสังเกต แต่ก็ไม่ได้ชี้นำอะไรเช่นกัน
เราใช้ข้อมูลพูดสิ่งที่อยู่ในใจเรา โดยที่เราไม่ต้องพูดจุดยืนตรง ๆ ออกมา
รัฐไม่ได้ให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูล โดยกฎหมายมีอะไรให้พัฒนาได้ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือวัฒนธรรม
ผลการเลือกตั้ง เมื่อก่อนเรารู้เป็นรายเขต แต่ตอนนี้เรารู้เป็นรายหน่วยแล้ว สำหรับผลการเลือกสว.ถ้าเราไม่มีข้อมูลคนที่ตกรอบ เราก็จะไม่เห็นเลยว่ากลุ่มที่ชนะแปลกยังไง
สำหรับเรื่องของข้อมูล ในมุมมองคุณยิ่งชีพ สิ่งที่เราขาดมากกว่าคือเราต้องรู้ก่อนว่าเราจะแก้อะไร จะขุดอะไร เจอข้อมูลก่อนแล้วค่อยไปหาเครื่องมือ ที่สำคัญคือเห็นข้อมูลแล้วอย่ากลัว
สำหรับคุณปราบ เล่าว่าเขามีโอกาสได้เข้าไปเป็น fellowship AGO ได้ไปศึกษาเรื่องการเลือกตั้งของประเทศสหรัฐอเมริกา ย้อนกลับไปหลายปีที่แล้วตอนโอบามาได้เป็นนายก ทุกคนก็มีความคาดหวังว่าจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนของประเทศ แต่ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ทรัมป์ซึ่งเป็นฝั่งขวาสุดได้เป็นนายก
เครื่องมือและโครงสร้างก็สำคัญ
Venture capital ที่ลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวโดยเฉพาะ เราจะเห็นว่ามีเครื่องมือต่าง ๆ เยอะมาก ไม่ได้ใช้ Analytics tools อย่างเดียว แต่ในประเทศเล็ก ๆ อย่างเรา ใครจะลงทุนใช้ ?
ถ้าเราจะเขย่าการเมืองให้ไปได้ไกล การสร้างเครื่องมือก็เป็นความท้าทายที่สำคัญมาก นอกจากนี้ ในเรื่องการเลือกตั้งก็จะมีคนพูดถึง Generative AI เข้ามาทำแคมเปญ แต่มันก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ผลลัพธ์อาจดีเท่ากับมนุษย์ แต่ไม่เสมอไป ค่าใช้จ่ายก็ไม่ได้ถูกลง โจทย์ที่สำคัญคือเครื่องมืออะไรที่จะตอบโจทย์และเราจะสร้างเองได้หรือไม่
สำหรับเรื่องของข้อมูล ในประเทศสหรัฐอเมริกาเปิดเผยมาก คือก่อนจะเลือกตั้งต้องไปลงทะเบียนก่อน และผู้สมัครทุกคนก็จะเห็นรายชื่อและหาเสียงจากรายชื่อนั้น ๆ
ประเทศไทย เรื่องการเปิดเผยข้อมูลอาจไม่ได้ละเอียดขนาดนั้น หน่วยงานที่เปิดแล้วมีอยู่แล้ว แต่จะทำยังไงให้นำไปใช้ได้ง่ายขึ้น และทำยังไงให้หน่วยงานที่ยังไม่เปิดมาเปิด อีกเรื่องที่สำคัญคือแรงจูงใจของเจ้าหน้าที่ ต้องมีพื้นที่ปลอดภัยและ reward ให้กับเขา
คุณปราบเล่าถึงตอนทำแคมเปญอ.ชัชชาติ ที่ลงสมัครเป็นแบบอิสระ ซึ่งแปลว่าไม่มีสก. ถ้าจะชนะได้ต้องทำได้ด้วยอาสาสมัครเท่านั้น เลยเปิดให้คนมาลงทะเบียนเป็นเพื่อนชัชชาติ ทำให้รู้ว่ามีผู้สนับสนุนอยู่ที่ไหน จะได้สร้างเครือข่ายได้ ซึ่งตอนนั้นไม่ได้มีเครื่องมือนี้อยู่ในไทย แต่ทำงานร่วมกับ Boonmee Lab พัฒนาขึ้นมา นอกจากนี้ ยังเล่าถึงความสำคัญของเครื่องมือที่ทำให้คนสามารถลงชื่อเสนอกฎหมายออนไลน์ได้ และจำนวนคนมาใช้เป็นแสน นั่นเป็นการเติมพลังว่าเราจะสร้างเครื่องมืออะไรเข้ามาช่วยแก้ปัญหาทางการเมืองได้อีก
หัวใจสำคัญคือในอนาคตจะเจอความท้าทายอะไรบ้าง ตอนนี้เรามีอะไรที่พร้อมหรือยัง ถ้าไม่มีก็ต้องสร้างเพื่อเตรียมพร้อมกับมัน
คุณมนตรีเล่าถึงโปรเจกต์ CityMETER ที่ตอนแรกเป็นพื้นฐานงานธุรกิจ ทำเกี่ยวกับเรื่องพื้นที่ สำหรับธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อ มีคนให้มาวิเคราะห์ที่ดินต่าง ๆ เลยได้ไอเดียว่าอยากจะเป็นซินแส เช่น ตั้งร้านกาแฟตรงไหนดี เปิดร้านหมูปิ้งที่ไหนดี
เปิด คุ้ย เล่า
ตอนนั้น Landometer เริ่มเห็นโอกาส เลยลองทดสอบโดยการใช้ CityMETER มี 3 ขั้นตอนหลัก ๆ คือเปิดข้อมูลต่าง ๆ จากภาครัฐ เอา Insight มาคุยกันและนำมาเล่า
แล้วเรื่องนี้จะเขย่าการเมืองอย่างไร ?
การเมืองในที่นี้คือการเป็นอยู่ของคนที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ นำข้อมูลมาเรียบเรียงให้เกิดเป็นระบบที่แก้ปัญหาคนที่อยู่ในที่ที่ถูกลืมได้ เช่น ข้อมูลด้านประชากร มองเห็นว่าเมืองอยู่ที่ไหนจากความหนาแน่นของประชากรที่กระจุกตัวอยู่, รายได้และกิจกรรมทางเศรษฐศาสตร์ ใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มมาแจกแจงในรูปแบบพื้นที่ของแต่ละจังหวัด
พอเรามี data set หลาย topic แล้วก็เริ่มทำ City Story ให้ user วงแผนที่ ระบบก็จะให้ข้อมูลและให้อ่านบทความ ซึ่งมี Impact เช่น
1. เรื่องน้ำท่วม สามารถนับจำนวนอาคาร estimate ความเสียหายได้ ว่าจะต้องซ่อมแซมเท่าไหร่
2. โรงพยาบาล แถวไหนที่ขาดแคลนหมอ
3. การศึกษา เด็กเกิดน้อยลง เราไม่ขาดแคลนห้องเรียนแล้ว แต่ยังต้องแก้ที่คุณภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำไปทำนโยบายต่อ
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่เก็บรวบรวมเรื่อง ธนาคาร ไฟป่า ฯลฯ ด้วย
ใครอยากลองเล่น City Story คลิกลิงก์ได้เลย! version มี AI | version ไม่มี AI