สร้างทีมที่เต็มไปด้วยพนักงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าทำ และกล้าตัดสินใจ
ทักษะผู้นำที่สำคัญอย่างนึงคือ การให้อำนาจและให้การสนับสนุนที่เหมาะสมแก่พนักงานเป็น แต่ปัญหาที่พบในองค์กรส่วนมากคือ พนักงานน้อยคนรู้ว่าพวกเขาสามารถตัดสินใจอะไรได้บ้าง แม้จะรู้ หัวหน้าก็ไม่เข้าใจวิธีสนับสนุนการตัดสินใจของพนักงาน ส่งผลให้การตัดสินใจช้าและไม่มีคุณภาพ
หลักการมอบอำนาจที่ถูกต้อง คือหัวหน้าต้องให้ทั้งเครื่องมือและการสนับสนุนที่เหมาะสม การให้คำแนะนำที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสมเป็นทักษะความเป็นผู้นำที่สำคัญ แต่ก็เป็นทักษะที่เกิดขึ้นง่าย ๆ และไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
จากบทความของ McKinsey & Company แบ่งรูปแบบ Manager ตามสไตล์การนำทีมและความมีส่วนร่วมกับลูกน้องได้ 4 แบบ คือ Micromanager, Helicopter boss, Cheerleader และ Coach
📍 manager ส่วนใหญ่มักเริ่มต้นด้วยการเป็นเจ้านายแบบ Helicopter หรือ Micromanager ซึ่งจะคอยควบคุมและแทรกแซงการตัดสินใจของลูกน้อง ทั้งสองแบบมักจะชอบลงมือทำเองและควบคุมทุกอย่าง พร้อมที่จะปัดตกการตัดสินใจของลูกน้องหากไม่ถูกใจ
การเป็นผู้นำที่จู้จี้ก็อาจเป็นผลมาจากความคาดหวังขององค์กร ทัศนคติต่อความล้มเหลวและความรับผิดชอบ ทำให้ Manager บางคนรู้สึกว่าลูกน้องไม่มีความสามารถหรือทักษะเพียงพอที่จะตัดสินใจเองได้ดี หรือไม่มีความรับผิดชอบเพียงพอ
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจาก Inc.com และ Forbes บอกว่า “การเป็นหัวหน้าจู้จี้” อาจเป็นประโยชน์ในบางสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นในระยะเริ่มต้นของธุรกิจหรืองานเชิงกลยุทธ์เพราะช่วยให้ผู้นำสามารถชี้นำทีมอย่างใกล้ชิด หรือหากลูกน้องขาดความสามารถจริง ๆ วิธีการแบบ Micromanager อาจเหมาะสมที่สุด และหากจัดการได้ถูกต้อง การเป็นหัวหน้าแบบนี้จะรู้ว่าควรมอบหมายงานให้ใครและสามารถปรับสไตล์การบริหารให้เข้ากับคนแต่ละคนได้ด้วย
แต่ในระยะยาว Manager ทั้งสองแบบนี้จะทำให้พนักงานขาดความรับผิดชอบ ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ อาจรู้สึกด้อยค่า ไร้แรงจูงใจ และไม่ผูกพันกับองค์กรก็ได้
📍 ในขณะที่ Manager แบบ Cheerleader จะมีการเว้นระยะห่างและให้กำลังใจลูกน้องเป็นครั้งคราวเหมือนเชียร์จากข้างสนาม ผู้นำที่มีภาระงานมากและมีประสบการณ์ มักจะเป็นประเภทนี้ คือ เลือกคนเก่งเข้ามาทำงานที่เหมาะสม เพราะจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไป support อะไรมาก และให้อำนาจการตัดสินใจไปเลยเพื่อให้ตัวเองมีเวลาว่างมากขึ้น แต่ไม่สามารถให้คำติชมลูกน้องได้อย่างตรงไปตรงมา
แม้จะดูเหมือนเป็นการให้อำนาจลูกน้องตัดสินใจได้เต็มที่ แต่กลับทำให้ลูกน้องขาดโอกาสได้รับคำแนะนำที่จะช่วยเตรียมพวกเขาให้พร้อมสำหรับความก้าวหน้าในอาชีพต่อไป ในขณะเดียวกัน Cheerleader ก็ทิ้งโอกาสในการพัฒนาตัวเองจากการโค้ชลูกน้องที่เก่ง ๆ ไปด้วย
📍  ที่จริงแล้ว การเป็น Manager ที่จะให้อำนาจลูกน้องได้อย่างประสบความสำเร็จ ไม่ได้หมายความว่าต้องปล่อยให้ลูกน้องมีอิสระมาก ๆ แต่ต้นแบบของ Manager ที่สร้างพลังให้คนตัดสินใจได้ดีคือ “Coach” ผู้ที่ลงมือทำแต่ไม่ชี้นำ
Coach จะไม่บอกคนว่าต้องทำอะไร แต่จะให้คำแนะนำและขอบเขตสำหรับการตัดสินใจ และทำให้มั่นใจว่ามีความรับผิดชอบ ในขณะที่ยังเว้นระยะห่างและปล่อยให้ลูกน้องตัดสินใจได้เอง วิธีการนี้อาจดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาที่ใคร ๆ ก็ควรจะรู้ แต่ก็มีความท้าทายที่พบบ่อย คือการที่ต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ควรเข้าไปช่วยเหลือ และเมื่อไหร่ควรถอยออกมา ให้พนักงานได้ทำงานและเรียนรู้ด้วยตัวเอง
แน่นอนว่าการหาจุด balance เป็นเรื่องท้าทาย แต่สำคัญมากสำหรับการพัฒนาทักษะและความมั่นใจของลูกทีม
📣 หากคุณอยากอัปสกิล Leadership ก้าวเป็นผู้นำยุคใหม่ Skooldio ขอแนะนำ Digital Leadership Bootcamp หลักสูตรผู้นำ 7 สัปดาห์ ที่ทำให้คุณได้เรียนกับผู้บริหารยุคใหม่ ได้ความรู้เน้น ๆ สามารถนำไปคิดกลยุทธ์เปลี่ยนแปลงองค์กรได้จริง 🚀
อ่านรายละเอียดหลักสูตร ที่นี่

More in:Business

Comments are closed.