เทคนิคเพิ่ม Performance คนทำงาน โดยอดีตหมอผู้เคยสอบได้ที่ 1 ใน Cambridge University
บทความนี้เราจะมาสรุปเคล็ดลับจากคุณ Ali Abdaal เจ้าของผลงานหนังสือ Feel-Good Productivity ที่ติดอันดับ New York Times bestselling book โดยเทคนิคนี้พาคุณ Ali Abdaal คว้ารางวัล best exam performance in the year group สมัยเรียนปี 3 ที่ Cambridge University มาแล้ว!
Table of Contents
The Creation Stage
คำถามข้อที่ 1 : เลือกหัวข้องานยังไง
สโคปหัวข้อ หาหัวข้อที่ครอบคลุมทั้ง syllabus โดยการดูเปเปอร์เก่า ๆ แล้วลองมองในมุมคนออกข้อสอบว่า อะไรคือหัวข้อเขียน essay ที่ดีแต่ยังไม่ถูกถาม
ในข้อนี้สำหรับคนทำงานอาจเลือกเป็นหัวข้องาน โปรเจกต์ หรือปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ก็ได้
คำถามข้อที่ 2 : วางแผนยังไง
คุณ Ali ให้เวลาตัวเอง 1 วัน ต่อ 1 essay plan โดยจะเริ่มจากการตั้งคำถาม และใช้ Google หาข้อมูลให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และก็มักจะได้เจอ review article, review peper มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ก็ตอบคำถามที่ตั้งเอาไว้
รวมถึงมีการไปดูโน้ตเลคเชอร์ รายการหนังสือแนะนำ แล้วสร้าง research document ของตัวเองขึ้นมาเพื่อบันทึกข้อมูลเอาไว้ จากนั้นก็จะใช้เวลาไม่นานเพื่อวางแผนการเขียน essay และเริ่มเขียนงานออกมา
เปรียบกับคนทำงานคือการตั้งคำถาม และศึกษา รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่มี ไม่ว่าจะเป็นรีพอร์ตจากโปรเจกต์ที่ผ่านมา, case study ต่าง ๆ, หรืออาจเป็นข้อมูลจากประสบการณ์ของเราก็เป็นได้ เพื่อเอามาใช้ในการวางแผน
คำถามข้อที่ 3 : ทำยังไงให้วางแผนดี
essay plan ที่ดีมีองค์ประกอบหลายอย่าง แต่คุณ Ali มองว่ามีอยู่ 3 สิ่งที่สำคัญ คือ เรื่องโครงสร้าง, การที่มันตอบคำถามจริง ๆ จากนั้นก็ใส่ความนัวลงไปหน่อย
ถ้าเราลองเปรียบเทียบกับการทำงานอาจตีความได้ว่า วางแนวทางดำเนินโปรเจกต์ที่มีโครงสร้าง และตอบโจทย์ ตอบปัญหา ตอบคำถามที่ตั้งเอาไว้ รวมไปถึงมีกลยุทธ์สำหรับสถานการณ์ต่าง ๆ
The Memorisation Stage
Anki flashcards
ใช้เพื่อช่วยจำสิ่งที่เขียนเอาไว้ใน essay plan ด้านหน้าการ์ดเป็นคีย์เวิร์ดของเรื่องนั้น และด้านหลังเป็นรายละเอียดเนื้อหา
เราอาจใช้แฟลชการ์ดช่วยทบทวนข้อมูลสำคัญที่จำเป็นกับโปรเจกต์ เช่น กลยุทธ์, ข้อมูล product เป็นต้น
Spider diagrams
ใช้พื้นที่วาด 1 หน้า ต่อ 1 essay plan โดยเราจะเห็นโครงสร้างทั้งหมดของงาน รวมไปถึงคีย์เวิร์ดต่าง ๆ
ในทุก ๆ วันคุณ Ali จะวาด spider diagrams ขึ้นมาใหม่จากความทรงจำ ถ้าอันไหนไม่รู้ไม่มั่นใจก็จะย้อนไปดู master spider diagrams, master essay plan หรือ Anki
ในการทำงาน Spider diagrams ก็เปรียบเหมือนแผนงาน ที่จะทำให้เราเห็นภาพ เห็นโครงสร้างทั้งหมดของโปรเจกต์ และจะได้เห็นความเชื่อมโยงของแต่ละขั้นตอนด้วย
Retrospective Revision Timetable
เป็นเหมือนตารางที่เก็บ record การทบทวนของเรา ที่ด้านซ้ายสุดของตาราง คือ หัวข้อต่าง ๆ ของ essay plan ถัดไปทางขวามือของตารางคือวันที่ที่ได้เรียนรู้ หรือทบทวนหัวข้อนั้น ๆ
วันไหนที่กลับมาเรียนหรือทบทวนเรื่องนั้นอีก ตามวันที่ที่กำหนดเอาไว้ ก็ใช้สีเช่น สีแดง สีเหลือง สีเขียว เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายว่า วันนั้นที่กลับมาทบทวนเราแม่นเรื่องนั้นแค่ไหน
หากปรับใช้กับการทำงาน เทคนิคนี้ก็เป็นเหมือนการที่เรากลับมาคอยตรวจเช็คอยู่เรื่อย ๆ ว่า performance เป็นยังไงบ้าง มีอะไรที่เราควรปรับให้ดีขึ้นหรือเปล่า เพื่อให้การทำงานของเรามีประสิทธิภาพมากที่สุด