เมื่อพูดถึงคำว่า Impact Player หลายคนอาจจะนึกถึงภาพนักกีฬาที่สร้างผลงานได้อย่างโดดเด่น ยอดเยี่ยม เป็น mvp ในสนาม ซึ่ง Impact Player นั้นก็ถูกพูดถึงในโลกของการทำงานภายในองค์กรเช่นเดียวกัน โดยคุณ Liz Wiseman ซีอีโอบริษัทวิจัยและพัฒนาความเป็นผู้นำให้องค์กรยักษ์ใหญ่ระดับโลก เช่น Apple, Disney, Facebook, Google, Microsoft, Nike อธิบายถึงพนักงานประเภท Impact Player ไว้ว่าพวกเขาคือคนที่สร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม และสร้างอิมแพคเชิงบวกให้กับทีม 

ในองค์กรที่เต็มไปด้วยพนักงานมากมาย ก็จะมีอยู่บางคนที่โดดเด่นเป็นพิเศษ หากมีเกรดในการประเมินก็คงเป็นพนักงานที่มักจะได้เกรด A+ จนถูกเรียกว่าเป็นพนักงานระดับท็อป, high performer หรือ  ‘Impact Players’ 

ไขความลับ พนักงานเกรด A+ ที่เจ้านายรัก ทีมพร้อม Support! | Skooldio

บทความโดย World Economic Forum ระบุว่าองค์กรเองมีการมองหา และต้องการรักษาพนักงานที่เป็น high performer เอาไว้ เพราะ impact ที่พวกเขาสร้างนั้นมันมีความสำคัญมาก และมีการกล่าวถึงงานวิจัยที่ระบุว่าพนักงานที่เป็น top 1% คือคนที่รับผิดชอบผลลัพธ์ขององค์กรสูงถึง 10% เลย

นอกจากจะสร้างอิมแพคให้กับองค์กรได้อย่างมหาศาลแล้ว พวกเขายังมีอิมแพคต่อเพื่อนร่วมงานด้วย โดยจากบทความของ Harvard Business Review ได้พูดถึงพนักงานเหล่านี้ว่า พวกเขาคือคนที่อยู่เบื้องหลัง innovation ต่าง ๆ ขององค์กร มีผลงานที่เรียกได้ว่าไม่ใช่แค่ meet แต่ exceed expectations และเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรอบข้างอีกด้วย

ซึ่งการที่พนักงานหนึ่งคนจะเป็น impact player นั้น ไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือโชคช่วย แต่เมื่อเราลองมาไขความลับดูแล้ว สิ่งที่ทำให้พวกเขามีความแตกต่างจากคนอื่น ๆ คือวิธีการคิดและวิธีในการทำงานของพวกเขานั่นเอง

Impact Players คิดและทำงานกันยังไง? 

1. ทำสิ่งที่ต้องทำ: Impact Players มองตัวเองเป็น ‘ผู้แก้ปัญหา’ (problem solvers) ไม่ใช่แค่ทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแต่ยังรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่องค์กรให้คุณค่าและมองหาวิธีที่จะสามารถสร้างคุณค่า รู้ว่าจะต้องทำยังไงให้องค์กรประสบความสำเร็จ

2️. รู้ว่าต้องก้าวขึ้นมาตอนไหน ถอยตอนไหน: หนึ่งในประโยคที่น่าสนใจมาก ๆ จากบทความเรื่อง Impact Players ของ Leadership Now คือ “Leadership is needed at all levels of an organization” เพราะความเป็นผู้นำนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในระดับผู้บริหาร ไม่ว่าจะอยู่ตำแหน่งหน้าที่ไหนในองค์กรความเป็นผู้นำคือสิ่งที่จำเป็น

ในสถานการณ์ที่ขาดคนนำ แทนที่จะรอคำสั่งว่าจะต้องไปยังไงต่อ Impact Players คือคนที่กล้าก้าวขึ้นมาคุมสถานการณ์ และ นำทีม ไม่ได้เป็นการกันซีนผู้มีอำนาจเพราะพวกเขารู้ว่าควรจะก้าวขึ้นมานำตอนไหน และกล้าที่จะถอยกลับไปเป็นผู้ตามเมื่อถึงเวลาเช่นกัน

3️. มุ่งมั่นทำให้สำเร็จ: Impact Players คือคนที่มีความรับผิดชอบสูง มี ownership ลงมือทำงานจนสำเร็จ แม้จะเจอสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนหรือไม่เป็นใจ หากต้องการความช่วยเหลือพวกเขาก็กล้าจะขอการซัพพอร์ตจากคนอื่น ๆ โดยที่ยังคงรับผิดชอบในงานของตัวเอง และสามารถส่งมอบงานได้อย่างดีทุกครั้ง

4. ถามฟีดแบคและปรับปรุง: มองฟีดแบคให้เป็น Information ไม่ใช่ “Criticism” คนที่เป็น Impact Players จะเรียนรู้และปรับเปลี่ยนอยู่เรื่อย ๆ เพราะยิ่งเป้าเปลี่ยนแปลงไปเราก็ยิ่งต้องการฟีดแบค คำแนะนำต่าง ๆ Impact Players กล้ารับความล้มเหลวความเสี่ยงที่จะมาพร้อมกับการเรียนรู้ลองผิดลองถูก พวกเขาไม่ปล่อยให้สิ่งเหล่านี้มาบั่นทอนคุณค่าในตัวเอง และเชื่อว่าตัวเองมีคุณค่า สามารถเติบโตและพัฒนาได้

5. ทำให้การทำงานง่ายขึ้น: คนที่เป็น Impact Players จะสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นบวกและมีประสิทธิภาพให้กับทั้งตัวเองและทุกคนในทีม พวกเขาพร้อมที่จะช่วยเหลือทีมและลดความตึงเครียดของสถานการณ์นั้น ๆ ลง

How to Become a Top Performer | Skooldio

แนวทางเปลี่ยนพนักงานธรรมดาให้กลายเป็น Impact Player

เมื่อเรารู้แล้วว่า Impact Player นั้นมีวิธีการคิดและทำงานยังไง เราลองมาดูกันดีกว่าว่าจะมีแนวทางหรือทักษะอะไรที่จะช่วยเสริมสร้างให้เรากลายเป็น Impact Player ในองค์กรได้

เป็นพนักงานที่มี Ownership

คุณรุตม์-อานนทวงศ์ มฤคพิทักษ์ VP of People, LINE MAN Wongnai ผู้ที่ดูแลทีม people มาเป็นเวลาหลายปี มีโอกาสได้เห็นการประเมินผลงานของทุกคนในองค์กร และรู้ว่าอะไรที่ทำให้แต่ละคน เป็น high performer ในองค์กรได้

ซึ่งสิ่งแรกที่คุณรุตม์เรียกว่าเป็น “ตาน้ำ” เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยของการเป็น high performer นั้นคือเรื่อง Ownership  หรือความรู้สึกว่าเป็นเจ้าข้าวเจ้าของของงานชิ้นนั้น 

เมื่อเรามี ownership แล้วเราก็จะรู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ มาทำงานเพื่อให้งานนั้นออกมาดี ทำงานเพราะเรารู้ว่างานนั้นมีคุณค่าและมีความหมายต่อทั้งตัวเรา ทีมเรา องค์กร และลูกค้า โดยคุณรุตม์อธิบายเพิ่มว่าคนที่มี ownership จะไม่คิดเล็กคิดน้อย ไม่กลัวงานหนัก ไม่ทิ้งงานกลางทาง และไม่ยอมแพ้จนกว่างานนั้นจะสำเร็จ 

How to Become a Top Performer | Skooldio

 ทำอย่างไรให้พนักงานมี Ownership?

การที่พนักงานจะมี Ownership นั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทั้งตัวองค์กรและตัวพนักงาน

1. องค์ต้องมี mission ที่เร้าใจก่อน! 

เริ่มจากองค์กรต้องมี mission ที่เร้าใจ หรือ mission ที่มันน่าเชื่อถือ มีคุณค่าก่อน โดยมี CEO หรือ ผู้บริหารทำหน้าที่ในการสื่อสารออกไปผ่านการประชุม, townhall, email ฯลฯ เพื่อให้พนักงานรู้ว่า องค์กรของเรากำลังมุ่งหน้าไปทางไหนและเรากำลังทำสิ่งนี้เพื่ออะไร 

2. พนักงานเองก็ต้องมีของและมีความตั้งใจดี

ตัวพนักงานนั้นก็จะต้องเป็นคนที่มีของและมีความตั้งใจดีอยู่แล้วด้วย คือตื่นมาแล้วรู้ว่า ฉันมาทำสิ่งนี้เพื่ออะไร คือการที่เรารู้ว่าเราใช้เวลาอย่างมีคุณค่า ทั้งต่อตัวเองต่อเพื่อนร่วมงาน และต่อคนอื่น ๆ ด้วย

มีความเป็นผู้นำ ทำให้ทีมทำงานต่อไปได้

ไม่ว่าเราจะมีตำแหน่งงานเป็น PM (Project Manager) หรือไม่ เราก็จะต้องเจอโปรเจกต์อยู่เสมอ และในวันนึงเราก็อาจต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำโครงการ ในโครงการของเราไม่ว่าเราจะเรียกตัวเองว่าอะไรก็ตาม

ส่วนที่ PM ไม่สามารถปล่อยทิ้งไปได้เลย คือเรื่อง  leadership เพื่อที่จะนำทีมงาน สร้างแรงบันดาลใจ คอยช่วยแก้ปัญหา เคลียร์อุปสรรคต่าง ๆ ให้กับทีม โดย leadership เองก็เป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญของคนที่เป็น ‘impact player’ เช่นเดียวกัน

รูปแบบความเป็นผู้นำนั้นก็มีอยู่หลายแบบ เพราะ ความเป็นผู้นำไม่ใช่แค่ว่า เราสั่งการแล้วให้คนอื่นทำตามเพียงอย่างเดียว โดยได้มีการศึกษาและจัดกลุ่ม ความเป็นผู้นำอยู่หลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น

1. Visionary ความเป็นผู้นำโดยใช้เป้าหมาย วิศัยทัศน์เป็นตัวนำ ฉายภาพไปอนาคตได้ไกล ๆ ทำให้ทุกคนรู้สึกว่าอยากเดินไปตามวิศัยทัศน์ที่เขามี

2.Affiliative สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คอยขจัดปัญหาความขัดแย้ง ให้ทีมงานรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการทำโปรเจกต์

3. Participative เน้นการมีส่วนร่วม ถามความคิดเห็นของคนในทีม ให้แต่ละคนมีโอกาสเข้ามาช่วยเหลือในการวางแผน บริหารจัดการโครงการ

Project Management Essentials | Skooldio

ทั้งนี้ไม่ได้มีความเป็นผู้นำแบบไหนที่ดีกว่าอีกแบบนึง เราอาจใช้การผสมผสานรูปแบบความเป็นผู้นำหลาย ๆ แบบเข้ามาในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่า ณ ตอนนั้นโครงการเราต้องการความเป็นผู้นำแบบไหน โดยจะมีลักษณะความเป็นผู้นำอีกแบบหนึ่งที่ถูกพูดถึงค่อนข้างบ่อย ในการบริหารจัดการโครงการในยุคใหม่ คือ servant leadership เป็นความเป็นผู้นำโดยการสนับสนุนคนอื่น ซึ่งมักจะใช้กับทีมงานที่ทุกคนรู้หน้าที่ของตัวเองเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ดังนั้นผู้นำเองก็จะทำหน้าที่ซัพพอร์ตเขา

บทบาทของ servant leadership มีอะไรบ้าง?

1. เคลียร์ปัญหาและอุปสรรคให้ เวลาเขาติดขัดอะไร
2.คอยรักษาโฟกัสให้กับทีมงาน ไม่ให้โดนคนอื่นดึงไปใช้งานในสิ่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเขา
3.สนับสนุนเครื่องมือและตัวช่วยต่าง ๆ ที่จะทำให้ทีมงานทำได้ง่ายขึ้น ดีมากขึ้น
4.เป็น  coach ที่คอยให้คำแนะนำช่วยพัฒนาให้เขาไปได้ไกลลยิ่งขึ้น

ดังนั้นความเป็นผู้นำในศตวรรษที่ 21 อาจไม่ใช่แค่การสั่งงานอย่างเดียวแล้วให้เขาทำตาม แต่เป็นการที่เรามีบทบาทในการสนับสนุน ซัพพอร์ตลูกทีมให้เขาสามารถโตได้เต็มที่ในบทบาทของเขาด้วย

เข้าใจการใช้ Data ในธุรกิจ – วัดผลให้ถูกจุด

จากรายงานความเสี่ยงปี 2022 ของ Protiviti พบว่า อันดับ 8 ใน Top 10 ความเสี่ยงสูงสุดของโลกที่บริษัทใหญ่ ๆ  หลายบริษัทบอกว่าน่ากลัว คือการที่องค์กรไม่มีความสามารถในการใช้ประโยชน์จาก data analytics และ big data เพื่อให้เราทำธุรกิจได้ฉลาดมากขึ้น โดยเฉพาะยิ่งถ้าคู่แข่งเราใช้ข้อมูลเป็นในขณะที่เราใช้ไม่เป็นก็จะเป็นจุดที่ทำให้คู่แข่งแซงเราไปได้

โดยการวัดผล ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะช่วยบอกได้ว่าอะไรที่เราทำเวิร์ก ไม่เวิร์กยังไง ช่วยให้ตัดสินใจใหม่ให้ดีขึ้น ซึ่งสิ่งที่สำคัญของการวัดผลคือการ ‘วัดให้ถูกจุด’ เราไม่ควรวัดทุกอย่าง แต่ควรวัดสิ่งที่ ‘matter’

ยกตัวอย่างสถานการณ์เช่น บริษัทของเรามีแอปพลิเคชัน แล้วอยู่มาวันหนึ่งน้องในทีมก็มาบอกว่าไปวิเคราะห์ข้อมูลแล้วเจอว่าในเดือนที่ผ่านมายอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของเราเพิ่มขึ้นถึง 100% ! 

ในขณะที่เราดีใจกำลังจะออกไปเฉลิมฉลอง ก็มีน้องในทีมอีกคนนึงที่ก็วิเคราะห์ข้อมูลชุดเดียวกันได้เดินมาบอกว่า 80% ของผู้ใช้งานนั้น ‘churn’ หรือเลิกใช้แอปของเราภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากดาวน์โหลด ซึ่งพอรู้แบบนี้จากที่จะไปฉลองกันอาจจะต้องเลี้ยวกลับบริษัทเลยก็ได้

ความแตกต่างของสองข้อมูลนี้ อยู่ที่การวัดผลในสิ่งที่ matter / อาจไม่ matter นั่นเอง หากมองดูแล้วยอดการดาวน์โหลดนั้นเป็นตัวเลขที่อาจทำให้เรารู้สึกดีแต่อาจไม่ใช่ตัวเลขที่สะท้อนว่าลูกค้าชอบหรือไม่ชอบ product ของเรา ในขณะที่การวัดผลแบบน้องคนที่สองนั้นเราก็จะพบว่ามีลูกค้าอยู่เพียง 20% เท่านั้นที่ active อยู่ ซึ่งผลนี้สะท้อนให้เราเห็นประโยชน์ หรือ value ที่เราให้กับลูกค้าของเรา ดังนั้นการวัดผลแบบนี้ก็จะเป็นตัวเลขที่สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นจริงได้ดีกว่า และพาเราไปในทิศทางที่ช่วยให้เราสามารถทำธุรกิจได้ประสบความสำเร็จมากขึ้นด้วยนั่นเอง

Driving business impact with data | skooldio

รู้จักการเปลี่ยน data ให้เป็น insights รู้ใจคนมากขึ้น

อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราเข้าใจคน หรือลูกค้ามากขึ้น ว่าอะไรทำให้เขา take action หรือทำสิ่งต่าง ๆ แบบนั้นก็คือการทำการทดลอง หรือที่ในโลกเทคโนโลยีเรียกว่า การทำ A/B Testing

การทดลองนั้นเป็นการช่วยให้เราได้ฟังเสียงลูกค้ามากขึ้น ว่าทำแบบไหนเขาชอบไม่ชอบ หลายครั้งเราอยากจะทำนายพฤติกรรมลูกค้า แต่ถ้าเราไม่เคยทดลองก็ไม่มีอะไรให้เราวิเคราะห์หรือคาดเดาได้เลย

การทำ A/B Testing ก็เหมือนกับเรามีของ 2 version อยู่แล้วอยากจะเปรียบเทียบว่าอันไหนดีกว่ากัน แต่ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ทั้งสองอันนั้นต้องมีความเป็น ‘apple to apple’ และ กลุ่มคนที่เข้ามาทดสอบก็ควรจะต้องมีความคล้ายกันด้วย เช่น มีผู้ทดสอบเป็นผู้หญิง 30% ในทั้งสองกลุ่ม มีเด็ก 15% เท่ากัน เป็นต้น สัดส่วนของทุกอย่างควรจะต้องพอ ๆ กัน และต้องไป สุ่มหรือ random มา ให้แบ่ง A/B พอ ๆ กัน ๆ เท่า ๆ กันก่อนเป็นต้น

อย่ารีบเชื่อพี่หัวโต๊ะ (highest-paid person’s opinion) 

หลายครั้งในห้องประชุมของเราก็จะมีพี่หัวโต๊ะที่อาจแสดงความคิดเห็นว่าเชื่อพี่สิ เลือกตัวเลือกนี้ พี่ทำงานที่นี่มาสามสิบปี และโดยทันทีที่เป็นแบบนี้น้อง ๆ ก็มักจะไปตามน้ำ ได้ครับพี่ดีครับผมเหมาะสมครับท่าน สุดท้ายทุกคนก็จะตัดสินใจตามพี่ฮิปโป หรือที่เรียกว่าตาม highest-paid person’s opinion (HiPPO) แม้ว่าน้องในห้องอาจจะชอบอีกตัวเลือกนึงมากกว่า

ซึ่งในความจริงแล้วสิ่งหนึ่งที่ควรต้องระมัดระวังคือ โลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ความรู้ ความเชื่อที่เรามีมันก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไป เช่นลูกค้าของเราเมื่อ 30 ปีที่แล้ว กับตอนนี้ต่อให้เป็นคนเดิม พฤติกรรมของเขาเมื่อก่อนกับตอนนี้ก็อาจจะไม่เหมือนเดิมแล้ว

ดังนั้นการที่เราไปทำการทดลองเยอะ ๆ  ก็จะเป็นทางออกที่ช่วยให้เราปรับตัวตามสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้มากขึ้น เร็วขึ้น และยิ่งพอเราทดลองเยอะ ๆ ก็จะทำให้เรามีตัวอย่างข้อมูล เวลาเอาไปทำจริง ๆ ก็จะรู้แล้วว่าอะไรเวิร์กกับใคร ซึ่งก็จะนำไปสู่การ personalized ทำให้มันตอบโจทย์ลูกค้ารายคนได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

เป็นคนเล่าเรื่องยากให้เข้าใจง่าย สื่อสารไม่งง

It’s not what you say. It’s what people hear.

หลายครั้งเวลานำเสนอเรามัวแต่คิดว่าเราจะพรีเซนต์อะไร ยังไง ใส่อะไรลงไปบ้าง มัวแต่คิดในมุมของเรา แต่สิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการสื่อสารให้ประสบความสำเร็จ คือ การที่เราเข้าใจว่าถ้าเราสื่อสารไปแบบนี้แล้ว คนฟังเข้าจะได้ยินอะไร  เข้าใจยังไง ตีความว่าอะไร

หลักการสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถจัดโครงสร้างการเล่าเรื่องของเรา ให้ดีขึ้นได้ คือหลักการที่มีชื่อว่า  Pyramid Principle  โดยเราจะเล่าเรื่องออกมาเป็นโครงสร้างที่หน้าตาเหมือนปิรามิด เป็นสามเหลี่ยมจากบนลงล่าง โดย การนำเสนอทุกครั้งเราควรเริ่มจากการ Intro เพื่อ set background ให้ทุกคนเท่ากัน โดยเริ่มจากการอธิบาย situation / complication / question ของเรา

1. Main Idea: อยู่บนยอดสุดของปิรามิด  หรือเรียกได้ว่าเป็นการ lead with your answer เป็นการตั้งธงไว้ให้ชัด ๆ ก่อน ว่าเราจะนำเสนออะไร

2.Key Points: พอคนฟังได้ยินว่าเราจะนำเสนออะไร หลายครั้งเขาก็อาจจะเกิดคำถามต่อ ซึ่งเราจะมี support ideas ว่าทำไมเราถึงคิดแบบนี้ โดยมี key  points ต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อซัพพอร์ต โดยในแต่ละ point ที่เราสร้างขึ้นมา ก็อาจจะต้องลงรายละเอียดอีก

3.Evidences: ซัพพอร์ต key points ของเราด้วยหลักฐาน ยกตัวอย่างเช่น ถ้า point 1 ของเราคือยอดขายเติบโตดีอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เราต้องเอามาสนับสนุนคือ เรามีกราฟไหมที่แสดงให้เห็นว่ายอดขายมันโตขึ้นเรื่อย ๆ หรือมีอีกกราฟที่แสดงรายได้ของเราเมื่อเทียบกับคู่แข่ง เพื่อให้เห็นว่ายอดขายไม่ใช่แค่โตธรรมดาแต่โตเร็วกว่าคู่แข่งด้วยเป็นต้น

ซึ่งการพรีเซนต์แบบปิรามิดนี้ ก็จะทำให้ภาพตรงนี้ชัดเจนมาก ว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการนำเสนอ คนฟังเองก็จะสามารถติดตาม เข้าใจสิ่งที่เราอธิบายได้ง่ายขึ้นด้วย

Effective Data Storytelling | Skooldio

อีกหนึ่งประโยชน์คือพอความสำคัญชัด เราสามารถให้ priority ของข้อมูลเหล่านี้ได้ตามรูปแบบการนำเสนอและเอาไปปรับใช้ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เช่น 

  • elevator pitch: อยากจะ pitch idea ไว ๆ ให้ hook จนผู้บริหารอยากเรียกไปคุยต่อ เราก็สามารถจะหยิบเอาสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่าง main idea มาเล่าก่อน
  • เขียน report ให้หัวหน้าอ่าน: หัวหน้าอาจไม่ได้มีเวลามากหรือไม่ได้อยากอ่านรีพอร์ตยาว ๆ แต่เขาอาจจะอยากอ่านแค่ executive summary เราอาจหยิบ main idea และ key points มาเล่า เป็นต้น 
  • Complete Presentation: ถ้าเรามีพื้นที่มีเวลาเพิ่มมากกว่าสองสถานการณ์ข้างต้นก็สามารถใส่รายละเอียดเพิ่มเข้าไปให้ครบปิรามิดได้  โดยใส่หลักฐาน หรือ evidences เพิ่มเข้ามา เพื่อให้ points เหล่านี้ แข็งแรงมากยิ่งขึ้น คนอ่านคนฟังแล้วเชื่อเรามากยิ่งขึ้น คล้อยตามเรามากยิ่งขึ้นได้นั่นเอง 

เทียบความต่างพนักงานธรรมดา vs Impact Player

เมื่อเรารู้แล้วว่า Impact Player เป็นพนักงานแบบไหน และทักษะอะไรที่น่าจะสามารถช่วยให้เราอัปสกิลพัฒนาตัวเองให้โดดเด่น และสร้าง impact ที่ดีให้กับองค์ได้บ้างแล้ว เรามาลองเช็คกันดูดีกว่าว่าหากเราเจอสถานการณ์ที่เป็นอุปสรรคหรือเจอความท้าทาย เรามีวิธีการรับมือแบบไหน เป็นแบบ impact player หรือเปล่า? 

 ไขความลับ Impact Players | Skooldio

เป็นยังไงกันบ้าง ใครลองเช็คดูแล้วตัวเองตรงกับข้อไหนบ้าง แต่หากยังไม่ตรงก็ไม่เป็นไรเพราะเราสามารถลองเอาวิธีคิดวิธีการทำงานของ Impact Players มาปรับใช้ได้เสมอ ใครจะรู้…ในปีนี้ Impact Player คนต่อไปที่จะสร้างผลงานได้โดดเด่นและพาองค์กรโตอาจเป็นคุณ! 

More in:Business

Comments are closed.