หลายคนอาจจะคิดว่า UX/UI designer ต้องจบจากด้าน Design หรือทำงานด้าน Graphic Design มาก่อนเท่านั้นถึงจะทำได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ เราทุกคนที่ทำงานสายนี้ ต่างต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับศาสตร์นี้กันตลอด ยิ่งยุคสมัยเปลี่ยนไป ความต้องการของคนก็เปลี่ยน คนทำงานสาย Design ยิ่งต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง จากเมื่อก่อนที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ มาเป็น Digital Product ที่เป็นเว็ปไซต์และแอปพลิเคชัน
ทาง Skooldio ได้มีโอกาสคุยกับ คุณ คุปปี้ ธนพร เบญจพลกุล Senior Experience Design Consultant ที่ ThoughtWorks หนึ่งใน Instructor ของ UX UI Bootcamp เกี่ยวกับการทำงานสาย UX Designer รวมไปถึงเส้นทางชีวิตการทำงานของสายงานนี้ อะไรที่ทำให้คุณคุปปี้หลงใหลในการทำงาน UX Designer
เส้นทางจากภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และได้มีโอกาสไปเรียนแลกเปลี่ยนที่ Kyoto Institute of Technology เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา1 ปี ในระหว่างการเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งเรียนเกี่ยวกับ Research Culture and Design โดยเฉพาะ และการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ สู่สายอาชีพ UX Designer ในปัจจุบัน น่าจะมีมุมมองให้คนที่อยู่ในสายงาน หรือคนที่กำลังก้าวเข้าสู่สายงานนี้ได้ไม่น้อยเลย
อะไรที่ทำให้คุณคุปปี้สนใจในด้าน UX/UI Designer
เริ่มจากความสงสัย เคยสงสัยว่าทำไมผลิตภัณฑ์นั้นต้องถูก Design ออกมาแบบนี้ เราเป็นคนอยากรู้ อยากหาเหตุผลเสมอ พอได้เรียนรู้เกี่ยวกับการ Design ได้เรียนเรื่องการ Research ต่างๆ เห็นหลักคิด เข้าใจทิศทางงาน Design ก็ทำให้รู้สึกชัดขึ้นว่าทำไม Product เหล่านั้นจึงถูก Design ออกมาแบบนี้
ในช่วงการเรียนมหาวิทยาลัย ได้เรียนรู้ Mindset และ วิธีคิดต่างๆ เกี่ยวกับ Design Process มาเยอะมาก ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเลยคือ เรามี Mindset เกี่ยวกับ Solution และ Problem Space ที่เยอะขึ้น ซึ่ง Mindset อันนี้เป็นพื้นฐานของงาน Design ทุกรูปแบบเลยไม่ได้เฉพาะแค่งาน UX Design
ตอนไปแลกเปลี่ยนที่เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เลือกเรียนด้าน Research Culture and Design ตอนนั้นได้ทำโปรเจกต์เกี่ยวกับแบรนด์ MUJI ซึ่งได้เรียนรู้ Mindset ของคนญี่ปุ่น กับ Element ทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นว่ามันสะท้อนอะไรกลับมาใน Design ของ MUJI การไปญี่ปุ่นครั้งนั้นทำให้เราสามารถตั้งคำถามกับงาน Design มากขึ้น
จุดสำคัญคือหลังจากกลับมาจากไปแลกเปลี่ยนที่เกียวโต ต้องกลับมาทำ Thesis ซึ่งเราเลือกเป็นหัวข้อ Branding Experience Design เพราะมองว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เป็นสิ่งที่รวม Design กับ Business อยู่ด้วยกัน และส่วนตัวค่อนข้างชอบมุมนี้ด้วย ซึ่งตอนนั้นกำลังสนใจเรื่องการทำเว็บไซต์ Technology และ Device ต่างๆ ดังนั้นเราเลยเลือกสายเทคโนโลยีไป ซึ่งตอนนั้นคำว่า UX ยังไม่ค่อยถูกพูดถึงเท่าไหร่
เรียนรู้ UX/UI ผ่านทางไหนบ้าง
นอกเหนือจาก Mindset และกระบวนการคิดแบบ Design แล้ว มีหลายอย่างที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอด เพื่อที่จะทำงานสาย UX UI ซึ่งวิธีที่เราใช้ในช่วงแรกคือการอ่านหนังสือ เน้นการอ่านหนังสือเยอะมาก โดยเป็นของต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เพราะตอนนั้นไม่ค่อยมีหนังสือแปลไทยเท่าไหร่ นอกจากนี้ก็ไปอ่านและติดตามพวก Blog ต่างๆ ที่เกี่ยวกับคนทำงานสายนี้ เช่น Jared Spool เจ้าพ่อแห่งวงการ UX
สิ่งสำคัญมากๆ ที่ใช้เรียนรู้ UX ได้ดี คือการ Research หาข้อมูลใหม่ๆ ตลอดเวลา การทำ Research เยอะๆ จะทำให้เราเข้าใจหลายๆ อย่างมากขึ้น นอกจากนี้ความรู้เกี่ยวกับ Psychology จะช่วยทำให้เราเข้าใจตอนทำ UX/UI Design มากขึ้น จะได้ไม่ต้อง Research เพิ่มเยอะ เพราะสามารถรู้ได้เลยว่าทำแบบนี้คนจะคิดอย่างไร และจะทำให้ User ใช้งาน Product เราได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
เริ่มต้นการทำงานสาย UX/UI ได้ยังไง
หลังจากกลับมาจากการเรียนแลกเปลี่ยน ตอนนั้นยังไม่มีคำว่า Co-Working Space ซึ่งเราสังเกตเห็นว่า เด็กคณะวิศวะหลายคนชอบไปนั่งตามโรงอาหาร ร้านกาแฟ เราเลยเข้าไปสัมภาษณ์คนกลุ่มนี้ว่าทำไมถึงมีพฤติกรรมแบบนี้ ได้ Insight มาว่าเขาอยากอ่านหนังสือสอบแล้วมี Feeling ติวกับเพื่อนๆ ซึ่งการอยู่บ้านไม่สามารถตอบโจทย์เขาได้ เราเลยนำ Insight นี้มาลองหา Solution โดยต้องการเชื่อมคนที่ต้องการอ่านหนังสือและร้านอาหารเข้าด้วยกัน ตอนนั้นยังไม่ได้ทำแอปพลิเคชัน เลยใช้ Line ติดต่อร้านอาหารแทนว่าช่วงไหนที่ร้านว่างบ้างและ connect เข้ากับกลุ่มคนเหล่านี้
ซึ่งตอนนั้นได้มีโอกาสเจอกับผู้บริการ D-plus พอดี เขาสนใจด้าน UX ได้ลองคุยโปรเจกต์แล้วสนใจมาก ตอนนั้นมี 2 ตัวเลือกให้เลือกระหว่างทำของตัวเองต่อหรือจะทำงานเป็นโปรเจกต์ดี พอเราย้อนกลับมาทบทวนตัวเอง เราเป็นคนชอบปั้นโปรเจกต์ใหม่ ชอบหา Insight ไอเดียใหม่ๆ ตลอด การทำงานที่ D-plus จะตอบโจทย์มากกว่า การทำงานที่นี่ทำให้เราได้ลองทำหลายโปรเจกต์มากๆ มีทั้งความท้าทายและได้ลองอะไรใหม่ๆเสมอ
หลังจากนั้นก็ได้ไปทำที่ SCB แล้วก็มาทำที่ ThoughtWorks ในปัจจุบัน ThoughtWorks เป็นบริษัท International Consultant ด้าน Software ช่วยยกระดับพวก Digital Business ซึ่ง Solution สามารถเป็นได้หลากหลายทาง อาจจะเป็นการ Discovery การ Research หรือเป็นทีม Software ที่ช่วยไปช่วยพัฒนาระบบให้แก่ลูกค้า
โดย ThoughtWorks มีความมุ่งมั่นที่อยากให้เกิด Sustainability Growth ต่อ Business โดยพวกเรามองลูกค้าเหมือนคนในครอบครัว อะไรดีก็อยากให้ทำ
ในมุมของการสร้าง Impact ในสังคม เรามีโปรเจกต์ที่เกี่ยวข้องกับ Social Change เพราะเราเชื่อว่าเทคโนโลยีสามารถนำ Value บางอย่างที่ช่วยเหลือสังคมเข้ามาได้จริงๆ ซึ่งล่าสุด เราได้ทำโปรเจกต์เกี่ยวกับแอปพลิเคชันการอ่านหนังสือ
อีกหนึ่งอย่างที่ประทับใจคือ ThoughtWorks รักพนักงานมาก อย่างช่วงโควิดที่ผ่านมา ThoughtWorks ทำทุกวิถีทางที่จะทำให้การตัดเงินเดือน หรือ Lay off พนังงานเป็นทางเลือกสุดท้าย หรือแม้กระทั่งลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ThoughtWorks พยายามช่วยเหลือ เพื่อไม่ให้ลูกค้าหรือองค์กรอื่นเดือดร้อน
อยากให้เล่าโปรเจคที่รู้สึก Challege มากที่สุด แล้วคุณคุปปี้แก้ปัญหาเหล่านั้นยังไง
จริงๆ ยากทุกโปรเจกต์เลย แต่จะยากคนละแบบมากกว่า ถ้าให้ยกตัวอย่าง โปรเจคที่คือว่ายากที่สุดในเชิง UX คือ โปรเจคที่เกี่ยวกับ Health Care เป็นลักษณะการบริการสุขภาพเพื่อสังคม โดยตอนนั้นมีทีม Designer 4 คน ทำการค้นหาว่าทำ Product อะไรดีเพื่อจะช่วยแก้ปัญหาสังคมในชุมชนนั้นๆ ซึ่งตอนนั้นเป็นแนว Research ซะส่วนใหญ่ เพราะระบบของชุมชนและบริการสุขภาพมันซับซ้อนและเข้าใจยากมาก ตอนนั้นโจทย์ที่ลูกค้าให้มาค่อนข้างไม่ชัดและกว้างเกินไป เช่น อยากทำให้ชุมชนดีขึ้น แต่ในชุมชนมีปัญหาที่หลากหลายมากๆ
โดยสิ่งที่เราต้องทำคือ พยายามเชื่อมโยงกันว่าต้นตอของปัญหาทั้งหมดในชุมชนนี้คืออะไร มาจากที่ไหน แล้วให้ลูกค้าเลือกมา 1 Persona แล้วเริ่มโฟกัสจากตรงนั้นก่อน นอกจากนี้ปัญหาที่พบอีกอย่างหนึ่งคือ เรื่องความยากในการเข้าหาแต่ละฝ่ายที่ต้องติดต่อด้วย เนื่องจากว่าเราเป็นคนนอก ต้องให้คนพาเข้าไป ซึ่งการทำงานตรงนี้คือต้องใช้ Soft Skill เยอะมาก เช่น การเข้าหาโดยการไปกับคนที่เขารู้จัก หรือ Research เพิ่มเติม ซึ่งตอนนี้โปรเจกต์นี้ก็สามารถขยายไปถึงสำนักงานที่เกี่ยวข้องและพัฒนาชุมชนได้แล้ว
ในส่วนของความยากในการทำ UI จริงๆแล้วตอนนั้นวาด UI ไม่เป็นด้วยซํ้า โดนจับไปทำโปรเจกต์ที่สิงคโปร์ให้ไปอยู่ในทีม Delivery (กำลังพัฒนา) โดยหน้าที่ของเราคือต้องทำ UI ให้ Developer ซึ่งตอนนั้นอยู่สิงคโปร์ ตอนแรกไม่รู้ควรเริ่มต้นยังไง เลยใช้วิธีการอ่านหนังสือ ซึ่งหนังสือในดวงใจของเราคือ Refactoring UI เป็นคู่มือของ UI Design หากอยากศึกษาการทำ UI Design ต้องเข้าใจพื้นฐานพวกนี้
สิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำ UI คือ การเขียน Coding โดยจริงๆแล้วตอนนี้เราก็ยังเขียนไม่เป็น แต่รู้และเข้าใจพื้นฐาน Website Structure กับ Application Structure ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งมันทำให้เราออกแบบ UI ได้ง่ายขึ้น
เรื่องความสวยก็เป็นอีกโจทย์หนึ่ง ซึ่งนิยามของคำว่าสวยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ตอนนั้นเราคำนึงถึง Usability (การใช้งาน) มาก่อน สวยมาทีหลัง ดังนั้นเราเลยแบ่งงานกับเพื่อนร่วมทีม ให้อีกคนดูแลและกำหนดความสวยงาม เช่น Visual Language ใน Design ทั้งหมดบน Figma เลย ส่วนเราจะมีหน้าที่ดูว่า Element ที่ดีไซน์ออกมามัน Usable ไหม ไอคอนนี้สวย และผู้ใช้งานสามารถดูแล้วเข้าใจไหม
การที่มีความรู้ความเข้าใจทั้ง UX UI ดีอย่างไร ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นไหม
เราเริ่มจากการทำ UX ซึ่งทำให้เราเข้าใจการสร้าง Flow ของผู้ใช้งาน ทำอย่างไรให้ผู้ใช้งานรู้สึก Happy ทำให้รู้ว่าอะไรใหญ่หรือไม่ใหญ่เกินไป ในส่วนของการรู้และเข้าใจ UI จะช่วยให้เรารู้ว่า ต้องทำแค่ไหนถึงเพียงพอต่อการ MVP หรือการทำผลิตภัณฑ์นี้
หากเรารู้เพียง UI บางทีจะโฟกัสที่ความสวยงามจนเกินไป บางทีจะลืมเรื่องการสื่อสารและการใช้งานของ User เช่น เน้นไปที่การทำยังไงให้สวย ใส่ Element หรือเพื่อ Feature ต่างๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่ทำออกมามันสวย แต่อาจะทำให้ User เกิดความสับสนได้ การที่มีความรู้ทั้ง UX และ UI จะทำให้เรารู้ว่าแค่ไหนถึงสวย
ถ้า UX กับ Visual (UI) มาเจอกันโดยที่ต่างคนก็ต่างเข้าใจเพียงสิ่งเดียว จะทำให้โปรเจกต์ไปได้ช้า เพราะความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน เถียงในสิ่งที่ไม่ Make Sense สำหรับ 2 ฝ่าย นอกเหนือจากการเข้าใจกันและกัน UX UI Designer ก็ควรรู้เรื่อง Product หรือ Research เช่นกัน โดยหลักๆควรเข้าใจแนวคิด ว่าทำไม Product ต้องมีทิศทางและการเรียง Story แบบนี้ ทำไม Research ถึงต้องมาเพิ่ม Feature ในการทำ Google Analytic ใน UI และ ทำไมต้องทำ A/B test เป็นต้น
การที่เรามีความรู้ทั้ง UX UI จะช่วยส่งเสริมเรื่อง Collaboration ช่วยให้การทำงานดีขึ้น สื่อสารกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ส่งผลให้โปรเจกต์ไปได้อย่างรวดเร็ว
ความรู้ด้าน Business จำเป็นต่อการทำงาน UX designer มากแค่ไหน
ควรรู้เป็นอย่างยิ่ง เพราะ UX มักตกหลุมรักลูกค้า และทำตามสิ่งที่ลูกค้าอยากได้ทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรามีข้อจำกัดหลายๆอย่าง เรามี Developer และ เวลาที่จำกัด การเข้าใจ Business ทำให้เราเข้าใจว่าธุรกิจทำเงินยังไง เราถึงจะรู้ว่า Flow ไหนที่สำคัญ โดยการเสนอไอเดียของ UX Designer จะต้องคำนึงถึงทั้ง Business และ User
แน่นอนว่าการรู้เกี่ยวกับ Business สำคัญมากๆในการทำ UX เพราะ UX ต้องเข้าใจว่าอันไหนเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า ซึ่งบาง Feature ดูสวย แต่มันเป็น Return on Investment หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น เวลาเราทำ UX ให้ผู้ใช้งานดู แล้วเขาชอบมาก แต่ถ้าถามว่าเขาจะซื้อผลิตภัณฑ์ นี้ด้วย Feature นี้รึป่าว ถ้า Research ดีๆ คำตอบอาจจะกลายเป็นไม่ใช่
UX ใช้ได้แค่ในการออกแบบแอปพลิเคชันและเว็บไซต์หรือเปล่า
จริงๆ Definition ของ UX ที่ nngroup.com หรือ Community ตั้งไว้มักเกี่ยวข้องกับ Device, Screen หรือ Interfacing แต่มันจะมีคำว่า Experience Design ที่ครอบคลุมทั้งหมดเกี่ยวกับการ Design โดยแนวคิดคือเรื่อง Design Thinking เป็นเหมือน Mindset พื้นฐานที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการ Design แขนงไหน เช่น ถ้าถามว่าสถาปนิคใช้ UX ไหม คำตอบคือใช่แต่ก็เหมือนจะไม่ใช่ แต่สิ่งหนึ่งที่เขาคำนึงถึงคือ Experience ของ User เขาดูในมุมของ Space คนเดินเข้ามาแล้วเจออะไร มุมห้อง โต๊ะควรอยู่ตรงไหน
UX ไม่ได้เป็นแค่การทำแอปพลิเคชันและเว็บไซต์เท่านั้น ยกตัวอย่างตอนที่เราทำแอปพลิเคชันอ่านหนังสือให้เด็กๆ ตอนนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นคือไม่มี Content ที่จะเอาเข้ามาในแอป ไม่มีหนังสือที่น่าสนใจ ถ้าหากเราคิดแค่ว่าเราทำแอปพลิเคชัน เราก็จะทำแค่นั้น
แต่การเป็น UX เราต้องคิดมากกว่านั้นว่า สิ่งที่เราทำจะไปสู่มือผู้ใช้งานได้อย่างไร โดยมองย้อนกลับมาว่า ถ้าจะทำ Product ให้มีคนอ่านต้องทำอย่างไร คำตอบคือการมี Content ที่ดี ตอนนั้นเราไม่สามารถหาจากสำนักพิมพ์ได้ เลยเสนอเรื่องการหา Content จาก Community นักเขียน โดยการทำเป็นแคมเปญเพื่อเชิญชวนนักเขียนที่อยู่ใน Community มาเขียน Content ส่งให้เรา ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาก็เป็นที่น่าพอใจ และสามารถชนะบาง Feature ที่ Develop โดยใช้เวลานานๆเสียอีก
การทำ UX ไม่ใช่การออกแบบ Application อย่างเดียว แต่เราต้องคำนึงถึงประสบการณ์อื่นๆ ด้วย
นอกจากเรื่อง UX UI Design ควรเรียนรู้ Skill อื่นเพิ่มไหม
สกิลที่สำคัญที่สุดคือ Collaboration Skill กับการทำงานให้ Effective นอกจากนี้ Research Skill ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำ UX UI Designer เนื่องจากว่า โลกเปลี่ยนไปไวมากๆ เดี๋ยวก็มี AI Blockchain ทุกอย่างมันจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย Technology ที่โตขึ้นทุกวัน
ซึ่ง UX Designer คือคนที่ทำให้ Technology กับคนมาเจอกันแล้ว Happy ดังนั้น UX UI Designer ควรที่จะอัพเดทความรู้ตัวเองเรื่อยๆ ซึ่งจริงๆแล้ว 80% ที่เราเรียนเกี่ยวกับการทำงาน UX Designer มาจากการ Research หนังสือเพียงเป็นสิ่งที่ทำให้เราได้ Keyword
UX UI ต้องจบ Graphic Design มาโดยตรงไหม แล้วถ้าไม่ได้จบสายงานนี้มา สามารถทำได้ไหม
ไม่ได้จบสาย Graphic Design มาก็สามารถทำงานสายนี้ได้ จริงๆ แล้วการทำ UX UI เราก็เรียนรู้เองเยอะพอสมควร ในมหาลัยที่เรียนด้าน Design มา คือจะเน้นการเรียนรู้ Mindset ของ Design Process สำหรับการสร้าง Product เป็นส่วนใหญ่
แต่พวกกระบวนการต่างๆ การทำจริง อาจจะยากหน่อยสำหรับคนที่ไม่ได้เรียน Design โดยคนที่เรียน การทำงานแบบ Solution อาจจะต้องปรับความคิดให้เป็น Design Mindset มากขึ้น ต้องเรียนรู้และเข้าใจ Problem Solving and Solution ส่วนเรื่องการวาด Wireframes ใครๆก็วาดได้หรือการทำ UI ก็สามารถลองทำใน Figma การเรียนรู้ UI สามารถทำความเข้าใจและฝึกฝนเองได้ เช่น เรียนรู้ว่าสีนี้ควรคู่กับสีไหน เป็นต้น
สิ่งที่แตกต่างของ Graphic Design และ UX คือการ Communicate และ เป้าหมายของ User โดยเป้าหมายของการทำกราฟิกคือการสื่อสาร เช่นการทำ Poster Design ที่บ่งบอกว่างานจัดวันไหน ธีมอะไร Feeling แบบไหน สามารถเป็นได้ทั้ง 1แผ่นแล้วจบ หรือเป็นเล่ม ในขณะที่ UX Design User ต้องผ่านหลายๆขั้นตอนกว่าจะไปถึงเป้าหมาย มันจะมีหลายขั้นกว่าและต้องคำนึงถึง Customer Jouney
ซึ่งตอนนี้ก็ได้มีการทำ Bootcamp ร่วมกับ Skooldio อยู่ เป็นหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อนคนที่ต้องการย้ายสายเข้ามาในสายงานนี้โดยเฉพาะ เป็นหลักสูตร 6 สัปดาห์ที่จะได้เรียนรู้ครบทุกหัวข้อและเครื่องมือในการทำ UX UI และที่สำคัญที่สุดคือ Mindset ใน bootcamp นี้จะเน้นเรื่องนี้ และเน้นการทำโปรเจกต์จริงทั้ง Project เดี่ยวและกลุ่ม บอกเลยว่าช่วยลดเวลาเรียนรู้ได้เยอะมากแน่ๆ ดูรายละเอียดได้ที่ UX UI Design Bootcamp
ยุคนี้ UX/UI Designer จะมีทิศทางเป็นอย่างไรบ้าง และบริษัทควรมีตำแหน่ง UX/UI Designer ไหม
ในต่างประเทศสายงาน UX/UI Designer ถือว่าไปไกลมากๆแล้ว ตอนนี้ประเทศไทยเรา ก็เริ่มให้ความสนใจกับการทำงานสายนี้เยอะขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ในกรณีของเรา ตอนทำงาน D-plus ผู้บริหารเข้าใจและเห็นความสำคัญของการทำ UX ส่งผลให้คนในองค์กรได้เรียนรู้และตระหนักถึง UX แต่บางบริษัทอาจจะยังไม่ได้เป็นอย่างนั้น
ตอนนี้เราอยู่ในอุตสาหกรรมยุคใหม่ เป็นยุคที่ทุกคนเป็นคู่แข่งกันได้หมดเลย ยิ่งเป็นโลกของ Digital ทำให้มีคู่แข่งทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนั้น UX เปรียบเสมือนหนึ่งใน Strategy Tools ของบริษัทในการทำให้บริษัทสามารถชนะส่วนแบ่งการตลาด ซึ่งถ้าบริษัทไม่อยากทิ้งห่างคู่แข่ง ก็ต้องก้าวให้ไว ให้ทันโลกในยุคนี้
ซึ่งจริงๆแล้วทุกบริษัท ไม่จำเป็นต้องมี UX แต่ทุกคนในองค์กรควรมี Mindset แบบ UX เพราะบางบริษัทไม่ได้เกี่ยวข้องกับ Digital Product การคิดแบบ UX สามารถเข้าได้กับทุกยุคทุกสมัย อย่างเมื่อก่อนจะเรียกว่า Product Designer มีหน้าที่ปั้นขึ้นรูปแล้วส่งให้โรงงาน พอมาเป็นสมัยนี้ ยุค Digital เปลี่ยนจากจาก Product Designer เป็น UX designer แทน
ตำแหน่ง UX อาจไม่ต้องมีทุกบริษัท แต่ทุกบริษัทควรมีคนที่มี Mindset แบบ UX
มีอะไรฝากถึงคนที่อยากเข้ามาทำงานสาย UX UI designer ไหม
ตอนแรกที่เริ่มเข้ามาในสายงานนี้ มันมีเรื่องให้เราได้เรียนรู้เยอะมากๆ มันอาจจะต้องใช้เวลาหน่อย แต่ถ้าหากเราศึกษาจนมันสามารถปะติดปะต่อกันได้ สามารถเข้าใจทั้ง Flow ของ Product ตั้งแต่เริ่มจนปล่อยสู่ตลาดได้ เราจะสามารถหยิบจับอะไรได้ดีขึ้น และสามารถเรียนรู้ได้ลึกมากขึ้น
เรามองว่าสายงานนี้สนุกดี ได้ทำหลายอย่างมากๆ เป็นการเปิดมุมมองและสามารถปล่อยความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระ เราสามารถออกแบบได้ว่าจะสร้าง Solution อะไรดีให้พอดีกับ Timeline และทรัพยากรที่มี
อยากให้คนที่กำลังก้าวเข้ามาสู่ UX/UI Designer ทำงานนี้อย่างมีความสุข เพราะความสุขของเราจะสะท้อนออกมาในงาน Design ของเราทำ