สรุป Session AI-Powered Leadership: Navigating Business, People and Technology in 2025 โดยคุณต้นสน สันติธาร เสถียรไทย FUTURE ECONOMY ADVISOR, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และคุณลูกคิด ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ สถาบันอนาคตไทยศึกษา (THAILAND FUTURE) ในงาน Thailand HR Day 2024 PMAT – Personnel Management Association of Thailand


จุดเริ่มต้นจากการโดนทักผิดบ่อย

เริ่มต้นจากการที่มักมีคนทักคุณต้นสนและคุณคิดผิดบ่อย คุณคิดเลยลองเอารูปของทั้ง 2 ท่านไปถาม AI ว่าเป็นคนเดียวกันหรือไม่ คำตอบทีได้คือ AI ยังบอกว่าเป็นคนเดียวกัน สิ่งที่น่าสนใจคือ AI เก่งขนาดนี้แล้วแต่ทำไมเรื่องแบบนี้ยังผิดพลาดได้ ?

การทำงานของ AI ไม่ได้เป็นแบบ rule-based ไม่ได้เหมาะกับทุกงาน มันมักตอบตาม ‘ค่าเฉลี่ยของมนุษย์’ และ Generative AI ก็ไม่ได้มาแทน AI รุ่นเก่า ต้องใช้ให้ถูก purpose อะไรที่คนพลาด AI ก็พลาดได้เหมือนกัน


การนำ AI มาใช้ในองค์กร

เราจะนำ AI มาใช้ในองค์กรอย่างไรได้บ้าง เพื่อเพิ่มความสามารถและ productivity ขององค์กร

1. Automation : ลดขั้นตอน เอกสาร เพื่อให้มีเวลามากขึ้น
2. Augmentation : เป็นเพื่อนคู่คิด จะวางแผนธุรกิจก็ปรึกษากับมันได้
3. Inclusion : เพิ่มการเข้าถึง
4. Innovation : ค้นพบนวัตกรรม

บริษัทยิ่งใหญ่ งานยิ่งเยอะ เราต้องแยกว่างานแบบไหนเราจะเอามา automated งานแบบไหนเอามา augmented

ที่ผ่านมา AI เป็นเหมือนเครื่องคิดเลข ตอนนี้เป็นเครื่องคิดเลขแบบเป็ด ทำอะไรได้มากขึ้น แต่ร่างใหม่คือเขาคุยกันว่ามันอาจจะคิดเองได้ด้วย powerful AI ที่ฉลาดกว่าอัจฉริยะทั้งหมดของโลก และอาจเกิดขึ้นในปี 2026

ยกตัวอย่างเช่น Perplexity ที่สามารถผูกบัตรเครดิตได้แล้วในอเมริกา เราแค่บอกมันว่าอยากได้อะไร มันก็ขึ้นมาให้กดซื้อได้เลย สิ่งนี้ทำให้เกิดความท้าทายกับธุรกิจเป็นอย่างมาก เช่น การทำ Marketing


อย่าคิดเป็น Job ให้คิดเป็น Task

นอกจากนี้ AI ไม่ได้จะมา replace อาชีพของคุณ เราต้องอย่าไปคิดเป็น job ให้คิดเป็น task เพราะมันไม่ได้แทนที่ job แต่แทนที่ task เช่น งาน HR เป็นงานที่เอา AI มาใช้ได้เยอะมาก ในส่วนงาน Admin ควรพยายาม automate เพราะมันเสียเวลา เช่น

1. Recruitment / Onboarding : เราสามารถ automated ได้หลายงาน เช่น พวก resume screening ที่ปกติต้องใช้เวลานานและมักเจอ resume ที่ไม่ตรงกับที่อยากได้
2. Learning & Development: เอามาช่วย augment ดูว่าทักษะพนักงานด้อยยังไง เพื่อ customized learning path ว่าใครควรฝึกอะไร
3. Employee satisfaction : ทำไมพนักงานในองค์กรลาบ่อย ทำไม turnover rate สูง เอาข้อมูลมาดูได้
4. Conflict resolution : ในส่วนนี้ ยังไงก็ยังต้องใช้คนอยู่ เพราะต้องใช้ empathy สูงมาก AI อาจทำไม่ได้ แต่ถ้ามันรู้ข้อมูลก่อน มันจะ alert เราได้ก่อนที่จะมีปัญหา

คุณคิดบอกว่างานเกิน 80% จะเปลี่ยนไปหมดเลย ต้องโฟกัสที่ตัวเนื้องานหรือ microtask มากขึ้น ซึ่งมันจำเป็นมากที่ต้องเข้าใจ เพราะการแบ่งงานได้ดี จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างดีที่สุด

งานขายควรเป็นงานที่มนุษย์ขาย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือบางทีตอนดึก ๆ ก็มีคนสั่งซื้อเข้ามาเยอะมาก ในเวลานั้นหลายคนก็เริ่มนอนหลับแล้วดังนั้นมันก็อาจดูเป็นงานที่ไม่เหมาะกับมนุษย์

อย่างไรก็ตาม งานบางประเภท AI ก็อาจจะผิดพลาดได้ ดังนั้น การมีคนเข้าไปอยู่ในลูปนั้นก็จะช่วยให้งานเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น


Learning Loss

เวลาใช้ AI เยอะ ๆ จะเกิด ‘learning loss’ ทักษะบางอย่างเราจะหายไป

คุณต้นสนที่เป็นนักเขียนก็เคยใช้ Claude มาเขียน draft ให้ แต่ไป ๆ มาๆ ก็รู้สึกว่าตัวเองโง่ลง และ draft แรกก็เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเป็น reflection ต้องตกตะกอน สุดท้ายจึงเปลี่ยนวิธีเป็นให้ AI ช่วยปรับแก้คำแทน

คุณคิดเสริมว่ามันเกิดการสูญเสียแน่นอน แต่ต้อง trade off บางอย่างก็ loss ได้ บางอย่างก็มีคุณค่ามากที่เราควรต้องรักษามันไว้


แล้วทักษะของมนุษย์ในยุค AI ควรจะเป็นยังไงให้อยู่รอด ?

คุณต้นสนเสนอ Framework “PRIDE” จาก Human ให้เป็น AI Smart User และ AI Smart Cyborg

PR-Proficiency : ใช้ให้คุ้นเคย
I-Immunity : รู้จุดอ่อนของมัน ใช้ให้ถูกแบบ
D-Deep thinking/ Domain knowledge : ความรู้แต่ละด้านยังสำคัญ และสำคัญมากขึ้นด้วย เพราะคนจะบอกได้ว่าคำตอบที่ได้ผิดหรือไม่ และต้องกลับไปสั่งมันยังไงให้แก้ได้ถูก
E-Empathy : งานบางอย่างยังต้องการใช้ Empathy จากมนุษย์อยู่

คุณคิดกล่าวว่าจะมีคนจำนวนมากสูญเสียคุณค่าทางเศรษฐกิจไป เราต้องให้โอกาส หรือมี empathy กับคนด้วย เพื่อช่วยเขาหาช่องทางให้ไปให้ได้ และสิ่งที่ HR ควรจะช่วยเทรนคือเรื่อง domain knowledge เพราะเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจที่สมัยนี้คนมักขาดไป


อุปสรรคในการเอาไปทำจริง

องค์กรหลายที่มีความไม่พร้อมและความไม่รู้ว่าอยากได้อะไร ประกอบกับความเสี่ยง ความกังวลเรื่องข้อมูล ถ้ามันทำผิด เราจะคำนวณ hallucination ได้หรือไม่ แต่เราจะต้องมาชั่งน้ำหนักดูด้วยว่า ถึงแม้ AI จะผิดพลาด เมื่อเทียบกับคนแล้วอะไรที่ผิดพลาดมากกว่ากัน บางครั้งเราให้ AI ทำงานและใช้คนเข้ามา QC อาจจะช่วยประหยัดเวลามากกว่า


ข้อความปิดท้ายจากทั้งสองท่าน

Jeff Bezos เคยถูกเยาะเย้ยว่าทำไม Amazon ยังคงเฉลิมฉลองแม้จะขาดทุน นั่นเป็นเพราะเขาเห็นภาพ macro ตั้งแต่วันนั้นแล้ว เขาเห็นเทรนด์ใหญ่มาก คุณคิดเลยอยากฝากว่าภาพใหญ่นั้นก็สำคัญ คนเป็นผู้นำก็ต้องมองไปก่อนแล้วระหว่างทางก็ค่อย ๆ เดินไป

ด้านคุณต้นสนเล่าว่าตนก็ยัง ‘โปรมนุษย์’ เคยมีคนบอกว่าปัญญาไม่ใช่ของมนุษย์อย่างเดียวแต่อยู่ในธรรมชาติด้วย ปัญญาบางส่วนในอนาคตอาจอยู่กับ AI เราเลยต้องเข้าใจว่าอะไรอยู่กับใคร เรียกว่าต้อง ‘รู้ AI รู้ I AM’ นั่นคือรู้ว่าอะไรที่ AI ทำได้ดี อะไรที่ทำได้ไม่ดี เรื่อง empathy ของคนที่ยังสำคัญ ใช้ปัญญาสร้างปัญญา ใช้ปัญญามนุษย์คุมปัญญา AI อีกที

More in:AI

Comments are closed.