ทุกวันนี้เวลาพูดถึง Blockchain ภาพแรกที่หลายๆ คนนึกถึงคงไม่พ้น เรื่อง Cryptocurrency หรือบางทีอาจจะเป็น Bitcoin หรือ Dogecoin ที่ Elon Musk ออกมาทวีตปั่นอยู่ในหลายๆ ครั้ง แน่นอนว่านั้นก็เป็นความเข้าใจที่ไม่ผิดเลย เพราะ ไม่ว่าจะเป็น Bitcoin, Dogecoin หรือเหรียญคริปโตอื่นๆ ก็ตาม ล้วนมีเทคโนโลยี Blockchain อยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น
“แต่ Blockchain ไม่ได้เท่ากับ Bitcoin เสียทีเดียว”
เพราะในความเป็นจริงแล้ว Blockchain นั้นเป็นชื่อของเทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลด้วยวิธีที่ยากและแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ข้อมูลจะถูกเปลี่ยนหรือแฮกได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการบันทึกข้อมูล ข้อมูลเหล่านั้นก็จะถูกส่งและกระจายเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่าย สิ่งนี้เองทำให้ทุกคนสามารถรับรู้ถึงข้อมูลเหล่านั้นได้โดยพร้อมกันเวลาเกิดการทำธุรกรรมขึ้นในเครือข่าย
ในขณะเดียวกันการที่ทุกคนต่างมีข้อมูลธุรกรรมที่สำเนาไว้ มันจึงเป็นไปได้ยากมากที่จะมีใครสักคนเข้ามาแก้ไข หรือ ดัดแปลงข้อมูลในระบบ โดยที่จะไม่มีใครรู้เลย เพราะถ้าหากจะทำเช่นนั้นได้ ก็คงต้องเปลี่ยนแปลงข้อมูลของทุกคนในระบบหรือข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องพร้อมๆ กันนั่นเอง
ด้วยลักษณะเช่นนี้เองทำให้ Blockchain สามารถสร้างประโยชน์ได้มากมาย ไม่ใช่เพียงแค่ในวงการ Cryptocurrency แต่หลากหลายวงการก็สามารถสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน และ ผลกำไรทางธุรกิจที่สูงขึ้นจากการหันมาใช้เทคโยโลยี Blockchain อีกด้วย
วันนี้เราจะพาไปส่องหลากหลายวงการรอบโลกที่นำเอาเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้จนสามารถสร้างผลดีทั้งในด้านการทำงานและในด้านผลประกอบการอย่างมากมายกัน
เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรม หรือ การใส่ข้อมูลเข้ามาในระบบ Blockchain ข้อมูลเหล่านั้นก็จะถูกสำเนาเอาไว้ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายทันที ทำให้ทุกคนต่างสามารถรู้ได้พร้อมเพรียงเวลามีอะไรเกิดขึ้น
ด้วยลักษณะนี้เองทำให้มีการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้จัดการปัญหาโควิด-19 ในหลายๆประเทศด้วย
อย่างในช่วงเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ทาง PHBC สมาคมของหน่วยงานด้านสุขภาพของอังกฤษ ได้เปิดตัวเว็บไซต์ Virusblockchain.com ซึ่งสามารถติดตามพื้นที่เสี่ยงไม่ว่าจะเป็น ชุมชน หรือบริษัทต่างๆ โดยมันจะคอยระบุระดับความปลอดภัยของพื้นที่ต่างๆ อย่างอัตโนมัติ หากมีผู้ที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยงเข้ามา จะมีการส่งต่อข้อมูลกันอย่างรวดเร็วผ่านระบบ Blockchain ทำให้ทุกคนสามารถรับรู้ข้อมูลได้อย่างถูกต้องเหมือนกันทุกคน
นอกจากเว็บไซต์ที่ใช้ Blockchain อัปเดตข้อมูลพื้นที่เสี่ยงแล้ว ก็ยังมีการนำเทคโนโลยีนี้มาแก้ปัญหาที่โรงพยาบาลหลายๆ แห่งในอเมริกา ขาดแคลนอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์
ซึ่งการขาดแคลนเครื่องมือและอุปกรณ์ทำให้โรงพยาบาลต้องหันไปพึ่งพา Supplier รายใหม่ที่ไม่ได้ผ่านมาตรฐานการรับรอง ทำให้เครื่องมือการแพทย์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เข้ามาทดแทนในส่วนที่ขาดแคลนกลับไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร ด้วยความตระหนักถึงปัญหานี้เอง กลุ่มด้านการดูแลสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดใน New York อย่าง ‘Northwell Health’ ที่ครอบคลุมโรงพยาบาลกว่า 800 แห่ง จึงได้จับมือกับ IBM เปิดตัวเครือข่าย Rapid Supplier Connect ที่จะสามารถช่วยเหลือรวมถึงตรวจสอบ Supplier เพื่อที่จะจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาล โดยจะให้ข้อมูลรายชื่อของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้มาตรฐานรับรองผ่านเทคโนโลยี Blockchain พร้อมการันตีความถูกต้องของข้อมูลอุปกรณ์ทางการแพทย์จากแหล่งต่างๆ เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว และประสิทธิภาพในการจัดซื้อของโรงพยาบาลให้มากขึ้นท่ามกลางวิกฤตการณ์โรคระบาดนี้เอง
เชื่อว่าทุกคนคงเคยประสบปัญหา เวลาซื้อของออนไลน์เสร็จแล้วต้องมานั่งกังวลว่าเมื่อไหร่ของจะมาส่ง บางทีก็เจอกรณีที่ของส่งช้าบ้าง ไหนจะไม่รู้ว่าของตัวเองอยู่ตรงไหนแล้วอีก ที่มากกว่านั้นเลยคือบางครั้งพัสดุของเราก็ไปติดอยู่ที่สถานีขนส่งนานจนไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
การนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในวงการขนส่งจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจมากในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้กับลูกค้า แถมยังช่วยสร้างประสิทธิภาพและเพิ่มความรวดเร็วในองค์กรอีกด้วย
ตัวเทคโนโลยีเอง สามารถสร้างบันทึกดิจิตอลแบบเข้ารหัสที่จะสามารถติดตามสินค้าต่างๆ ได้ในทุกย่างก้าว มากไปกว่านั้นเมื่อเกิดความผิดปกติใดในขั้นตอนการขนส่ง เทคโนโลยีนี้ก็สามารถที่จะช่วยให้ตรวจพบปัญหาเหล่านั้นได้ทันที
เมื่อบริษัทขนส่งสามารถระบุปัญหาได้รวดเร็วก็ทำให้สามารถลงไปจัดการได้อย่างถูกจุด และอีกหนึ่งประโยชน์ที่มองข้ามไม่ได้เลยคือ บริษัทขนส่งจะสามารถสร้างความเชื่อใจและโปร่งใสในข้อมูลการขนส่งให้แก่ลูกค้าได้ โดยที่ลูกค้าสามารถติดตามได้ตลอดเวลาว่าสินค้าของตน ตอนนี้อยู่ตรงไหนแล้ว และจะมาถึงเมื่อไหร่นั่นเอง
ในปัจจุบันบริษัทขนส่งสินค้าทั่วโลกได้หันมาสนใจใช้เทคโนโลยี Blockchain กันมากขึ้น เช่น
บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Alibaba เองก็พึ่งจับมือกับ China Merchants Port เพื่อที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มที่ใช้ Blockchain ในอุตสาหกรรมขนส่งท่าเรือ โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวจะสามารถทำให้ผู้ซื้อ ผู้ขาย บริษัทโลจิสติกส์ หรือ เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถตรวจเช็คสินค้าส่งออก หรือ นำเข้าได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในแต่ละวันสนามบินมีผู้โดยสารขาเข้า-ขาออกมากกว่า 200,000 คน ซึ่งการจะขึ้นบินแต่ละครั้งก็มีกระบวนการต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจความปลอดภัย สัมภาระของผู้โดยสารรวมไปถึง การตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว กระบวนการเหล่านี้ล้วนใช้เวลานานทั้งสิ้น จนบางครั้งอาจทำให้ไฟลท์บินเกิดการดีเลย์ได้
สายการบิน British Airline เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้จับมือกับ VChain บริษัทสตาร์ทอัพในอังกฤษ ในการพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain เพื่อมาใช้กับวงการการท่องเที่ยว โดยใช้ Blockchain ในการยืนยันตัวตนของนักท่องเที่ยวโดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาดึงข้อมูลมาจากหน่วยงานอื่น หรือ ฐานข้อมูลอื่น อีกทั้งยังมีการนำ Blockchain มาใช้กับกระบวนการตรวจเช็คความปลอดภัยของสัมภาระผู้โดยสารอีกด้วย
การนำ Blockchain มาปรับใช้กับกระบวนการต่างๆ ในสนามบินนี้เป็นหนึ่งในทางที่เลือกที่จะช่วยแก้ไขขั้นตอนต่างๆ ที่ต้องใช้เวลา ทำให้สายการบินสามารถรับประกันความรวดเร็ว และสามารถสร้างประสบการ์ณที่ดีให้กับผู้โดยสายได้อย่างน่าประทับใจ
หากต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี Blockchain มากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะนำไอเดียไปต่อยอดกับธุรกิจหรือจะเป็นพื้นฐานสำหรับการลงทุน ห้ามพลาด คอร์ส Bitcoin, Blockchain, and Beyond
คอร์สที่จะพาคุณไปเข้าใจพื้นฐาน หลักการ และการใช้งานของเทคโนโลยี Blockchain ในหลากหลายรูปแบบอย่างเห็นภาพ เข้าใจง่าย พร้อมทำความรู้จัก Buzzwords อย่าง Bitcoin, Smart Contract และ Ethereum