9 trends that will shap work in 2024

ในปี 2023 ที่ผ่านมา หลายองค์กรเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ทั้งจากสภาวะเงินเฟ้อ การเติบโตของ Generative AI การกลับมาทำงานออฟฟิศหลังจากโควิด หรือที่เรียกกันว่า Return-to-office (RTO) ซึ่งทั้งหมดก็ส่งผลให้รูปแบบสภาพสังคมและวิถีการทำงานแบบเดิมเปลี่ยนไป

เมื่อผลกระทบนั้น ดำเนินต่อเนื่องมาจนปี 2024 งานวิจัยจาก Gartner จึงได้ระบุ 9 เทรนด์ที่จะส่งผลต่อการทำงานในปีหน้า ดังนั้น องค์กร โดยเฉพาะ Leader ในฐานะผู้นำซึ่งกำลังพัฒนาแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและบุคลากร ควรศึกษาเพื่อให้พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และหาความได้เปรียบในการแข็งขัน พร้อมทั้งเตรียมวิธีดูแล Talent ให้อยู่กับองค์กรนานขึ้น 

Table of Contents

สรุป 9 เทรนด์ที่จะเปลี่ยนวิถีการทำงานขององค์กรในปี 2024

1. องค์กรต้องมีสวัสดิการที่มีความคิดสร้างสรรค์ขึ้น 

พนักงาน 67% รู้สึกว่าการเดินทางไปออฟฟิศ ต้องใช้ความพยายามมากกว่าช่วงก่อนโควิด และกว่า 73% มองว่าสิ่งนี้เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น – Gartner 

กลายเป็นว่า สวัสดิการเดิม ๆ อย่างเงิน โบนัส หรือ ประกันสังคม คือสิ่งพื้นฐานที่องค์กรต้องให้อยู่แล้ว งานวิจัยเผยว่า พนักงานที่เคย Remote working หรือ Hybrid work มองว่าพวกเขาไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งเงินและเวลาในการเดินทางมาที่ทำงาน ซึ่งแปลว่า เมื่อต้องกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ ก็คือภาระที่เขาต้องจ่ายมากขึ้น

เทรนด์นี้ทำให้หลายองค์กรพยามสร้าง Benefit ใหม่ ๆ มาดึงดูด Talents มากขึ้น เพราะพนักงานตอนนี้มองว่าเขาสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ และไม่มีงานวิจัยที่บอกชัด ว่าการทำงานที่ออฟฟิศได้ผลลัพธ์ดีมากกว่าทำงานที่บ้าน และองค์กรจำเป็นต้องปรับกระบวนการทำงาน หรือหาสิ่งอื่นมาทดแทนสิ่งที่พนักงานสูญเสียผลประโยชน์ไป 

Havard Business Review ได้ยกตัวอย่างสวัสดิการ เช่น การให้ที่อยู่อาศัยใกล้กับที่ทำงาน บริการดูแลญาติที่สูงวัย บุตร หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยง การหาโปรแกรม Financial Planning ให้กับพนักงาน หรือให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับบุตรหลาน 

อย่างไรก็ตาม องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม และอย่าลืมคำนึงถึง Condition ขององค์กร

2. การทำงานร่วมกันระหว่าง คน และ GenAI 

หลายคนอาจะเคยอ่านงานวิจัยที่บอกว่า พนักงานส่วนใหญ่คิดว่า AI จะเข้ามาแทนที่งานของตนเองภายใน 5 ปีข้างหน้า แต่ความจริงแล้ว งานวิจัยจาก Gartner กล่าวว่ามันจะเข้ามาสร้างโอกาสมากกว่า ซึ่งโอกาสที่ว่า คือการทำงานร่วมกันระหว่าง “คน และ Generative AI”

Generative AI จะมีบทบาท ถึง 70% ในงานเกี่ยวกับข้อความ และ ข้อมูล(Data) ภายในปี 2025

หลายองค์กรตอนนี้เริ่มมีการเทรนนิ่งเรื่อง AI แล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้นำองค์กรควรมีการประเมินร่วมกับฝ่าย HR ในเรื่องของการลงทุนใน Generative AI เพราะมันจะมีบทบาทต่อทีมและ Workflow เป็นอย่างมาก รวมไปถึงการหา Talents ใหม่ ๆ ที่มีทักษะใช้ GenAI เหล่านี้ และการปรับปรุงวิธีประเมินทักษะพนักงานใหม่ 

3. ‘ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์’ จากแนวคิดสุดโต่งที่ใครก็ส่ายหัว สู่การเป็นแนวคิดปกติ 

ถ้าพูดเรื่องนี้ใน 3-5 ปีที่แล้ว ทุกคนจะมองว่านี่เป็นแนวคิดสุดแปลก แต่ไม่นานมานี้ เรื่องของการทำงาน 4 วันกลายเป็นประเด็นถกเถียงในสหภาพแรงงาน และดูเหมือนจะเป็นที่ถูกใจของพนักงานยุคนี้อีกด้วย 

ผลสำรวจของ Gartner ระบุว่า 63% ของผู้สมัครงาน โหวตให้การทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์โดยได้รับค่าแรงเท่าเดิม เป็นสวัสดิการใหม่ที่ถูกใจ และดึงดูดพนักงานให้มาทำงานได้มากที่สุด

แถมดูเหมือนแนวคิดนี้จะมีเหตุผลมารองรับ มีหลายบริษัทที่นำร่องโครงการนี้แล้วได้ผลลัพธ์ดีเกินคาด เพราะเขาวัดมาว่าพนักงานดู Productive ขึ้นและได้ Outcomes ที่มากกว่าเดิมอีกด้วย 

“เมื่อพนักงานมีความสุขมากขึ้น Performance โดยรวมขององค์กรก็จะดีขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกองค์กรที่สามารถนำแนวคิดมาใช้ได้ แต่หากองค์กรไหนอยากลอง ให้จัดสรรค์เวลาให้ดี คิดทบทวนเกี่ยวกับจังหวะการทำงาน (Cadence of work) หรือ Timeframe การทำงานที่ชัดเจน พนักงานอาจต้องมีเวลาในการทำงานส่วนตัว และส่วนร่วม เวลาในการระดมสมองกับทีม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า 5 วัน 

4. ‘การแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างพนักงาน’ ทักษะใหม่ที่ Manager ยุคนี้ต้องมี 

Harvard Business Review เผยว่าองค์กรไหนที่มีพนักงานหลากหลายเชื้อชาติ มีแนวโน้มที่ว่าปีนี้จะทวีความรุนแรงในเชิงเชื้อชาติมากกว่าเดิม ทำให้หลายคนรู้สึกไม่ปลอดภัยในที่ทำงาน 

Gartner ได้ทำการสำรวจในปี 2023 ว่า Manager กว่า 57% กล่าวว่าพวกเขาสามารถรับผิดชอบ และหาแนวทางแก้ไขความขัดแย้งระหว่างทีมได้ เพราะ Manager ที่มีความสามารถในการเจรจา ไกล่เกลี่ย และยุติความขัดแย้งได้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากให้องค์กร 

แต่คำถามที่องค์กรต้องกลับมาคิดต่อ คือ สิ่งนี้ควรได้รับการเทรนหรือไม่ ?

ทักษะการแก้ปัญหาขัดแย้งระหว่างทีมนี้ไม่ใช่ทักษะที่ใครก็ทำได้ แต่ต้องได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกับทักษะการทำงานอื่น ๆ ดังนั้น องค์กรต้องอัปสกิล Manager หรือผู้ที่จะสมัครมาเป็น Manager รวมถึงมีการติดตามผล และ Coaching ผู้จัดการใหม่สม่ำเสมอ

5. AI จะเก่งสุดได้เท่านี้ สิ่งที่ต้องปรับให้เก่งขึ้น คือทักษะ Analysis Thinking ของคน

จุดพีคของ AI ได้ผ่านมาแล้ว และมันเข้ากำลังเข้าสู่ช่วงที่เรียกว่า ‘ต่ำกว่าความคาดหวังของคน’

GenAI คือคำหนึ่งในถูก Hype อย่างมากในองค์กรช่วง 1-2 ปีนี้ อย่างไรก็ตาม Gertner เผยว่าในเวลา 2-5 ปีนี้ มันจะไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังที่สูงกว่านี้ได้อีกแล้ว 

ความจริงแล้ว นี่เป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันมาอย่างมาก ว่า Genereative AI ให้ข้อมูลได้ แต่ไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด ดังนั้น ไม่ว่ามันจะถูกพัฒนาไปมากแค่ไหน สิ่งที่มนุษย์ยังต้องมีเสมอคือทักษะการคิดวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็น Analysis Thinking หรือ Critical Thinking สิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถอยู่เหนือมัน และใช้ AI ได้อย่างชาญฉลาด

ใครอยากฝึกวิธีคิดแบบ Critical Thinking ฉบับคนทำงานง่าย ๆ จาก Harvard Business Review อ่านบทความได้ที่นี่ หรืออยากกำลังมองหาหลักสูตรพัฒนาด้านกระบวนการคิด ที่ลงมือทำจริง เรียนโดยตรง กับ Instructors ตัวจริงในวงการ ติดต่อ Skooldio ได้ที่นี่

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่า GenAI จะไม่สามารถช่วยให้องค์กรเติบโตได้อีกแล้ว แต่หมายถึง องค์กรควรปรับความคาดหวังที่มีต่อ AI ให้อยู่ในระดับที่พอดี มีการกำกับดูแลการใช้ที่เหมาะสม รวมถึงมีการอบรมพนักงานเกี่ยวกับการประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จาก AI อีกด้วย 

6. ปริญญา อาจจะกลายเป็นแค่กระดาษธรรมดาใบเดียวจริง ๆ 

ปริญญา อาจเป็นใบเบิกทางการทำงานในอดีต แต่สกิลหรือทักษะเฉพาะทาง คือสิ่งที่จะเบิกทางการทำงานในอนาคต

หลายองค์กรตอนนี้ เช่น Google, Delta Airlines, Accenture หรือ Zoho กำลังมองหาทักษะที่ผู้สมัครงานมี มากกว่าวุฒิการศึกษา หรือใบปริญญาแล้ว ขนาดที่ว่าตัดใบปริญญาออกจาก Requirement เรียบร้อย 

เหตุผลเพราะเขาเช่ือว่าจะมีโอกาสเจอบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยไม่ถูกกีดกั้นด้วยวุฒิปริญญา 

มีการเกิดคำศัพท์ที่เรียกว่า STARs (Skilled Through Alternative Routes) พูดง่าย ๆ คือทหารผ่านศึก ผู้ผ่านการทำงานเฉพาะทางมาแล้วจริง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีวุฒิ และในสหรัฐอเมริกา ก็มีคนแบบนี้จำนวนกว่า 70 ล้านคน 

นี่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่ทำให้พนักงานต้องพัฒนาทักษะของตัวเองมากขึ้น และองค์กรใหญ่ ๆ อย่าง Target, Amazon หรือ EY ก็มีการสร้างโปรแกรม หรือโรงเรียนฝึกหัดของตัวเอง (In-house Universities หรือ Business Schools) เพื่อให้พนักงานในองค์กร มีทักษะที่จำเป็นในยุคนี้ต้องใช้มากขึ้น 

หากคุณอยากพัฒนาให้พนักงานในองค์คุณ มีสกิล และทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานในยุคนี้ ไม่ว่าจะเรื่อง AI, Data, Tech, Business หรือ Critical Thinking ติดต่อ Skooldio In-house Traning เราได้เลยที่นี่

7. ปัญหาจากสภาพแวดล้อมและอากาศ กลายเป็นสวัสดิการของคนรุ่นใหม่ 

ปัญหาจากการระบาดของโลกต่าง ๆ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สภาพอากาศที่ร้อน ฝุ่น PM2.5 และมลภาวะต่าง ๆ ส่งผลให้คนเครียด ซึ่งเมื่อเครียดก็ส่งผลต่อสุขภาพและงาน 

Harvard Business Review เผยว่าในปี 2024 และต่อไปข้างหน้า องค์กรต้องเพิ่มการดูแล และสวัสดิการที่ช่วยพนักงานได้มากขึ้น 

เช่น โปรแกรม หรือแผนในการช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติภัยต่าง ๆ ประกันต่าง ๆ สำหรับงานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและชีวิต เงินชดเชยเมื่อประสบภัย หรือบริการดูแลสุขภาพจิต(Mental Health Support) โดยนักจิตวิทยา และสิ่งนี้จะเป็นช่วยสร้าง impact ที่ดีให้กับองค์กรได้

8. เทรนด์ของ DEI ยังมาอยู่ และองค์กรต้องทำให้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการทำงาน

“DEI = Diversity(ความหลากหลาย), Equity (ความเท่าเดิม) และ Inclusion (ความรู้สึกมีส่วนร่วม)”

DEI เป็นเทรนด์ที่องค์กรต่าง ๆ หันมาให้ความสนใจยาวต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2020 แต่หลาย ๆ องค์กร มักจะละเลยมัน 

ยกตัวอย่างเช่น การไม่ให้อำนาจในการตัดสินใจ การทำให้คน ๆ หนึ่ง รู้สึกว่าเขาไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์กร การเลือกปฏิบัติเพศ​ การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างอยุติธรรม หรือไม่สนับสนุนให้พนักงานได้เข้าถึงทรัพยากรทุกคนอย่างเท่าเทียม 

ในปีนี้ ผู้บริหารควรหันมาโฟกัสว่า Diversity(ความหลากหลาย) จะเป็นโอกาสที่นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ เนื่องจากคนหมู่มากมาอยู่รวมกัน จะสามารถสร้างนวัตกรรม และออกความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ได้ 

และองค์กรต้องผสาน DEI เข้ากับวิถีการทำงานขององค์กรอย่างแท้จริง ทั้งวัตถุประสงค์ในการทำธรุกิจ Daily Operation และวัฒนธรรมองค์กร สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ HR และ Leader ขององค์กรต้องร่วมกัน 

9. เกษียณอาจไม่ใช่ปลายทางสูงสุดของอาชีพ คำว่า Career Path อาจจะล้าหลังไปแล้ว 

“งานวิจัยจาก Pew research พบว่า 19% ของคนอเมริกันที่อายุ 65 ปีขึ้นไป ยังคงไม่เกษียณอายุและทำงานอยู่ และมีหลายคนที่ออกจากงานกลางคันเพื่อไปใช้ Vacation ตามไลฟ์สไตล์ของตนเอง หรือย้ายสายงาน”

สอดคล้องกับงานวิจัยจาก Linkedin ในปี 2022 ที่พบว่าพนักงานหลายคนเคยออกจากงานกลางคัน หรือวางแผนที่จะพักงานในอนาคต ด้วยปัจจัยรอบตัว เศรษฐกิจ หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ 

เทรนด์ของ Career Path หรือ เส้นทางอาชีพแบบเดิมที่พนักงานมักจะไต่เต้าจากตำแหน่งเล็ก ๆ จนสูงสุดและมีปลายทางคือการเกษียณกำลังจะหายไป นี่จึงเป็นอุปสรรคต่อการดีงดูดและรักษา Talent ขององค์กรเป็นอย่างมาก 

ในเมื่อการทำแบบเดิม หรือ Career Path ไม่สามารถดึงดูดพนักงานไว้ได้ องค์กรจึงต้องมีแนวทางปรับตัวอื่น ๆ โดย Harvard Business Review ได้ยกตัวอย่างแนวทางดังนี้

  1. ทำให้พนักงาน ‘สะดวกสบายขึ้น’ ในกลับมาทำงานอีกครั้ง ลดเวลาการทำงานหรือเพิ่ม Flexibility ให้มากขึ้น นำพนักงานเกษียณอายุกลับมาเป็นพนักงานรายชั่วโมง มีโปรแกรมพักเบรก หรือมีการปรับใช้เทรนด์ของ gig work (งานชั่วคราว หรือการรับจ้างระยะเวลาสั้น จบเป็นครั้งๆ ไป)
  2. ยุคนี้ ‘อายุน้อยก็เป็นผู้นำองค์กรได้’ องค์กรควรมองที่เชี่ยวชาญของพนักงาน ไม่คำนึงถึงชั่วโมงบิน เปิดโอกาสให้พนักงานรุ่นใหม่ หรืออายุน้อยได้รับผิดชอบงานที่ใหญ่ขึ้นบ้าง เพราะคนรุ่นใหม่ คือคนที่เข้าใจเทรนด์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Cybersecurity, Digital Age หรือ Smart Technology ต่าง ๆ
  3. ‘เตรียมตัว’ เมื่อพนักงานที่มากประสบการณ์กำลังจะเกษียณไป ต้องออกแบบโครงสร้างใหม่ให้เอื้อต่อการโยกย้ายตำแหน่งมากขึ้น ยกเลิกข้อจำกัดด้านอายุในการเทรน อายุมากก็เรียนรู้ใหม่ได้ หรือเปิดโอกาสให้พนักงานได้หาประสบการณ์มากขึ้น ได้ลองทำงานหลากหลายแบบมากขึ้น คนรุ่นใหญ่ก็สอนคนรุ่นเล็ก

    และนี่คือ 9 เทรนด์ที่จะเปลี่ยนวิถีการทำงานในปี 2024 และปีถัด ๆ ไป 

    3 คำถามทิ้งท้ายที่อยากให้องค์กรตอบตัวเองให้ได้ จากบทความ Harvard Business Review 

    ในเมื่อมันเป็นเทรนด์ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกองค์กรที่ปรับใช้ทุกข้อได้ องค์กรโดยเฉพาะหัวเรืออย่าง Leader ควรมีการทบทวนแผน ความเหมาะสม และบริบทขององค์กรตนเอง เรียงลำดับความสำคัญของเทรนด์ ทั้งในแง่การรักษา Talent และการพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้อย่างแท้จริง

    และถามกับตัวเองดังนี้ 

    1. เทรนด์ไหน ที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงกับองค์กรคุณมากที่สุด ?
    2. เทรนด์ไหน ที่เมื่อองค์กรคุณทำแล้ว จะก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันจาก Talent War นี้ได้มากที่สุด ?
    3. เทรนด์ไหน ที่เมื่อองค์กรคุณไม่ทำแล้ว จะเป็นอุปสรรค์ต่อเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กรมากที่สุด

    บทความนี้สรุปจาก:: https://hbr.org/2024/01/9-trends-that-will-shape-work-in-2024-and-beyond

     

     

    More in:Business

    Comments are closed.