1 ในทักษะจำเป็นต้องมีในยุคที่ Generative AI อย่าง ChatGPT หรือ Gemini เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานและการคิดวิเคราะห์มากยิ่งขึ้น คงหนีไม่พ้นทักษะ Critical Thinking สอดคล้องกับสิ่งที่ Arvind Krishn, Chairman และ CEO ของ IBM กล่าวในงาน World Economic Forum’s Annual Meeting 2024 ไว้ว่า
“If the lower half of cognitive work gets taken over by genAI, it implies that you’ve got to learn critical thinking. That means critical thinking, regardless of which domain you’re in, becomes the skill that is far, far more needed”
แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของ Critical Thinking ในทุกสายงาน โดยเฉพาะในยุคที่ GenAI เข้ามาช่วยในการคิดและทำงาน ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับผลสำรวจของผู้จ้างงานในสหรัฐอเมริกาจาก Hart Research Associated ระบุไว้ว่า 78% ของผู้จ้างงานมองทักษะ Critical Thinking และ Analytic Reasoning เป็นทักษะสำคัญที่สุดที่ต้องการจากผู้สมัครงาน
ถึงแม้ว่าทักษะ Critical Thinking จะเป็นทักษะการคิดที่สำคัญและเคยได้ยินผ่านหูผ่านตากัน แต่เมื่อถามว่า Critical Thinking คืออะไร คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถอธิบายความหมายของมันออกมาได้
ในบทความนี้เราจะพาคุณไปค้นหาความหมายของ Critical Thinking ว่าทักษะนี้สำคัญอย่างไร หากขาดทักษะการคิดนี้ไปจะเกิดอะไรขึ้น และคุณจะเรียนรู้ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลได้อย่างไรบ้าง
Table of Contents
Critical Thinking คืออะไร?
Critical Thinking หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ หรือในชื่อที่คุ้นหูว่า การคิดแบบมีวิจารณญาณ คือ ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีเหตุมีผล สามารถวิเคราะห์ข้อมูล หลักฐานและเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้ยิน ได้เห็น ได้อ่าน โดยมีหลักฐานหรือข้อสนับสนุนอ้างอิง ไม่ปักใจเชื่อและตัดสินข้อมูลตามอารมณ์ ความเชื่อและอคติของตนเอง แต่มีการตั้งคำถามเพื่อเลือกข้อมูลที่น่าเชื่อถือ นำมาเชื่อมโยงและไปสู่การตัดสินใจที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
Critical Thinking สำคัญอย่างไร?
ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ถาโถมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องจริงและเรื่องเท็จต่างปะปนกันจนยากที่จะแยกแยะ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการนำเอา AI เข้ามาใช้ในการทำงาน ซึ่งมักเจอปัญหาการให้ข้อมูลที่ผิดหรือไม่จริง หรือ AI Hallucination อยู่บ่อย ๆ เวลาใช้งานจึงจำเป็นต้องแยกแยะความถูกต้องข้อมูลให้ได้ (อ่านความสำคัญของ Critical Thinking ในยุค AI เพิ่มเติมได้ที่ อย่าหวังว่า ‘พนักงาน’ จะใช้ AI ได้ดี ถ้ายังไม่มีทักษะ Critical Thinking!) ถึงแม้แยกแยะข้อมูลจริงเท็จได้ แต่การเลือกข้อมูลที่มีประโยชน์จริง ๆ จากข้อมูลจำนวนมหาศาล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและใช้ในการตัดสินใจก็เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ง่ายนัก จุดนี้เป็นส่วนที่กระบวนการคิดแบบ Critical Thinking จะเข้ามาช่วยให้ทำขั้นตอนเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น โดยทักษะการคิดนี้จะช่วยในส่วนต่าง ๆ ดังนี้
ช่วยแยกแยะข้อมูลจริงเท็จ
ในยุคนี้ที่ AI เป็นเครื่องมือที่เข้าถึงได้ง่าย หลายครั้งภาพหรือข่าวสารที่เราเห็น ก็ถูกสร้างโดย AI ยิ่งเทคโนโลยีดำเนินไปไกล ยิ่งทำให้ทักษะ Critical Thinking ยิ่งมีบทบาทมากขึ้น เพื่อให้สามารถไตร่ตรอง กรองข้อมูลได้อย่างเหมาะสม ไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดี ที่ใช้เทคโนโลยี AI ในทางที่ไม่ถูกต้อง การมี Critical Thinking จะช่วยให้วิเคราะห์ความถูกต้องของข้อมูล เกิดคำถามต่อข้อมูลที่ผ่านเข้ามา สงสัยว่าข้อมูลมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ มีเหตุผลและที่มาสอดคล้องกันหรือเปล่า มีอคติ (Bias) อะไรที่แฝงตัวอยู่ในข้อมูลหรือไม่ ซึ่งคำถามเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญ ที่จะช่วยแยกแยะข้อมูลที่มีมูลความจริง ออกจากข้อมูลที่มีแนวโน้มว่าอาจจะผิดหรือเป็นข้อมูลเท็จ
ช่วยคัดเลือกข้อมูลที่มีประโยชน์และนำไปสู่การแก้ไขปัญหา
หากคุณเป็น Manager มือใหม่เพิ่งรับตำแหน่ง หรือเป็นคนที่ต้องทำงานกับข้อมูลมาก ๆ ในวัน ๆ หนึ่งมีเรื่องต้องแก้ปัญหามากมายจนนับไม่ถ้วน การมีพื้นฐานกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลที่ดีนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน และลดการตัดสินใจที่ผิดพลาด การมี Critical Thinking จะช่วยให้คุณประเมินสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบด้าน สามารถระบุและแยกแยะประเด็นปัญหา นำข้อมูลมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนได้
ช่วยให้ตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
การมี Critical Thinking จะช่วยให้คุณนำข้อมูลที่มีมาช่วยตัดสินใจ โดยผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ ที่ปราศจากอารมณ์ ความเชื่อและอคติส่วนบุคคล จนเชื่อมโยงและอธิบายเหตุผล รวมถึงที่มาของสิ่งต่าง ๆ ได้ โดยไม่กระโดดไปสู่ข้อสรุปทันที
นอกจากนี้ทักษะ Critical Thinking ยังเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับทุกคน เพราะเป็นทักษะพื้นฐานที่แฝงตัวอยู่ในทุกการตัดสินใจเล็กใหญ่ และเป็นส่วนสำคัญในการทำงานอีกด้วย จากการวิจัยของ Pearson ในหัวข้อ Understanding the Relationship Between Critical Thinking and Job Performance พบว่าความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการทำงานในด้านต่าง ๆ
ซึ่งคนที่มีทักษะ Critical Thinking ที่ดีจะมีแนวโน้มสร้างผลการทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจอีกด้วย ตัวอย่างการใช้ Critical Thinking ในที่ทำงานที่เราเจอได้บ่อย ๆ เช่น ผู้จัดการหรือหัวหน้าต้องตัดสินใจเลือกใช้แผนกลยุทธ์เพื่อเพิ่มยอดขายสินค้า เคสนี้ทักษะ Critical Thinking จะมีส่วนช่วยวิเคราะห์เลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ประเมินความสมเหตุสมผลของแผนกลยุทธ์และความเสี่ยงต่าง ๆ นำไปสู่การตัดสินใจเลือกใช้แผนกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม โดยไม่พึ่งพาอารมณ์และความเห็นส่วนตัว
หากไม่มี Critical Thinking จะเกิดอะไรขึ้น?
ถึงตรงนี้แล้ว หลายคนคงรู้แล้วว่า Critical Thinking คืออะไร สำคัญกับการทำงานอย่างไร แต่คงสงสัยว่า แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าตัวเราหรือคนรอบตัวเองมีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลหรือเปล่า มีแบบทดสอบที่สามารถพิสูจน์ได้ไหม คำตอบคือ ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นสัญญาณของการไม่มีทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล นั่นคือการกระโดดไปสู่คำตอบโดยไม่มีวิธีคิดที่เป็นหลักการ ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ และไม่สามารถอธิบายเหตุผลของการตัดสินใจหรือการแก้ปัญหาออกมาเป็นขั้นตอนได้
หากไม่มี Critical Thinking จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตและทำงานเป็นอย่างมาก คนนั้นจะลังเลในการตัดสินใจ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปไม่ได้ การไม่มี Critical Thinking ของพนักงานก็ส่งผลกระทบต่อองค์กรเช่นกัน ทั้งในแง่ของรายได้และกำไรที่อาจลดลง หรือการบริหารและการดูแลพนักงานที่อาจทำได้อย่างไม่เหมาะสม
Critical Thinking สามารถเรียนรู้ได้ไหม?
ทักษะ Critical Thinking เป็นทักษะกระบวนการคิดที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ ผ่านการตั้งคำถามกับข้อมูลที่ผ่านเข้ามา ประเมินความน่าเชื่อถือ ความเชื่อมโยงกัน วิเคราะห์ความเป็นไปได้อย่างรอบด้าน และสรุปข้อมูลเพื่อนำไปสู่การเลือกที่เหมาะสม ย่ิงฝึกฝนกระบวนการคิดแบบ Critical Thinking มากเท่าไหร่ ยิ่งตัดสินใจได้ดีมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เห็นความสำคัญของ Critical Thinking ทักษะสำคัญที่ทุกบริษัทต้องการ และอยากตัดสินใจทางเลือกต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุมีผลมากขึ้นเพื่อไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ ตอนนี้ Skooldio กำลังเปิดหลักสูตร Critical Thinking for Better Decision ที่รวบรวมสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการคิดอย่างมีเหตุมีผล ทั้ง Framework กระบวนการคิด การตั้งคำถาม รูปแบบของอคติในการประเมินข้อมูลที่พบเห็นได้บ่อย และหัวข้ออื่น ๆ สอนโดยดร. วิโรจน์ จิรพัฒนกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง Skooldio และ อดีต Data Scientist ที่ Facebook เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณเป็นคนที่ตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น! สามารถลงทะเบียนแสดงความสนใจล่วงหน้า เพื่อรับส่วนลดได้เลย !👇
ถ้าอยากศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับ Critical Thinking เพิ่มเติม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
- อย่าหวังว่า ‘พนักงาน’ จะใช้ AI ได้ดี ถ้ายังไม่มีทักษะ Critical Thinking!
- วิธีฝึก Critical Thinking ฉบับคนทำงาน ‘ค่าตัวแพง’ จาก Harvard Business Review!
อ้างอิง :