ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และธุรกิจต้องแข่งขันกันอย่างดุเดือด สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจของเราประสบความสำเร็จ นั่นคือ การมีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้อย่างแท้จริง
บทบาทของ Product Manager (PM) จึงกลายเป็นที่ต้องการมากขึ้น เพราะเป็นผู้ที่เชื่อมโยงระหว่างความต้องการของผู้ใช้งานและเป้าหมายของธุรกิจ
หลายคนอาจเข้าใจว่า PM มีหน้าที่เพียงแค่รับความต้องการ (Requirement) แล้วส่งต่อให้ทีมพัฒนา แต่แท้จริงแล้ว PM ที่ดีต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล สามารถวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ และตัดสินใจได้อย่างแม่นยำว่าอะไรคือสิ่งที่ควรพัฒนาจริง ๆ
หนึ่งในกระบวนการที่ช่วยให้ Product Manager ทำหน้าที่นี้ได้ดีขึ้นคือ “Validated Backlog” ซึ่งช่วยให้ทีมสามารถพัฒนา Solution ที่ตอบโจทย์ User ได้อย่างแท้จริง
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกระบวนการ Validate Backlog และอธิบายว่าทำไมสิ่งนี้ถึงเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้และธุรกิจอย่างแท้จริง
Table of Contents
Backlog คืออะไร?
Backlog คือ รายการงานที่ต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมาย ซึ่งในฐานะ Product Manager เราต้องจัดลำดับความสำคัญของงานเหล่านี้ เพราะมี Task จำนวนมากที่เข้ามาอยู่ในมือ จึงจำเป็นต้องคัดเลือกและเรียงลำดับว่า Task ไหนควรทำก่อนหลัง เพื่อส่งมอบคุณค่า (Value) ให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Case Study: Netflix Backlog
Netflix มีเป้าหมายหลัก คือ การเป็น the best global entertainment distribution service ดังนั้น ตัวอย่าง Backlog ที่ Netflix อาจดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนสู่เป้าหมายนี้ เช่น
- พัฒนาระบบแนะนำหนัง / ซีรีส์ให้ตรงใจผู้ชมมากยิ่งขึ้น
- ปรับปรุงการจัดหมวดหมู่คอนเทนต์ให้ค้นหาและเข้าถึงง่าย
- พัฒนาฟังก์ชันการรับชมแบบออฟไลน์
- ปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้งาน

photo: ขั้นตอนการ Validate Backlog | Intro to Product Management
โดยที่มาของ Backlog หลัก ๆ มาจาก 2 ส่วนสำคัญ คือ
- Business: เข้าใจเป้าหมายและกลยุทธ์ของธุรกิจ เพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร
- Users: ศึกษาและทำความเข้าใจปัญหา (Pain Point) และความต้องการของผู้ใช้งาน
ซึ่งเมื่อได้ Backlog จากทั้งสองมุมมองแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือ การนำ Backlog เหล่านี้ไปผ่านกระบวนการ Validate และประเมินความคุ้มค่า ว่างานใดควรส่งต่อให้ทีมพัฒนาต่อให้ลูกค้า
ทำไมต้อง Validate Backlog?
ก่อนที่เราจะส่ง Backlog ให้ทีมพัฒนา สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือ การ Validate หรือการตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของ Backlog เหล่านั้น เพราะไม่ใช่งานทุกอย่างที่ควรนำไปพัฒนาจริง
Case Study: Google Glass
หลังจากเปิดตัว Google Glass สินค้ากลับค่อย ๆ หายไปจากตลาด แม้จะมีฟีเจอร์น่าสนใจอย่างการบันทึกวิดีโอจากมุมมองผู้ใช้งานผ่านแว่น แต่กลับสร้างความกังวลให้ผู้คนรอบข้าง เพราะไม่รู้ว่าตัวเองกำลังถูกบันทึกวิดีโออยู่หรือเปล่า ทำให้ภาพลักษณ์ของคนที่ใส่แว่นดูไม่น่าไว้ใจและมีเจตนาไม่ดี จนสุดท้ายผู้บริโภคไม่กล้าซื้อมาใช้งานจริง
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหานี้ คือ การ Validate Solution ไม่สมบูรณ์
แล้วเราต้อง Validate อะไรบ้าง?
- Value Risk: เขาซื้อ Solution ของเรามั้ย อาจจะไม่ใช่แค่รูปแบบของเงิน แต่เป็นการลงทุนเวลาด้วย
- Usability Risk: ลูกค้าสามารถเข้าใจวิธีการใช้งาน Solution ของเราตาม Value ที่เราต้องการมอบให้มั้ย
- Feasibility Risk: ทีม Engineer ของเราสามารถสร้างขึ้นมาได้จริงมั้ย
- Business Viability Risk: Solution ของเราตอบโจทย์เป้าหมายทางธุรกิจของเราหรือไม่
มาดูกันว่าเราสามารถใช้เครื่องมืออะไรได้บ้างในการ validate 4 เรื่องนี้
Impact-Effort Matrix
เป็นเครื่องมือที่ช่วยประเมินด้าน Feasibility Risk และ Business Viability Risk โดยดูว่าแต่ละ Solution สร้างผลกระทบต่อธุรกิจมากน้อยแค่ไหน (Impact) และต้องใช้ความพยายามหรือทรัพยากรมากเท่าไหร่ในการพัฒนา (Effort)
หลังจากประเมิน Impact และ Effort แล้ว จะนำแต่ละ Solution มา Plot ลงใน Matrix
- แกน X (แนวนอน) คือ Effort
- แกน Y (แนวตั้ง) คือ Impact
ซึ่งโดยทั่วไป Product Manager มักจะเลือกโฟกัสที่ Solution ในพื้นที่ Quick Wins หรือ Major Projects
สร้าง Prototype
ช่วยในการประเมินด้าน Value Risk และ Usability Risk โดยการสร้างเป็นเวอร์ชันต้นแบบของ Solution เพื่อนำไปทดสอบกับลูกค้าเป้าหมายจริง เก็บ Feedback และดูว่าสอดคล้องกับสมมติฐานที่เราตั้งไว้หรือไม่ จากนั้นนำ Insight ที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนาต่อเป็น Product ที่เหมาะสม
และนี่คือ สาเหตุและวิธีการ Validated Backlog ที่ Product Manager ควรรู้ ซึ่งเนื้อหาที่เล่ามาทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากคอร์ส Intro to Product Management
ถ้าใครสนใจเรียนรู้เนื้อหาเชิงลึก ตั้งแต่การทำความเข้าใจบทบาทของ Product Management การเรียนรู้กระบวนการ Product Development Process แบบครบถ้วน ไปจนถึง Skill Sets สำคัญที่คนทำ Product Manager ควรมี จาก คุณภัทรพร จักรทอง Product Manager จากบริษัท NocNoc
ซึ่งจะทำให้คุณ
- เข้าใจบทบาทการทำงานและความสำคัญของ Product Manager ที่มีต่อการพัฒนา Digital Product
- ทำงานร่วมกับตำแหน่งต่างๆใน Product Team ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- สร้างไอเดีย Digital Product ที่ตอบโจทย์ทั้ง Business และส่งมอบ Value ให้กับ Users ได้
- เขียน User Story เพื่อส่งต่อ Requirement ให้กับ Development Team ได้
- พัฒนาทักษะที่จำเป็นเพื่อเริ่มต้นสายงาน Product Manager ในอนาคต
สามารถสมัครหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คอร์ส Intro to Product Management ได้เลย!