บริษัทหลายแห่งมักจะคิดว่าปัญหาใหญ่ในการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์คือเรื่องของเทคโนโลยี แต่จริง ๆ แล้ว ปัญหาที่ใหญ่กว่าคือ การที่องค์กรยังปรับตัวในเรื่องคนไม่พอต่างหาก ถึงแม้จะมีเครื่องมือที่ทันสมัยและข้อมูลที่ดี แต่ถ้าพนักงานไม่รู้วิธีใช้หรือไม่มีกระบวนการที่ชัดเจนในการนำข้อมูลไปใช้ และไม่สามารถอธิบายความหมายของข้อมูลในแง่ของธุรกิจได้ การจะสร้าง Data Culture ในองค์กรก็ยังคงเป็นเรื่องยาก

ในปี 2016 Jonathan Tudor ได้ริเริ่มโปรแกรมการใช้ข้อมูลแบบ Self-service ที่ GE Aviation เพื่อแก้ปัญหานี้โดยตรง โดยเขาเห็นว่าความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับการให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้ ไม่ใช่แค่ทีม Data Analytics หรือ Data Engineer เท่านั้น วิธีนี้ทำให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมมากขึ้น เกิดความร่วมมือระหว่างแผนกต่าง ๆ ด้วย

สรุปการสัมภาษณ์ระหว่าง Ally MacDonald บรรณาธิการอาวุโสของ MIT Sloan Management Review กับ Tudor เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลแบบ Self-service และการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เป็น Data Culture

บริษัทต่าง ๆ ในยุคนี้ต่างมุ่งเน้นการใช้ข้อมูลเป็นหลัก การนำโปรแกรมดูข้อมูลด้วยตัวเอง (Self-service data program) มาใช้ในองค์กรจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในการบริหารจัดการข้อมูลขององค์กร ไม่ใช่แค่การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ แต่มันยังต้องเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างการทำงานและแนวคิดของพนักงานด้วย

❤️ หัวใจสำคัญของโปรแกรม Self-service คือการให้ทุกคนในองค์กรเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ปกติแล้ว การวิเคราะห์ข้อมูลจะเป็นหน้าที่ของทีม Data ทำให้ถ้าใครอยากได้ข้อมูลอะไรก็ต้องรอนาน วิธีของ Tudor คือการเปลี่ยนแปลงแนวคิดนี้ โดยให้พนักงานจากทุกแผนกสามารถดูข้อมูลด้วยตัวเองได้เลย ช่วยให้ทุกคนใช้ความรู้ของตัวเองมาวิเคราะห์ข้อมูลและดึงข้อมูลที่มีประโยชน์ออกมา ถือว่าเป็นการกระจายอำนาจในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้องค์กรตัดสินใจได้เร็วขึ้นและส่งเสริมให้ innovation เกิดขึ้นได้ทุกทีม

แต่ความสำเร็จของโปรแกรมนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่แค่เทคโนโลยี ยังขึ้นอยู่กับโครงสร้างองค์กรที่แข็งแรงด้วย Tudor ย้ำว่า โปรแกรมนี้ควรสอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กรและต้องสร้างวัฒนธรรมที่ทุกคนรู้จักใช้ข้อมูล ซึ่งหมายถึงจะต้องมีการอบรมพนักงานให้มีทักษะและสามารถใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลให้เป็น นอกจากนี้ ยังต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน ทุกแผนกสามารถแบ่งปันข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์และนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันได้

สิ่งสำคัญอีกอย่าง คือการมีระบบควบคุมข้อมูลที่ดี (Data Governance) แม้ว่าจะให้พนักงานดูข้อมูลด้วยตัวเองได้ แต่ก็ต้องมีระบบป้องกันข้อมูลรั่วไหล ปลอดภัย และถูกต้องตามกฎหมาย โดยการทำระบบจัดเก็บข้อมูล ติดตามที่มาของข้อมูล และกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล แต่ละทีมไม่จำเป็นต้องเข้าถึงทุกข้อมูลในบริษัท การทำแบบนี้จะทำให้องค์กรสามารถลดความเสี่ยงและสามารถดึงคุณค่าสูงสุดจากข้อมูลได้

Tudor ยังเล่าถึงวิธีวัดผลสำเร็จของโปรแกรมนี้ นอกเหนือจาก KPI ทั่วไปอย่าง ผลกำไร และจำนวนคนใช้งาน เขายังบอกว่า การวัดความสำเร็จของ innovation ก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยการติดตามการนำวิธีที่ได้จากข้อมูลไปใช้จริง องค์กรจะเห็นโอกาสใหม่ ๆ และสามารถตัดสินใจลงทุนได้อย่างถูกต้อง

🔵 สุดท้าย Tudor เน้นย้ำถึงการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้ใช้โปรแกรมนี้สำเร็จ เขาแนะนำให้รับคนที่มีความรู้หลากหลาย แทนที่จะรับ expertise เฉพาะสายงาน เพราะมุมมองจากหลายด้านจะช่วยแก้ปัญหาข้อมูลที่ซับซ้อนได้

สรุปแล้ว แนวคิดของ Tudor ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรม Self-service data มี potential ในการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้ประสบความสำเร็จในโลกของ Big Data โดยการผสมผสานเทคโนโลยี วัฒนธรรมองค์กร และระบบควบคุมข้อมูล จะช่วยให้ธุรกิจมีความคล่องตัว มีนวัตกรรมใหม่ ๆ และเพิ่มศักยภาพในแข่งขันได้

ถ้าองค์กรต้องการสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด การใช้วิธีการแบบ ‘เดิม’ อาจใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป ถึงเวลาแล้วที่จะต้องนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์เพื่อให้ก้าวทันการแข่งขันในยุคดิจิทัล (Digital Business Strategy) อีกทั้งองค์กรจะต้องสามารถนำเอาข้อมูลมาใช้ขับเคลื่อนและต่อยอดสร้างนวัตกรรม (Data-Enabled Innovation) ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้จริง เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง (Competitve Advantages) 

ถ้าคุณเป็นผู้นำองค์กร ที่อยากวางกลยุทธ์ด้วย Data เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในยุคดิจิทัล ขอแนะนำเวิร์กชอป 2 วัน Driving Digital Strategy with Data-Enabled Innovation 

🗓️ เรียนวันที่ 17-18 พ.ค. 67
⏰ 9:30-17:30 น.
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://to.skooldio.com/cdnBxVht1Ib

‼️ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้าน Data ก็สามารถเรียนได้
หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อผู้บริหาร สามารถนำความเข้าใจจากหลักสูตรไปวางแผนกลยุทธ์องค์กรได้ดีขึ้น

Reference: https://sloanreview.mit.edu/article/empowering-a-data-culture-from-the-inside-out/ 

 

More in:Business

Comments are closed.