Table of Contents
ถอดกลยุทธ์ปั้นฟีเจอร์ ‘คนละครึ่ง’ ให้พร้อมใช้ใน 1.5 เดือน
ในช่วงวิกฤตโควิดที่เศรษฐกิจถดถอย แม่ค้าและพ่อค้าต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งภาครัฐได้ออกโครงการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาที่หลาย ๆ คนน่าจะรู้จักกันดี อย่างโครงการคนละครึ่ง ซึ่งภาครัฐได้เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม โดย LINE MAN Wongnai เห็นโอกาสตรงนี้และกระโดดเข้ามาพัฒนาฟีเจอร์เพื่อแม่ค้าพ่อค้าคนไทยได้ใช้โครงการคนละครึ่งผ่านแอปพลิเคชัน LINE MAN ได้
แม้ว่าทีม LINE MAN Wongnai จะสามารถปั้นฟีเจอร์คนละครึ่งได้สำเร็จ แต่แน่นอนว่าระหว่างทางไม่ได้ง่ายเหมือนโรยด้วยกลีบกุหลาบ ทีมต้องเจอกับอุปสรรคทั้งข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและ Resorce ที่มี ทีม Skooldio ขอถอดบทเรียน ‘เบื้องหลังการปั้นฟีเจอร์’ ของ LINE MAN Wongnai ในงาน Digital Products Decoded จาก Keynote Session ของคุณรัตินันท์ วุฒิพันธไชย (คุณข้าวสวย) – Senior Product Manager, LINE MAN Wongnai
“เมื่อต้องปั้นฟีเจอร์ “คนละครึ่ง” ให้สำเร็จใน 1.5 เดือน ข้อจำกัดมากมายที่เกือบจะเป็น ‘Mission Impossible’ แต่สุดท้ายทีมก็สามารถ ‘Made it possible’ ได้อย่างสวยงาม”
ในการ Develop ฟีเจอร์ใหม่ ทีมได้แบ่งออกเป็น 3 Stage ดังนี้
- Requirement Stage
- Design Stage
- Development Stage
1. Requirement Stage
“Squeeze for what matters”
ในตอนแรกที่ทีมรับโจทย์นี้มา ทีมต้องปล่อยฟีเจอร์ ‘คนละครึ่ง’ และ Onboard ให้ร้านค้าพร้อมใช้ภายในเวลา 1.5 เดือน ซึ่งถือว่าเป็นโจทย์ที่ Challenge มาก ๆ เมื่อเทียบกับ Flow ที่ซับซ้อนและเวลาที่จำกัด
ทำให้ในตอนที่ได้รับ Requirement มา ทีมมีการ Review ก่อนเริ่มลงมือพัฒนา ซึ่งเห็นว่ามีบาง Requirements ที่เป็น ‘Good to have’ แต่ยังไม่ได้เป็นข้อบังคับที่ต้องทำ ทีมก็ได้มีการสื่อสารกับ Stakeholders และตัด Tasks งานที่ยังไม่จำเป็นออก เพื่อให้ทีมสามารถบริหาร Resource ที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Key Learning #1 “Prioritize and trim the excess to deliver value”
เมื่อมี Resource ที่จำกัด การ Prioritize งานจึงเป็นสิ่งสำคัญ Product Manager ไม่จำเป็นต้องทำตามทุก Requirement เสมอไป การสื่อสารกับ Stakeholders เพื่อตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกทำให้ทีมสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และยังส่งมอบคุณค่าให้กับผู้ใช้ได้
2. Design Stage
“Design to win”
โจทย์ของ UX ในงานนี้คือการอำนวยความสะดวกร้านค้าให้สามารถลงทะเบียนได้ง่าย เพื่อดึงร้านค้ามาสมัครกับเราให้ได้เยอะที่สุด ซึ่งก็มีความท้าทายในการออกแบบเพราะระบบต้องมีการเชื่อมต่อแอปฯ หลายตัว ทั้ง LINE MAN, Wongnai Merchant, เป๋าตัง และถุงเงิน
ทีม UX จึงต้องงัดทุกกลยุทธ์ออกมา เพื่อให้ Flow เข้าใจง่าย และเป็นมิตรต่อผู้ใช้มากที่สุดด้วยเทคนิคต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น การใช้ Case-sensitive Font เพื่อให้ร้านค้าสามารถอ่านข้อมูลสำคัญได้ง่าย และถูกต้อง
Key Learning #2 “Walk through user journey”
สวมหมวกเป็น User มอง Journey ให้ทะลุปรุโปร่ง และพร้อมหา Solution ด้วย Creative Design
3. Development Stage
“Change for result”
เนื่องจากคนละครึ่งเป็นโปรเจคที่เข้ามาระหว่างปี ทีมมีงานอื่นที่ถืออยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นการบริหาร Resource จึงเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งที่คุณข้าวสวยทำคือการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจาก Scrum มาเป็น Split team เพื่อให้สามารถโฟกัสงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
Key Learning #3 “Optimize team structure for the best performance”
ทีมสามารถ Agile และปรับรูปแบบการทำงานได้เสมอ เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ณ ช่วงเวลานั้น
โปรเจค ‘คนละครึ่ง’ ที่อาจมีข้อจำกัดมากมายจนเรียกได้ว่าเกือบเป็น ‘Mission Impossible’ แต่ทีม LINE MAN Wongnai ก็งัดทุกกระบวนท่าออกมา จนสามารถส่งมอบฟีเจอร์นี้ ให้ร้านค้าคนไทยได้ใช้กัน จนร้านที่ร่วมแคมเปญสามารถเติบโต ผ่านพ้นช่วงโควิดมาได้อย่างสวยงาม
ทั้งหมดนี้เป็นเพียง Key Takeaway ส่วนหนึ่งจากงาน Digital Products Decoded คุณข้าวสวยยังแชร์ Insight อื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับชาว Product โดยเฉพาะ ใครพลาดสามารถชมคลิปย้อนหลังได้เลย (คลิก)