รวม 3 เทคนิค ‘ต่อรองเงินเดือน’ ให้สำเร็จ เคล็ดลับจาก Harvard และอดีตเจ้าหน้าที่ FBI 🤫 มีอะไรบ้างได้ดูกันเลย

เทคนิค 1 : 3 สิ่งที่ต้องมีให้เจรจาประสบความสำเร็จ (ความรู้, ความพร้อม, ความมั่นใจ)

ก่อนอื่นคุณควรต้องทำการบ้าน เพื่อให้ ‘รู้’ เรทเงินเดือนที่เหมาะสมมาก่อน ว่าเงินเดือนที่มีความสมเหตุสมผลของบริษัทขอบคุณคือจำนวนเท่าไหร่ โดยอาจจะสอบถามจากเพื่อนร่วมงานในแวดวงเดียวกัน หรือสอบถามจาก HR โดยตรง และใช้ข้อมูลนี้เริ่มต้นในการต่อรองเจรจา

ขั้นตอนสำคัญของการเจรจาต่อรองเงินเดือน คือ การเตรียมข้อมูลให้ ‘พร้อม’ ในการพูดคุยกับเจ้านาย หรือ HR ว่าคุณเองควรได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง เช่น จุดเด่นของคุณ ทักษะและประสบการณ์ ความสำเร็จในอดีต ประโยชน์ที่จะสร้างให้บริษัทในอนาคต โดยใช้โอกาสนี้อธิบายให้ชัดเจนว่าคุณ “มีค่า”อย่างไร ให้เขาเชื่อมั่นในความสามารถของคุณ

แต่ทั้งนี้ ไม่ควรยึดติดกับเงินเดือนเดิมที่เคยได้มา คุณต้อง ‘มั่นใจ’ ที่จะขอเงินเดือนที่มากขึ้นได้ เช่น คุณได้รับเงินเดือนเดิม 70,000 บาท และได้รับ offer งานใหม่ที่มีเรทเงินเดือน 100,000 – 150,000 บาท คุณไม่ควรรู้สึกไม่มั่นใจที่จะขอเงินเดือนที่สูงกว่า 150,000 บาท หากบริษัทเห็นว่าคุณมีทักษะและประสบการณ์ที่ตรงกับตำแหน่งงานและเหมาะสมกับค่าตอบแทนที่สูงกว่า บริษัทก็จะยินดีจ่ายให้คุณตามที่ขอ

ที่มา : How to Negotiate Your Salary in the Age of Pay Transparency Laws, Harvard Business Review Home

เทคนิค 2️ : Do & Don’t ‘ประโยคที่ควรพูด’ สำหรับการเจรจาต่อรองเงินเดือน

สำหรับเด็กจบใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ / ไม่เคยต่อรองเงินเดือนมาก่อน แนะนำให้ลองใช้ประโยคเหล่านี้ระหว่างการเจรจาดู

Do

✅ “ผมรู้สึกดีใจและขอบคุณมาก ๆ ที่ได้รับ offer งานนี้ แต่ผมคิดว่าตามความสามารถที่ผมมีนั้น น่าจะมากกว่าช่วงเงินเดือนที่ระบุไว้เล็กน้อย เนื่องจากประสบการณ์และทักษะของผมที่ตรงกับความต้องการเฉพาะของบริษัทของคุณ ผมจึงขอเสนอเงินเดือนเริ่มต้นที่ [xxx] บาท”

✅ “ผมยินดีที่จะรับ offer งานนี้ ด้วยเงินจำนวน [xxx] บาท แต่ผมหวังว่าจะได้รับโบนัสประจำปี [xxx] บาทให้เหมาะสมกับความสำเร็จที่ผมจะสามารถทำให้บริษัทได้”

Don’t

❌”ผมทราบว่าเงินเดือนปกติอยู่ที่ระหว่าง [xxx] บาท แต่ผมไม่คิดว่าตัวเองเหมาะกับตัวเลขสูงขนาดนั้น อาจจะเป็น [xxx] บาท น่าจะเหมาะสมกว่า” (เพราะเป็นการประเมินตัวเองต่ำเกินไป และเปิดช่องให้บริษัทต่อรองได้)

❌ผมไม่รีบร้อนนะครับ คิดว่าเราสามารถเจรจากันจนกว่าเราจะพอใจกับข้อเสนอได้ ถึงจะคุยกันหลายรอบก็ไม่เป็นไร (ทำให้บริษัทรู้สึกว่าคุณเป็นภาระ และยืดเวลาขั้นตอนการเจรจาโดยไม่จำเป็น)

ที่มา How to Negotiate Your Starting Salary, Harvard Business Review Home

เทคนิค 3️ : ใช้ทักษะเจรจาแบบ FBI มาช่วยให้การต่อรองมีแนวโน้มประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น !

แนวคิดการเจรจาสไตล์ FBI คือ เปลี่ยนมุมมองการเจรจาต่อรองระหว่างคุณและบริษัท เป็นการร่วมมือเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่ายแทนการตั้งใจที่จะรักษาแต่ผลประโยชน์ของฝ่ายตน และมีแต่บรรยากาศแห่งความกดดัน

และเนื่องจากคนเรามักตัดสินใจได้ดีเมื่ออยู่ในสภาวะอารมณ์เชิงบวก การเลือกใช้ภาษากายที่บ่งบอกถึงอารมณ์ที่ปราศจากความกังวล เพื่อเพิ่มความมั่นใจในตัวของคุณเอง จะช่วยให้การต่อรองของคุณมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในมุมมองของบริษัท

แอบเสริมทริคอีกข้อ 🤫 ได้แก่ การใช้ “ข้อมูล Black Swans” เพราะ ‘หงส์ดำ’ เปรียบเสมือนสัตว์หายากที่คนไม่เคยคาดคิดว่าจะเจอ แต่ถ้าเจอขึ้นมาก็จะสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้ ในการเจรจาก็เช่นกัน ดังนั้น นอกจากข้อมูลที่คุณเตรียมมา ถ้าคุณรู้ข้อมูลอะไรบางอย่างที่อาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของคู่เจรจาและเปลี่ยนทิศทางการเจรจาได้ ก็ลองใช้ข้อมูลนั้นต่อรองกับบริษัทเพื่อช่วยเสริมความแข็งแกร่งของคุณดูสิ

ที่มา 7 Negotiating Tips From Former FBI Hostage Negotiator Chris Voss, MasterClass

 

💡 แต่ถ้าอยากต่อรองเงินเดือนได้ชัวร์ ๆ ก็ต้องมีทักษะที่ทุกบริษัทตามหา ทั้งสาย Data, Tech, Business, Design ที่ Skooldio ช่วยคุณได้แน่นอน https://to.skooldio.com/sHQ5SOpyNGb 

 

More in:Productivity

Comments are closed.