Digital Transformation ในองค์กร อาจไม่รอด ถ้าผู้บริหารไม่เข้าใจ 4 สิ่งนี้!
หลาย ๆ คนคงเคยเห็นคำว่า Digital Transformation ผ่านตามาเนิ่นนานหลายปี แต่รู้ไหมในปัจจุบันมีบริษัทแค่ส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถนำดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้กับทุกภาคส่วนขององค์กรได้สำเร็จ
จากผลการศึกษาของ BCG พบว่าในธุรกิจที่พยายามปรับสู่ดิจิทัลนั้นมีอัตราความสำเร็จเพียง 30% โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไม่สำเร็จอย่างหนึ่งนั้นเกิดขึ้นจากกลุ่มผู้บริหาร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
เพราะส่วนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่ใช่แค่การแต่งตั้งหรือจ้างกลุ่มคนที่มีความรู้ในด้านดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาในองค์กรเท่านั้น แต่ผู้บริหารเองก็มีบทบาทต่อทั้งกระบวนการมากกว่าที่คิด ด้วย 4 เหตุผลดังต่อไปนี้
Table of Contents
ผู้บริหารคือหัวเรือในการเปลี่ยนแปลง
ผลสำรวจจาก Digital Transformation Academy พบว่า 68% ของผู้บริหารเชื่อมั่นว่าจะดำเนินการทำ Digital Transformation ได้ตามแผนที่เตรียมไว้ ในขณะที่ผู้ปฏิบัติการระดับอื่นๆ ไม่ได้รู้สึกแบบเดียวกัน ซึ่งมีส่วนมาจากวิสัยทัศน์ที่ไม่ชัดเจน วิธีการที่เลียนแบบคู่แข่ง ขาดแผนงานและแหล่งข้อมูลที่จำเป็น รวมถึงคิดว่ามีการโฆษณาขายฝันมากเกินไป
ซึ่งตามที่กล่าวไปว่า Digital Transformation นั้นจะเกิดขึ้นกับทุกกระบวนการในการทำงาน ตั้งแต่การวางกลยุทธ์ การปฏิบัติการ รวมทั้งบทบาทหน้าที่ต่างๆ ไม่ใช่การปรับเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งหรือเป็นความรับผิดชอบของคนกลุ่มเดียว แต่คือทุกคนในองค์กร ผู้บริหารจึงจำเป็นรู้ในสิ่งที่จะทำเป็นอย่างดีและต้องสื่อสารเป้าหมาย แผนการและทิศทางของธุรกิจในการทำ Digital Transformation ไปยังทุกฝ่ายให้มองเห็นถึงภาพใหญ่ภาพเดียวกัน
Digital Transformation ไม่ใช่แค่เรื่องของการใช้เครื่องมือ แต่คือการปรับ Mindset ของคนในองค์กร
ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสั่งการต้องเป็นผู้ริเริ่มยกเลิกขนบธรรมเนียมการทำงานในแบบเดิมๆ เป็นต้นแบบของการเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีคิดและวิธีการทำงาน พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกระบวนการให้กับเหล่าพนักงานว่าจะสามารถมุ่งสู่เป้าหมายได้แม้ตอนนี้จะยังดูห่างไกล
ข้อมูลที่น่าสนใจจาก Deloitte เกี่ยวกับ Challenge ในการทำ Digital Transformation คือประเด็นหลักๆ ไม่ใช่ปัญหาเรื่องของตัวเทคโนโลยีเอง แต่เป็นการขาดทักษะความรู้ Digital Culture ที่ยังไม่สมบูรณ์ และรูปแบบการทำงานแบบ Silo หรือการทำงานแบบแยกส่วน คนในทีมมุ่งทำแต่งานของตัวเอง ไม่สนใจงานอื่นๆ ซึ่งก็เป็นหนึ่งในงานของผู้บริหารที่จะหาแนวทางสนับสนุนและปรับ Mindset ของคนในองค์กรให้กลายเป็น Digital Mindset จนสื่อออกมาใน Company DNA ให้ได้ในที่สุด
การเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยการมองภาพรวม พัฒนาไปควบคู่กันหลายด้าน
การผสมผสานระหว่าง Digital Customer, Digital Core และ Digital Work นั้นจำเป็นต่อการทำ Digital Transformation เพื่อสร้างความพร้อมในอนาคต นำไปสู่การเติบโตขององค์กร การเพิ่มผลกำไร อีกทั้งช่วยเสริมสร้างความคล่องตัวและความสามารถในการปรับตัว ผู้บริหารจึงควรรู้ว่าในแต่ละระยะของการพัฒนานั้นควรจัดการส่วนไหนอย่างไรบ้าง
ในที่นี้ Digital Customer คือการพลิกโฉมคุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้าด้วยข้อเสนอและบริการทางดิจิทัลใหม่ๆ Digital Core สร้างวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ คาดหวังผลลัพธ์ได้ และช่วยลดต้นทุน ด้วยการปรับกระบวนการทำงานให้เป็นดิจิทัล มีความอัตโนมัติ ค่อยๆ คุมขั้นตอนและใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้ตัดสินใจได้ดีและรวดเร็วมากขึ้น รวมไปถึงการทลายการทำงานแบบแยกส่วน ไปสู่การทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น และเป็นระบบที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต (Cloud-based infrastructure) ส่วน Digital Work คือตัวอย่างของความสำเร็จด้านดิจิทัล ที่มาจากบุคลากรและรูปแบบการทำงานที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างมาก
การวางแผนพัฒนาตามความพร้อมขององค์กรนั้นสำคัญ
ก่อนเริ่มวางแผนใดๆ สิ่งที่ควรพิจารณาคือเกณฑ์ที่ใช้วัดและประเมินองค์กร (Digital Maturity) ที่จะทำให้ทราบถึงภาพรวมว่าองค์กรมีความพร้อมแค่ไหนในการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล เพื่อที่จะได้เริ่มต้นทำ Digital Transformation ได้อย่างเหมาะสม ว่าควรเน้นการพัฒนาที่จุดใด และควรทำ Roadmap อย่างไรให้เวิร์ก
โดยในส่วนของระดับวุฒิภาวะทางดิจิทัล (Digital Maturity Level) จะมีอยู่ 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่ Outsiders, Dreamers, Adopters, Harmonizers และ Differentiators และจากรายงานของ Digital Transformation Academy 57% มองว่าบริษัทของตนนั้นอยู่ในระดับกลางคือ Adopters หรือองค์กรหัวก้าวหน้า และค่าเฉลี่ยระดับอยู่ที่ 2.27 คือช่วงเริ่มต้นของ Harmonizers หรือองค์กรรวมพลัง
จึงจะเห็นได้ว่ามีบริษัทจำนวนไม่น้อยอยู่ในขั้นที่พร้อมในการทำ Digital Transformation แล้ว ผู้บริหารจึงควรรีบประเมินและวางแผนเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ ลองคิดตามว่าจะดีแค่ไหนหากได้เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีวุฒิภาวะทางดิจิทัลสูงสุด เป็นองค์กรผู้นำแห่งความเปลี่ยนแปลง มีการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วย Insight เน้นผลลัพธ์มากกว่าขั้นตอน โดยใช้ความสามารถของบุคลากรได้อย่างเต็มที่ และได้ผสมผสานดิจิทัลกับความสามารถขององค์กรได้อย่างสมบูรณ์
ทั้งนี้สิ่งที่ควรประเมินควบคู่กันไปด้วยก็คือวุฒิภาวะทางดิจิทัลในมิติต่างๆ (Digital Maturity Dimension) โดยจะขอยกมุมมองที่น่าสนใจจากรายงานของ Digital Transformation Academy มา 4 มิติด้วยกันคือ
- Strategy Dimension การวางกลยุทธ์การทำ Digital Transformation ในโปรเจคท์ที่ยิบย่อย กระจายไปยังแผนกต่างๆ จนเกิดการแข่งขันภายใน ทำให้หลุดโฟกัสจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้
- People Dimension บุคลากรในองค์กรคือปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จของ Digital Transformation แต่ Dimension นี้กลับได้คะแนนต่ำที่สุด เนื่องจากปัญหาการขาดงบประมาณ ไม่ได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอ ไม่มีเวลาเพราะมีงานอื่นๆ ที่ต้องทำ ไหนจะประชุมอีกมากมาย การเรียนรู้และเทรนนิ่งจึงไม่ได้เกิดขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น
- Organization Dimension เน้นย้ำอีกครั้งว่าหากวิสัยทัศน์และ Roadmap ไม่ชัดเจน ผู้บริหารไม่รู้ว่าควรดำเนินไปในทิศทางไหน หรือต้องซัพพอร์ทอย่างไร ถือเป็นอุปสรรคชิ้นใหญ่ที่จะทำให้ไปไม่ถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีได้
- Culture Dimension หากคนในองค์กรมองไม่เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง หรือติดกับดักของความสำเร็จที่ผ่านมา ก็จะมีผลเสียต่อความพร้อมในการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ดิจิทัลอย่างแน่นอน จึงต้องมุ่งทลายแนวคิดเดิมและส่งเสริมให้มีความร่วมมือกันให้มากที่สุด
ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงไม่แปลกเลยที่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจเทคโนโลยียุคดิจิทัล ซึ่งหากใครที่ไม่สันทัดก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะผู้บริหารบริษัทระดับโลกที่ประสบความสำเร็จด้านดิจิทัลอย่าง Airbnb, Pandora, Tinder, Pinterest นั้นเดิมก็ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี แต่อาศัยเรียนรู้ไประหว่างการทำงาน
โดยสรุป เบื้องหลังวิธีการทำ Digital Transformation ได้อย่างถูกต้องและเห็นผลจริง นอกจากจะประกอบไปด้วยการประเมินสถานะองค์กร การคิดกลยุทธ์วางแผนอย่างเป็นระบบ การให้ความสำคัญกับการสื่อสารภายในองค์กร และที่ขาดไม่ได้เลยคือทักษะความรู้ของผู้บริการ ที่ต้องรู้ลึก รู้จริง จึงจะสามารถตอบรับกระบวนการต่างๆ ในการทำ Digital Transformation ให้ประสบความสำเร็จได้
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากผลักดันทีมและองค์กรสู่ธุรกิจยุคดิจิทัลด้วยการทำ Digital Transformation ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารองค์กรเอง เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือเป็นผู้ที่สนใจพัฒนาทักษะผู้นำ
ถึงเวลาแล้วที่จะเข้าร่วม Digital Leadership Bootcamp โปรแกรมเข้มข้น 7 สัปดาห์ สำหรับผู้บริหารยุคดิจิทัลกับเนื้อหาที่ออกแบบมาเพื่อสามารถต่อยอดใช้ได้จริงในองค์กร กับเหล่าผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีประสบการณ์จากการทำงานในธุรกิจชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศ อัดแน่นไปด้วยกิจกรรม Design Sprint Trip, Intensive Workshop และ Simulation จาก Harvard Business School ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี จัดมาแล้วถึง 4 รุ่น!
หากเข้าร่วม Digital Leadership Bootcamp คุณจะสามารถ..
- ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เพื่อวางกลยุทธ์ในการทำ Digital Transformation หรือสร้าง Digital Products ให้ตอบโจทย์ลูกค้าขององค์กรได้อย่างแท้จริง
- บริหารและเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ที่ช่วยผลักดันให้ทีมมีความพร้อมต่อการแข่งขันในยุคดิจิทัล และพร้อมขับเคลื่อนองค์กร ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
- สร้าง Quality Network กับกลุ่มผู้นำดิจิทัล และผู้เชี่ยวชาญ เพิ่มโอกาสในการขยาย และต่อยอดธุรกิจในอนาคต