ในปี 2023 ที่ผ่านมา หลายองค์กรเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ทั้งจากสภาวะเงินเฟ้อ การเติบโตของ Generative AI การกลับมาทำงานออฟฟิศหลังจากโควิด หรือที่เรียกกันว่า Return-to-office (RTO) ซึ่งทั้งหมดก็ส่งผลให้รูปแบบสภาพสังคมและวิถีการทำงานแบบเดิมเปลี่ยนไป
เมื่อผลกระทบนั้น ดำเนินต่อเนื่องมาจนปี 2024 งานวิจัยจาก Gartner จึงได้ระบุ 9 เทรนด์ที่จะส่งผลต่อการทำงานในปีหน้า ดังนั้น องค์กร โดยเฉพาะ Leader ในฐานะผู้นำซึ่งกำลังพัฒนาแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและบุคลากร ควรศึกษาเพื่อให้พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และหาความได้เปรียบในการแข็งขัน พร้อมทั้งเตรียมวิธีดูแล Talent ให้อยู่กับองค์กรนานขึ้น
Table of Contents
- สรุป 9 เทรนด์ที่จะเปลี่ยนวิถีการทำงานขององค์กรในปี 2024
- 1. องค์กรต้องมีสวัสดิการที่มีความคิดสร้างสรรค์ขึ้น
- 2. การทำงานร่วมกันระหว่าง คน และ GenAI
- 3. ‘ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์’ จากแนวคิดสุดโต่งที่ใครก็ส่ายหัว สู่การเป็นแนวคิดปกติ
- 4. ‘การแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างพนักงาน’ ทักษะใหม่ที่ Manager ยุคนี้ต้องมี
- 5. AI จะเก่งสุดได้เท่านี้ สิ่งที่ต้องปรับให้เก่งขึ้น คือทักษะ Analysis Thinking ของคน
- 6. ปริญญา อาจจะกลายเป็นแค่กระดาษธรรมดาใบเดียวจริง ๆ
- 7. ปัญหาจากสภาพแวดล้อมและอากาศ กลายเป็นสวัสดิการของคนรุ่นใหม่
- 8. เทรนด์ของ DEI ยังมาอยู่ และองค์กรต้องทำให้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการทำงาน
- 9. เกษียณอาจไม่ใช่ปลายทางสูงสุดของอาชีพ คำว่า Career Path อาจจะล้าหลังไปแล้ว
- 3 คำถามทิ้งท้ายที่อยากให้องค์กรตอบตัวเองให้ได้ จากบทความ Harvard Business Review
สรุป 9 เทรนด์ที่จะเปลี่ยนวิถีการทำงานขององค์กรในปี 2024
1. องค์กรต้องมีสวัสดิการที่มีความคิดสร้างสรรค์ขึ้น
พนักงาน 67% รู้สึกว่าการเดินทางไปออฟฟิศ ต้องใช้ความพยายามมากกว่าช่วงก่อนโควิด และกว่า 73% มองว่าสิ่งนี้เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น – Gartner
กลายเป็นว่า สวัสดิการเดิม ๆ อย่างเงิน โบนัส หรือ ประกันสังคม คือสิ่งพื้นฐานที่องค์กรต้องให้อยู่แล้ว งานวิจัยเผยว่า พนักงานที่เคย Remote working หรือ Hybrid work มองว่าพวกเขาไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งเงินและเวลาในการเดินทางมาที่ทำงาน ซึ่งแปลว่า เมื่อต้องกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ ก็คือภาระที่เขาต้องจ่ายมากขึ้น
เทรนด์นี้ทำให้หลายองค์กรพยามสร้าง Benefit ใหม่ ๆ มาดึงดูด Talents มากขึ้น เพราะพนักงานตอนนี้มองว่าเขาสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ และไม่มีงานวิจัยที่บอกชัด ว่าการทำงานที่ออฟฟิศได้ผลลัพธ์ดีมากกว่าทำงานที่บ้าน และองค์กรจำเป็นต้องปรับกระบวนการทำงาน หรือหาสิ่งอื่นมาทดแทนสิ่งที่พนักงานสูญเสียผลประโยชน์ไป
Havard Business Review ได้ยกตัวอย่างสวัสดิการ เช่น การให้ที่อยู่อาศัยใกล้กับที่ทำงาน บริการดูแลญาติที่สูงวัย บุตร หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยง การหาโปรแกรม Financial Planning ให้กับพนักงาน หรือให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับบุตรหลาน
อย่างไรก็ตาม องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม และอย่าลืมคำนึงถึง Condition ขององค์กร
2. การทำงานร่วมกันระหว่าง คน และ GenAI
หลายคนอาจะเคยอ่านงานวิจัยที่บอกว่า พนักงานส่วนใหญ่คิดว่า AI จะเข้ามาแทนที่งานของตนเองภายใน 5 ปีข้างหน้า แต่ความจริงแล้ว งานวิจัยจาก Gartner กล่าวว่ามันจะเข้ามาสร้างโอกาสมากกว่า ซึ่งโอกาสที่ว่า คือการทำงานร่วมกันระหว่าง “คน และ Generative AI”
Generative AI จะมีบทบาท ถึง 70% ในงานเกี่ยวกับข้อความ และ ข้อมูล(Data) ภายในปี 2025
หลายองค์กรตอนนี้เริ่มมีการเทรนนิ่งเรื่อง AI แล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้นำองค์กรควรมีการประเมินร่วมกับฝ่าย HR ในเรื่องของการลงทุนใน Generative AI เพราะมันจะมีบทบาทต่อทีมและ Workflow เป็นอย่างมาก รวมไปถึงการหา Talents ใหม่ ๆ ที่มีทักษะใช้ GenAI เหล่านี้ และการปรับปรุงวิธีประเมินทักษะพนักงานใหม่
3. ‘ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์’ จากแนวคิดสุดโต่งที่ใครก็ส่ายหัว สู่การเป็นแนวคิดปกติ
ถ้าพูดเรื่องนี้ใน 3-5 ปีที่แล้ว ทุกคนจะมองว่านี่เป็นแนวคิดสุดแปลก แต่ไม่นานมานี้ เรื่องของการทำงาน 4 วันกลายเป็นประเด็นถกเถียงในสหภาพแรงงาน และดูเหมือนจะเป็นที่ถูกใจของพนักงานยุคนี้อีกด้วย
ผลสำรวจของ Gartner ระบุว่า 63% ของผู้สมัครงาน โหวตให้การทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์โดยได้รับค่าแรงเท่าเดิม เป็นสวัสดิการใหม่ที่ถูกใจ และดึงดูดพนักงานให้มาทำงานได้มากที่สุด
แถมดูเหมือนแนวคิดนี้จะมีเหตุผลมารองรับ มีหลายบริษัทที่นำร่องโครงการนี้แล้วได้ผลลัพธ์ดีเกินคาด เพราะเขาวัดมาว่าพนักงานดู Productive ขึ้นและได้ Outcomes ที่มากกว่าเดิมอีกด้วย
“เมื่อพนักงานมีความสุขมากขึ้น Performance โดยรวมขององค์กรก็จะดีขึ้น”
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกองค์กรที่สามารถนำแนวคิดมาใช้ได้ แต่หากองค์กรไหนอยากลอง ให้จัดสรรค์เวลาให้ดี คิดทบทวนเกี่ยวกับจังหวะการทำงาน (Cadence of work) หรือ Timeframe การทำงานที่ชัดเจน พนักงานอาจต้องมีเวลาในการทำงานส่วนตัว และส่วนร่วม เวลาในการระดมสมองกับทีม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า 5 วัน
4. ‘การแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างพนักงาน’ ทักษะใหม่ที่ Manager ยุคนี้ต้องมี
Harvard Business Review เผยว่าองค์กรไหนที่มีพนักงานหลากหลายเชื้อชาติ มีแนวโน้มที่ว่าปีนี้จะทวีความรุนแรงในเชิงเชื้อชาติมากกว่าเดิม ทำให้หลายคนรู้สึกไม่ปลอดภัยในที่ทำงาน
Gartner ได้ทำการสำรวจในปี 2023 ว่า Manager กว่า 57% กล่าวว่าพวกเขาสามารถรับผิดชอบ และหาแนวทางแก้ไขความขัดแย้งระหว่างทีมได้ เพราะ Manager ที่มีความสามารถในการเจรจา ไกล่เกลี่ย และยุติความขัดแย้งได้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากให้องค์กร
แต่คำถามที่องค์กรต้องกลับมาคิดต่อ คือ สิ่งนี้ควรได้รับการเทรนหรือไม่ ?
ทักษะการแก้ปัญหาขัดแย้งระหว่างทีมนี้ไม่ใช่ทักษะที่ใครก็ทำได้ แต่ต้องได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกับทักษะการทำงานอื่น ๆ ดังนั้น องค์กรต้องอัปสกิล Manager หรือผู้ที่จะสมัครมาเป็น Manager รวมถึงมีการติดตามผล และ Coaching ผู้จัดการใหม่สม่ำเสมอ
5. AI จะเก่งสุดได้เท่านี้ สิ่งที่ต้องปรับให้เก่งขึ้น คือทักษะ Analysis Thinking ของคน
จุดพีคของ AI ได้ผ่านมาแล้ว และมันเข้ากำลังเข้าสู่ช่วงที่เรียกว่า ‘ต่ำกว่าความคาดหวังของคน’
GenAI คือคำหนึ่งในถูก Hype อย่างมากในองค์กรช่วง 1-2 ปีนี้ อย่างไรก็ตาม Gertner เผยว่าในเวลา 2-5 ปีนี้ มันจะไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังที่สูงกว่านี้ได้อีกแล้ว
ความจริงแล้ว นี่เป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันมาอย่างมาก ว่า Genereative AI ให้ข้อมูลได้ แต่ไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด ดังนั้น ไม่ว่ามันจะถูกพัฒนาไปมากแค่ไหน สิ่งที่มนุษย์ยังต้องมีเสมอคือทักษะการคิดวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็น Analysis Thinking หรือ Critical Thinking สิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถอยู่เหนือมัน และใช้ AI ได้อย่างชาญฉลาด
ใครอยากฝึกวิธีคิดแบบ Critical Thinking ฉบับคนทำงานง่าย ๆ จาก Harvard Business Review อ่านบทความได้ที่นี่ หรืออยากกำลังมองหาหลักสูตรพัฒนาด้านกระบวนการคิด ที่ลงมือทำจริง เรียนโดยตรง กับ Instructors ตัวจริงในวงการ ติดต่อ Skooldio ได้ที่นี่
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่า GenAI จะไม่สามารถช่วยให้องค์กรเติบโตได้อีกแล้ว แต่หมายถึง องค์กรควรปรับความคาดหวังที่มีต่อ AI ให้อยู่ในระดับที่พอดี มีการกำกับดูแลการใช้ที่เหมาะสม รวมถึงมีการอบรมพนักงานเกี่ยวกับการประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จาก AI อีกด้วย
6. ปริญญา อาจจะกลายเป็นแค่กระดาษธรรมดาใบเดียวจริง ๆ
ปริญญา อาจเป็นใบเบิกทางการทำงานในอดีต แต่สกิลหรือทักษะเฉพาะทาง คือสิ่งที่จะเบิกทางการทำงานในอนาคต
หลายองค์กรตอนนี้ เช่น Google, Delta Airlines, Accenture หรือ Zoho กำลังมองหาทักษะที่ผู้สมัครงานมี มากกว่าวุฒิการศึกษา หรือใบปริญญาแล้ว ขนาดที่ว่าตัดใบปริญญาออกจาก Requirement เรียบร้อย
เหตุผลเพราะเขาเช่ือว่าจะมีโอกาสเจอบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยไม่ถูกกีดกั้นด้วยวุฒิปริญญา
มีการเกิดคำศัพท์ที่เรียกว่า STARs (Skilled Through Alternative Routes) พูดง่าย ๆ คือทหารผ่านศึก ผู้ผ่านการทำงานเฉพาะทางมาแล้วจริง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีวุฒิ และในสหรัฐอเมริกา ก็มีคนแบบนี้จำนวนกว่า 70 ล้านคน
นี่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่ทำให้พนักงานต้องพัฒนาทักษะของตัวเองมากขึ้น และองค์กรใหญ่ ๆ อย่าง Target, Amazon หรือ EY ก็มีการสร้างโปรแกรม หรือโรงเรียนฝึกหัดของตัวเอง (In-house Universities หรือ Business Schools) เพื่อให้พนักงานในองค์กร มีทักษะที่จำเป็นในยุคนี้ต้องใช้มากขึ้น
หากคุณอยากพัฒนาให้พนักงานในองค์คุณ มีสกิล และทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานในยุคนี้ ไม่ว่าจะเรื่อง AI, Data, Tech, Business หรือ Critical Thinking ติดต่อ Skooldio In-house Traning เราได้เลยที่นี่
7. ปัญหาจากสภาพแวดล้อมและอากาศ กลายเป็นสวัสดิการของคนรุ่นใหม่
ปัญหาจากการระบาดของโลกต่าง ๆ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สภาพอากาศที่ร้อน ฝุ่น PM2.5 และมลภาวะต่าง ๆ ส่งผลให้คนเครียด ซึ่งเมื่อเครียดก็ส่งผลต่อสุขภาพและงาน
Harvard Business Review เผยว่าในปี 2024 และต่อไปข้างหน้า องค์กรต้องเพิ่มการดูแล และสวัสดิการที่ช่วยพนักงานได้มากขึ้น
เช่น โปรแกรม หรือแผนในการช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติภัยต่าง ๆ ประกันต่าง ๆ สำหรับงานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและชีวิต เงินชดเชยเมื่อประสบภัย หรือบริการดูแลสุขภาพจิต(Mental Health Support) โดยนักจิตวิทยา และสิ่งนี้จะเป็นช่วยสร้าง impact ที่ดีให้กับองค์กรได้
8. เทรนด์ของ DEI ยังมาอยู่ และองค์กรต้องทำให้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการทำงาน
“DEI = Diversity(ความหลากหลาย), Equity (ความเท่าเดิม) และ Inclusion (ความรู้สึกมีส่วนร่วม)”
DEI เป็นเทรนด์ที่องค์กรต่าง ๆ หันมาให้ความสนใจยาวต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2020 แต่หลาย ๆ องค์กร มักจะละเลยมัน
ยกตัวอย่างเช่น การไม่ให้อำนาจในการตัดสินใจ การทำให้คน ๆ หนึ่ง รู้สึกว่าเขาไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์กร การเลือกปฏิบัติเพศ การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างอยุติธรรม หรือไม่สนับสนุนให้พนักงานได้เข้าถึงทรัพยากรทุกคนอย่างเท่าเทียม
ในปีนี้ ผู้บริหารควรหันมาโฟกัสว่า Diversity(ความหลากหลาย) จะเป็นโอกาสที่นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ เนื่องจากคนหมู่มากมาอยู่รวมกัน จะสามารถสร้างนวัตกรรม และออกความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ได้
และองค์กรต้องผสาน DEI เข้ากับวิถีการทำงานขององค์กรอย่างแท้จริง ทั้งวัตถุประสงค์ในการทำธรุกิจ Daily Operation และวัฒนธรรมองค์กร สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ HR และ Leader ขององค์กรต้องร่วมกัน
9. เกษียณอาจไม่ใช่ปลายทางสูงสุดของอาชีพ คำว่า Career Path อาจจะล้าหลังไปแล้ว
“งานวิจัยจาก Pew research พบว่า 19% ของคนอเมริกันที่อายุ 65 ปีขึ้นไป ยังคงไม่เกษียณอายุและทำงานอยู่ และมีหลายคนที่ออกจากงานกลางคันเพื่อไปใช้ Vacation ตามไลฟ์สไตล์ของตนเอง หรือย้ายสายงาน”
สอดคล้องกับงานวิจัยจาก Linkedin ในปี 2022 ที่พบว่าพนักงานหลายคนเคยออกจากงานกลางคัน หรือวางแผนที่จะพักงานในอนาคต ด้วยปัจจัยรอบตัว เศรษฐกิจ หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ
เทรนด์ของ Career Path หรือ เส้นทางอาชีพแบบเดิมที่พนักงานมักจะไต่เต้าจากตำแหน่งเล็ก ๆ จนสูงสุดและมีปลายทางคือการเกษียณกำลังจะหายไป นี่จึงเป็นอุปสรรคต่อการดีงดูดและรักษา Talent ขององค์กรเป็นอย่างมาก
ในเมื่อการทำแบบเดิม หรือ Career Path ไม่สามารถดึงดูดพนักงานไว้ได้ องค์กรจึงต้องมีแนวทางปรับตัวอื่น ๆ โดย Harvard Business Review ได้ยกตัวอย่างแนวทางดังนี้
- ทำให้พนักงาน ‘สะดวกสบายขึ้น’ ในกลับมาทำงานอีกครั้ง ลดเวลาการทำงานหรือเพิ่ม Flexibility ให้มากขึ้น นำพนักงานเกษียณอายุกลับมาเป็นพนักงานรายชั่วโมง มีโปรแกรมพักเบรก หรือมีการปรับใช้เทรนด์ของ gig work (งานชั่วคราว หรือการรับจ้างระยะเวลาสั้น จบเป็นครั้งๆ ไป)
- ยุคนี้ ‘อายุน้อยก็เป็นผู้นำองค์กรได้’ องค์กรควรมองที่เชี่ยวชาญของพนักงาน ไม่คำนึงถึงชั่วโมงบิน เปิดโอกาสให้พนักงานรุ่นใหม่ หรืออายุน้อยได้รับผิดชอบงานที่ใหญ่ขึ้นบ้าง เพราะคนรุ่นใหม่ คือคนที่เข้าใจเทรนด์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Cybersecurity, Digital Age หรือ Smart Technology ต่าง ๆ
- ‘เตรียมตัว’ เมื่อพนักงานที่มากประสบการณ์กำลังจะเกษียณไป ต้องออกแบบโครงสร้างใหม่ให้เอื้อต่อการโยกย้ายตำแหน่งมากขึ้น ยกเลิกข้อจำกัดด้านอายุในการเทรน อายุมากก็เรียนรู้ใหม่ได้ หรือเปิดโอกาสให้พนักงานได้หาประสบการณ์มากขึ้น ได้ลองทำงานหลากหลายแบบมากขึ้น คนรุ่นใหญ่ก็สอนคนรุ่นเล็ก
และนี่คือ 9 เทรนด์ที่จะเปลี่ยนวิถีการทำงานในปี 2024 และปีถัด ๆ ไป
3 คำถามทิ้งท้ายที่อยากให้องค์กรตอบตัวเองให้ได้ จากบทความ Harvard Business Review
ในเมื่อมันเป็นเทรนด์ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกองค์กรที่ปรับใช้ทุกข้อได้ องค์กรโดยเฉพาะหัวเรืออย่าง Leader ควรมีการทบทวนแผน ความเหมาะสม และบริบทขององค์กรตนเอง เรียงลำดับความสำคัญของเทรนด์ ทั้งในแง่การรักษา Talent และการพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้อย่างแท้จริง
และถามกับตัวเองดังนี้
- เทรนด์ไหน ที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงกับองค์กรคุณมากที่สุด ?
- เทรนด์ไหน ที่เมื่อองค์กรคุณทำแล้ว จะก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันจาก Talent War นี้ได้มากที่สุด ?
- เทรนด์ไหน ที่เมื่อองค์กรคุณไม่ทำแล้ว จะเป็นอุปสรรค์ต่อเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กรมากที่สุด
บทความนี้สรุปจาก:: https://hbr.org/2024/01/9-trends-that-will-shape-work-in-2024-and-beyond