ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา “AI” หรือปัญญาประดิษฐ์ได้กลายเป็นคำที่โผล่ไปอยู่ทุกที่ ตั้งแต่วงการเทคโนโลยี การแพทย์ การเงิน ไปจนถึงการศึกษา ท่ามกลางสถานการณ์ที่ AI มีแต่จะพัฒนาไปไกลขึ้นอย่างรวดเร็ว และทำให้ธุรกิจมีการแข่งขันสูงมากขึ้นทุกวัน องค์กรจำนวนมากได้เริ่มหยิบแนวคิด “AI-First Company” มาใช้เป็นแนวทางในการมุ่งไปสู่อนาคตได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยมี AI เป็นศูนย์กลาง แต่การนำ AI มาใช้งานก็ไม่ได้หมายความว่าทุกองค์กรจะสามารถเปลี่ยนผ่านสู่การเป็น “AI-First Company” ได้ในทันที แต่มันยังมีปัจจัยหลายอย่างนอกเหนือจากแค่การ “หยิบมาใช้” ที่จะช่วยเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่สเต็ปนั้นได้
บทความนี้จึงขอพาไปสำรวจว่า แนวคิด “AI-First Company” คืออะไร? แตกต่างจากเทรนด์โลกที่ผ่านมาอย่างไร? ทำไมแนวทางนี้จึงกลายเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในโลกธุรกิจยุคใหม่? พร้อมหยิบยกกรณีศึกษาที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยมาเล่าให้ทุกคนกัน
Table of Contents
- AI-First Company คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญในโลกธุรกิจวันนี้
- AI-First ต่างจากแนวคิด Tech-Enabled และ Digital-First อย่างไร?
- กรณีศึกษาของ LINE MAN Wongnai ในฐานะ AI-First Company
- บทเรียนที่คุณต้า วิโรจน์ Skooldio มองเห็นจากเคส LINE MAN Wongnai
- Case Study ที่ Skooldio เคยเข้าไปช่วยองค์กรต่าง ๆ
- AI-First คือสิ่งที่ทุกองค์กรต้องตั้งแต่วันนี้
AI-First Company คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญในโลกธุรกิจวันนี้
AI-First หมายถึง การประกาศเจตนารมณ์ที่จะ “ให้ AI เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนทุกมิติขององค์กร”
แนวคิดและกลยุทธ์ที่ให้ความสำคัญกับปัญญาประดิษฐ์มาเป็นอันดับแรกของการดำเนินงานและวางแผนในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การให้บริการ การตัดสินใจทางธุรกิจ เปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงาน และวิธีตัดสินใจทั้งหมด โดยให้ AI เป็นฟันเฟืองสำคัญที่ทำงานไปพร้อมกับคน
สาเหตุที่ AI-First เป็นกุญแจสำคัญในการเติบโตและการเอาชนะในโลกธุรกิจในวันนี้ เป็นเพราะว่า AI มันเป็นเครื่องมือทรงพลังที่สามารถทำให้องค์กรทำงานได้ไวขึ้น เยอะขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ และยิ่งวันเวลาผ่านไป เครื่องมือนี้ก็ยิ่งฉลาดและเก่งขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า นั่นหมายความว่าองค์กรที่ใช้ AI เป็นแกนหลักจะสามารถพัฒนาไปข้างหน้าได้รวดเร็วแบบติดจรวดมาก ในทางกลับกัน องค์กรที่ไม่ได้หยิบ AI มาเป็นฟันเฟืองสำคัญ ก็จะตามหลัง AI-First และเผชิญกับช่องว่างทางศักยภาพที่กว้างขึ้นเรื่อย ๆ
AI-First ต่างจากแนวคิด Tech-Enabled และ Digital-First อย่างไร?
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา แนวคิดการเปลี่ยนผ่านองค์กรด้วยเทคโนโลยีได้วิวัฒนาการเป็นลำดับจาก Tech-Enabled → Digital-First → และปัจจุบัน AI-First แต่ก่อนจะไปพูดถึงความโดดเด่นของ AI-First เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสองอย่างแรกแบบรวบรัดเข้าใจง่ายก่อนดีกว่า
Tech-Enabled: การใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วย
แนวคิดนี้ถือเป็นเรื่องพื้นฐานขั้นสุดที่ทุกองค์กรในยุคปัจจุบันจะต้องก้าวข้ามสเต็ปนี้ไปให้ได้ หมายถึงองค์กรที่มีการหยิบเทคโนโลยีอะไรก็ได้มาใช้สนับสนุนหรือเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่มีอยู่ เช่น ใช้ Excel แทนกระดาษ ใช้ระบบ CRM แทน spreadsheet หรือใช้ Chatbot เพื่อลดภาระ call center
Digital-First: การออกแบบทุกอย่างโดยคิดถึงดิจิทัลเป็นลำดับแรก
แนวคิดที่องค์กร “ออกแบบ” การทำงานและประสบการณ์ลูกค้าโดยมุ่งไปที่แพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นหลัก เช่น แอปพลิเคชัน โซเชียลมีเดีย หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ
ทำไม AI-First ถึงสำคัญกว่าทุกแนวคิดที่เคยมีมา
แม้ทั้ง Tech-Enabled และ Digital-First จะช่วยเพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพในการยกระดับงานและองค์กรได้ดีมากในช่วงเวลา 10 ถึง 20 ปีที่ผ่านมา แต่ปัญหาก็คือ การมาถึงของ AI ในปัจจุบันทำให้ 2 สิ่งนี้ไม่เพียงพอต่อการก้าวไปข้างหน้าได้อย่างทันโลกแล้ว วิวัฒนาการการเติบโตในเชิงประสิทธิภาพของ AI มันรวดเร็วกว่าทุกเทคโนโลยีที่เคยมีมาแบบหลายเท่าตัว ด้วยสาเหตุนี้ การเป็น “AI-First Company” จึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องมานั่งรอ แล้วค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไปทีละนิดได้ แต่มันคือบรรทัดฐานใหม่ที่ทุกองค์กรยุคใหม่ต้องไปให้ถึง
กรณีศึกษาของ LINE MAN Wongnai ในฐานะ AI-First Company
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ LINE MAN Wongnai ได้เขียนโพสต์แบ่งปันประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องของ AI ในโลกธุรกิจ คุณยอดได้เล่าให้ฟังว่า ตัวเองได้เดินทางไปหลายประเทศและพูดคุยกับผู้คนในวงการเทคโนโลยีและนักลงทุนจำนวนมาก ซึ่งทุกคนตื่นตัวและหยิบเครื่องมือ AI มาใช้กันอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ซึ่งจุดนี้มันชี้ให้เห็นว่ายุคสมัยของ AI ไม่ใช่เรื่องของอนาคต แต่มาถึงแล้วเรียบร้อยแล้ว จากมุมมองของคุณยอด ปรากฏการณ์ AI ในปัจจุบันให้ความรู้สึกถึงความเร่งด่วนที่ไม่ต่างจากยุคที่ iPhone รุ่นแรก ๆ ออกสู่ตลาด ซึ่งเป็นการยืนยันว่าโลกธุรกิจกำลังเข้าสู่ ‘จุดเปลี่ยนทางเทคโนโลยีครั้งใหญ่’ ที่ขับเคลื่อนด้วย AI
ด้วยเหตุนี้ ประมาณสองเดือนก่อนที่บทความนี้จะเขียนขึ้น คุณยอดได้ประกาศให้ LINE MAN Wongnai เป็น “AI-Driven Company” โดยนำ AI เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ “ทั้งบริษัท” โดยมีฟังก์ชันและบางทีมที่มีรูปแบบการทำงานที่ชัดเจนว่าจะหยิบ AI มาใช้ทำงานอะไร ตัวอย่างเช่น ทีมเทคที่ต้องเอา AI มาใช้บูสต์ประสิทธิภาพในการเขียนโค้ด ทุกคนในทีมต้องใช้เครื่องมือ Cursor เป็น หรือฟังก์ชัน Contact Center และ Key Account ที่ต้องหยิบ GenAI มาใช้ในการเพิ่มความสามารถในการรองรับลูกค้า
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังมีอีกหลายทีมที่ไม่ชัดเจนว่าจะนำ AI มาใช้ทำอะไร ทางบริษัทก็เลยจัดงาน AI Hackathon ระยะเวลา 5 สัปดาห์ขึ้น เพื่อให้ทุกทีมได้ช่วยกันเริ่มต้นวางแผนและลงมือหยิบ AI มาใช้จริง
การจัด AI Hackathon ของ LINE MAN Wongnai เพื่อให้คนได้เริ่มลงมือ!
รูปแบบของ AI Hackathon ที่จัดขึ้นจะมีรูปแบบในลักษณะที่ให้ฝ่ายต่างๆ ของบริษัทจัดทีมเข้าร่วม 12 ทีม เพื่อสร้างต้นแบบการนำ AI อะไรก็ได้มาปรับปรุง และยกระดับกระบวนการทำงานของฝ่ายตัวเอง ซึ่งฝ่ายที่เข้าร่วมก็มีหลากหลายมาก ทั้ง Marketing, Supply Chain, User Growth, Content รวมไปถึงฝ่ายสนับสนุนอย่าง Accounting, Legal และ People ด้วย รวมจำนวนคนทั้งสิ้นกว่า 100 คนที่เข้าร่วม ระยะเวลาของการจัด Hackathon นี้จะอยู่ที่ 4 สัปดาห์ และมี 4 Sprint ที่ต้องมานำเสนอความคืบหน้าทุกวีค โดยแต่ละครั้งก็จะมีคุณยอด ผู้บริหารระดับสูง และหัวหน้าทีมต่าง ๆ เข้าฟังการนำเสนอด้วย
สิ่งที่น่าสนใจของงานนี้ก็คือ เป้าหมายของงานไม่ใช่การทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบและเรียบร้อยที่สุด แต่จะโฟกัสที่ความเร็วเป็นหลัก เพื่อที่ทุกคนจะได้เน้นการลงมือทำอย่างแท้จริงและก่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างทาง ถ้ามีผลงานไหนหน้าสนใจก็ค่อยนำไปขยายผลต่อยอดในระยะถัดไป
ทั้งนี้ทั้งนั้น งานนี้ก็ไม่ได้แค่จับคนจากทีมต่างๆ มาคิดไอเดียและสร้างผลงานด้วยตัวเอง แต่ทางองค์กรมีการตั้งทีม Developer และ Data Science รวมไปถึง AI Evangelist เข้าไปสนับสนุนทางเทคนิคต่าง ๆ ด้วย ที่สำคัญก็มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญภายนอกเข้ามาสอนและมาเป็นกรรมการในช่วงท้ายของ Hackathon ด้วย ซึ่งก็คือ คุณต้า วิโรจน์ จิรพัฒนกุล อดีต Data Scientist แห่ง Facebook ผู้เป็น Co-Founder และ Managing Director ของทาง Skooldio
การที่ทุกคนได้ลอง “ลงมือทำ” คือคุณค่าของการจัด AI Hackathon
สิ่งที่งานนี้ของ LINE MAN Wongnai ได้มอบให้กับองค์กรและพนักงานของตัวเองก็คือ พนักงานได้มีพื้นที่ในการ “ลงมือทำ” และ “เรียนรู้จริงๆ” ได้สัมผัสกับตัวเองว่า AI สามารถยกระดับศักยภาพการทำงานของตัวเองให้สูงที่สุด สุดท้าย ผลลัพธ์ที่ดีของงานเลยเห็นได้ชัดมาก มีบางทีมที่ถึงขั้นสามารถต่อยอดผลงานมาใช้งานจริงในระดับโปรดักชันแล้ว อีกประโยชน์สำคัญของงานนี้ก็คือ มันช่วยให้ค้นพบอุปสรรคในการนำ AI มาใช้งานจริง ซึ่งคุณยอดบอกว่า เรื่องพวกนี้ยิ่งเรารู้เนิ่น ๆ ไว้ยิ่งดี จะได้รู้ว่าอะไรเวิร์คหรือไม่เวิร์ค
ในวรรคสุดท้ายของโพสต์ คุณยอดได้ทิ้งท้ายไว้ว่า…
“คนชนะคือคนที่เร็วที่สุด คนที่พร้อมจะทุบทุกอย่างและสร้างขึ้นมาใหม่ถ้าจำเป็น และตอนนี้ LINE MAN Wongnai จะต้องกลับไปมี mindset แบบ “move fast and (don’t) break things” อีกครั้ง เพราะความเสี่ยงคือการไม่ทำอะไร”
บทเรียนที่คุณต้า วิโรจน์ Skooldio มองเห็นจากเคส LINE MAN Wongnai

เวิร์กชอป Leading High-Performing Teams (Silicon Valley Style) ที่คุณต้า วิโรจน์เข้าไปสอนให้ LINE MAN Wongnai
1. การเปลี่ยนผ่านสู่ AI เป็นเรื่องของคน (AI transformation is a people problem)
สิ่งที่ยากกว่าการ “upskill” คน คือการทำให้พนักงานเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีอย่างแท้จริง และตื่นเต้นกับการนำ AI มาช่วยให้งานของตัวเองง่ายขึ้นและดีขึ้น เมื่อทีมงาน “อิน” กับ AI พวกเขาจะเริ่มอยากนำ AI ไปใช้ในทุกส่วนของงานเอง ตัวอย่างเช่น ทีม LINE MAN Wongnai และทีมกราฟิกของ Skooldio ที่นำเสนอโครงการ AI ด้วยความกระตือรือร้นและหยิบ AI มาใช้งานอยู่ตลอด
2. ผู้นำเป็นผู้กำหนดทิศทาง (The leader sets the tone)
ในช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ผู้บริหารระดับสูงต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วยตัวเองเสมอ ความสำเร็จของ LMWN ส่วนหนึ่งมาจากการที่ทีมบริหารลงมาช่วยฟังและโค้ชโปรเจกต์ทุกสัปดาห์ สามารถแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาที่พบเจอได้ทันที การที่ผู้บริหารเห็นเครื่องมือ AI ที่น่าสนใจหรืออันที่คนบอกว่าดี แล้วโยนเครื่องมือมาให้ทีมต่าง ๆ ใช้โดยไม่รู้บริบท ทีมก็อาจจะรู้สึกบั่นทอนในเรื่องการทำงานได้
3. มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่จะได้จากการทำสิ่งต่าง ๆ (Focus on impact)
ในขณะที่องค์กรใหญ่หลายแห่งยังติดปัญหาเรื่อง IT/Security ที่ต้องมาหาข้อสรุปที่ไม่มีวันจบว่าเครื่องมือไหนใช้ได้หรือไม่ได้บ้าง ที่ LINE MAN Wongnai เดินหน้าลุยด้วยการตั้งทีม Core Team เฉพาะกิจขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการสร้าง “sandbox” ให้ทีมได้ทดลองทุกอย่างที่ต้องการโดยไม่มีความเสี่ยงต่อบริษัท โดยการลงแรงและเวลาในจุดมันโชว์ให้เห็นว่าทีมงานทุกคนที่ LMWN ถูกกระตุ้นให้ “Focus on impact” อย่างมาก จนทำให้ ROI ของแต่ละโปรเจกต์พุ่งสูง

เวิร์กชอป Leading High-Performing Teams ที่คุณต้า วิโรจน์เข้าไปสอนที่ LINE MAN Wongnai
Case Study ที่ Skooldio เคยเข้าไปช่วยองค์กรต่าง ๆ
Arincare: ลดต้นทุนหลักแสน เภสัชกรไม่ Burnout ด้วย Generative AI
ปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนหน้า
ในช่วงโควิด-19 มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ติดอยู่ในคอนโดและไม่สามารถหายาได้ ทำให้ Arincare มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 85,000 คน และมีมากกว่า 120,000 เคสในช่วง 3 ปี สูงสุดถึง 300 เคสต่อวัน ซึ่งพอจำนวนคนไข้มีเยอะขึ้นมาก แต่ทีมเภสัชกรต้องตอบคำถามแบบ Manual อยู่ เภสัชกรก็เลยเหนื่อยล้าอย่างหนัก
บุคลากรที่ไม่เพียงพอต่อการรองรับจำนวนลูกค้า ส่งผลให้กระบวนการต่างๆ ล่าช้ามาก และการตอบสนองที่ล่าช้าก็ทำให้คนไข้ไม่ได้รับการตอบกลับและเริ่มมองหา Solution อื่นๆ ซึ่งหากพวกเขาเจอ Solution ใหม่แล้ว เขาก็จะไม่กลับมาใช้ Arincare อีก
เมื่อพบปัญหานี้เข้า ทาง Arincare ก็ได้ติดต่อ Skooldio เพื่อให้มาช่วยพัฒนา AI Product ที่จะจัดการแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยหลังจากทีมได้เข้าไปสำรวจก็พบว่ามีเภสัชกรเพียง 2 คนดูแลลูกค้าเป็นสิบราย ทำให้มีคนไข้หลุดหายไปจำนวนมาก และเมื่อเจาะลึก Journey ของเภสัชกร พบว่า 80% ของ Flow งานเป็นการถามอาการเท่านั้น ซึ่งใช้เวลายาวนานมาก
Skooldio เข้าไปแก้ปัญหาอย่างไร?
ทางทีม Skooldio พบว่าสามารถนำ Gen AI มาช่วยในส่วนของการสอบถามอาการที่ใช้เวลานานได้ จึงได้พัฒนา AI ชื่อ ‘Pharma’ ขึ้น ซึ่งถูกออกแบบมาให้สามารถพูดคุยและถามอาการได้เหมือนคน โดย Skooldio ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์กับ Google อยู่แล้ว ได้ทดลอง Gen AI หลายตัว และพบว่า Gemini 1.5 Flash สามารถตอบได้อย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด จึงถูกนำมาใช้ในการสอบถามและสรุปอาการ
ในตอนแรก Pharma มีปัญหาในการทำหลายหน้าที่ ทีมจึงปรับมาใช้ Multi-Agentic Workflow โดยแบ่ง Pharma ออกเป็น 2 ส่วน คือ คนสอบถามอาการ กับ คนจดสรุปและส่งสรุปอาการไปยังเภสัชกร นอกจากนี้ก็ยังใช้ LINE Webhook API ในการส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้งานกับ AI ด้วย
หลังจากนำ Pharma ไปทดสอบ ผู้ใช้งานพบว่า AI ถามคำตอบคำ ทำให้รู้สึก “แห้ง” ไม่เหมือนคุยกับคน จึงได้เปลี่ยนมาลองใช้ Delay Message Service ให้รอผู้ป่วยพิมพ์ 15-20 วินาทีแทน แต่คนไข้ก็รู้สึกว่ามันรอนาน ทีมก็เลยเปลี่ยนมาใช้ Loading Animation API ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าคุณ Pharma กำลังพิมพ์อยู่ ทำให้รู้สึกเหมือนกำลังคุยกับคน
แน่นอนว่าเรื่องของสุขภาพและยาเป็นเรื่องที่จะพลาดไม่ได้ และยังคงต้องอาศัยเภสัชกรในกระบวนการต่างๆ อยู่ ทางทีมก็เลยสร้าง LINE OA อีกอันหนึ่งให้เภสัชกร ถ้าเกิดว่าเภสัชกรว่างตอบ ก็สามารถหยุดการทำงานของ Pharma และคุยกับ User ได้โดยตรงเลย ไม่กระทบประสบการณ์การใช้งาน เน้นย้ำว่า AI ไม่ใช่คำตอบของทุกปัญหา และ AI สามารถทำผิดพลาดได้ จึงต้องมีมนุษย์เข้ามาตรวจสอบอยู่เสมอ (Always Human in the loop)
ผลลัพธ์ที่ได้จากการนำ AI มาช่วย
- ด้านธุรกิจ
- ลด Percent Drop-Off ได้ 40%
- Conversion Rate เพิ่มขึ้น 15%
- ลดต้นทุนได้หลักแสน
- ด้านเภสัชกร
- ลด Workload ลง
- มีความสุขมากขึ้น
- สามารถมอบ Value ที่แท้จริงให้คนไข้ได้
- ด้านคนไข้
- ประสบการณ์ใช้งานมีความ Seamless ขึ้น
- อยากให้เภสัชกรของ MedCare ดูแลต่อ
- อยากแนะนำให้คนรอบข้างมาใช้บริการ
AI-First คือสิ่งที่ทุกองค์กรต้องตั้งแต่วันนี้
ในขณะที่องค์กรชั้นนำทั้งในระดับประเทศและระดับโลกเดินทางมาถึงกระบวนการที่หยิบ AI มาเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ จนกลายเป็นองค์กร “AI-First” อย่างเต็มตัวแล้ว ยังมีองค์กรอีกจำนวนมากที่ยังอยู่ในสเตจของ “AI-Interested Company” อยู่ ก็คือเป็นองค์กรที่ “สนใจ” AI เฉยๆ มีการหยิบแชทบอทมาใช้และทดลองเอา AI มาทำโน่นทำนี่แบบประปราย แต่ไม่ได้เอา AI มา “ใช้เป็นแกนกลาง” ขององค์กรจริง ๆ

บรรยากาศการเรียนการสอนของคุณต้า วิโรจน์
การจะขับเคลื่อนองค์กรให้เป็น AI-First Company อย่างเต็มตัวจะต้องอาศัยคนจากทุกภาคส่วนขององค์กร ถ้าพนักงานใช้ AI แต่ผู้นำยังไม่เห็นความสำคัญ ก็ไปไม่รอด หรือถ้าผู้นำใช้ AI แต่พนักงานไม่ได้ใช้ องค์กรก็จะไม่สามารถเดินไปข้างหน้าได้อย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้น การยกระดับองค์กรให้เป็น AI-First Company ได้จะต้องอาศัยการขับเคลื่อนแบบครบส่วนตั้งแต่บนลงล่าง
AI-Enablement Program
หากองค์กรของคุณกำลังมองหาพันธมิตรที่เชี่ยวชาญด้าน AI และพร้อมที่จะทำความเข้าใจบริบทของธุรกิจอย่างลึกซึ้ง Skooldio ยินดีอย่างยิ่งที่จะร่วมเดินทางไปกับคุณในกระบวนการ Transformation พร้อมออกแบบโปรแกรมที่ตอบโจทย์และสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร

ภาพของคุณต้าและคุณยอด พร้อมทีมงานที่มาเวิร์กชอป
เรามีความเชี่ยวชาญในการออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับผู้บริหาร โดยเริ่มต้นจากการรับฟังและทำความเข้าใจโจทย์ของผู้นำและองค์กรอย่างรอบด้าน เพื่อสร้างโปรแกรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการเฉพาะของแต่ละธุรกิจ
หากองค์กรของคุณมองเห็นโอกาสและต้องการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในด้าน AI อย่างตรงจุด Skooldio พร้อมช่วยคุณเปลี่ยนผ่านสู่การเป็น AI-First Company อย่างแท้จริง
ติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเราเพื่อปรึกษาฟรี! sales@skooldio.com โทร 087-517-5716 (คุณแคน)
Sources :
Exactly What Is An AI-First Company? | Forbes
What It Means to Be AI First Organization in 2025 | Worklytics