[Blog Cover] Audience Confusion Matrix

เทคนิคไม่ลับของคนเรียน MIT กับวิธีการเลือกข้อมูลมานำเสนอให้ตรงจุดกับสิ่งที่คนฟังสนใจ ช่วยสร้าง Data Storytelling ที่ดีเวลาทำ Presentation

ถ้าหากคุณคือคนหนึ่งที่ต้องทำสไลด์นำเสนอที่มีข้อมูลจำนวนมาก แต่ยังไม่รู้ว่าควรเลือกข้อมูลไหนมานำเสนอเพื่อให้ตรงจุดกับสิ่งที่คนฟังน่าจะสนใจ วันนี้เราเอา Framework หนึ่งจาก MIT โดยคุณ Miro Kazakoff อย่าง The Audience Confusion Matrix มาปรับใช้ ไปลองดูกันเลย

The Audience Confusion Matrix Framework

audience-confusion-matrix-framework

Adapted from Persuading with Data (Kazakoff, Miro)

เทคนิคออกแบบการนำเสนอ ข้อมูล x ความคาดหวัง

แต่เดิมนั้น Audience Confusion Matrix จะใช้ในการออกแบบสไตล์ในการนำเสนอเมื่อผู้ฟังกับผู้นำเสนออาจมีความเข้าใจในสิ่งที่เล่าไม่เท่ากัน แต่ในครั้งนี้เราลองปรับเป็นสิ่งที่ Data บอก กับสิ่งที่คนฟังคาดหวังไว้แทน โดยจะแบ่งเป็น 4 ช่องคือ

1. No Conflict ข้อมูลไม่เปลี่ยน และไม่ได้คาดหวัง

ตัดออกจากสไลด์ได้ ! ถ้าหากคนฟังคิดว่าจะไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรและข้อมูลก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจริง เช่น

สินค้าชิ้นหนึ่งขายได้ยอดขายเท่าเดิมมาตลอดหลายเดือน ทุกคนมองว่ายอดขายเดือนหน้าก็จะเท่าเดิมเพราะไม่ได้ทำอะไรเพิ่ม เมื่อจบเดือนพบว่าข้อมูลก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจริง ๆ สิ่งนี้ไม่มี Conflict อะไรเลย เราอาจเลือกที่จะตัดออกจากการนำเสนอได้ แล้วอาจทำแค่สรุปบน Dashboard แบบไว ๆ แทน

2. What did you miss? ข้อมูลไม่เปลี่ยน แต่คาดหวังการเปลี่ยนแปลง

ควรใส่ในสไลด์ ! เมื่อคนฟังหวังจะได้ยินว่ามีการเปลี่ยนแปลง แต่ข้อมูลกลับบอกว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนไป เช่น

ถ้าหากคุณทำ Marketing Campaign บางอย่าง แล้วคาดหวังว่าจะต้องมียอดขายเพิ่มขึ้น แต่ข้อมูลกลับบอกว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง เรื่องนี้ควรถูกหยิบมานำเสนอ เพราะคนฟังอาจอยากรู้ Insights ว่าทำไมถึงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงเลย และต้องการคำตอบสำหรับปัญหาเหล่านั้นว่าพวกเขาพลาดตรงส่วนไหน

3. What happened? ข้อมูลเปลี่ยนแปลง แบบไม่ได้คาดหวัง

ควรใส่ในสไลด์ ! 

อยู่ดี ๆ สินค้าที่เคยขายดีมาก่อนกลับขายไม่ออกเลย สิ่งแรกที่หัวหน้าคุณอาจถามหาคือเกิดอะไรขึ้น นี้เป็นตัวอย่างที่ดี ที่คุณควรหยิบข้อมูลนี้มาพูดคุยในสไลด์นำเสนอ โดยเน้นแสดงให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงเวลานั้น ๆ สถานการณ์อะไรที่ทำให้อยู่ดี ๆ ยอดขายของคุณก็หายไป

4. What do we do now? ข้อมูล และความคาดหวังเปลี่ยนแปลง

ได้เวลามาโฟกัสกับก้าวต่อไป! 

เมื่อข้อมูลและความความหวังของคนฟังเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ทุกคนในทีมมีความคาดหวังว่าใน Q3 นี้ยอดขายจะเพิ่มขึ้นเพราะเพิ่งปล่อยสินค้าใหม่ออกมา และเมื่อยอดขายของ Q3 เพิ่มขึ้นจริง ๆ ก็เป็นการยืนยันว่าข้อมูลและความคาดหวังของผู้ฟังเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน

ดังนั้นจึงไม่จำเป็นจะต้องเน้นหรือใช้เวลามากมายในการอธิบายข้อมูลหรือผลลัพธ์ที่ออกมา แต่สิ่งที่คุณควรทำคือการหารือพูดคุยกันเรื่องแนวทางในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ หรือ การตัดสินใจต่าง ๆ 

effective-data-storytelling

เทคนิคออกแบบการนำเสนอ เมื่อผู้ฟังกับผู้นำเสนอมีความเข้าใจในสิ่งที่เล่าไม่เท่ากัน

ทีนี้เรามาลองดูอีกมุมนึงกันดีกว่าว่า ถ้าใช้ Audience Confusion Matrix ในการออกแบบสไตล์การนำเสนอเมื่อผู้ฟังกับผู้นำเสนอมีความเข้าใจในสิ่งที่เล่าไม่เท่ากัน จะออกมาเป็นยังไงบ้าง 

โดยเครื่องมือนี้จะช่วยให้คนพรีเซนต์งานสามารถปรับเนื้อหาในการนำเสนอให้เหมาะกับคนฟัง โดยแบ่งเป็น 4 ช่อง ตามระดับความเข้าใจของผู้พูด และผู้ฟัง

1. Expert Mode : คนพูดรู้มาก คนฟังรู้น้อย 

มักเป็นปัญหาของสาย Technical หรือ Specialist ที่มีเวลาทำความเข้าใจเรื่องในสไลด์มากกว่าคนฟัง คุณอาจทำสไลด์ที่มีข้อมูลมากเกินไป หรือใช้ศัพท์เทคนิคต่าง ๆ ที่คนฟังไม่เข้าใจได้ ทำให้สุดท้ายข้อมูลที่หยิบมานำเสนอก็ไม่ถูกนำไปใช้ต่อ

คุณอาจต้องลดความซับซ้อนของข้อมูล เน้นการเล่าถึง Insights ผ่านภาษาที่เข้าใจได้ง่าย หรืออธิบายบริบทเพิ่มเติมเพื่อปิด Communication Gap ระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย

2. Incompetent Model : คนพูดรู้น้อย คนฟังรู้มาก

ถ้าคนนำเสนอมีความเข้าใจในเรื่องที่นำเสนอน้อยกว่าคนฟัง สิ่งที่เล่าออกมาอาจขาดความน่าเชื่อถือ และเสียการมีส่วนร่วมของคนฟังไปด้วย หรือคนฟังอาจเกิดความรู้สึกเบื่อไปเสียก่อนเพราะเขารู้อยู่แล้ว

ดังนั้นคุณต้องเตรียมตัวให้ดีมากกว่าเดิม ทั้งในแง่ของข้อมูล และการนำเสนอ โดยยอมรับขีดจำกัดของความรู้ตัวเอง อาจใช้การนำเสนอที่เล่าเรื่องพร้อมขอความเห็นจากผู้ฟังไปเรื่อย ๆ เพื่อดึงความรู้ ความเข้าใจจากคนฟังมาใช้ต่อในอนาคต

3. Peer Mode : คนพูดรู้มาก และคนฟังรู้มาก 

สิ่งที่ต้องระมัดระวังที่สุด เมื่อทั้งผู้พูด และผู้ฟังคิดว่าต่างฝ่ายต่างเข้าใจเนื้อหาอยู่แล้ว คือทั้ง 2 คนเข้าใจตรงกันหรือไม่ ดังนั้นคุณควรที่จะมีปฏิสัมพันธ์กันและตรวจสอบกับผู้ฟังเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่เข้าใจนั้นสอดคล้องกัน

4. Novice Mode : คนพูดรู้น้อย คนฟังรู้น้อย 

ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้คือ การสนทนาจะวกไปวนมา ไม่มีเนื้อหาที่มีความลึกซึ้ง

ดังนั้นทางแก้คือเน้นดูข้อมูลแนวคิดพื้นฐานร่วมกัน และใช้แหล่งข้อมูลภายนอกในการเพิ่มความรู้ หรือจะเรียนรู้ผ่านการสนทนา discussion กันก็ได้นะ

เทคนิคเหล่านี้จะสามารถช่วยให้การนำเสนอของคุณดูน่าสนใจและตรงใจผู้ฟังมากขึ้น ลองเอาไปใช้กันดูนะ !

เรียนรู้วิธีการทำสไลด์เล่าเรื่องข้อมูลแบบมืออาชีพใน 1 วัน

และถ้าอยากจะเรียนรู้การทำ Data Storytelling แบบเจาะลึกเข้มข้นกว่านี้ก็ห้ามพลาด  เวิร์กชอป Effective Data Storytelling เรียนรู้แบบ Onsite 1 วันเต็มที่จะเปลี่ยนคุณจากคนที่ใช้ข้อมูล ให้โน้มน้าวทุกคนได้จริง

workshops-effective-data-storytelling

สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ตรวจสอบรอบที่เปิดรับสมัครได้ที่นี่

More in:Data

Comments are closed.