เคยมั้ย?? ออกแบบฟีเจอร์มาจัดเต็ม แต่ลูกค้าบอกใช้ไม่เป็นซะงั้น!?! 🫠

📣 มาทำความรู้จัก Usability Testing กุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ Product ของเรา ใช้งานง่าย และตอบโจทย์ผู้ใช้จริง! รับรองว่า Launch Product มาถูกใจลูกค้าแน่นอน 🫶🏻

Table of Contents

Usability Testing คืออะไร?

ทำไมสาย UX/UI และคนพัฒนา Product ต้องรู้ !?

Usability Testing คือ กระบวนการทดสอบความง่ายในการใช้งาน (Ease of Use) ของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน โดยให้กลุ่มผู้ใช้ทดลองใช้จริง เพื่อตรวจสอบว่าพวกเขาสามารถทำงานที่ต้องการได้อย่างราบรื่น พร้อมระบุจุดที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้ UX/UI ตอบโจทย์ผู้ใช้มากขึ้น

ทำไม Usability Testing ถึงสำคัญ?

  • ช่วยค้นหาปัญหาการใช้งานก่อนเปิดตัว
    → ลดโอกาสที่ผู้ใช้จะติดขัดและออกจากแพลตฟอร์ม
  • เพิ่มประสิทธิภาพ UX/UI
    → ปรับดีไซน์ให้ตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้ใช้จริง
  • เพิ่ม Conversion และลด Drop-off Rate
    → ทำให้ผู้ใช้สามารถดำเนินการที่สำคัญ เช่น สมัครสมาชิก หรือซื้อสินค้า ได้ง่ายขึ้น
  • ลดภาระงานฝ่าย Customer Support
    → แก้ปัญหาตั้งแต่ต้น ลดคำถามจากผู้ใช้

ขั้นตอนสำคัญของ Usability Testingขั้นตอนในการทำ Usability Testing คืออะไร? ทำไม UX/UI Designer ต้องรู้!

ภาพจากคอร์ส Usability Testing

1. กำหนดเป้าหมายของการทดสอบ

เป็นการระบุ “สิ่งที่ต้องการทราบ” และ “แนวทางการนำข้อมูลไปใช้” เพื่อปรับปรุง UX/UI อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างเช่น หากต้องการวิเคราะห์ปัญหาในขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้า
เป้าหมายอาจเป็น “ค้นหาสาเหตุที่ทำให้ผู้ใช้ยกเลิกคำสั่งซื้อหรือไม่สามารถสั่งซื้อสำเร็จ” เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการให้ราบรื่นยิ่งขึ้น

  • ฟีเจอร์ไหนที่ผู้ใช้มีปัญหา?
  • มีจุดไหนที่สร้างความสับสนให้ผู้ใช้?
  • กระบวนการใช้งานมีอะไรที่ต้องปรับปรุง?

💡 Tip: การตั้งเป้าที่ชัดเจน จะช่วยให้เราทำการทดสอบได้ตรงจุด และได้ข้อมูลที่นำไปใช้งานได้จริง

2. คัดเลือกกลุ่มผู้ใช้ เพื่อมาทดสอบ

เลือกผู้ใช้ที่ตรงกับ Target Audience เพื่อให้ผลการทดสอบสะท้อนพฤติกรรมของกลุ่มผู้ใช้จริง โดยใช้ User Screener เพื่อคัดกรอง เช่น:

  • เป็นผู้ใช้เดิมที่เคยใช้งานมาก่อน หรือ ผู้ใช้ใหม่ที่เพิ่งใช้งานครั้งแรก?
  • ใช้อุปกรณ์อะไรในการเข้าเว็บไซต์/แอปบ่อยที่สุด? 

3. ออกแบบโจทย์และรูปแบบการทดสอบ (Task & Scenario)

ตัวอย่าง Task ที่ใช้ทดสอบ UX/UI

  • “ลองสั่งซื้อสินค้าชิ้นหนึ่งบนเว็บไซต์โดยใช้คูปองส่วนลด”
  • “ค้นหาฟีเจอร์ [X] ในแอป แล้วลองใช้งานดู”

💡 Tip: ระวังการตั้งโจทย์ที่อาจจะมีคำใบ้ หรือคำตอบโดยที่ไม่ตั้งใจ ซึ่งจะส่งผลให้ user ทำได้เพราะมีคำใบ้นั้น

4. ทำการทดสอบ และเก็บข้อมูล

Usability Testing มีหลายประเภท เช่น

  • Moderated Testing – มีผู้ดูแลคอยสอบถามและสังเกต
  • Unmoderated Testing – ให้ผู้ใช้ทำแบบทดสอบเอง
  • Remote Testing – ให้ผู้ใช้ทดสอบจากที่บ้านผ่าน Zoom หรือ Lookback

5. วิเคราะห์ผล และปรับปรุง UX/UI

วิเคราะห์จากข้อมูลต่าง ๆ เช่น

  • Feedback ของผู้ใช้
  • พฤติกรรมระหว่างทดสอบ
  • จุดที่ทำให้ผู้ใช้สับสนหรือหลุดออกจาก Flow

💡 Tip: การจดและบันทึกผลอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การวิเคราะห์ผลง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่าปล่อยให้ UX/UI เป็นจุดอ่อนของ Product! หมดปัญหาออกแบบ Web/App ไม่ตอบโจทย์ เรียนรู้ขั้นตอนสำคัญ Usability Testing ให้คุณเข้าใจผู้ใช้จริง


การทำ Usability Test ช่วยวัดผลด้านไหนได้บ้าง?

1. Learnability (ความง่ายในการเรียนรู้)

เป็นการวัดว่าผู้ใช้เรียนรู้วิธีใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ง่ายและรวดเร็วแค่ไหน โดยส่วนมากจะวัดเวลาและความสำเร็จในการให้ user ทดลองใช้งาน Feature นี้เป็นครั้งแรก

2. Memorability (ความง่ายในการนึกถึงวิธีใช้งาน)

ปัจจัยนี้สำคัญมากสำหรับ Product ที่อาจไม่ได้ใช้งานบ่อย เช่น แอปที่ผู้ใช้เปิดเป็นครั้งคราว หรือแพลตฟอร์มที่ต้องใช้เป็นระยะ ๆ การวัดผลในส่วนนี้ช่วยให้เราทราบว่า เมื่อผู้ใช้กลับมาใช้งานอีกครั้ง พวกเขาสามารถจดจำวิธีใช้งานได้ง่ายแค่ไหน หากระบบมี Memorability ที่ดี ผู้ใช้จะไม่ต้องเสียเวลาศึกษาใหม่ ,ลดการอ่านคู่มือ, การติดต่อ call center และลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาด และทำให้ประสบการณ์การใช้งานราบรื่นยิ่งขึ้น

3. Efficiency (ประสิทธิภาพที่ User สามารถทำงานได้สำเร็จ)

ผู้ใช้สามารถทำงานที่ต้องการได้สำเร็จอย่างรวดเร็วและแม่นยำแค่ไหน ซึ่งเราจะวัดจากเวลาที่ใช้ในการทำงานต่างๆ จำนวนคลิก หรือขั้นตอนที่ต้องทำ และอัตราความสำเร็จในการทำงาน

4. Error (การป้องกันไม่ให้ User ทำพลาด หรือสามารถกลับมาแก้ไขได้เมื่อเจอปัญหา)

ปัจจัยนี้วัดว่า ระบบสามารถช่วยลดข้อผิดพลาดของผู้ใช้ได้ดีแค่ไหน และเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ผู้ใช้สามารถแก้ไขได้ง่ายหรือไม่ เช่น การแจ้งเตือนเมื่อกรอกข้อมูลผิด หรือมีคำแนะนำ/วิธีให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขได้ง่าย เช่น ปุ่ม Undo เป็นต้น ซึ่งระบบที่ดีควรช่วยให้ผู้ใช้ทำผิดพลาดน้อยลงและแก้ไขได้โดยไม่ยุ่งยาก

5. Satisfaction (ความพึงพอใจโดยรวมจากการใช้งาน User มีประสบการณ์ที่ดีหรือไม่)

ผู้ใช้รู้สึกพึงพอใจกับการใช้งานผลิตภัณฑ์โดยรวมหรือไม่ พวกเขาคิดว่าผลิตภัณฑ์ใช้งานง่าย สะดวก และตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาหรือไม่ เราสามารถวัดความพึงพอใจได้จากแบบสอบถาม ความคิดเห็น รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ใช้

Metric ที่ใช้วัดผล Usability Testing คืออะไร? ทำไม UX/UI Designer ต้องรู้!ภาพจากคอร์ส Usability Testing

หลังจากการ Test และวิเคราะห์ผลตามแต่ละ Metric แล้ว

เราจะสามารถระบุปัญหา และลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วนในการแก้ไข ตามระดับความรุนแรงของปัญหาได้


ระดับความรุนแรงของปัญหา

1. Stopper 🔥🔥🔥🔥– ปัญหาระดับร้ายแรงสุด **ต้องแก้ไขทันที**

ถ้าผู้ใช้พบเจอปัญหานี้ จะไม่สามารถใช้งานต่อได้เลย ต้องหยุด หงุดหงิด หรืออาจเลิกใช้ไปเลย ปัญหาประเภทนี้ต้องได้รับการแก้ไขทันที ก่อนเปิดตัวผลิตภัณฑ์

เช่น ปุ่มสำคัญกดไม่ได้ ระบบล่ม หรือข้อมูลที่จำเป็นไม่โหลดขึ้นมา

2. Major 🔥🔥🔥– ปัญหาระดับสำคัญที่ต้องรีบแก้

ผู้ใช้ยังสามารถใช้งานต่อได้ แต่มีอุปสรรค ต้องใช้เวลามากขึ้นหรืออาจต้องหาวิธีแก้ไขเอง ปัญหานี้ควรได้รับการแก้ไขเร็วที่สุด เพราะอาจส่งผลต่อประสบการณ์ใช้งานและลดความพึงพอใจ

เช่น ฟอร์มที่กรอกข้อมูลแล้วขึ้น Error บ่อย หรือกระบวนการ Checkout ที่ซับซ้อนเกินไป

3. Minor 🔥🔥– ปัญหาระดับเล็กที่ไม่รบกวนการใช้งานมาก

ปัญหานี้อาจทำให้ผู้ใช้ชะงักไปบ้าง แต่ยังสามารถดำเนินการต่อได้ ปกติแล้วสามารถรอการแก้ไขได้ในอัปเดตถัดไป

เช่น ปุ่มที่ตำแหน่งคลาดเคลื่อน หรือข้อมูลที่อ่านยากเล็กน้อย

4. Cosmetic 🔥– ปัญหาด้านความพึงพอใจที่ไม่ส่งผลต่อการใช้งาน

ผู้ใช้ยังใช้งานได้ตามปกติ ไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบ อาจเป็นเรื่องของดีไซน์ สี หรือไอคอนที่ดูไม่สมบูรณ์แบบ สามารถค่อย ๆ ปรับปรุงในอนาคตได้

เช่น ฟอนต์ไม่ตรงกับแบรนด์ หรือไอคอนดูไม่สอดคล้องกัน

ระดับความรุนแรงของปัญหาในการใช้งาน Usability Testing คืออะไร? ทำไม UX/UI Designer ต้องรู้!

ภาพจากคอร์ส Usability Testing


❌ ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการทำ Usability Testing

1. เลือกผู้เข้าทดสอบผิดกลุ่ม

ปัญหา: หากเลือกกลุ่มผู้เข้าทดสอบที่ไม่ตรงกับ Target Audience ของผลิตภัณฑ์ อาจทำให้ได้ Feedback ที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ใช้งานจริง และไม่สามารถนำไปพัฒนา Product ต่อได้ ตัวอย่างเช่น

  • ทดสอบแอป E-commerce สินค้ามือ 2 แต่ใช้กลุ่มผู้ทดสอบที่ไม่ชอบสินค้ามือ 2
  • ทดสอบระบบ CRM แต่ใช้กลุ่มผู้ทดสอบที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานด้าน Sales หรือ Marketing
  • ทดสอบแอปฟิตเนส ว่าสมาชิกจองคอร์สได้ง่ายไหม แต่ใช้กลุ่มผู้ทดสอบที่เป็นคนเล่นกีฬาทั่วไป มาแทน

✅ วิธีหลีกเลี่ยง:

  • ใช้ User Screener เพื่อคัดกรองผู้เข้าร่วมให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
  • ระบุ Persona ของผู้ใช้ที่ต้องการทดสอบ ให้ชัดเจน เช่น อายุ, ประสบการณ์ใช้งาน, ความถี่ในการใช้ผลิตภัณฑ์
  • มีเกณฑ์คัดเลือกที่ชัดเจน เช่น ผู้ใช้ต้องเคยใช้แอปประเภทนี้ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา

วิธีการเลือกกลุ่มทดสอบ User Recruitment , Usability Testing คืออะไร? ทำไม UX/UI Designer ต้องรู้!

ภาพจากคอร์ส Usability Testing

2. ถามคำถามชี้นำ (Leading Questions)

ปัญหา: คำถามชี้นำ คือคำถามที่มีคำพูดเชิงโน้มน้าว และอาจทำให้ผู้ใช้ตอบตามที่เราต้องการ ทำให้ผลลัพธ์เอนเอียง หรือไม่เป็นกลางได้ เช่น

  • “ปุ่มนี้ใช้งานง่ายใช่ไหม?” → เป็นการบอกเป็นนัยว่าปุ่มนี้ควรใช้งานง่าย
  • “คุณชอบฟีเจอร์ใหม่นี้ไหม?” → อาจทำให้ผู้ใช้ลังเลที่จะให้ Feedback เชิงลบ
  • “คุณคิดว่า UI นี้สวยหรือเปล่า?” → คำว่า “สวย” เป็นความคิดเห็นของนักออกแบบ ไม่ใช่ความคิดเห็นที่มาจากฝั่งของผู้ใช้

✅ วิธีหลีกเลี่ยง:

  • ใช้คำถาม ปลายเปิด (Open-ended Questions) เช่น
    • “คุณสามารถหาฟีเจอร์นี้เจอได้อย่างไร?”
    • “คุณคาดหวังให้ปุ่มนี้ทำงานอย่างไร?”
    • “มีอะไรที่ทำให้คุณสับสนระหว่างการใช้งานไหม?”
    • “ถ้าคุณต้องการสมัครสมาชิก คุณจะเริ่มจากตรงไหน?”
    • “ลองค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับราคาดูหน่อย”
    • “เล่าให้ฟังว่าขั้นตอนการชำระเงินนี้รู้สึกอย่างไร?”
  • เน้น สังเกตพฤติกรรมผู้ใช้มากกว่าคำตอบ เพราะบางครั้งผู้ใช้ตอบว่า “เข้าใจ” แต่จริง ๆ แล้วใช้งานผิด

3. ให้ข้อมูลมากเกินไปก่อนเริ่มทดสอบ

ปัญหา: หากอธิบายวิธีใช้งานมากเกินไป ก่อนเริ่มการทดสอบ อาจทำให้ผู้ใช้ ไม่แสดงพฤติกรรมการใช้งานจริงตามธรรมชาติ เช่น

  • บอกว่า ปุ่มเมนูอยู่ตรงไหน: ทำให้ผู้ใช้ไม่ได้หาปุ่มเอง ทำให้ไม่เห็นปัญหาการใช้งานจริง
  • บอกว่า ฟีเจอร์นี้ออกแบบมาเพื่ออะไร: ผู้ใช้จะเข้าใจและพยายามใช้งานตามที่นักวิจัยคาดหวัง

✅ วิธีหลีกเลี่ยง:

  • ให้ผู้ใช้สำรวจระบบด้วยตนเองก่อนเริ่มทดสอบ
  • ใช้คำถามแบบ Task-based เช่น “ลองค้นหาวิธีเปลี่ยนรหัสผ่าน” โดยไม่บอกว่าฟีเจอร์อยู่ตรงไหน
  • ถ้าจำเป็นต้องให้คำแนะนำ ให้ใช้คำอธิบายที่เป็นกลาง เช่น “ลองใช้แอปนี้เหมือนที่คุณใช้งานแอปอื่น ๆ ดูนะ”

4. ไม่ได้บันทึกพฤติกรรมการใช้งานจริง

ปัญหา: หากพึ่งพาแค่ความจำของนักวิจัย อาจทำให้พลาดรายละเอียดสำคัญ เช่น

  • ผู้ใช้มีสีหน้าหรือท่าทางสับสนในบางจุด แต่ไม่ได้จดบันทึก
  • ลืมว่าผู้ใช้ทำผิดพลาดตรงไหนระหว่าง Task
  • ไม่มีหลักฐานประกอบการวิเคราะห์

✅ วิธีหลีกเลี่ยง:

  • ใช้ Screen Recording บันทึกทั้งการใช้งานและพฤติกรรมผู้ใช้ (เช่น Lookback, Zoom, Camtasia)
  • จด Observation Notes ขณะผู้ใช้ทำ Task เช่น
    • มีจุดไหนที่ผู้ใช้ใช้เวลานานกว่าปกติ?
    • มีจุดไหนที่ผู้ใช้กลับไปกลับมาหลายครั้ง?
    • ผู้ใช้พูดอะไรออกมาเองบ้างระหว่างทดสอบ?
  • หากเป็นการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ใช้ กล้องจับสีหน้าผู้ใช้ เพื่อดูปฏิกิริยาเพิ่มเติม

💡 เพียงแค่หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเหล่านี้ ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดสอบก็จะมีความแม่นยำขึ้นแล้ว! 🚀

และยังไม่พอ วันนี้เรายังเอาอีก 4 เทคนิคมาฝาก เพื่อให้การทำ Usability Testing มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปอีกขั้น 🎯✨

แจกเทคนิคการทำ Usability Testing จากตัวจริงในวงการ เรียนรู้การทดสอบการใช้งาน Web/App อย่างถูกวิธี


✔️ เทคนิคในการทำ Usability Testing ให้ได้ผล

เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับผลิตภัณฑ์ได้อย่างราบรื่น ไม่ใช่แค่ให้ผู้ใช้ลองกดแล้วบันทึกข้อสังเกต แต่ต้องมีกระบวนการที่ชัดเจนเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปรับปรุงได้จริง

1. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน (Define Clear Objectives)

การทดสอบที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจน อาจทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง ก่อนเริ่ม Usability Testing ควรถามตัวเองว่า

  • เรากำลังพยายามหาคำตอบเกี่ยวกับอะไร?
  • จุดไหนของ UX/UI ที่อาจเป็นปัญหาหลัก (Pain Point)?
  • ต้องการทดสอบฟีเจอร์ใดเป็นพิเศษ?

ตัวอย่างเป้าหมายที่ดี

  • ตรวจสอบว่าผู้ใช้สามารถสมัครสมาชิกได้ง่ายหรือไม่
  • ดูว่าผู้ใช้หาเมนูสำคัญบนเว็บเจอหรือเปล่า
  • วิเคราะห์ว่าขั้นตอนการชำระเงินซับซ้อนเกินไปหรือไม่

การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้การทดสอบมีทิศทางและได้ข้อมูลที่นำไปปรับปรุง UX/UI ได้จริง

2. ทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่หลากหลาย (Test with a Diverse Audience)

หากทดสอบเฉพาะกับทีมงานหรือลูกค้าปัจจุบัน ข้อมูลที่ได้อาจไม่สะท้อนพฤติกรรมของผู้ใช้จริง ดังนั้นเราจึงควรเลือกกลุ่มผู้ใช้ที่หลากหลายตั้งแต่ผู้ใช้ใหม่ด้วย เช่น

  • New Users
    → ดูว่าผู้ใช้ใหม่สามารถใช้งานได้ง่ายหรือไม่
  • Existing Users
    → ตรวจสอบว่าการเปลี่ยนแปลง UX มีผลกระทบอย่างไร
  • Target Audience
    → ทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายจริง เช่น หากเป็น e-commerce ควรเลือกคนที่ชอปออนไลน์บ่อย
  • Tech-Challenged Users
    → ทดสอบกับผู้ใช้ที่ไม่เชี่ยวชาญเทคโนโลยี เพื่อให้แน่ใจว่า UI ไม่ซับซ้อนเกินไป

3. “สังเกต” พฤติกรรม มากกว่า “ฟัง” คำตอบ (Observe, Don’t Just Ask)

บางครั้งผู้ใช้บอกว่า “เข้าใจ” แต่พฤติกรรมที่แสดงออกกลับตรงกันข้าม การสังเกตพฤติกรรมจึงสำคัญกว่าการฟังคำตอบ

สิ่งที่ควรสังเกต:

  • จุดที่ผู้ใช้ใช้เวลานานผิดปกติ
  • พฤติกรรมลังเล หรือพยายามกด Undo
  • การเคลื่อนไหวของ Mouse Cursor หรือการ Tap บน Mobile Screen
  • ท่าทาง เช่น ขมวดคิ้ว ถอนหายใจ หรือแสดงความสับสน

หากผู้ใช้บอกว่า “โอเค ใช้งานได้” แต่ยังคงหาปุ่มอยู่นาน → อาจแปลว่า UI ยังไม่ชัดเจนพอ

4. ไม่ต้องรอให้ Product เสร็จ 100% ก็เริ่ม Test ได้ (Test Early, Test Often)

การรอให้ Product เสร็จสมบูรณ์ก่อนทำการทดสอบ อาจทำให้แก้ไขปัญหา UX/UI ได้ยากและใช้ต้นทุนสูง ควรเริ่ม Usability Testing ตั้งแต่ต้น เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง

ตัวอย่างจุดที่สามารถเริ่มทดสอบได้

  • Sketch/Wireframe → ทดสอบ Layout และ Navigation
  • Clickable Prototype → ทดสอบ User Flow
  • Beta Version → ทดสอบ Performance และ Interaction จริง

การทดสอบตั้งแต่ระยะต้นช่วยให้แก้ UX/UI ได้ง่ายขึ้น แถมไม่ต้องมานั่งรื้อทำใหม่หลังจากเปิดตัว Product ไปแล้วอีกด้วย


💡 Skooldio Tips!

และถ้าอยากเรียนรู้เทคนิคเจาะลึกมากขึ้นกว่านี้ คอร์ส Usability Testing คือคำตอบ!

Usability Testing คอร์สที่จะช่วยให้คุณเห็นปัญหาจริงก่อนสาย ปรับ UX/UI ให้เวิร์กขึ้นตั้งแต่รุ่น Prototype !

คอร์สที่จะพาคุณไปรู้จักทุกแง่มุมของการทำ Usability Testing ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงเทคนิคขั้นสูง พร้อมตัวอย่างการใช้งานจริงอย่างมืออาชีพ สอนโดยผู้เชี่ยวชาญตัวจริงในวงการ คุณฐาปนี ศรีสวัสดิ์ Lead Designer, Ahancer, อดีต UX Researcher, Traveloka

เหมาะสำหรับ

ผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในการพัฒนา Product เพิ่ม Conversion และออกแบบ UX ที่ดีขึ้น

  • UX/UI Designer & Researcher
  • Product Manager
  • Developer

แล้วคุณจะได้เรียนรู้ครบทุกเทคนิค แบบที่คัดมาแล้วว่าใช้ได้จริง!
เรียนจบสามารถนำไปทดลองทำเองได้เลย 😊


และสำหรับใครที่อยากได้รับมุมมองหรืออยากเพิ่มทักษะด้าน UX / UI ให้ครอบคลุมไปในทุกด้าน มาเริ่มต้นไปกับหลักสูตร UX/UI Bootcamp กว่า 7 สัปดาห์พาคุณเก็บครบพื้นฐานทั้ง Process ลงมือทำโปรเจกต์ รับ Coaching จากผู้เชี่ยวชาญ และนำเสนอผลงานในวัน Demo Day พร้อมกับเข้าร่วม Portfolio Mentoring Session

สุดท้ายนี้ ใครสนใจอยากได้รับบทความดี ๆ แบบนี้ส่งตรงถึงอีเมลคุณ ลงทะเบียนรับ Skooldio Newsletter ไว้ได้เลยวันนี้! เราจะส่งทุกสาระที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือที่กำลังฮิต หรือ เทรนด์ที่กำลังเป็นที่นิยม รวมไปถึง คอร์สใหม่ ๆ ที่จะช่วยอัปสกิลในด้านต่าง ๆ ทั้ง Soft Skills และ Hard Skills ตลอดจนโปรโมชั่นต่าง ๆ ที่ไม่ควรพลาด คัดสรรมาเป็นอย่างดี โดยทีมงาน Skooldio!

 

More in:Design

Comments are closed.