Innovation-silicon-valley

สรุป 4 หลักการบริหารจนองค์กรโตไว แบบ Silicon Valley

“ไอเดียนี้ดีมาก แต่เอาไปทำจริง ๆ ในองค์กรไม่ได้หรอก ผู้บริหารคงไม่อนุมัติให้ทำจริงแน่”

หนึ่งใน Feedback ที่เรามักได้ยินจากพนักงาน เวลาเรียนเรื่อง Design Thinking หรือการวิธีสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ

แล้วองค์กรจะสร้าง Innovation ได้อย่างไร ถ้าผู้นำยังบริหารแบบเดิม ?

มาดูสรุป 4 หลักการบริหารที่จะช่วยให้พนักงานเก่งจนองค์กรโตขึ้นเป็นเท่าตัว ถอดมาจาก Podcast ของ 8 บรรทัดครึ่ง “คุยกับ MD Skooldio ต้า วิโรจน์ เรื่อง การบริหารงานแบบ Silicon Valley*

Impact & Challenging: งานที่ทำต้องมีคุณค่าและท้าทาย

ทุกองค์กรอยากให้พนักงานขยัน ทำงานอย่างเต็มที่ แต่ใช่ว่าจะผลักดันให้ทุกคนเป็นแบบนั้นได้ง่าย ๆ

คุณต้าเล่าว่าสมัยทำงานที่ Facebook มีหลายครั้งที่เขาทำงานเสาร์อาทิตย์ด้วย ซึ่งไม่ใช่การถูกบังคับ แต่เพราะเขารู้สึกว่างานที่ทำอยู่มันมี Impact ทั้งต่อองค์กร และลูกค้า(Users)

“ถ้าเราทำอะไรดีขึ้น มีคนเป็นพันล้านคนกำลังขอบคุณเราอยู่” นี่คือสิ่งที่ Facebook พยายามเน้นย้ำกับพนักงานอยู่ตลอด

Facebook พยายามใส่ Mindset นี้เข้าไปในทุกคนในบริษัท เริ่มตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาในองค์กร ว่า Task แรกที่เขาทำมันมี Impact กับคนเป็นพันล้านคน ซึ่งแปลว่ามันเป็นงานที่ท้าทาย โดยเฉพาะเมื่อมีเพื่อนร่วมเก่ง ๆ เยอะ แปลว่าถ้าเราทำงานนี้แล้ว เราก็ต้องเก่งขึ้นไปอีก

Talent ยุคนี้ชอบทำอะไรที่มันมี Impact และรู้สึกว่างานที่เขาทำมัน Meaningful ถ้าเราให้งานที่มันมีน้ำหนัก ให้ความกดดัน ความเครียด เขาจะรู้สึกว่าเราให้โอกาสเขาได้เรียนรู้ตลอดเวลา ถึงจุดนั้นเขาจะอยู่และช่วยองค์กรไปได้อีกนาน

A Safe Space For Failure: ต้องมีพื้นที่ให้พนักงานได้ทดลอง

จากที่คุณต้าได้เข้าไปช่วยหลาย ๆ องค์กรชั้นนำในไทยสร้างนวัตกรรมและ Transform องค์กร ปัญหาที่มักเจอ คือ พนักงานมี Daily Task ล้นมาก จนไม่มีเวลาไปสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และกลัวที่จะลองผิดพลาด

“ได้มาเวิร์กชอปกับอาจารย์ต้าแล้วสนุกมาก ได้ไอเดียดี ๆ แต่เชื่อว่าไอเดียนี้ไปไม่ถึงไหนหรอก เพราะคงไม่มีโอกาสได้ทำจริง แค่งานที่ต้องทำทุกวันก็เยอะแล้ว” นี่คือ Feedback ที่คุณต้ามักได้พนักงานหลายองค์กร

องค์กรไทยมักประชุมกันเยอะมาก แต่ที่เมืองนอกประชุมน้อย เน้นลงมือทำเลย ซึ่งก็มีหลายครั้งที่ในทีมมีความเห็นไม่ตรงกัน ที่ Facebook แก้ปัญหาโดยให้ทดลองทำทุกอย่าง แล้วให้ Users เป็นคนตัดสิน

อีกหนึ่งสิ่งที่องค์กรไทยมักทำประจำ คือการให้ HIPPO (Highest Paid Person’s Opinion) เป็นผู้เลือก แทนที่จะให้ลูกค้าเป็นคนเลือก พื้นที่ที่ให้พนักงานได้ลองลงมือทำ ได้เฟลด้วยตัวเอง มันจึงไม่เกิด

Unlearn: ลืมสิ่งที่เคยทำแล้วประสบความสำเร็จในอดีตไปก่อน

หากผู้บริหารทุกวันนี้อยากจะสร้างนวัตกรรม และรักษา Talent ได้ จะต้อง Unlearn หลาย ๆ อย่างที่เคยทำแล้วประสบความสำเร็จ แต่ก่อนเราอาจจะเก่งบริหารแบบ Silo มาก แต่ต้องยอมรับว่าตอนนี้ Silo มันไม่เวิร์กเพราะลูกค้าเปลี่ยนไวกว่าที่เราจะมาคุยกันข้ามแผนกแล้วรอผลกันเป็นเดือน ๆ

“Startup เดี๋ยวนี้เขาสู้ด้วย Speed คือ ไม่ต้องเป็นสินค้าที่ดีที่สุด แต่ต้องตอบโจทย์ User ให้ได้ไวที่สุด”

รถยนต์ที่ใช้เวลา 3 เดือนกว่าลูกค้าจะได้ใช้ กับจักรยานธรรมดาที่พาลูกค้าขับเคลื่อนได้ภายใน 3 วัน แน่นอนลูกค้าเลือกอันที่ให้เขาจะได้ใช้มันก่อน ถ้าเราทำได้ไวแบบนี้มันถึงจะ innovate องค์กรได้

Performance Driven: เก่งขึ้นทั้งทีม ด้วย Constructive Feedback

องค์กรไทยมักยึดติดกับ KPI ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า ในบางงานมันยังจำเป็น แต่ไม่ใช่กับทุกสายงาน การที่องค์กรเป็น KPI Driven มาก ๆ มันจะผลักให้พนักงานจะทำยังไงก็ได้ให้มันถึงยอดนั้น ซึ่งบางทีมันก็แลกมากับการลักไก่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

ในมุมคุณต้าที่กลับมาเปิดบริษัทบริหารเองเล่าว่า บางทีเห็นน้องคนนี้ทำงานดีมาก งานออกตลอด ถ้าไม่ได้อ่าน Feedback ที่ในทีมเขียนมา จะไม่มีทางรู้เบื้องหลังเลยว่าเขาไม่ได้ Contribute กับทีมเลย ดันแต่งานตัวเอง

“การทำงานองค์กรไทยกับเมืองนอก ต่างตรงที่คนไทยเราจะเก็บความไม่พอใจหลาย ๆ อย่างเอาไว้ จนสุดท้ายงานมันออกไม่ดี แต่เมืองนอกเราให้ Feedback กันตรง ๆ”

ด้วยความที่คนไทยเป็นสาย Compromise พอให้พูดต่อหน้าอาจจะไม่ชินเท่าไหร่ คุณต้าแนะนำให้ลองใช้ Performance Review เพราะพอเขียนมันได้อ่าน ได้ทบทวนความคิดก่อน และอยากแนะนำให้หลาย ๆ บริษัท เอา Feedback 360 องศาไปทำ มันทำให้เราเห็นอะไรที่เราไม่รู้มาก่อน และเราจะช่วยน้อง ๆ ได้มาก

“ถ้าคุยกันด้วย Qualitative Information มันช่วยให้เราประเมินคนได้ดียิ่งขึ้น คนได้รับ Feedback เขาก็เก่งขึ้น”


ถ้าคุณอยากเรียนรู้การ Transform องค์กรให้กลายเป็นองค์กรสมัยใหม่ที่ตอบโจทย์คนทุกรุ่น และสร้างนวัตกรรมได้เร็วแบบองค์กรระดับโลก กับเหล่าผู้บริหารที่มีประสบการณ์ทำงานใน Silicon Valley ทั้ง Facebook, Google และ Amazon ขอแนะนำ Digital Leadership Bootcamp หลักสูตรผู้บริหารยุคดิจิทัล 7 สัปดาห์

DLB-5

รุ่นที่ 5 เปิดรับสมัครแล้ว เรียนทุกวันศุกร์ ตั้งแต่ 28 มิ.ย.-16 ส.ค 67 เวลา 9:30-17:30 หลักสูตรผู้บริหารเดียวที่จะทำให้คุณและองค์กรพร้อม Transform สู่ยุคดิจิทัลและ AI


อ้างอิง

More in:Business

Comments are closed.