องค์กรจะขับเคลื่อนไปไกลได้เท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับว่าวันนี้พนักงานมีสุขภาพจิตที่ดีมากแค่ไหน
สรุป Session Sustainable Wellbeing & High Performance in Workplace โดยรศ.ดร.สุภรักษ์ สุริยันเกียรติแก้ว – ผู้ช่วยคณบดีหน่วยธุรกิจและสังคมสัมพันธ์
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU Mahidol) ในงาน Thailand HR Tech 2025 PMAT – Personnel Management Association of Thailand
Table of Contents
Are You Well?, Are You Good?
เป็นคำถามแรกที่ รศ.ดร.สุภรักษ์ เริ่มถามในการพูดบนเวทีในครั้งนี้
คุณสบายดีไหม ที่หมายถึงสุขภาวะทางกายและใจ…ดีไหม?
คือ “หัวใจสำคัญ” ของการที่จะขับเคลื่อนองค์กรให้สามารถ Drive ไปจนประสบความสำเร็จได้
การที่องค์กรสามารถดูแลสุขภาพกายและใจของบุคลากรในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้องค์กรมีสุขภาวะองค์กรที่ยั่งยืน
ปัจจุบันเทรนด์โลกและ SDGs ข้อที่ 3 เรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
เป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญ เพราะ “คน” คือ สิ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนให้องค์กรไปต่อได้
A New Paradigm Shift
คือ framework ที่ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น มีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน คือ
- Well-being การมีสุขภาพจิตที่ดี
- High Performance การทำงานที่ดี
การที่มีสุขภาวะที่ดีจะสามารถขับเคลื่อนผลการปฎิบัติงานและนำไปสู่ ‘ความสำเร็จที่ยั่งยืน’ และ ‘ความสมดุลขององค์กร’ การขาดทั้ง 2 อย่างนี้ไป จะทำให้เกิด ‘ต้นทุน’ และ ‘ความสูญเสีย’ มากมายตามมา
การย้อนกลับมาถามว่า ตอนนี้คนในองค์กรมีความสุขหรือยัง? จะให้เดินเข้าไปถามว่ามีความสุขไหม? ก็คงไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพ เพราะคนเรามีหลายปัจจัยที่ทำให้สุขภาพจิตเสียได้
ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการมีสุขภาวะที่ไม่ดี
ตัวอย่างเช่น
การขาด ลา มาสายของคนในองค์กร
ในประเทศไทย มีอัตราเฉลี่ย 73 วัน ต่อปี ที่พนักงานทำงานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งคิดเป็นความสูญเสียประมาณ 6 ล้านบาทต่อปีต่อองค์กร
โรคติดต่อไม่เรื้อรังและภาวะอ้วน
คิดเป็นความสูญเสียประมาณ 200,000 บาทต่อปีต่อองค์กร และส่งผลให้ ประสิทธิภาพการทำงานลดลงถึง 22% ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำงาน
ปัญหาสุขภาพจิต
พนักงานในประเทศไทย 50% มีปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งเทียบกับเอเชียอยู่ที่ 45% ซึ่งรวมไปถึงภาวะหมดไฟและรู้สึกอ่อนล้าหรือเบื่อหน่าย ทำให้พนักงาน รู้สึกห่อเหี่ยวและไม่อยากไปทำงาน
สภาพแวดล้อมการทำงาน
ในธุรกิจก่อสร้างหรือภาคอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์
พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง 10-60% เนื่องจากความเครียดในการทำงาน
โดย รศ.ดร.สุภรักษ์ ได้นำเสนอถึงงานวิจัยที่จะสามารถเข้ามาใช้วัดสุขภาวะของคนในองค์กรได้ โดยพัฒนาร่วมกันกับสสส.
เครื่องมือประเมินสุขภาวะองค์กร (Sustainable Well-being Survey – SWi)
เครื่องมือแรกของโลกในประเทศไทย ที่มีค่ามาตรฐาน benchmark ระดับสากล สามารถใช้วัดสุขภาวะองค์กรอย่างยั่งยืนได้
โดยวิธีวัดว่าตอนนี้คนในองค์กรมี Well-being และ High Performance ที่ดีหรือยังนั้นจะยึดจาก
Balance of 4 Pillars
- Physical Well-Being สุขภาพกาย เช่น Workplace safety
- Mental Well-Being สุขภาพใจ เช่น Work Life Balance
- Intellectual Well-Being ปัญญา เช่น Learning and Growth
- Social and Environmental Well-Being สังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น Financial
ถ้าสามารถทำให้ 4 มิติ นี้ มีสมดุลที่ดีได้จะทำให้องค์กรเกิด
- Employee Productivity
- Corporate Reputation
- Brand Image
- Engagement
- Financial Performance
- Stakeholders Satisfaction
ซึ่งนำไปสู่การมีการจัดการสุขภาวะจิตขององค์กรที่ยั่งยืนได้
จากงานวิจัย อันดับหนึ่งที่คนในองค์กรให้ความสำคัญมากที่สุดถึง 84.6% คือ เรื่องของความผูกพันกับองค์กร (Engagement)
สุดท้ายคำถามที่ถามว่า “Are You Well?, Are You Good?”
เรามีความสุข มี Well-being สามารถ Drive Performance ได้จริงหรือเปล่านั้น?
เราต้อง “What get measured, get done!”
ต้องวัดและประเมินสุขภาวะที่ดีใหม่ องค์กรถึงจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน
เริ่มต้นดูแลสุขภาพใจ พร้อมรู้เท่าทันในตนเอง ไปกับคอร์ส Mental Health First Aid ทดลองเรียนได้ฟรี คลิกเลย!