4eve

ตอนนี้เขาแทงกันว่า T-POP จะเป็นคลื่นใหม่ แต่ยังขาดสปอนเซอร์และรัฐที่เอาจริงเอาจัง ถ้ามีแรงสนับสนุนจากรัฐ T-POP เราไปได้ไกลกว่านี้

ขณะที่สื่อ Analog อื่น ๆ เริ่มล้มหายไปบ้าง อะไรทำให้ Workpoint ปรับตัวได้อย่างสำเร็จในทุกยุค แถมยังคงกำไรถึง 2,000 ล้านได้ในยุค Digital 

และก้าวสู่ความสำเร็จอีกขั้น กับการปั้น 4EVE และ ATLAS วงเกิร์ลกรุ๊ป และบอยแบรนด์ที่สร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้กับวงการเพลงไทย 

ชวนมาถอดกลยุทธ์กับคุณกร ชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัล บมจ. เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ผู้อยู่เบื้องหลังเบื้องหลังรายการชื่อดังอย่าง The Mask Singer, I Can See Your Voice และผู้ยกระดับกระแส T-POP ให้ก้าวหน้าไปอีกขั้น 

ถอดกลุยทธ์ และจุดเริ่มต้นในการปั้น 4EVE

จุดเริ่มต้นมาจากคุณกรเดินสายในประเทศและต่างประเทศ ตามงานแฟร์ อีเวนต์ และไปนั่งคุยกับโปรดิวเซอร์รายการทีวี สถานีโทรทัศน์ต่างประเทศเพื่อหารายการใหม่ ๆ ให้กับช่อง

จนเจอ I Can See Your Voice และซื้อเข้ามาในประเทศ คุณกรรู้จักรสนิยมของคนไทยดี พอนำรายมาปรุงแต่งเพิ่มนิดหน่อย ก็มั่นใจว่าถูกใจคนไทยแน่นอน ตามมาด้วย The Mask Singer ที่ประสบความสำเร็จ สู่เคล็ดลับการทำธุรกิจข้อที่ 1 

กลยุทธ์ที่ 1 ทำธุรกิจอย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง

ตอน Facebook มีฟังก์ชั่น Live ออกมาแรก ๆ สถานีทีวีอื่น ๆ ไม่มีใครกล้าใช้เลย เพราะกลัวว่ามันจะยิ่งทำให้คนไทยเสพติดกับอินเทอร์เน็ตมากกว่าเดิมจนไม่ดูทีวีอีก แต่คุณกรไม่คิดแบบนั้น และตัดสินใจร่วมกับ Facebook ทดลองระบบนี้แม้จะถูกคนรอบข้างคัดค้านมากมาย

และผลลัพธ์ที่ได้ก็คุ้ม เพราะสามารถเข้าถึงคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาดูรายการได้ อย่างรายการ The Mask Singer ที่ประสบความสำเร็จ และได้ยอดคนดูใน Facebook Live ถึงหลักล้าน

คุณกรเล่าว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ยังไงเราก็หนีไม่พ้น ถ้าคนจะย้ายไปดูอินเทอร์เน็ตจริง ๆ เขาไม่เจ๊งวันนี้ก็เจ๊งวันหน้า ดังนั้น เริ่มก่อน ได้เปรียบก่อน

—————-

จุดเปลี่ยนเข้าสู่วงการเพลง แรงบันดาลใจจากงานระดับโลก 

คุณกรพบว่า เวลาต่างชาติมาคุยด้วยจะทักเรื่องรายการ The Rapper และ The Mask Singer จึงจับจุดได้ว่าต่างชาติชอบดูคอนเทนต์เพลงไทยเพราะเพลงมันเป็นเรื่องของจังหวะและอารมณ์ ไม่มีกำแพงภาษา ดังนั้นถ้าจะ Go Inter ก็ไปด้วยเพลงจะง่ายสุด 

พอต่างชาติทักเรื่องเพลง รวมกับเซนส์ พร้อม Background ธุรกิจของ Workpoint ที่มีทรัพยากรซึ่งเอื้อต่อการทำธุรกิจเพลงอยู่แล้ว จึงตัดสินใจเลือกขีดเส้นใต้ให้วงการ T-POP และเข้าสู่กลยุทธ์ที่ 2 

กลยุทธ์ที่ 2 เลือกทำสิ่งที่ยากที่สุด เพราะที่เหลือจะง่ายที่สุด

จริง ๆ วงดนตรีไทย ไม่ใช่เรื่องใหม่ สมัยก่อนมีวงดนตรีไทยมากมาย มีนักร้องที่เต้นไปร้องเพลงไป แต่คุณกรรู้สึกว่ามันต้องมีชื่อเรียกสักอย่างของสิ่งนี้ให้คนจดจำได้ 

เกิดเป็นที่มาของคำว่า T-POP แล้วย้ำคำนั้นให้คนคุ้นหู เหมือนที่ประเทศไทยเราเด่นเรื่องการท่องเที่ยว โดยใช้แนวคิดว่า ถ้าเราบูมคำว่า T-POP ให้ได้เหมือนการท่องเที่ยวไทย ก็มีโอกาสที่คนจะรู้จักและการปั้นวงให้ดังก็ง่ายขึ้น 

คุณกรเล่าว่าได้คุยกับโปรดิวเซอร์ต่างประเทศ และเขาบอกว่าทำวงเกิร์ลกรุ๊ปยากที่สุด เพราะมีเรื่องของแฟชั่น ท่าเต้นและเพลงเข้ามาเป็นองค์ประกอบ และการทำวงผู้หญิงให้คนรักมันไม่ง่าย 

แต่เขาอยากเห็นทุก Process ในวงการนี้ จึงเลือกทำส่วนที่ยากที่สุดก่อน เพื่อจะสามารถเข้าใจว่าค่ายเพลงหรือศิลปินไทยต้องผ่าน Process มีปัญหา และความท้าทายยังไงบ้าง 

รวมถึงการจัดตั้งรายการ T-POP Stage เพื่อเป็นพื้นที่ให้คนรู้จักศิลปินมากขึ้น และสร้างแอปพลิเคชัน T-POP Aplication เพื่อหารายได้เพิ่มจากการขายสินค้า เรียกว่าเก็บครบถ้วนใน Ecosystem คนทำเพลง 

กลยุทธ์ที่ 3 เป็นผู้บริหาร ให้เป็นเหมือนผู้จัดการ

คุณกรอยากรู้จักลูกค้า ถึงขนาดที่ว่าสมัยก่อนเขาเดินทางไปกับช่างดาวเทียมที่ไปติดตั้งในบ้านต่าง ๆ เพื่อดูว่าคนในพื้นที่ต่าง ๆ มีกำลังซื้อเท่าไหร่ มี Lifestyle เป็นอย่างไร

เรียกว่าเป็นผู้บริหารที่ลงพื้นที่จริง เมื่อทำวงดนตรี คุณกรก็เป็นผู้บริหารที่ตาม 4EVE ไปทุกคอนเสิร์ตเหมือนผู้จัดการ เพื่อไปดูหน้าตาของลูกค้า 20-30 แถวแรกในเวที ว่าคนที่นั่งแถวแรก ๆ เปลี่ยนไปหรือไม่ 

สรุปว่าด้วยความที่คุณกรมีประสบการณ์ในการลองผิดลองถูกมาเยอะ ช่างสังเกตและเป็นผู้บริหารที่ลงพื้นที่จริง ทำให้ได้ Insights และมีเซนส์การทำธุรกิจที่เฉียบคม จึงพา Workpoint และ T-POP ให้มีที่ยืนในเวทีโลก

ในตอนนี้ 4EVE เป็นที่รู้จักของแฟนต่างชาติมากมาย รวมถึงได้มีโอกาสไปแสดงดนตรีที่จีน ลาว เวียดนาม ฮ่องกง เรียกว่าได้ฐานแฟนต่างชาติเข้ามาเพิ่มให้วงการ T-POP เป็นที่รู้จักมากขึ้น ถึงขนาดสื่อนอกยก ‘4EVE’ เทียบ ‘BLACKPINK เมืองไทย’ และเป็นวง T-POP ที่มียอดวิวกว่า 100 ล้าน 

#เวิร์กเคสScenario #Skooldio

 

 

Comments are closed.