ยุคนี้รอไม่ได้! ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ต้อง “เชิงรุก” นำหน้าการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงในธุรกิจรวดเร็วและรุนแรง องค์กรที่ไม่ทันเกมก็อาจล้มหายตายจากไปได้เลย ดังนั้น แค่มีแผนรับมือ (reactive) มันไม่พอ! ผู้นำยุคใหม่ต้องใช้วิธี “เชิงรุก” (proactive) เดินหมากก่อนการเปลี่ยนแปลงจะมาถึง

ซึ่งผู้นำแบบนี้จะติดตามข้อมูลข่าวสารรอบด้านตลอดเวลา นำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพธุรกิจในปัจจุบัน และมองหาโอกาสใหม่ ๆ สำหรับอนาคต แต่หัวใจสำคัญไม่ใช่แค่ “ข้อมูล” แต่คือ การใช้ “กลยุทธ์ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล” ที่ผู้นำต้องเป็นคนริเริ่ม พัฒนา และนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

“แนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด…ไม่ได้เริ่มต้นจากข้อมูล แต่เริ่มต้นจากการระบุโอกาสทางธุรกิจและพิจารณาว่าโมเดลสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพได้อย่างไร” นี่คือข้อความที่ Dominic Barton และ David Court เขียนไว้ในรายงานของ McKinsey 

มาดู 4 ขั้นตอนที่คุณจะสามารถนำองค์กรของคุณด้วยกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลได้อย่างแท้จริง

🔵 รู้เขารู้เรา รู้การเปลี่ยนแปลง –  ตระหนักถึงปัจจัยที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและเตรียมพร้อมรับมือกับ disruptions

ในยุคปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกอย่างการพัฒนาเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค หรือการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น หรือปัจจัยภายในอย่างการเปลี่ยนผู้นำ

🔸 ดังนั้น สำรวจก่อน หาว่าอะไรบ้างที่กำลังทำให้ธุรกิจของคุณเปลี่ยนแปลงไป อาจจะเป็นเทคโนโลยี พฤติกรรมลูกค้า หรือคู่แข่ง และวิเคราะห์สภาพแวดล้อม คู่แข่ง และวางแผนรับมือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอยู่เสมอ

🔵 ใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูล – ตัดสินใจอย่างฉลาดด้วยข้อมูล

ในปัจจุบัน ข้อมูลถือเป็นทรัพยากรที่มีค่า องค์กรจำเป็นต้องรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ทั้งข้อมูลภายในองค์กรและข้อมูลภายนอก เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจและปรับปรุงกลยุทธ์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ 

เมื่อได้ข้อมูลเชิงลึกจากการวิเคราะห์แล้ว องค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า การปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดต้นทุน หรือการออกแบบกลยุทธ์การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสม เป็นต้น 

🔸 และที่สำคัญ การนำข้อมูลไปใช้ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรได้ หรือเรียกได้่ว่ามี competitive advanntage เหนือคู่แข่ง

🔵 หากลยุทธ์ที่ใช่สำหรับองค์กรของคุณ

– สร้างแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณ โดยคำนึงถึงเป้าหมาย ทรัพยากร ภายในและภายนอกองค์กร
– แชร์แผนกลยุทธ์กับพนักงานทุกระดับ ให้ทุกคนเข้าใจ ร่วมมือกัน และมีเป้าหมายเดียวกัน

องค์กรต้องถ่ายทอดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ให้ทั่วทั้งองค์กร พร้อมกำหนดแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน มีการติดตามความคืบหน้าและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตามความจำเป็น 

🔸 กลยุทธ์ที่ดีจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์

🔵  ผู้นำยุคใหม่: ปรับตัวเร็ว สื่อสารชัดเจน

ในฐานะผู้นำ คุณต้องริเริ่มและชี้นำการสร้างกลยุทธ์และส่งเสริมวัฒนธรรมที่เปิดเผย ข้อมูลโปร่งใส สื่อสารชัดเจน สนับสนุนการทำงานเป็นทีม และยืดหยุ่น ปรับตัวได้รวดเร็ว เพื่อให้แผนกลยุทธ์ประสบความสำเร็จ

🔸 กลยุทธ์ขับเคลื่อนข้อมูล ช่วยให้ธุรกิจของคุณปรับตัวได้เร็ว ยืดหยุ่น และคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา ทำให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตได้แม้ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรวดเร็ว

ถ้าองค์กรต้องการสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด การใช้วิธีการแบบ ‘เดิม’ อาจใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป ถึงเวลาแล้วที่จะต้องนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์เพื่อให้ก้าวทันการแข่งขันในยุคดิจิทัล (Digital Business Strategy) อีกทั้งองค์กรจะต้องสามารถนำเอาข้อมูลมาใช้ขับเคลื่อนและต่อยอดสร้างนวัตกรรม (Data-Enabled Innovation) ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้จริง เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง (Competitve Advantages) 

หากคุณเป็นผู้นำองค์กร ที่อยากสร้างกลยุทธ์ด้วย Data เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในยุคดิจิทัล ขอแนะนำเวิร์กชอป 2 วัน Driving Digital Strategy with Data-Enabled Innovation 

🗓️ เรียนวันที่ 17-18 พ.ค. 67
⏰ 9:30-17:30 น.
สมัครเลย https://to.skooldio.com/1EELwwIiTIb

‼️ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้าน Data ก็สามารถเรียนได้
หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อผู้บริหาร สามารถนำความเข้าใจจากหลักสูตรไปประกอบการตัดสินใจและวางแผนกลยุทธ์องค์กรได้ดีขึ้น

Reference: https://www.michiganstateuniversityonline.com/resources/leadership/how-to-lead-data-driven-strategy/ 

https://www.mckinsey.com/capabilities/mckinsey-digital/our-insights/three-keys-to-building-a-data-driven-strategy

 

More in:Business

Comments are closed.