สรุป Session EXCELLENCE & PURPOSE FORUM: BUSINESS LEADERSHIP SUCCESS WITH PASSION โดยคุณโอม Cocktail -ปัณฑพล ประสารราชกิจ ผู้บริหาร Gene Lab ในงาน Thailand HR Day 2024

คุณโอมเป็นคนที่ทำงานในรูปแบบ Hybrid และทำงานพร้อมกันหลายอย่างทั้งในและนอกวงการบันเทิง คุณโอมสัมผัสองค์กรมาหลากหลายรูปแบบ

เรื่องการบริหารคน ในวงดนตรีก็เป็นเหมือนองค์กร หน้าฉากคนดูอาจเห็นแค่ศิลปิน แต่เบื้องหลังเวลา operate คือเต็มไปด้วยทีมงานมากมาย เช่น technician / sound engineer / ช่างภาพ เป็นต้น รวมแล้วหลักสิบกว่าชีวิต ซึ่งการดูแลกันในงานที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกอย่างวงดนตรี ก็มีรูปแบบที่ยูนีค

ตัวคุณโอมมีความตั้งใจมาตลอดว่าไม่ได้จะเล่นดนตรีไปตลอดชีวิต เมื่อถึงจุดที่บรรลุสิ่งที่วงมุ่งหวังแล้ว ก็อยากจะจบมันในวันที่ภาพจำยังแข็งแรง

ศิลปินไม่ได้ยั่งยืนโดยธรรมชาติ เพราะมันเกี่ยวกับความนิยมและความเชื่อ หากเปรียบกับกีฬามันเห็นได้อย่างชัดเจนว่าใครแพ้ใครชนะ แต่กับเพลงนั้นแข่งกันเพราะได้จริงหรือ ?

การที่เล่นเพราะ ร้องตรงทุกโน้ต ไม่ได้แปลว่าทุกคนจะต้องชอบ ต้องโด่งดัง คนฟังถูกใจ บางครั้งเมื่อความนิยมของคนตกต่ำ แม้น้ำผึ้งหยดเดียวทุกอย่างก็พังได้ในข้ามคืน ดังนั้นการทำงานลักษณะนี้มันเลยมีโอกาสที่อายุงานจะสั้น

อีกสิ่งหนึ่งคือ วัย เรามีความรับรู้เรื่องวงการบันเทิงได้ดีที่สุดอยู่ในช่วง 13-24 ไม่เกิน 24 จากนั้น เมื่อเราอายุมากขึ้น ก็จะจดจำแบบที่เราชอบซ้ำไปเรื่อย ๆ

กับ Gene Lab คุณโอมขอแยก HR ออกมาจากแกรมมี่ เพราะเมื่อเราทำงานประเภทนึงซ้ำ ๆ ก็จะมีความถนัดในสิ่งนั้น แต่สิ่งที่ HR ของแกรมมี่ถนัดคือเรื่องการทำซ้ำขยายผล ดังนั้นการทำใหม่อาจไม่ถนัด และโลกตอนนี้ก็หมุนเร็วมาก เราไม่สามารถผ่านกลไกขององค์กรขนาดใหญ่ได้ คุณโอมจึงตัดสินใจขอทีมงานที่มีความสามารถเฉพาะเรื่องได้เอง ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาก็ดีมาก เพราะได้ศิลปินที่เป็น ‘เสาหลัก’ ของตึกได้ถึง 4 วง

ในช่วงนั้นคุณโอมให้ความสำคัญกับ HR มาก เพราะการคัดเลือกคนโดยไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้อาจมีปัญหา เพราะการทำงานกับคน ความรู้สึก อารมณ์ มันเปลี่ยนไปได้เรื่อย ๆ คนทำงานก็ต้องเข้าใจธุรกิจนี้

ณ ตอนนี้ศิลปินคือลูกค้า ค่ายคือผู้ให้บริการ “You do your thing, our do your shit” ค่ายจะช่วยเสริมในสิ่งที่เขาขาด ศิลปินยุคนี้ที่เลือกเข้ามา คือคนที่รู้ว่าตัวเองอยากจะทำอะไร ดังนั้นการเลือกบุคลากรจึงเปลี่ยนแปลงไปด้วย

แต่ความท้าทายอยู่ที่ ความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ฝังอยู่ในวัฒนธรรมองค์กร เมื่อเปลี่ยนมาปฏิบัติจริงก็มีความยาก จากความสัมพันธ์แบบพี่น้อง เพื่อน แต่เราต้องอย่าลืมว่าจริง ๆ เราทำงานบริการให้เขาอยู่

ในยุคหนึ่งเคยใช้การรีครูทคนจากเอเจนซี่ ปัญหาที่เจอคือ คนระดับปฏิบัติการหลายคนมีปัญหาในการปรับตัว ครั้งนี้ต่างจากการรับบรีฟลูกค้าแบบเก่า ผลิตภัณฑ์ครั้งนี้คือมนุษย์ การเข้าใจมนุษย์เป็นเรื่องยาก ซับซ้อน หน้างานอาจไม่ใช่แบบที่คิด และยิ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกถ้าไม่พร้อมทำงานแต่จะไปรีดเอา ๆ งานที่ได้ก็อาจไม่มีคุณภาพ จึงต้องสร้าง session เพื่อให้คนทำงานมองไปในทางเดียวกันก่อน

ในการทำงานก็จะมีการเตรียมศิลปินให้พร้อม ให้เขาเข้าใจกฎเกณฑ์ ให้ความรู้กับศิลปินในขอบเขตงานบริการให้ชัดเจน เรื่องนโยบายอ่านสัญญาและอธิบายให้ฟังทีละข้อ

ด้านศิลปินเองก็ต้องมาพรีเซนต์ให้ค่ายฟังว่าอยากทำอะไร และสร้างมู้ดบอร์ดร่วมกัน จากนั้นไปเสนอ head of opereation อีกทีเพื่อทำการพิจารณา รีเช็คเรื่องความคุ้มค่าในการลงทุนต่าง ๆ เพราะสุดท้ายแล้วมันคือธุรกิจ เมื่อเข้าใจร่วมกันการทำงานก็สมูทขึ้น

แต่เราก็จะเจอปัญหาใหม่ ๆ ได้ เมื่อโลกเปลี่ยนไป เช่น เมื่อคนเราเริ่มสำเร็จ พนักงานเริ่มทำรูปแบบเดิมซ้ำ ๆ เข้าลูปเดิม มนุษย์เราบางครั้งหลงลืมว่าผลลัพธ์นั้นสำคัญ เลยเลือกพูดเรื่องวิธีการมากกว่าผลลัพธ์ ถ้าอยากได้อะไร อยากทำอะไรให้กำหนดเป้ามาก่อนเลย เมื่อได้มาจึงถามว่าเราขาดอะไร what it takes to get there เช็คว่าขาดอะไรเพื่อให้เรารู้ว่ามีอะไร ต้นทุนแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน

สิ่งที่คนเคยคิดว่าเวิร์กในสมัยหนึ่ง ในอนาคตมันอาจไม่เวิร์ก คำถามคือ เรายึดติดอะไร ผลลัพธ์คือเรื่องใหญ่ เราทำยังไงให้บรรลุสำคัญกว่า

More in:Business

Comments are closed.