Digital Transformation เป็นหนึ่งในคำที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในแวดวงธุรกิจมาโดยตลอด องค์กรใหญ่ๆ แทบทุกแห่งมีบริษัทที่ปรึกษาวิ่งเข้าวิ่งออก บางที่ดึงเอาคนเก่งๆ ของทั้งบริษัทมารวมตัวกันสร้างทีมเฉพาะกิจ บางที่ถึงกับมีการแต่งตั้ง Chief Transformation Officer ขึ้นมาดูเรื่องนี้เป็นการพิเศษ และเมื่อมีวิกฤติโควิดเข้ามา ทุกธุรกิจก็ต่างพากันเร่งเปลี่ยนแปลงด้วยความหวังว่านี่คือสิ่งที่จะพาให้องค์กรรอดพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้

Q: Who led the digital transformation of your company?
A: Covid-19

Digital Transformation คืออะไร

Digital Transformation เป็นคำกว้างๆ ที่ใช้พูดถึงการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการหลังบ้าน การปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าหน้าบ้าน หรือรูปแบบธุรกิจเลย โดยในการทำนั้นจะ ประกอบไปด้วย 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ Digitization และ Digitalization

Digitization

คือ การเปลี่ยนกระบวนการทำงานแบบ Analog หรืองานที่ทำมือในกระดาษให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น การติดเซนเซอร์ดิจิทัลหรืออุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ที่เครื่องจักร หรือการใช้ระบบ Point of Sale (POS) ในร้านแทนการใช้คนจดบันทึกข้อมูลลงกระดาษ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากการลดต้นทุนคนและการลดความผิดพลาดของมนุษย์ และที่สำคัญที่สุด ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บมาอย่างเป็นระบบถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการนำต่อไปต่อยอดวิเคราะห์หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ

Digitalization

คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาต่อยอดธุรกิจ สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ แหล่งรายได้ใหม่ และให้คุณค่าใหม่ๆ กับลูกค้า ทั้งในมุมฟังก์ชันและประสบการณ์การใช้งาน เพื่อก้าวสู่การเป็น “ธุรกิจดิจิทัล” อย่าง Amazon, Netflix, Uber, หรือ LINE MAN Wongnai

ตัวอย่างหนึ่งที่ผมชอบยกเอามาเล่าเป็นกรณีศึกษาคือ บริษัทมิชลิน ซึ่งธุรกิจดั้งเดิมที่สร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับบริษัทมายาวนานก็คือการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ มิชลินได้เริ่ม Digitize ผลิตภัณฑ์ด้วยการนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ลมยาง หรือ อุณหภูมิของล้อ หลังจากนั้นมิชลินจึง Digitalize ธุรกิจ โดยเปลี่ยนจากการ “ขาย” เป็นการให้ “บริการ” ยางแบบครบวงจร โดยคิดค่าบริการตามระยะทางจริง (Tires-as-a-service) และผันตัวเองมาเป็นผู้ให้บริการด้านข้อมูลเพื่อช่วยประหยัดน้ำมันและบริหารจัดการรถขนส่งในหน่วยงานโลจิสติกส์

digital transformation

เริ่มทำอย่างไร?

แน่นอนว่าเป้าหมายสูงสุดที่ทุกคนอยากไปให้ถึงคือการทำ Digitalization เพื่อพลิกโฉมธุรกิจให้พร้อมแข่งขันในยุคดิจิทัล แต่ปัญหาคือ มันไม่ง่าย แต่ในขณะเดียวกัน Digitization สามารถเริ่มต้นได้ไม่ยาก และเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนควรจะต้องเริ่มทำได้แล้ว

ในส่วน Operations หลังบ้าน ถ้าใครยังไม่มีทีมพัฒนาของตัวเอง ก็สามารถเริ่มต้น Digitize กระบวนการต่างๆ ได้ด้วยการใช้งานซอฟท์แวร์สำเร็จรูป, ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning), หรือระบบ POS (Point of Sale) ถ้าอยากจะล้ำไปอีกขั้นอาจจะเริ่มมีการนำ IoT มาใช้ในการช่วยเก็บข้อมูล และนำ RPA (Robotic Process Automation) เข้ามาทุ่นแรงในการทำงานที่ซ้ำๆ ไปได้อีกระดับหนึ่ง

ในส่วนหน้าบ้านที่ต้องติดต่อกับลูกค้า สามารถเริ่มต้นจากการ Digitize ช่องทางการขายไปอยู่บนโลกออนไลน์ เพราะตอนนี้ลูกค้าหนีไปอยู่บนนั้นกันหมดแล้ว อาจจะเริ่มจากการไปขายบนแพลตฟอร์มของคนอื่นก่อน แล้วค่อยๆ ขยับมามีเว็บไซต์หน้าร้านของตัวเอง นอกจากนี้สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือการทำ Digital Marketing ธุรกิจต้องเข้าใจ Customer Journey และเลือกใช้ช่องทางการตลาดให้ถูกต้องเหมาะสม รวมไปถึงการนำระบบ CRM (Customer Relationship Management) เข้ามาใช้บริหารจัดการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

หลังจากที่ทุกอย่างถูก Digitized แล้ว องค์กรส่วนใหญ่จะเริ่มมีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีมากขึ้น สามารถมองหาโอกาสใหม่ๆ ในการนำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญ ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บมาอย่างมีระบบก็มีโอกาสที่จะนำมาวิเคราะห์ต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ และสามารถ Digitalize ธุรกิจได้ในที่สุด

อะไรที่ไม่ถูก Digitized ก็จะไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ ต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจได้เลย

ทำไมทำไม่สำเร็จสักที?

หลายองค์กรเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงมาได้หลายปีแล้ว แต่ก็ยังทำได้ไม่ถึงไหน หลายองค์กรใช้ทรัพยากรไปเยอะมากกับการพยายาม copy-and-paste รูปแบบธุรกิจจากเมืองนอกมาโดยไม่เข้าใจบริบทการใช้งานในประเทศเรา หรือทุ่มเงินไปกับการซื้อ users แบบไม่ลืมหูลืมตา

ดังนั้นการจะเปลี่ยนแปลงให้ประสบความสำเร็จ บุคลากรในองค์กรจะต้องมีทั้งความรู้ในเรื่องเทคโนโลยี ความสามารถในการเข้าใจลูกค้า และความเข้าใจในรูปแบบธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆ เป็นอย่างดี ดังนั้นอุปสรรคหลักที่ทำให้การทำ Digital Transformation ในองค์กรไม่ประสบความสำเร็จก็คือ “คน” นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่ายและการกระบวนการทำงานที่มีความ “คล่องตัว” มากยิ่งขึ้น

และที่สำคัญที่สุดการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของ “ทุกคน” ในองค์กร อย่าปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ Chief Transformation Officer แต่เพียงผู้เดียว

หลักสูตร Digital Transformation สำหรับผู้บริหารยุคใหม่

แต่ถ้าคุณอยากเป็นผู้นำที่พาองค์กรก้าวข้ามผ่านการ Transform และพร้อมที่จะสร้าง Digital Product ของคุณเอง พบกับ Digital Leadership Bootcamp หลักสูตรเพื่อผู้นำในยุคดิจิทัล ที่คุณจะได้เรียนรู้จัดเต็มถึง 7 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มทักษะการทำงานยุคใหม่ ที่ให้คุณมากกว่าแนวคิดไปปรับใช้ในองค์กร แต่ให้คุณได้ลงมือทำจริง และเข้าใจกระบวนการทำอย่างแท้จริง กับผู้เชี่ยวชาญ และผู้นำองค์กรระดับประเทศ

🗓️ เรียนทุกวันศุกร์ ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย. – 16 ส.ค. 2567
⏰ เวลา 9:30 – 17:30 น.
📍 เรียนแบบ Onsite โรงแรมในกรุงเทพฯ

DLB-5

ก้าวสู่การเป็นผู้นำยุคใหม่ ที่พร้อมนำองค์กรให้ก้าวข้ามทุกอุปสรรคด้วยตัวคุณเองได้แล้ววันนี้ (อ่านรายละเอียดหลักสูตรและสมัครได้ที่นี่)

Reference

Information Technology Glossary – Gartner Glossary

Where The Rubber Meets The Road – Jennifer L. Schenker

More in:Business

Comments are closed.