blogcover-OKRs Google

ตัวอย่างการเขียน OKRs ของ Google Chrome เขียน OKRs อย่างไร ถึงแซง Internet Explorer เป็นเว็บเบราว์เซอร์อันดับหนึ่งของโลกได้?

blogcover-OKRs Google

ทุกวันนี้เราใช้เว็บเบราว์เซอร์อะไรอยู่? แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่แทบจะตอบได้ทันทีว่าเป็น Google Chrome เพราะนี่คือเว็บเบราว์เซอร์ที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดในโลกปัจจุบัน

แต่ถ้าย้อนไปในปี 2008 ใครที่จะเข้าเว็บไซต์อะไรสักอย่างย้อมต้องคุ้นเคยกับไอคอนสีฟ้าๆ ของ Internet Explorer โดยที่อาจจะไม่รู้ความหมายของคำว่าเว็บเบราว์เซอร์ด้วยซ้ำไป แต่แทบทุกคนต่างสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ ผ่าน Internet Explorer

ในตอนนั้นโลกยังไม่ได้รู้จักเว็บเบราว์เซอร์น้องใหม่จาก Google อย่าง Chrome มากนัก Sundar Pichai ซึ่งปัจจุบันเป็น CEO แห่ง Google รับหน้าที่เป็นดูแลโปรเจกต์ Google Chrome ในตอนนั้น เขากับทีมร่วมกันตั้งเป้าหมายที่มีความท้าทายสูงเป็นอย่างมาก หรือที่มักเรียกกันว่าเป้าหมายแบบ 10X ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จที่ทำให้ Chrome ก้าวขึ้นมาเป็นเว็บเบราว์เซอร์อันดับหนึ่งของโลกอย่างในทุกวันนี้
โดยเครื่องมือที่ Google เอามาใช้ในการตั้งเป้าหมายนั่นก็คือ OKRs นั่นเอง ซึ่งคอนเซปต์ของ OKRs นั้นเรียบง่ายมาก และประกอบไปด้วย 2 ส่วนเท่านั้น ส่วนแรกคือ Objective คือ What หรืออะไรที่เราต้องการทำให้สำเร็จ และส่วนที่สองคือ Key Results คือ How เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ Objective นั้นสำเร็จ ที่สำคัญคือต้องวัดผลได้ด้วย
อ่านความหมายของ OKRs เพิ่มเติมได้ที่นี่

ตัวอย่างการเขียน OKRs ของ Google Chrome

จากคอนเซปต์ที่เรียบง่ายนี้ เราลองมาเจาะลึกรายละเอียดผ่าน Case Study ของ Google Chrome กันว่า ตัวอย่าง OKRs ที่ดี และนำไปสู่ความสำเร็จได้จริงมีหน้าตาอย่างไร

เป้าหมายหรือ Objective ของ Google Chrome ที่กำหนดในปี 2008 คือ: “ทำให้ Chrome เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่ดีที่สุดภายในปี 2010″ หรือภายใน 3 ปีนั่นเอง
สิ่งที่ต้องตามมาในการตั้งเป้าแบบ OKRs คือหลังจากที่ตั้ง Objective แล้ว ก็ตามมาด้วยการกำหนดผลลัพธ์หลักหรือ Key Results ที่จะไปให้ถึง Objective นั้น สิ่งสำคัญของการกำหนด Key Results คือต้องวัดผลได้ด้วย ซึ่งกรณีของ Chrome ถูกกำหนดดังนี้

KR#1: 100 Million 7 Days Active Users – ข้อแรกนี้คือข้อที่สำคัญที่สุด ทีม Google อาจจะสามารถเลือก Key Results ได้หลายแบบเพื่อจะบอกถึงความเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่ Sundar Pichai กับทีมตัดสินใจเลือกคือจำนวนผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานจะเป็นคนตัดสินใจว่าเว็บเบราว์เซอร์ไหนที่ดีที่สุด นำมาสู่การกำหนด Key Result แรก เป็นเป้าตัวเลขผู้ใช้งาน 100 ล้านคนออกมา

KR#2: 20X faster JavaScript on Windows and OS X – อีกหนึ่งสิ่งที่ยืนยันถึงความเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่ดีที่สุด ก็คือต้องเร็วที่สุด ที่สำคัญคือต้องวัดผลได้ด้วย ซึ่งข้อนี้ก็ระบุออกมาเป็นความเร็วเพิ่มขึ้น 20 เท่า

KR#3: 5 Billion Global reach through “Chrome Fast” campaign – ข้อนี้เป็น Key Result ด้านการตลาดที่ต้องทำแคมเปญโปรโมตเรื่องความเร็วของ Chrome ให้เข้าถึงคนห้าพันล้านคน

KR#4: 100 Million downloads through OEM Distributions – ถ้าเป็นสมัยก่อน คนอยากจะใช้ Chrome ต้องเข้าไปดาวน์โหลดมาติดตั้งที่เครื่อง (ซึ่งส่วนใหญ่ก็ดาวน์โหลดผ่าน Internet Explorer) Key Result ข้อนี้ก็ใช้แทคติกยัด Chrome ใส่เครื่องคอมพิวเตอร์มาจากโรงงานเลย

เรามาสรุปกันว่า OKRs ที่ดีจากตัวอย่างการเขียน OKRs ของ Google Chrome มีอะไรบ้าง เริ่มจากการกำหนด Objective ที่ดีซึ่งการตั้งว่าจะ “เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่ดีที่สุดภายในปี 2010” คือตัวอย่างของการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน ทะเยอทะยาน เป็นเป้าหมายที่สร้าง inspiration ให้กับทีมได้ และมีความสำคัญที่สอดคล้องกับ mission ขององค์กรอย่าง Google ที่อยากช่วยให้คนทั้งโลกเข้าถึงข้อมูล การเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่ดีที่สุดก็สอดคล้องกับ mission นี้ เป็นต้น
การตั้งเป้าหมายที่ดีคือต้องชัดเจน ทะเยอทะยาน เป็นเป้าหมายที่สร้าง inspiration ให้กับทีมได้ และสอดคล้องกับ Mission ขององค์กร
ส่วนการเขียน Key Results ที่ดีเราก็จะเห็นได้ว่ามีการเขียน Outcome หรือผลลัพธ์ไว้ชัดเจน วัดผลได้ มากกว่าต้องได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นอะไร จำนวนเท่าไหร่ และเป็นผลลัพธ์ที่จะตอบโจทย์ให้ Objective สำเร็จด้วย หลายครั้งคนมักเขียนว่าจะทำอะไรบ้าง แต่ไม่ชัดเจนว่าผลลัพธ์หรือ Outcome ที่อยากได้คืออะไร มากกไปกว่านั้นบางคนเขียนผลลัพธ์ออกมาชัดเจน แต่ตอบไม่ได้ว่าพอทำสิ่งนี้ได้แล้วจะกลับไปตอบโจทย์ Objective ยังไง เป็นต้น
การเขียน Key Results ต้องมี Outcome หรือผลลัพธ์ที่ชัดเจน วัดผลได้ และเป็นผลลัพธ์ที่จะตอบโจทย์ให้ Objective สำเร็จ
ท้ายที่สุดในปี 2010 Google Chrome ก็มีผู้ใช้งานมากถึง 111 ล้านคน นั่นคือผลลัพธ์ที่ได้เกินเป้า 100 ล้านคนอย่างที่ตั้งใจไว้ และทุกวันนี้ Google Chrome ก็เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลกไปเป็นที่เรียบร้อย นี่คือความสำเร็จที่มาจากการตั้ง Objective ที่ถูกต้อง พร้อมกำหนด Key Results ได้อย่างละเอียดรอบคอบและวัดผลได้อย่างตรงจุดนั่นเอง

More in:Business

Comments are closed.