ในปี ค.ศ. 1570 หนังสือ The Four Books of Architecture ได้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในเมืองเวนิส ภายในหนังสือบรรจุด้วยองค์ความรู้ นิยามขอบเขตและกฎเกณฑ์ของการออกแบบ รวมไปถึงคำศัพท์ต่างๆ ที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม จุดประสงค์ก็เพื่อสร้างบรรทัดฐานในการสื่อสารระหว่างสถาปนิกเองและทีมก่อสร้าง อีกทั้งช่วยวางระบบการคิด ให้อยู่ในกรอบเดียวกันเพื่อเป็นประโยชน์ในการสร้าง ต่อเติมหรือการซ่อมบำรุงอาคารในอนาคต
การออกแบบ Digital Product ก็ไม่ต่างกับงานสถาปัตยกรรม โครงสร้างที่ไม่รองรับการเปลี่ยนแปลงหรือการขยับขยาย อาจสร้างปัญหาต่อการพัฒนาสินค้าและบริการในอนาคตได้
ซึ่งในปัจจุบันบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่ว่าจะเป็น Airbnb, Atlassian, IBM หรือ Google ได้ให้ความสำคัญกับ Design System ในการวางระบบการออกแบบ เพื่อรองรับการขยายตัวของสินค้าและบริการของตนในอนาคต
What is Design System
Design System คือระบบการออกแบบที่เชื่อมโยงกัน สามารถใช้ร่วมกัน แล้วยังสร้างความสอดคล้องให้กับสินค้าและบริการนั้น ให้อยู่ภายใต้ Branding ขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง
แล้วทำไมถึงต้องมี…
Collaborative
การทำ Digital Product ส่วนใหญ่มักทำงานเป็นทีม ซึ่งมีหลาย Stakeholder การมีระบบกลางในการสื่อสาร จะช่วยให้ทีมสามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น
ลองนึงดูว่าถ้าทีมนึงมี Designer หลายคน Designer A ออกแบบแล้วส่งต่อให้ Designer B ทำต่อ แล้วบรีฟว่า “ช่วยเปลี่ยนสีขอบของ ‘ช่องรูปใน Feed’ เป็นเหลืองเข้มให้หน่อยดิ” Designer B คงเหว๋อ แต่ถ้าเรามีระบบกลางที่บอกว่า ‘ช่องใส่รูป = Card’ ‘ขอบ = Stroke’ ‘เหลืองเข้ม=Yellow2’ วิธีบรีฟคงสื่อสารแค่ “เปลี่ยน Stroke ของ Card เป็น Yellow2 ได้มั้ย” Developer ก็จะรู้ด้วยว่า Yellow2 คือสีไหน เพียงแค่นี้ Workflow ก็ง่ายขึ้นแล้ว
Consistent
บางบริษัทมี Digital Product อยู่หลายแพลตฟอร์ม Design System จะเข้ามาเป็นตัวกลางกำหนดขอบเขตและกฎเกณฑ์ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สินค้าแต่ละชนิดมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันภายใต้ Branding เดียวกันเพื่อความง่ายต่อผู้ใช้งาน
Scalable
Digital Product เป็นสินค้าที่ Upgrade ได้ มีการเปลี่ยนแปลงเวอร์ชันอยู่ตลอดเวลา การจะให้ Developer หรือ Designer มาคิด ออกแบบแล้วสร้างขึ้นมาใหม่นั้นกินเวลาเป็นอย่างมาก การนำ Component เดิมที่มีอยู่แล้ว มาใช้ซ้ำๆ จะช่วยประหยัดเวลาการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ อีกทั้งยังช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของเราถึงมือผู้ใช้งานได้เร็วกว่าคู่แข่งอีกด้วย
การสร้าง Design System ควรคำนึงถึง…
Design Principle
Design Principle คือหลักการของการออกแบบ การวาง Principle ที่ดีจะช่วยให้ทีมพัฒนาและทีมออกแบบ เข้าใจแนวทางของบริษัทว่ากำลังไปในทิศทางไหน
Design Principle ที่ดีควรคำนึงถึง 4 อย่าง
1. Purpose ทำเพื่ออะไรหรือใคร ในระยะยาว
2. Shared Themes ออกแบบให้มีความสอดคล้อง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3. Focus your audience ให้ความสำคัญกับผู้ใช้งาน
4. Test and evolve your principle ทดสอบและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ
Pattern
คำว่า Pattern หรือ Design Pattern ในที่นี้หมายถึง Design Asset ที่นำมา Reuseและ Repurpose ได้
1. Functional Pattern คือรูปแบบการใช้ Digital Product ซึ่ง Functional Pattern ส่วนใหญ่มีรูปแบบที่คล้ายๆ กัน ตาม Guidelines ของแต่ละ OS(Operating System) ฝั่ง iOS ก็จะมี Human Interface Guidelines ส่วนฝั่ง Google ก็จะมี Material Design
2. Perceptual Pattern คือรูปแบบของประสบการณ์ที่ผู้ใช้ได้รับจากการใช้สินค้าของเรา ไม่ว่าจะเป็น ฟอนต์ เสียง สี หรือกราฟิกต่างๆ ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังช่วยส่งต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้อีกด้วย
Shared Language
การกำหนดนิยามหรือชื่อเรียกเป็นสิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง ควรให้ทีมหรือทุกคนที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีบทบาทในการช่วยสร้าง Design System การสร้าง Shared Language ไม่ต่างจากการกำหนดภาษาที่จะเอาไว้ใช้สื่อสารภายในองค์กร เพื่อไม่ให้เกิดการนำไปใช้ผิดๆ หรือเอา UI Component ไปใช้ในนอกเหนือขอบเขตที่กำหนด
ส่งท้าย
การสร้าง Design System เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ในระยะเวลาอันสั้น ควรปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอตามความต้องการของผู้ใช้ ควรได้รับการยอมรับจากทีมว่าจะใช้เกณฑ์นี้ในการพัฒนาออกแบบสินค้าและบริการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่องค์กรตั้งเอาไว้
“A design system isn’t a project, it’s a product serving other products” — Nathan Curtis
อ้างอิง
- Building Visual Language
- Design System by All Kholmatova (recommended)
Illustrated by Thanon Vongprayoon