“ครับพี่” กับ “พี่ครับ” แค่คำสลับกัน ความหมายก็เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
“แต่ก่อน บริษัทเรา น้องๆ ทุกคนก้มหน้าก้มตา ทำตามคำสั่ง พูดแต่ “ครับพี่ๆ” แต่ตอนนี้ เปลี่ยนมาเป็น “พี่ครับ” ผมว่าเรามาลองทำแบบนี้กันดีกว่า”
วันนี้เราได้มาพูดคุยกับคุณเบญจวรรณ พิมขาว หรือพี่เบ็น General Manager ที่ ShowWorks Co.,Ltd. และ Content Creator จากเพจ BenNote
ซึ่งเป็น Alumni จากโปรแกรม Digital Leadership Bootcamp (DLB) รุ่นที่ 1 ที่ได้ปรับเปลี่ยนบริษัทตัวเอง ในช่วง COVID-19 ที่งานอีเวนต์ต่างๆ โดนยกเลิกระนาว มาเริ่มทำธุรกิจขายขนมพรีเมียมชื่อ “กิน ดิ่ ฮับ” พร้อมเปลี่ยนวิธีการทำงานกับทีมจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว
“ก่อนหน้านี้วิธีการทำงานของบริษัทเราก็เหมือนที่อื่นๆ ทั่วไป พี่เป็นคนละเอียดมาก เช็คงานน้องทุกอย่างก่อนส่งไปให้ลูกค้า ไอเดียบางอย่างที่น้องๆ เสนอมา เราก็ต้องปัดตกไปตั้งแต่ในที่ประชุม โดยที่ยังไม่เคยได้ลองนำมาใช้ เพราะเราไม่กล้าเอาไปเสี่ยงกับงานของลูกค้า
เราทำแบบนี้มาตลอด โดยไม่เคยรู้สึกว่ามันเป็นวิธีการที่ไม่ดี หรือไม่เคยคิดว่ามีวิธีการบริหารทีมที่ดีกว่านี้
จนกระทั่งเมื่อเดือนมีนาคม ตอนเจอวิกฤต COVID-19 หนักๆ ลูกค้าที่ยกเลิกงานได้ทัน ยกเลิกหมด ใครจะจัด Event ในช่วงนี้ล่ะจริงมั้ย เราก็คิดหนักละ จากแต่ก่อนที่เราจะคิดเรื่องงานเป็นหลัก เราก็ลองเอาส่วนแรกของ Design Thinking ที่เรียนไปมาใช้ นั่นคือการ Empathize และคนกลุ่มแรกที่เรา Empathize เลยคือน้องๆ ในทีมของเรา ถ้าไม่มีรายได้ ไม่ใช่แค่เราที่ไม่รอด แต่เรายังมีน้องๆ ในทีมอีกหลายชีวิต และครอบครัวของเขา ที่เราต้องดูแล หลายๆคลาสที่สอน จะมุ่งเน้นเรื่องทีมมากๆ ไม่ใช่แค่คลาสเกี่ยวกับ Culture ขององค์กร แม้แต่คลาส OKR ก็ยังพูดเรื่องการดูแลทีม
เราคิดหนักมาก ว่าจะทำธุรกิจอะไร เพื่อพยุงให้ทั้งทีมอยู่รอดต่อไปได้ ยิ่งคิดยิ่งปวดหัว ด้วยความที่เราเป็นคน Traditional มากๆ ต้องคิดให้ครบให้จบ สุดท้ายจะตีกันตายในหัวตัวเอง
แต่ครั้งนี้ พอเราเริ่มคิด เหมือนได้ยินเสียงอาจารย์ต้า (ดร. วิโรจน์ จิรพัฒนกุล) กับพี่ต้อง (กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร) ดังเข้ามาในหัวว่า “ลองลงมือทำดูก่อนสิ อย่ากลัวว่าจะผิด เพราะเราเริ่มใหม่ได้เสมอ” “คิดอยู่นั่นแหละ ถ้าจะเอาให้ perfect ของมันไม่มีทางได้ออก ปล่อยไปก่อน แล้วค่อยๆ ทำให้ดีขึ้น” นี่คือ Mindset หลักที่เราได้รับจากการไปเรียน Digital Leadership Bootcamp (DLB) เป็นวิธีคิดแบบที่บริษัท Startup ใช้กัน ซึ่งความกล้านี้ เราไม่เคยมีมาก่อน แล้วเราก็ไม่เคยเปิดโอกาสให้น้องๆ ในทีมมีความกล้าแบบนี้เช่นกัน
เลยตัดสินใจบอกตัวเองว่า เอาวะ… ลองดู
ผิดก็แค่เริ่มใหม่ แต่ถ้าไม่ทำอะไรตอนนี้ มีแต่ลบกับลบ
จากนั้นเราจึงเริ่มให้น้องๆ ในทีมได้เสนอไอเดีย ลองตั้งใจฟัง ได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ที่บางทีเราคิดไม่ถึง เราพยายามดึงสิ่งต่างๆ ที่เรียนไปมาใช้ให้หมด ทั้งวิธีการ Ideate หาไอเดียต่างๆ การเปิดรับไอเดียของคนอื่นโดยไม่ไปตัดสินเขาตั้งแต่เริ่ม หรือการที่เราได้ไปอยู่ในกลุ่มคนที่เก่งมากๆ ตอนเรียน Digital Leadership Bootcamp (DLB) ทำให้เรารู้สึกว่า เราก็แค่คนอีกคนหนึ่ง ที่อาจจะไม่ได้มีไอเดียที่ดีที่สุด ลองถอยหลังและเริ่มฟังไอเดียจากคนอื่นๆ ดูบ้าง
บรรยากาศตอน Ideate กันสนุกมากๆ น้องๆได้โยนไอเดียกันออกมามากมาย ทั้งทำวุ้นแฟนซี หนังปลาทอดกรอบ น้ำผลไม้ ชานม เทมเป้ เย็นหน้ากากผ้า หรือแม้กระทั่งสินค้ามงคลต่างๆ พอเราปล่อยน้องๆคิดไปซักพัก เราก็ได้งัดอาวุธที่ติดมาจากการเรียน Design Thinking เต็มๆ นั่นคือการตบไอเดีย และสร้าง Prototype ออกมา เราบอกน้องๆว่า อย่ามัวแต่คิดอย่างเดียว พี่ให้เวลาเท่านี้ ต้องไปลองทำ Prototype กันออกมาให้ได้ จะได้เอาไป Test กับตลาดได้
ข้อดีของการทำ Prototype คือการที่เราสามารถเห็นได้ชัดๆเลยว่า ถ้าจะทำ Product นี้ จะมีปัญหาอะไรบ้าง ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลา ลงแรงไปกับอะไรที่อาจจะไม่เวิร์ค
จนมาเป็น Product ใหม่ของเราตัวนี้ ที่เร่ิมจากการขายถั่วต่างๆ แล้วออกมาเป็นแบรนด์ของเราเอง และกำลังจะแตกไลน์ไปขายขนมอื่นๆ อีกด้วย
เรารีบปล่อย Product แรกของเราออกมา เพื่อรับ Feedback จากลูกค้าให้เร็วที่สุด ซึ่งเราเลือกไปออกงานตาม Event ต่างๆ เพื่อจะได้คุยกับลูกค้าตัวเป็นๆ และทุกครั้งที่ไปออกงาน เรากับทีมก็จะกลับมา Reflect กัน อะไรดีไม่ดี ตรงไหนที่ปรับได้อีก ลูกค้าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เสนออะไรมาบ้าง แล้วก็รีบเอามาปรับเปลี่ยน ก่อนจะออกงานครั้งต่อไป
อย่างเช่นถุงกระดาษสีน้ำตาลที่เห็นตรงนี้ ตอนแรกเราไม่ได้มีให้ ถั่วของเราเรียงแต่ละแบบไว้เป็น Layer เพื่อให้สวยงาม แต่พอลูกค้าเปิดทาน ก็จะต้องกินทีละ Layer ไม่สามารถกินแบบผสมๆกันได้ เราเห็นลูกค้า เทถั่วทั้งหมดใส่ถุง Tote bag ที่เราให้ไปเพื่อผสม แล้วเทกลับเข้ามาในกล่อง ทำให้เราปิ๊งไอเดียว่า มันต้องมีถุงกระดาษอีกอันนะ เอาไว้ให้เค้าเทถั่วลงไปผสม แล้วเทกลับมาง่ายๆ แล้วเราก็ต่อยอด ด้วยการเพิ่ม Branding วาดรูปลงไปให้แตกต่างจากคนอื่น เพิ่มความ Personalization เข้าไปให้พิเศษยิ่งขึ้น
ส่วนเรื่องรายได้ ถ้าพูดกันตรงๆ มันเทียบไม่ได้กับงาน Event ก่อนหน้านี้หรอก แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือการที่น้องๆ ได้รับประสบการณ์การทำงานแบบนี้ การที่เขาได้คิด ได้ลอง ได้ทำเองจริงๆ เราคิดว่ามันเป็นประสบการณ์ที่จะช่วยให้เขายืนด้วยตัวเองได้ ถ้าต่อไปนี้บริษัทจะไปต่อไม่ไหว อย่างน้อยเรารู้ว่าน้องๆ ในทีม มีสกิลเพียงพอที่จะเอาตัวรอดได้ในวิกฤตแบบนี้
มีเพื่อนๆ บอกว่า ชอบมากที่เราไม่ใช่คน “จมไม่ลง” สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้เร็ว สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากวิกฤตครั้งนี้ คือการเข้าใจว่า Mindset ที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญขนาดไหน ถ้าได้ Mindset ดี ทุกอย่างจะตามมาหมดเลย ยิ่งถ้าเป็นผู้นำ ยิ่งต้องมี Mindset แบบนี้ ทำให้คุณกล้ามากขึ้น กล้าพลาด กล้าลอง บอกตรงๆ ว่าถ้าไม่ได้ไปเรียนโปรแกรม Digital Leadership Bootcamp (DLB) มาก่อน ไม่มีทางได้ปรับ Mindset แบบนี้ให้ตัวเองแน่นอน
สุดท้าย อยากฝากไว้เท่ๆ แบบที่คนชอบพูดกันว่า “อย่าปล่อยให้วิกฤตเสียเปล่า” เป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังสู้กันอยู่ตอนนี้ค่ะ
มาปรับ Mindset แบบผู้นำองค์กรยุคใหม่ ที่จะพาธุรกิจไปรอดและรุ่งในทุกสถานการณ์กับหลักสูตร Digital Leadership Bootcamp (DLB) รุ่นที่ 2 โปรแกรมสำหรับผู้นำองค์กรยุคดิจิทัลที่คุณไม่ควรพลาด
เรียนรู้และรับคำแนะนำอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญตัวจริง ที่จะช่วยพัฒนาทักษะของผู้นำยุคดิจิทัลที่คุณนำไปใช้ได้ทันที รู้ลึก ลงมือทำ และทำผลิตภัณฑ์ออกมาได้จริง!
ตลอดหลักสูตร 10 สัปดาห์ ทุกวันศุกร์บ่าย ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม – 11 ธันวาคม 2563
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ digital-leadership.skooldio.com