บล็อกเล่าประสบการณ์การส่งผลงานเข้าประกวดที่เว็บ awwwards จนวันนึงได้มาเป็นคณะกรรมการรุ่นเยาว์ (The Young Jury) ได้เห็นความน่าสนใจ, การเปลี่ยนแปลงของงาน UX/UI Design และอุตสาหกรรมนี้ยังไงบ้าง… จะมาเล่าให้ฟังกันครับ
Table of Contents
จุดเริ่มต้น…
ตัวผมเองจบ Sciences Program สาขา Information Technology for Design จากมหาวิทยาลัยศิลปากรมาครับ หรือบางท่านอาจจะคุ้นชื่อกับไอซีที ศิลปากร ด้วยความที่ชอบดูงานพวก Interactive Design, UX/UI Design ของชาวบ้านมาตั้งแต่สมัยเรียนและเวลาได้โจทย์จากอาจารย์มาหนึ่งในเว็บที่ผมชอบเข้าไปหาแรงบันดาลใจบ่อยๆ ถ้าไม่ dribbble ก็จะเป็น awwwards นี่แหละครับ
สำหรับผม awwwards เป็นเว็บไซต์ที่ Breakthrough มาก (ดูงานเค้าแล้วทำตาปริบๆ 555 🤔) เพราะว่าผลงานจากที่นี่มาจาก Talented Designer, Creative Developer, Digital Agency และ Design Studio ทั่วโลก หลายๆ ผลงานจากที่นี่ค่อนข้างขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของงาน Website, UX/UI ค่อนข้างมาก ผมมักจะได้เห็นเทคนิคแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ถูกเอาไปใช้จริงในงาน Commercial Media จากเว็บนี้
ด้วยความที่ก็ดูงานคนอื่นมาพอสมควร จนวันนี้ที่ทำงานแล้ว (ก็ยังดูอยู่นะ 🧐) เลยอยากลองทำอะไรที่ท้าทายดูบ้าง อยากรู้ว่าฝีมือตัวเองอยู่ตรงจุดไหน (อยากโดนเชือดด้วยแหละ ฮ่า 👉👈) ในช่วงปลายปีที่แล้วเลยลองรวบรวมผลงานที่มีตั้งแต่สมัยเรียน งานลูกค้าบางส่วน ประกอบขึ้นเป็น Website Portfolio ส่งเข้าประกวดและได้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ ติดมือมาครับ
Process ในการส่งผลงานเป็นยังไง
เค้าจะให้เราเลือกว่าต้องการ Submit แบบไหน จะเป็นแบบ Standard จ่ายทีเดียวต่อหนึ่งงาน (ไม่ฟรีนาจา 😤) หรือเป็นแบบ Profressional จ่ายรายปี ที่ให้ความพิเศษกว่าหน่อยตรงที่จะได้ Featured เว็บตัวเองไปโผล่ใน Directory ของประเทศนั้นๆ ซึ่งแนะนำว่าหากมีทุนทรัพย์พอหรือถ้าคุณเป็น Agency ที่ต้องการส่งผลงานเข้าประกวดบ่อยๆ สมัครเป็น Profressional จะคุ้มกว่าครับ
แต่สิ่งที่ไม่ต่างกันจากทั้งสองแบบเลยคือ ในทุกรอบระยะเวลาการโหวตประมาณ 1 สัปดาห์ ผลงานจะถูกโหวตจาก Tribe หรือกลุ่มผู้เล่นทั่วไปในเว็บไซต์ของ awwwards และกลุ่มคณะกรรมการที่มีตั้งแต่ Pro, Chief และ Jury Level เพื่อลุ้นว่าเว็บมีสิทธิ์จะได้เป็น Honorable Mention หรือ Site of The Day มั๊ย? ซึ่งถ้าผ่านก็ต้องมาลุ้นกันต่อยาวๆ ในแต่ละเดือนและช่วงท้ายของปีกับรางวัล Site of The Month และ Site of The Year กันอีก
Design Criteria เป็นแบบไหน
หลักๆ มี 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ด้าน Design 40%, Usability 30%, Creativity 20% และ Content 10% ครับ ผลงานจะถูกส่งไปยังกรรมการอย่างน้อย 16 คน โดยจะตัดคะแนนที่น้อยที่สุดและสูงที่สุดออก (ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม 🤔) และต้องได้คะแนนเฉลี่ยอย่างน้อย 6.5 คะแนนจึงจะมีเกณฑ์ได้ Honorable Mention และอยู่ที่กรรมการว่าเค้าจะ Pick เราให้เป็น Site of The Day มั้ย ซึ่งถ้ากรรมการอย่างน้อย 10 คนเลือก เราก็จะอยู่ใน Site of The Day’s List ที่จะได้ Featured บนหน้าแรก ของ awwwards ในแต่ละวันครับ (ผมได้ Honorable Mention มาครับ กรรมการโหดมาก แง 😭)
นอกจากนี้เค้าจะดูองค์ประกอบด้านอื่นๆ เพื่อดูว่าเว็บเราเข้าข่ายที่จะได้รับ Mobile Exellent Award, Developer Award ด้วยมั้ย ซึ่งก็จะมีเกณฑ์เรื่อง Performance, Friedliness และความเป็น Best Practice เข้ามาด้วย
แล้วเข้าไปเป็นคณะกรรมการได้ยังไง?
คณะกรรมการตัดสินผลงาน หรือ Jury Member จะมีด้วยกันสองรุ่น รุ่นที่ผมเป็นอยู่นี้คือ The Young Jury คือ กลุ่มของคณะกรรมการที่อายุไม่เกิน 25 ปี ซึ่งในทุกๆ ปี เค้าจะเปิดรับสมัครโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อย่างช่วงสิ้นปีที่แล้วเปิดรับสมัครผ่านลิ้งค์ Join the Jury 2019 — Leading Digital Creatives Needed ซึ่งในแต่ละรุ่นก็จะมีเกณฑ์การคัดเลือกและพิจารณาคุณสมบัติที่ต่างกันออกไป
อย่างเช่น Main Jury ก็จะต้องมีผลงานที่ส่งเข้าประกวดเป็น Site of The Day อย่างน้อยหนึ่งผลงานหรือถ้าคุณมีผลงานเจ๋งๆ มาลงตลอดและได้เป็น 5 Top ยูเซอร์ของเว็บ เค้าก็จะเชิญคุณมาเป็นกรรมการเองเลย (โหดจิง 😱) ส่วน The Young Jury จะเช็คแค่ว่าต้องอายุไม่เกิน (โชคดีรอบที่ผมสมัครอายุตรงเกณฑ์พอดี 555) และดู Portfolio ประกอบ เค้าจะเช็คว่าเรามีตัวตนจริงๆ ไหม โปรไฟล์ Linkedin ต้องพร้อมด้วยนะครับ
ภารกิจหลักของกรรมการคือ ต้องตัดสินผลงานในทุกๆ วัน และร่วมโหวตคัดเลือกผลงานในแต่ละเดือน (ต้องแอคทีฟประมาณหนึ่ง เพราะกรรมการเองก็ต้อง Re-apply ใหม่ทุกสิ้นปี)
ตั้งแต่ส่งงานประกวดจนได้เป็นกรรมการ ได้อะไรกลับมาบ้าง?
1. ข้อดีหลักๆ คือ คนเห็นผลงานเรามากขึ้น ได้ Traffic คนเข้าเว็บเพิ่ม มีคนเขียนบล็อกถึง เปิดโอกาสให้ลูกค้าต่างชาติแวะเวียนเข้ามาติดต่อจ้างงาน แต่ที่พีคก็มีไม่น้อย เช่น เว็บถูกก๊อปไปทั้งโค้ด 😱 (เดี๋ยวไว้วันหลังจะเล่าให้ฟังฮะ 555)
2. ได้พบว่าความมหัศจรรย์มีอยู่จริง ข้อจำกัดคือความไม่จำกัด (เหมือนจะเวอร์นะครับ 555) แต่ผมพบว่า Designer ในนี้เขียนโค้ดได้ และจุดเด่นของ Developer หลายคนคือความครีเอทีฟ เพราะฉะนั้นจึงได้เห็นความหลากหลายของผลงานและได้เข้าใจว่าอะไรก็เป็นไปได้จริงๆ แหละ
3. รู้สึกเหมือนไม่ได้กำลังดูเว็บ แต่กำลังดูวิธีการสื่อสาร วิธีการเล่าเรื่อง เทคนิคการสร้าง Media ยังไงให้มีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งผมรู้สึกว่าเค้าดูใส่ใจในเรื่องที่ดูแม้จะไม่จำเป็นแต่จำเป็น (ปล่อยของกันจริงๆ กัวแร้ว 😩) ถ้าไม่นับรวม Content นะ จะพบว่าตั้งแต่การออกแบบ Navigation, รูปแบบของเมนู, รูปแบบการ Transition เวลาเปลี่ยนหน้า, วิธีการนำเสนอรูปภาพ, Typographic Animation หรือแม้กระทั่ง Hover Style และ Cursor ของเม้าส์ยังมีการนำเอาเทคนิคใหม่ๆ มาใช้อย่างเช่น WebGL, CSS& JS Animations ที่ทำให้เว็บมีความน่าสนใจขึ้นมากๆ
4. ถูกกระตุ้นให้ตัวเองต้องพัฒนามากขึ้น เพราะรายล้อมไปด้วยคนเก่งๆ ทั้ง influencers และ trend setters ที่แต่ละคนมักจะบอกว่า นี่ๆ The near future จะเป็นไปในทางนี้ (เม้าท์ละ 55 🤭) และทุกปีเค้าจะมีการทำ Trends survey ครับ ซึ่งของปีนี้เค้ามีสรุปไว้ละ ตามอ่านได้ที่บทความด้านบนได้เลยครับ
5. ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับ The Young Jury Member ด้วยกันเอง โชคดีที่ Slack ไม่ค่อยเงียบ มีท็อปปิกอะไรก็จะเอามาแชร์กันในนี้ หัวข้อก็จะมีตั้งแต่เอาเทคนิคมาแชร์กัน แจ้งข่าวกันว่าสอบติดแล้วไปจนถึงเอาคอร์สเรียนมาขายต่อ 555
6. พบว่าการเป็นคนที่ต้องตัดสินผลงานคนอื่นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่ใช่แค่ต้องให้คะแนนตาม Design Criteria จะตัดสินเว็บจาก Visual หรือ Usability อย่างเดียวไม่ได้ เพราะบางทีเค้าก็ซ่อนเทคนิคที่ผมเองก็นึกไม่ถึงไว้ บางเว็บก็ต้องลองเล่นให้จบตาม Flow ที่เค้าวางไว้ บางเว็บก็ต้องดู Story, ดูที่มาและการนำไปใช้ด้วยครับ
สุดท้ายนี้ ผมอยากจะชวนทุกคนมาปล่อยของกันเยอะๆ ครับ เพราะผลงานใน awwwards ของบ้านเรามีน้อย เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทุกครั้งที่เข้าไปดูเว็บเค้าทีไร ความรู้สึกจะไม่เคยเปลี่ยน คือผมยังเป็นนักออกแบบตัวน้อยมาจากแบ๊งค๊อกก! (บางกอก) ที่ยังต้องพัฒนาอีกเย๊อะ ซึ่งในครั้งหน้า หากผมมีโอกาสได้ไป Awwwards Conferences (ถ้าได้ตั๋วนะ 55 👀) จะเก็บเรื่องราวที่น่าสนใจของงานระดับโลกมาฝากกันครับ ฝากติดตามกันด้วยนะครับ 😊
ปล. หากคุณเป็นคนที่มีความสนใจใน Creative coding, เขียน P5.js, webGL ได้, ทำ c4d เป็น ชอบทำโปรเจคสนุกๆ คูลๆ แอดเฟรนด์ FB มาได้ครับหรือจะเมล์หาผมที่ me@ekkrit.design ก็ได้ เผื่อมีโอกาสได้ตั้งโต๊ะแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ ฮี่ๆๆ