งานทำสไลด์ดูน่าจะเป็นงานน่าเหนื่อยใจของใครหลายคน ที่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มทำยังไง ให้ทั้งสวย เข้าใจ และรู้เรื่อง แถมยังต้องสรุปข้อมูลจำนวนมากให้เข้าใจได้ในไม่กี่สไลด์ ทำให้ใครหลายคนเลือกที่จะไม่ได้ใส่ใจกับการสร้าง “สไลด์ที่ดี” แต่เน้นที่ “ความสวยงาม” โดยการใช้เทมเพลตที่มีมาใช้เลย

ซึ่งแน่นอนว่าหลาย ๆ ครั้งจะพบว่าเทมเพลตเหล่านั้นเองก็ไม่ได้ออกแบบมาให้เหมาะสมกับเรื่องราวที่คุณอยากนำเสนอ ทำให้เรื่องราวที่คุณอยากเล่าต้องปรับให้เขากับสไลด์ที่มีแทน และทำให้ถูกตัดทอนเนื้อที่สำคัญไป และบางครั้งคุณก็หลงลืมไปว่าเรื่องที่คุณนำเสนอนั้นมีเพียงคุณเข้าใจ แต่คนอื่นไม่ นี่จึงเป็น 5 ขั้นตอนง่าย ๆ สำหรับคนทำงานในการเริ่มออกแบบสไลด์ “ที่ดี”

M.O.V.I.E Framework

M.O.V.I.E. คือ 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการเริ่มต้นทำสไลด์ที่ช่วยเล่า Data Storytelling ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการสร้างสไลด์พรีเซนต์ที่สื่อสารได้ชัดเจนในประเด็นต่าง ๆ และสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ฟัง โดยจะช่วยให้คนที่รู้สึกกดดันเวลาต้องเล่าเรื่องข้อมูล ไม่ว่าจะในโรงเรียน หรือที่ทำงาน แล้วต้องเตรียมสไลด์ในเวลาที่จำกัด จนไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มยังไงในการเปลี่ยนสไลด์เปล่าให้กลายเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ

M.O.V.I.E. Framework จึงเป็น 1 ในขั้นตอนที่คุณสามารถทำตามได้เวลาต้องเริ่มทำสไลด์โดยเกิดจากการสังเกตของ Paul Moss อดีต Consultant, Business Analyst จาก Deloitte โดยรวบรวมรายงาน และสไลด์ต่าง ๆ จากบริษัทชั้นนำไม่ว่าจะเป็น McKinsey, Bain, หรือ BCG ว่าพวกเขามีวิธีการออกแบบอย่างไรแล้วสรุปออกมาเป็น 5 ขั้นตอนที่จะช่วยให้คุณสร้างสไลด์ที่มีประสิทธิภาพได้ใน 5 นาที

M.O.V.I.E. Framework

Adopted from M.O.V.I.E. framework (Paul Moss)

Message

ความผิดพลาดของใครหลายคนที่ทำสไลด์ โดยเฉพาะสายโหลด Template มาใช้ คือพยายามยัด Message ที่อยากสื่อสารลงไป ซึ่งทำให้บางครั้งประโยคที่คุณอยากจะสื่อสารถูกปรับให้เข้ากับ Layout ของสไลด์มากกว่าที่จะอธิบายสิ่งที่อยู่ในสไลด์แทน

ดังนั้นในการทำสไลด์ที่ดี คุณต้องเริ่มคิดจาก Message ที่อยากสื่อสารก่อนเสมอ หลังจากนั้นมันจะช่วยให้คุณออกแบบสไลด์ที่เหมาะสมกับสิ่งที่อยากจะพูดได้ง่ายขึ้น อาจเริ่มต้นง่าย ๆ โดยถามว่า “ฉันอยากเล่าอะไรในสไลด์นี้ ให้ใครฟังเข้าใจ เพื่อที่จะทำอะไรต่อ ?”

Organisation

พอคุณรู้ว่าอยากสื่อสารอะไรแล้ว มี Message ที่อยากสื่อสารออกมาชัดเจนแล้ว คุณจะเริ่มจัดระเบียบข้อมูลต่าง ๆ ที่มีให้สนับสนุน Message เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น สอดคล้องกันมากขึ้นว่าสไลด์นี้ควรตามด้วยข้อมูลอะไรที่จะทำให้คนเข้าใจและไปต่อได้

ในขั้นตอนนี้ Pyramid Principle จะเข้ามามีส่วนช่วย โดยมันเป็นวิธีการในการสื่อสารโดยเริ่มจาก ประเด็นหลักที่อยากนำเสนอ แตกลงมาเป็นประเด็นย่อย ๆ ที่ประกอบกันมาเพื่อสนับสนุนประเด็นหลักของคุณเอง และถ้าหากทำถูกต้อง ผู้อ่านจะสามารถเชื่อมโยงแต่ละประเด็นเข้าด้วยกันได้ง่ายขึ้น

Visualisation

มีประเด็นที่จะพูด มีข้อมูลที่จะนำเสนอแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการแปลงข้อมูล ให้เป็นภาพซึ่งจะช่วยให้คนเข้าใจข้อมูลได้ง่าย และรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งควรจะเปลี่ยนข้อมูล ข้อความ หรือตัวเลขไม่ว่าจากตาราง หรือที่เขียนให้กลายเป็นกราฟ หรือรูปภาพให้ได้มากที่สุด

effective-data-storytelling

ส่วนลดพิเศษ สำหรับคอร์สออนไลน์ Effective Data Storytelling ใส่โค้ด CH_200_EDS ลดไปเลย 200 บาท
โค้ดมีจำนวนจำกัด ใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย. – 30 ก.ย. 67 สมัครเรียนคลิกเลย

ระวัง! อย่างนึงเลยคือพยายามคิดเสมอทุกครั้งที่ใส่ภาพไอคอน กราฟ หรือรูปภาพลงไปว่ามันช่วยให้ Message ที่สื่อสารออกมาชัดเจนขึ้นจริง ๆ หรือไม่ (เช็คง่าย ๆ ว่าถ้าคนอ่านมาเห็นเอง โดยไม่มีคนบรรยายแล้วเข้าใจไหม) และการใช้กราฟ บางครั้งอาจไม่ต้องสวยที่สุด แต่เรียบง่ายที่สุดก็พอ

Insights

การระบุ Insights ให้ชัดเจน เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ในสไลด์ เพราะต้องอย่าลืมว่าผู้ชมสไลด์ของเรานั้นทั้งต้องฟังเรานำเสนอ อ่านเนื้อหาทั้งหมดในสไลด์ แล้วยังต้องคิดตามด้วยว่าจะต้องตอบโต้กับการพรีเซนต์อย่างไร

ดังนั้นวิธีการนึงที่คุณอาจทำได้คือการหา Insigths ในสไลด์นั้น ๆ 1 เรื่องแล้วเอาออกมาเขียนเป็นพาดหัวในสไลด์ให้เด่นชัด เขียนบรรยาย แทนการบอกเล่า (ตัวอย่างเช่น “ตารางเปรียบเทียบยอดขายในปี 2023 – 2024” เป็น “ยอดขายในปี 2024 เติบโตกว่า 25% เมื่อเทียบกับปีก่อน”) หรือไฮไลท์ส่วนสำคัญให้โดดเด่นออกมา

Extra

รีเช็คสไลด์ของคุณอีกครั้ง ปรับมันให้ตรงกับ Guidelines ของบริษัทว่าไม่มีอะไรผิดพลาด และไม่มีคำผิดอยู่ในนั้น ขั้นตอนนี้คือช่วงที่คุณจะเริ่มปรับ Layout ต่าง ๆ ในสไลด์ให้เหมาะสมกับการนำเสนอ เช่น การปรับขนาดตัวอักษร การจัดวางที่พอดีกัน อ่านง่าย หรือการใช้สี

ลองใช้ 5 ขั้นตอนนี้ดูนะ ถ้าหากว่าลำบากใจทุกครั้งที่ต้องเริ่มทำสไลด์นำเสนอครั้งต่อไป และอย่าลืมว่า Presentation ที่ดี เป็นมากกว่าแค่ทำให้สวย และพูดให้เก่งเท่านั้น

เรียนรู้วิธีการทำสไลด์เล่าเรื่องข้อมูลแบบมืออาชีพใน 1 วัน

Presentation ที่ดีไม่ใช่แค่สวย หรือพูดเก่ง แต่ต้องมีโครงเรื่อง หรือลำดับที่ดีอีกด้วย

เวิร์กชอป Effective Data Storytelling เรียนรู้แบบ Onsite 1 วันเต็มที่จะเปลี่ยนคุณจากคนที่ใช้ข้อมูล ให้โน้มน้าวทุกคนได้จริง ผ่านการได้เรียนรู้ทักษะในการสื่อสารข้อมูลที่ใช้จริงในองค์กรระดับโลกอย่าง McKinsey & Company

effective-data-storytelling

เริ่มตั้งแต่การเลือกใช้กราฟชนิดต่างๆ เพื่อเล่าเรื่องราวด้วยข้อมูล และกระตุ้นให้ผู้อื่นสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่าน 3 บทเรียนสำคัญที่จะเปลี่ยนทัศนคติและแนวคิดของคุณในการใช้งานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และทุกๆคนพร้อม “ซื้อ” ไอเดียคุณ

สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ตรวจสอบรอบที่เปิดรับสมัครได้ที่นี่

More in:Data

Comments are closed.