อยากหยิบ Features นั้นมาทำ หยิบ Bug นี้มาแก้ อยากทำทุกอย่างแต่ไม่ทัน เรียง Priority ยังไงดี? 🥹

 

ใครที่ทำงานใน Product Team โดยเฉพาะ Product Manager หรือ Product Owner จะต้องมีหน้าที่ในการจัดลำดับความสำคัญของ Product Backlog ว่าควรหยิบฟีเจอร์ไหนมาพัฒนาก่อน วันนี้ทาง Skooldio ขอหยิบ method ที่ใช้ในการจัดเรียง Product Backlog มาแนะนำ

5 วิธีการจัดเรียง Product Backlog

1. Stack Ranking

เป็นการจัดเรียงที่เข้าใจง่ายและตรงไปตรงมาที่สุด เป็นการเอา Task มาเรียงเป็นเส้นตรง และจัดตามความสำคัญมากสุดไปน้อยสุด
🟢 ข้อดี: เข้าใจง่ายและตรงไปตรงมา เห็นลำดับขั้นความสำคัญชัดเจน เหมาะกับทีมเล็ก ๆ หรือช่วงเริ่มต้นในการทำ Product ที่ไม่ซับซ้อน
🔶 ข้อเสีย: จะเริ่มเรียงลำดับยากหากทีมใหญ่ขึ้น และไม่เหมาะกับ Product ที่มีความซับซ้อน

2. MoSCoW Method

เป็นวิธีการจัดลำดับความสำคัญโดยจัดหมวดหมู่ Backlog ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ Must have, Should have, Could have และ Won’t have
🟢 ข้อดี: เป็นอีกวิธีที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่ายและเห็นภาพชัดเจน
🔶 ข้อเสีย: ในการแบ่งกลุ่มอาจจะมีความคลุมเครือในการแบ่งประเภทหากไม่มีเกณฑ์การวัดที่เหมาะสม

3. Kano Model

เป็นรูปแบบการจัดเรียงที่อิงตามความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (User Centricity) สามารถแบ่งกลุ่มได้เป็น 5 ประเภทคือ Excitement feature,Performance feature, Basic feature,Indifferent feature,Reverse featureโดย Excitement feature,Performance feature, Basic feature คือฟีเจอร์ที่ควรหยิบไปทำเพราะสามารถสร้าง impact และความพึงพอใจให้ลูกค้าได้
🟢 ข้อดี: ทำให้โฟกัสที่ความพึงพอใจและ impact ที่จะเกิดกับลูกค้าเป็นหลัก เหมาะกับ product ที่เน้นสร้าง positive emotional ให้กับลูกค้า
🔶 ข้อเสีย: ทีมต้องมีกาารทำ Research และทำความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง

4. Cost of Delay (CoD)

เป็นอีกรูปแบบที่นิยมในการนำมาจัดเรียง backlog โดยวิธี CoD จะพิจารณาจากค่าใช้จ่ายหรือความเสียหายต่อธุรกิจที่เกิดจากการที่ออกฟีเจอร์นั้นช้าหรือไม่ได้นำฟีเจอร์นั้นปล่อยสู่ตลาด
🟢 ข้อดี: เป็นการจัดเรียงที่เน้นฟีเจอร์ที่ impact ต่อธุรกิจ และสามารถเปรียบเทียบความสำคัญของ backlog ได้ในเชิงข้อมูลและตัวเลข
🔶 ข้อเสีย: ต้องใช้การคำนวณที่แม่นยำและใช้เวลานานในการวิเคราะห์ CoD ออกมาก ซึ่งทำให้วิธีนี้เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่และ Product ที่มีความซับซ้อนประมาณหนึ่ง

5. Weighted Shortest Job First (WSJF)

เป็นการจัดเรียง Backlog โดยพิจารณาจาก Cost of Delay (CoD) และขนาดของงาน (Job Size) เพื่อให้ทีมสามารถหยิบสิ่งที่สำคัญและเกิด impact โดยใช้ทรัพยากรได้น้อยที่สุด
🟢 ข้อดี: ทีมสามารถมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าสิ่งที่ Prioritize มานั้น จะทำให้เกิด Impact มากที่สุด ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
🔶 ข้อเสีย: เช่นเดียวกับ CoD นั่นคือ การคำนวณที่แม่นยำในใช้เวลานาน ซึ่งเหมาะกับองค์กรใหญ่ หรือทีมที่ใช้ Scaled Agile Framework (SAFe)

วิธีจัดเรียง Backlog มีหลากหลายกระบวนการ ทีมควรเลือกหยิบไปใช้ตามความเหมาะสมของขนาดทีม และ Product ที่เราทำอยู่ กระบวนการเหล่าเป็นเครื่องมือที่ทำให้เรามั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าฟีเจอร์ที่หยิบไปพัฒนาจะสร้าง Impact และคุ้มค่าที่จะลงมือทำ

More in:Product

Comments are closed.