เพราะเงินอย่างเดียว จูงใจ ‘คนเก่งระดับท็อป’ ไม่ได้
เจาะลึกเบื้องหลังวัฒนธรรมองค์กรสุดแข็งแกร่งของ Google, Facebook, Amazon และ Lazada ว่าทำไมองค์กรเหล่านี้จึงเต็มไปด้วยคนทำงานที่มีทั้ง Passion และไอเดียสร้างสรรค์พลิกวงการ จนช่วยให้พุ่งทะยานเป็นบริษัท Tech อันดับต้นๆ ของโลก โดย 4 Speakers ใน 🔴 Skooldio Live ตอน:
Table of Contents
Tech Giants: How Culture Shapes The Way They Do Things | ปรับวัฒนธรรมองค์กรใหม่ แบบบริษัท Tech ใหญ่ระดับโลก
🔹 คุณเอ พงศกร ธีรภาพวงศ์
CTO & Co-founder, Indy Dish
(อดีต Senior Software Development Engineer, Amazon)
🔹 คุณอ้อ พรทิพย์ กองชุน
COO & Co-founder, Jitta
(อดีตผู้บริหาร Google)
🔹 คุณทอม กิตติพงษ์ หยู
Head of business development, Lazada
🔹 คุณต้า วิโรจน์ จิรพัฒนกุล
Managing Director, Skooldio
(อดีต Data Scientist, Facebook)
Core values ของ 4 บริษัท Tech ระดับโลก
Amazon
พนักงานทุกคนต้องทำตาม Leadership Principles ซึ่งนอกจากจะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของคนในองค์กรแล้ว ยังใช้เป็นคู่มือช่วยในการแก้ปัญหา หรือตัดสินใจเรื่องต่างๆ
ตัวอย่าง Culture สำคัญ ที่ทำให้ Amazon เป็นบริษัท Innovation สูง คือ
Customer obsession
จงหมกมุ่นกับลูกค้า เพราะเราเริ่มจากลูกค้าจึงทำให้ประสบความสำเร็จสูง จากนั้นค่อยคิดย้อนกลับมาว่าแล้วเราจะส่งมอบคุณค่าอะไรให้ลูกค้า
สิ่งที่ต้องทำก่อนจะออกฟีเจอร์หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ คือการเขียน press release ก่อน เพื่อจินตนาการว่าเมื่อสินค้านี้ออกไปแล้ว คุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับคืออะไร จะใช้สินค้านี้ได้ยังไง เพื่อทำให้แน่ใจว่าสิ่งนี้สามารถมอบคุณค่าให้ลูกค้าได้จริงๆ
เมื่อเราโฟกัสที่ลูกค้า จะรู้สึกทำงานสนุกขึ้น นอกจากต้องไปคุยกับลูกค้าแล้ว ต้องมี passion ที่จะค้นหาความต้องการที่แท้จริงออกมาให้ได้
Willing to fail
ถ้าอยากสร้างนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ ต้องกล้าเผชิญหน้ากับความล้มเหลว เช่น การผลิต Fire Phone ที่เจ๊งยับอย่างรวดเร็ว แต่ตัวที่ประสบความสำเร็จมากคือ Amazon Echo ข้อดีของการทดลองผลิตสินค้าเยอะๆ คือถ้าเราทำออกมา 10 แต่ประสบความสำเร็จแค่ 1 ก็อาจเพียงพอจะครอบคลุมต้นทุนความล้มเหลวทั้งหมดได้
Willing to be misunderstood – AWS
แม้ว่าระหว่างทางที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อาจมีเสียงบ่นด่าหรือเต็มไปด้วยความเข้าใจผิดมากมายที่มีต่อเรา ก็จงยึดมั่นกับเป้าหมาย และเดินหน้าพิสูจน์ผลลัพธ์ให้โลกเห็น
- Focus on the user and all else will follow
ต้องโฟกัสที่จะสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ให้พวกเขาได้ประสบการณ์ดีที่สุดก่อน แล้วสิ่งอื่นๆ จะตามมาเอง - It’s best to do one thing really, really well.
ต้องโฟกัสกับงานที่สอดคล้องกับสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญ - Fast is better than slow.
เน้นความเร็ว เช่น ระบบ Search ต้องวัดกันเป็นวินาที เพราะมีผลต่อความรู้สึกของผู้ใช้งาน - Democracy on the web works.
ให้ผลงานของเว็บ ช่วยบอกว่าเว็บของคุณจะอยู่ใน rank ที่เท่าไหร่ - You don’t need to be at your desk to need an answer.
ไม่จำเป็นต้องซีเรียสอยู่ที่โต๊ะทำงานตลอดเวลา อยู่ที่ไหนก็คิดไอเดียใหม่ๆ ได้ - You can make money without doing evil.
เราสามารถทำเงินได้ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างประสบการณ์แย่ๆ ให้ลูกค้า - There’s always more information out there และ
- The need for information crosses all borders.
ทำยังไงให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลสำคัญในแบบดิจิทัลได้ เพื่อสร้างประโยชน์ให้ผู้ใช้งานมากที่สุด - You can be serious without a suit.
ทำอะไรเจ๋งๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใส่สูท - Great just isn’t good enough.
การทำงานให้ดีเป็นแค่จุดเริ่มต้น เพราะเราต้องพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ อย่าหยุด ซึ่งเป็นหนึ่งในปรัชญสำคัญของ Google
Lazada
ใช้ Value เดียวกับ Alibaba
Customers first, employees second, shareholder third
ต้องโฟกัสที่ลูกค้าก่อน ทั้ง end-user และคนที่เอาสินค้ามาขายกับเรา ต่อมาคือการโฟกัสกับพนักงาน ที่ช่วยสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา เพราะถ้าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทำงานกันเต็มที่ด้วยใจ สุดท้ายก็จะช่วยสร้างความสุขให้กับ Shareholder ต่างๆ ในที่สุด
Trust makes everything simple
ความไว้วางใจในการทำงาน ทั้งจากเพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง-เจ้านาย สามารถแชร์ไอเดียต่างๆ ได้ และเชื่อใจว่าทุคนกำลังเดินหน้าไปยังเป้าหมายเดียวกัน
Change is the only constant
ต้องเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลง คือสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และต้องพร้อมปรัวตัวตลอดเวลา
Today’s best performance is tomorrow’s baseline
บริษัท Alibaba เติบโตขึ้นทุกปี และต้องพยายามพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
If not now, when? If not me, who?
Lazada เชื่อว่า ทุกคนสามารถแชร์ความเห็นได้ทันที ทั้งโอกาสหรืออุปสรรคต่างๆ แม้จะไม่ใช่หน้าที่หลักของตนเอง เพื่อมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้ลูกค้า
Live seriously, work happily
นอกจากทำงานแล้วต้องจริงจังกับการใช้ชีวิตด้วย หลังเลิกงานต้องพักผ่อน ดูแลสุขภาพ ให้เวลากับครอบครัว แต่ตอนทำงานก็ต้องเต็มที่ที่สุด
Build social value : ต้องพยายามสร้างประโยชน์กับผู้ใช้งานในวงกว้างมากที่สุด ซึ่งจะได้ทั้งความสนุกสนานหรือนำมาใช้เพื่อช่วยเหลือกันได้ เช่น ช่วงมีภัยพิบัติ ก็จะมีฟีเจอร์ที่ช่วยเหลือทั้งข้อมูลและการบริจาค ต้องโฟกัสว่าลูกค้าต้องได้รับคุณค่าจากแพลตฟอร์มมากที่สุด
Move Fast : ช่วงแรกจะยึดแนวคิด Move Fast and Break Things คือเคลื่อนที่ให้เร็ว ซึ่งเราจะไม่รู้หรอกว่าเคลื่อนที่เร็วหรือยัง จนมารู้ตัวอีกทีคือตอนที่ทำอะไรพังสักอย่าง ต่อมามาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ได้ประกาศ Core Values ต่อสาธารณชนว่า Move Fast, With Stable Infra เราจะเคลื่อนที่ได้เร็วถ้ามีพื้นฐานที่ดี และพร้อมจะวิ่งเร็วตลอดเวลา
Be Bold : สนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วม กล้าคิด กล้าแสดงออก คุณจะมีโอกาสได้โชค ต่อเมื่อคุณกล้าที่จะเสี่ยง
Be Open : อยากให้ทุกคนเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารกันได้มากขึ้น เพื่อให้คนบนโลกใกล้ชิดกันมากขึ้น ส่วนในองค์กรคือต้องกล้าพูด กล้าคอมเมนต์ กับสิ่งที่ถูกต้องและช่วยให้การทำงานดีขึ้น
Focus on Impact : สิ่งเดียวที่แคร์ในการทำงานคือ Impact แม้จะเป็นของเล็กน้อย แต่ถ้าสร้าง Impact ได้ คุณก็จะได้การยอมรับสนับสนุน
วิธีรักษาวัฒนธรรมองค์กรให้แข็งแรงอยู่เสมอ
วัฒนธรรมองค์กร ไม่ได้อยู่ที่สภาพแวดล้อมอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของบุคลากรในบริษัทด้วย นั่นก็คือทัศนคติและค่านิยมที่สอดคล้องกับองค์กร ซึ่งเกิดจากความเชื่อ แนวคิด และ DNA ของพนักงานที่มารวมตัวกัน
วัฒนธรรมที่โดดเด่นของ Google คือ Free สามารถคิดอะไรได้อย่างอิสระ เพื่อร่วมกับ Mission ที่ยิ่งใหญ่ขององค์กร นั่นคือการสร้างประโยชน์ให้กับคนในโลกมากที่สุด ซึ่งคนใน Google จะรู้สึกภูมิใจมากที่ได้มีส่วนร่วม
ทุกคนต้องเข้าใจ mission และ vision ขององค์กรอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่ท่องจำ!
Amazon
ที่ Amazon จะ recruit คนที่เก่งและเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้ และจะช่วยพัฒนาเขา ทั้งด้านเทคนิคและการปรับตัว รวมถึงการสร้าง Day 1 Mindset คือทุกวันเหมือนวันแรกเสมอ เพื่อฝึกให้ยังคงตื่นเต้นกับการทำสิ่งใหม่ๆ นอกจากนี้ต้องสนุกกับการหาความต้องการใหม่ๆ ของลูกค้า จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้แข็งแรงได้
Lazada
หลังจากขั้นตอน recruit แล้ว ก็จะมาดูว่าคุณอินกับ Mission เราหรือเปล่า อีกเรื่องที่ให้ความสำคัญคือการให้รางวัลคนที่ทำผลงานดี หรือคนที่เสียสละช่วยเหลืองานนอกเหนือหน้าที่ เพื่อให้ทุกคนในองค์กร encourage กับสิ่งเหล่านี้
มองหา culture fit ให้ทำงานกับองค์กรเราได้ ที่ Facebook จะเน้นการทำงานลวกๆ เร็วๆ เหมือนแฮคเกอร์ เพราะ Culture จะเป็นตัวช่วยกำหนดว่าเราเหมาะกับองค์กรนั้นหรือไม่
ถ้าจะต้องเปิดสาขาใหม่ ควรให้พนักงานที่มีความซีเนียร์ในระดับหนึ่งเป็นผู้ดูแลหลัก เพื่อจะได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมได้สอดคล้องกับองค์กรมากที่สุด หรือการไป Bootcamp กับทีมในสำนักงานใหญ่เพื่อซึมซับวัฒนธรรม
รวมถึงการทำ gimmick ต่างๆ เพื่อ remind ถึงวัฒนธรรมองค์กรอยู่เสมอ เช่น โปสเตอร์ที่สื่อสาร Core Values ให้เห็นบ่อยๆ
ความท้าทายของการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรในเมืองไทย
Culture สำคัญที่ CEO ในเมืองไทยต้องเริ่มสร้างก่อนเลยคือ Transparency เพราะจะทำให้เกิดความเชื่อใจกัน ที่ Google จะมี TGIF คือให้ Founder มาคุยกับพนักงานถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในองค์กร ผลลัพธ์ ความเคลื่อนไหวต่างๆ และมีช่วงเปิดให้พนักงานถามอะไรก็ได้ เพราะพนักงานคือ Value Asset ดังนั้นต้องสร้างความเชื่อใจให้มากๆ
Core Values อาจมีการปรับระหว่างทางตลอด เช่น ที่ Facebook มีทั้ง Move Fast, Be Bold หรือ Be Open ต้องกล้าลองอะไรใหม่ๆ คิดอะไรที่ไม่ธรรมดา และต้องมีความโปร่งใส รวมถึงกล้าคิดกล้าพูด แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังเขินอยู่ ความท้าทายของการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรในเมืองไทย คือผู้นำต้องเริ่มทำเป็นตัวอย่างให้เห็นก่อน
รวมถึงการเริ่มสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบ Sport Team ไม่ใช่ Family ถ้าตำแหน่งไหนเล่นไม่ดี พร้อมเอาออกทันที ดังนั้นคุณต้องพัฒนาตัวเอง เพื่อทำงานกับเพื่อนร่วมงานให้ได้ โดยไม่ต้องมาเกรงใจเพียงเพราะเรื่องความอาวุโส
เรื่องวัฒนธรรมองค์กรเจ๋งๆ ยังไม่จบแค่นี้! ตามไปชม Skooldio Live เวอร์ชั่นเต็มได้ที่
Skooldio Live ยังมีอีกหลายตอนที่น่าสนใจ และช่วยคุณอัพสกิลใหม่ๆ ได้แน่นอน
Behavioural Science in Digital World
🛍️ เว็บ Online Shopping ใช้เทคนิคอะไร ที่ทำให้เราซื้อของง่ายดาย?
🛵 ทำไมเรายินดีจ่ายค่าอาหาร Delivery แต่ไม่ยอมอ่อนข้อให้ค่าส่ง?
💸 เรามีเงินเก็บได้ยังไง จากการใช้แอปช่วยบริหารเงิน?
ทั้งหมดเป็นเพราะเรากำลังถูกยั่วใจด้วย TEMPT Model หรือหลักการออกแบบบริบทต่างๆ เพื่อทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจาก 🔴 Skooldio Live ตอน Trick me if you can!! Behavioural Science in Digital World เปิดโปงกล!! พฤติกรรมศาสตร์ในโลกดิจิทัล
Product Manager: The Mutants Among Us
👨💻 เพราะการข้ามสายไปทำงาน 𝗣𝗿𝗼𝗱𝘂𝗰𝘁 𝗠𝗮𝗻𝗮𝗴𝗲𝗿 ไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์เสมอไป❗มาฟังคำตอบสุด Insights จาก 4 𝗣𝗠 ตัวจริงแห่งวงการ Tech Business ที่สรุปไว้ใน 🔴 Skooldio LIVE ตอน 𝗣𝗿𝗼𝗱𝘂𝗰𝘁 𝗠𝗮𝗻𝗮𝗴𝗲𝗿 : 𝗧𝗵𝗲 𝗠𝘂𝘁𝗮𝗻𝘁𝘀 𝗔𝗺𝗼𝗻𝗴 𝗨𝘀 อัพสกิลข้ามสาย กลายร่างเป็น 𝗣𝗠
Marketing Communication in the post Covid-19 era
ฟังบทเรียนหมัดฮุค 🥊 ที่จะปลุกให้คุณลุกขึ้นมาปฏิวัติ Mindset การสื่อสารหลังปลดล็อคโควิด เพื่อพาธุรกิจรอดต่อไปแถมได้ใจลูกค้า จากมุมมองของ 2 กูรู เจ้าของร้านชาบูเพนกวิน และเจ้าของเพจการตลาดวันละตอน
Design Workflow Meetup: From Startups to Corporates
เฉลยวิธีทำงานให้ลื่นไหลของ Corporate ยักษ์ใหญ่ทีม KBTG และเทคนิคสร้างความเข้าใจให้ตรงกันโดย Startup ไฟแรงทีม Ko-fi เพื่อเรียนรู้การสร้าง Design Workflow ที่ดีว่าเป็นอย่างไร?
Psychology in Marketing and UX
ไขความลับเทคนิคจิตวิทยาเพื่อทำ UX และ Marketing ให้ปัง! โดย 3 Speaker จาก FINNOMENA X Skooldio X LINE Thailand ซึ่งเชี่ยวชาญทั้งด้าน Marketing, UX และ Behavioral Economics