4 แนวทางจาก McKinsey เร่ง AI Adoption ในองค์กร พร้อมสรุปเคสจริงจาก Moderna และ Amazon | Skooldio

AI กำลังกลายเป็นหัวใจสำคัญที่กำหนดอนาคตขององค์กร การเร่งนำ AI มาใช้จึงเป็นหนึ่งใน “ความจำเป็น” สำหรับองค์กรที่ต้องการพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและคงความได้เปรียบก้าวนำคู่แข่ง

ในบทความนี้ Skooldio ได้สรุปเนื้อหาที่น่าสนใจจากบทความ The learning organization: How to accelerate AI adoption โดย McKinsey ซึ่งอธิบายภาพรวมของสถานการณ์และแนวทางเร่งการใช้ AI ในองค์กรได้อย่างเป็นระบบ พร้อมเสริมเคสตัวอย่างจากองค์กรชั้นนำอย่าง Moderna และ Amazon เพื่อให้ผู้นำองค์กรเห็นภาพ AI Adoption ได้ชัดเจนขึ้น เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้วางกลยุทธ์ต่อไป 

เมื่อองค์กรปรับตัวไม่ทันพนักงาน

ข้อมูลจาก McKinsey ชี้ว่าพนักงาน 9 ใน 10 คนใช้ Gen AI ในการทำงานแต่มีเพียง 13% เท่านั้นที่มองว่าองค์กรของตนเป็น ‘ผู้นำด้าน AI (Early Adopter)’ 

Organizations’ level of generative AI (gen AI)implementation,% of respondents McKinsey | Skooldio

Organizations’ level of generative AI (gen AI) implementation,% of respondents | McKinsey & Company

ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ ยังคงติดอยู่กับความกังวลเรื่องการกำกับดูแล (governance) และต้นทุนของเทคโนโลยี (up-front technology costs) ในขณะที่การมาของ Gen AI นั้นทั้งเร็วและมีผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งองค์กรที่เรียนรู้และปรับใช้ AI ได้เร็วกว่าก็จะกลายเป็นผู้คุมเกมได้ก่อน 

“Organizations that master the art of fast adoption will determine the new rules of their industries. – McKinsey & Company

4 แนวทางจาก McKinsey & Company

McKinsey ได้แนะนำทั้งวิธีคิดและวิธีปฏิบัติ ซึ่งเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้นำสามารถเร่ง AI Adoption ในองค์กรได้ดังนี้

สนับสนุนสิ่งที่กำลังงอกเงยในองค์กรให้โตต่อ (Nurture what’s already growing)

The Gardener and the Carpenter | Skooldio

Photo: The Gardener and the Carpenter – Alison Gopnik | Amazon.com

McKinsey ได้กล่าวถึงแนวคิดที่มีชื่อว่า แนวคิดแบบชาวสวน หรือ gardener’s mindset ซึ่งมีที่มาจากหนังสือ The Gardener and the Carpenter เขียนโดยนักจิตวิทยา Alison Gopnik 

พ่อแม่ควรให้เด็กเติบโตตามธรรมชาติของเขา มากกว่ากำหนดเส้นทางชีวิตไว้ให้เดินตาม ซึ่งแนวคิดนี้เราก็สามารถปรับใช้ให้เข้ากับบริบทขององค์กรได้เช่นกัน

แทนที่จะเริ่มวางแผนจากบนลงล่างละเอียดยิบทุกขั้นตอน (ซึ่งอาจตามการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน) ผู้นำควรใช้เวลาในการสังเกต มองหาทีม/พนักงานที่กำลังทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่แล้ว แล้วเริ่มเห็นผลลัพธ์บางอย่างที่น่าจับตามอง การสนับสนุนให้สิ่งนั้นเติบโตต่อยอด มักช่วยให้องค์กรสร้างนวัตกรรมได้จริง มากกว่าการพยายามเริ่มต้นใหม่ตามทฤษฎีในกระดาษ

ซึ่งคุณอาจได้เห็นว่าไอเดียที่สามารถเปลี่ยนองค์กรมากที่สุด อาจมาจากจุดที่คาดไม่ถึงก็เป็นได้

“Leaders who try to specify precisely how AI should be implemented across their organizations often find themselves building yesterday’s solutions for tomorrow’s problems. – McKinsey & Company”

สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้และใช้งาน AI (Create incentives for adoption)

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้เครื่องมือใหม่เป็นเรื่องท้าทาย โดยเฉพาะสำหรับ Manager หรือพนักงานระดับอาวุโสที่งานก็ยุ่งอยู่แล้ว แล้ววิธีการทำงานปัจจุบันก็ไม่ได้มีปัญหาที่ต้องปรับเปลี่ยนอะไร การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อาจทำให้พวกเขารู้สึก daunting  กลัว กังวล รู้สึกว่ายาก 

ซึ่ง McKinsey ก็ได้ระบุไว้ว่าแรงจูงใจทั้งทางการเงินและทางสังคมก็มีความสำคัญในการส่งเสริมการนำ AI มาใช้จริงจังแต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ การให้รางวัลที่เน้นเรื่อง “การเรียนรู้” มากกว่าแค่การใช้งาน

“Social recognition often proves more powerful than financial rewards do. – McKinsey & Company” 

นอกจากนี้ เมื่อหัวหน้ามาแบ่งปันเรื่องราวการการเรียนรู้ AI ของตัวเองให้กับน้อง ๆ ในทีม และยอมรับว่าหัวหน้าเองก็กำลังเรียนรู้อยู่ ก็จะสามารถช่วยลด “psychological barriers” ลงได้อีกด้วย 

ตัวอย่างเคสจริงจาก Moderna 

Moderna | Skooldio

Photo: Moderna | OpenAI

เคสที่ Skooldio นำมาประกอบในหัวข้อนี้มาจาก Moderna ซึ่งตั้งเป้าหมายชัดเจนว่า ภายใน 6 เดือน พนักงานทุกคนที่มีสิทธิ์ใช้ digital solutions จะต้องสามารถใช้งาน Generative AI ได้อย่างคล่องแคล่ว (achieve 100% adoption and proficiency of generative AI)

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ Moderna ลงทุนตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อขับเคลื่อนโปรแกรมสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับบุคคล ทีม และองค์กร

ในระดับบุคคล: Moderna เน้นทำวิจัย  (in-depth research) และรับฟังเสียงพนักงาน พร้อมจัดฝึกอบรมทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ และยังมี AI learning companions  ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ด้วย

ในระดับทีม: Moderna จัดการแข่งขันเขียน Prompt เพื่อค้นหา Top 100 สุดยอดผู้ใช้ AI ซึ่งถูกเรียกว่า “Generative AI Champions” 

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมชั่วโมงให้คำปรึกษาและฟอรั่ม AI ภายในองค์กร ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัปดาห์ละกว่า 2,000 คน

ในระดับโครงสร้าง: Moderna ได้ดึง CEO และทีมผู้บริหารเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งผ่านการประชุมผู้นำ งาน Town Hall รวมถึงจัด incentive programs และกิจกรรมที่มีผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกมาร่วมสนับสนุน

ส่งเสริมการเรียนรู้ที่รวดเร็ว (Foster rapid learning)

องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการใช้ AI  ไม่ใช่แค่ทดลองเยอะ แต่พวกเขาทดลองได้ “ดีกว่า” ด้วย ซึ่งหลักการสำคัญก็อิงมาจากการทดลองแบบ A/B testing และนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กร

  1. เริ่มด้วยสมมติฐานที่ เจาะจง ชัดเจน สามารถทดสอบได้จริง           
  2. ออกแบบการทดลองเพื่อ “เรียนรู้” ไม่ใช่แค่ “สำเร็จ” fail fast แล้วเรียนรู้ พร้อมบันทึก approaches ที่ลองทำแล้วมันไม่เวิร์ก
  3. องค์กรไม่จำเป็นต้องเล่นใหญ่ เพราะบางครั้ง Insights หรือการทดลองที่มีค่าก็อาจจะมาจากการทดลองของคนไม่กี่คน ใช้เวลาไม่นาน 
  4. Why did it happen? อย่าลืมบันทึก “เหตุผล” เบื้องหลังผลลัพธ์ที่ได้  ไม่ว่ามันจะสำเร็จหรือล้มเหลว เพื่อเก็บไว้เป็นองค์ความรู้ภายในองค์กรพร้อมเอาไปต่อยอดพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ในอนาคตได้  

ตัวอย่างเคสจริงจาก Amazon – Prime Video

Prime Video | Skooldio

Photo: Prime Video

เชื่อว่าหลาย ๆ คนเคยได้ยินชื่อ streaming platform ‘Prime Video’ กันมาแล้ว ย้อนกลับไปในช่วงแรก ๆ  Prime Video ได้ผลตอบรับที่ไม่ดีนัก แต่แทนที่พวกเขาจะพับเก็บไอเดีย Amazon เลือกที่จะถามว่า “ทำไมลูกค้าถึงไม่ใช้?” จนพบว่าผู้ใช้ไม่เห็น stand-alone value ของบริการและสนใจแพลตฟอร์มที่มีคอนเทนต์พิเศษมากกว่า

Amazon จึงตัดสินใจรวม Prime Video เข้ากับ Prime membership พร้อมลงทุนใน original content กลายเป็นการพลิกโครงการที่เคยล้มลุกคลุกคลาน ให้กลายเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนสำคัญของการสมัครสมาชิก Prime และสร้าง brand
loyalty

รักษามาตรฐานในการชื่นชม (Maintain high standards for praise)

McKinsey ระบุว่าผู้นำหลายคนมักติดกับดัก “ฉลองทุกเรื่อง” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ จนทำให้ ไอเดียที่เป็น breakthrough ideas ถูกกลบ

ผู้นำจึงควรแยกแยะให้ชัดระหว่าง interesting experiment กับ game-changing innovations พร้อมให้รางวัลกับการรายงานความล้มเหลวอย่างตรงไปตรงมา ไม่ต่างจากตอนที่ฉลองความสำเร็จ

การรักษามาตรฐานในการชื่นชม ไม่ได้เท่ากับการบั่นทอนกำลังใจ แต่มันคือการชื่นชมอย่างมีเป้าหมาย เพราะเมื่อคำชื่นชมถูกใช้ในเวลาที่เหมาะสม คำชื่นชมนั้นจะทรงพลังยิ่งขึ้น

พร้อมเร่ง AI Adoption ในองค์กรของคุณแล้วหรือยัง?

หลังจากได้เห็น 4 แนวทางจาก McKinsey พร้อมตัวอย่างจาก Moderna และ Amazon จะเห็นได้ว่าการใช้ AI ให้เกิดผลลัพธ์จริงในองค์กรมีหลายปัจจัย และ “ผู้นำ” คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญ

เมื่อผู้นำให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ การทดลองอย่างมีเป้าหมาย สนับสนุนทีมที่กำลังลองใช้ AI และชื่นชมอย่างเหมาะสม องค์กรจะก้าวไปสู่การใช้ AI เพื่อสร้างคุณค่าได้จริง และองค์กรที่ทำสิ่งเหล่านี้ได้ก่อนจะพร้อมกว่าคู่แข่ง และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว

AI Enablement Partner | Skooldio

หากคุณกำลังมองหา Partner ที่พร้อมเข้าใจโจทย์ของธุรกิจคุณ และช่วยออกแบบการเรียนรู้ที่ทำให้ทั้งผู้บริหารและทีมของคุณสามารถสร้างคุณค่าจาก AI ได้จริง” Skooldio ยินดีเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อน AI Transformation ให้เกิดขึ้นจริงในองค์กรของคุณ

เราทำงานร่วมกับองค์กรชั้นนำหลายแห่งในการออกแบบการฝึกอบรมด้าน AI ที่ไม่ใช่แค่เพื่อให้ผู้นำ เข้าใจ AI แต่สามารถตัดสินใจ พาองค์กรปรับตัว และสร้างคุณค่าจาก AI ได้จริง

พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ Skooldio ฟรี เพื่อเริ่มออกแบบโปรแกรมที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณติดต่อ: sales@skooldio.com หรือ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม


References:

More in:AI

Comments are closed.