data-driven-with-moneyball-theory

สำหรับใครหลายๆ คนมักจะคิดว่าการใช้ Data นั้นจะถูกจำกัดไว้อยู่เพียงแค่กับการทำธุรกิจ หรือการทำวิจัยเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วข้อมูลสามารถใช้ในการวิเคราะห์ได้หลากหลายสิ่งมากๆ และอยู่ได้ในแทบทุกวงการ แม้กระทั่งกับวงการกีฬาเองที่การวิเคราะห์ข้อมูล และใช้ Data ก็สามารถทำให้ทีมได้ชัยชนะได้ไม่ยาก

ย้อนกลับไปในช่วงก่อนปี 2002 วงการเบสบอลในสหรัฐอเมริกาจะมีแมวมองไปดูตามโรงเรียนมัธยมต่าง ๆ เพื่อมองหาผู้เล่นมาเข้าทีมระดับมหาวิทยาลัยซึ่งจะอาศัยประสบการณ์ทั้งของผู้จัดการทีม โค้ช แมวมองและทีมงานในการประเมินผู้เล่นคนนั้นว่าเหมาะกับทีมหรือไม่ ซึ่งนั่นทำให้ความสามารถของทีมหรือผู้เล่นนั้น ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความเก๋าเกมของแมวมองหรือโค้ชกันเลยทีเดียว และถ้าหากทีมไหนที่มีงบประมาณมาก ก็จะสามารถจ้างทั้งแมวมอง โค้ช และผู้เล่นดี ๆ ไปได้มาก

MoneyBall Theory

ในปี 2002 ทีม Oakland Athletics ก็ได้เข้ามาเริ่มเปลี่ยนวงการอย่างเป็นทางการด้วยการใช้ Data-Driven แทนที่จะพึ่งพาแมวมองในการหาผู้เล่น โดยพวกเขาเลือกที่จะใช้ Metric ต่าง ๆ เพื่อวัดระดับ Performace ของผู้เล่นแต่ละคน ผ่านการเก็บข้อมูล คำนวณ และวิเคราะห์เกมที่เหมาะสมกับผู้เล่นนั้น ๆ ออกมา ได้ไม่ต่างกับที่นักลงทุนมี Metric ในการวัดว่าหุ้นตัวไหนน่าลงทุนเช่นกัน โดยพวกเขาหวังที่จะใช้งบประมาณที่มีน้อยนิด ในการทำผลงานออกมาให้ดีที่สุด ซึ่งเราจะมาสรุป 6 ประเด็นที่น่าสนใจ สำหรับใครที่ต้องการเป็น Data Analyst ได้เรียนรู้จากเรื่องนี้กัน

moneyball-succes-data-driven-case-study

Source : Darryl Leewood, CC BY-SA 3.0

ความท้าทายในการตั้งโจทย์

Billy Beane ผู้จัดการทีม Oakland Athletics เคยพูดไว้ว่า “มันมีทีมที่รวยและทีมที่จน ซึ่งมันไม่แฟร์กับทีมที่ไม่มีเงิน” หรือก็คือเขาพยายามสื่อว่าทีมที่มีเงินน้อย แต่พยายามแข่งราคากับทีมที่รวยๆ นั้นแทบเป็นไปไม่ได้

โดยในปี 2002 ทีมของเขาสูญเสียผู้เล่นเด่นถึง 3 คนให้กับทีม Boston Red Sox และ New York Yankees ซึ่งสร้างปัญหาใหญ่ให้กับทีม และเมื่อ Billy ขอเงินลงทุนเพิ่มจากเจ้าของทีมเพื่อรับสมาชิกใหม่ก็ได้รับการปฏิเสธการเพิ่มงบ ทำให้เขามีงบประมาณต่ำกว่าทีมรวยๆ มากถึง 3 เท่า ในขณะทีแมวมองทุกคนพยายามมองหาผู้เล่นเด่นที่มีท่าตีที่ดูเท่ หรือหน้าตาดีมาโดยแข่งราคากับทีมอื่นๆ Billy กลับมองหาผู้เล่นที่จะพาให้ทีมชนะได้แทน โดยใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ได้ดีที่สุด

Key Learning : การเป็น Analyst นั้นเป็นสิ่งสำคัญมากที่คุณจะต้องเข้าใจว่าอะไรเป็นปัญหาที่คุณต้องทำการแก้ไขจริง เป้าหมายของการเล่นเบสบอลนั้นคือชัยชนะ ที่จะช่วยขยายฐานแฟนคลับ และได้รับเงินรางวัลมากขึ้น ไม่ใช่แค่ผู้เล่นหน้าตาดี แต่เป็นคนที่เล่นได้ดีแทน

moneyball-succes-data-driven-case-study

Source : COLUMBIA PICTURES | Moneyball (2011)

กลยุทธ์ และ Metrics ที่ดี

Billy พบกับ Peter Brand นักศึกษาเศรษฐศาสตร์จาก Yale University โดย Peter บอกว่าเขาไม่เชื่อในวิธีการเดิมๆ ที่พวกแมวมองใช้ในการเลือกผู้เล่น โดยเขาบอกว่า “เป้าหมายของเราไม่ควรเป็นการซื้อผู้เล่น แต่เป็นการซื้อชัยชนะ ซึ่งจะทำแบบนั้นได้เราต้องซื้อคนที่ได้แต้มวิ่ง” นั่นทำให้เขาได้งานในฐานะผู้ช่วยผู้จัดการทีมของ Billy พร้อมกับทำการวิเคราะห์แบบพยากรณ์ (Predictive Analytics) จาก Big-Data ที่เก็บรวบรวมมาตั้งแต่ปี 1800 เพื่อมองหาผู้เล่นที่มีมูลค่า แต่ไม่มีใครเคยมองด้วย Metrics สองอย่าง

  1. โอกาสชนะ (Projected Win Percentage) ซึ่งบ่งบอกถึงคะแนนที่ทีมมีโอกาสจะได้จากการวิ่งครบทุก Base ในสนาม (เบสบอลจะได้คะแนนเมื่อตีลูกได้และสามารถวิ่งรอบสนามจนกลับมาที่เดิม)
  2. คะแนน (Score) ซึ่งคำนวณจากอัตราการตีลูกและวิ่ง Base โดยตัดข้อมูลที่เป็นความผิดพลาดจากตัวแปรอื่นๆ อย่างการขว้างลูกพลาด หรือเดธบอลไป

สิ่งเหล่านี้ทำให้เหล่าผู้เล่นที่เคยถูกมองข้ามจากหลากหลาย Bias อย่างอายุ, รูปร่าง, บุคลิกภาพ หรือแม้แต่ความสวยของแฟนสาวของผู้เล่นได้รับความสนใจอีกครั้ง

Key Learning : เมื่อคุณกำหนดเป้าหมายได้แล้ว คุณยังต้องสามารถระบุได้ว่า Data แบบไหนที่คุณจำเป็นต้องใช้เพื่อสร้าง Metrics ที่สำคัญกับเป้าหมายนั้นๆ 

การเก็บและใช้ข้อมูล (Data Collecting and Data Analyst)

Peter บอกว่า “กว่า 20,000 ผู้เล่นที่เราต้องพิจารณา ผมเชื่อว่ามีผู้เล่นแชมเปี้ยนกว่า 25 คนที่เราสามารถซื้อตัวได้เพราะทุกๆ คนในวงการเบสบอลให้ค่าพวกเขาต่ำเกินไป” เขาพูดถึงผู้เล่นคนหนึ่งซึ่งเป็นมือขว้างที่ไม่มีใครมองเขาเลยเพียงเพราะท่าขว้างของเขานั้นดูตลก ซึ่งไม่ตรงกับสิ่งที่พวกแมวมองมองหาในรูปแบบเดิมๆ

ซึ่งข้อมูลของผู้เล่นเบสบอลนั้นเริ่มมีเก็บมากันตลอดอยู่แล้ว แต่ทีม Oakland Athletics ได้ใช้ Metrics ที่มีมาใช้เลือกซื้อตัวเขาในราคาเพียงราวๆ 0.2 ล้านเหรียญ จากมูลค่าแท้จริงที่เขาควรจะได้จากสิ่งที่เขาทำถึง 3 ล้านเหรียญ

Key Learning : คุณต้องเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองกำลังทำและสามารถอธิบายการวิเคราะห์ของคุณได้ อย่างน้อยก็เพื่อปฏิเสธสิ่งที่เป็นเพียงความเชื่อแบบเดิมๆ

moneyball-succes-data-driven-case-study

Source : COLUMBIA PICTURES | Moneyball (2011)

การใช้ Data มาประกอบการตัดสินใจ (Data Decision)

กระบวนการตัดสินใจเพื่อรับผู้เล่นใหม่เข้ามาแทนผู้เล่นเด่นที่ออกไปเป็นหนึ่งในโจทย์ที่ยาก Billy ต้องเผชิญกับการวิพากษณ์ วิจารญ์ ทั้งจากภายใน ไม่ว่าจะเป็นบรรดาแมวมองและโค้ช รวมไปถึงสื่อภายนอก ถึงขนาดที่ทุกคนต่างคิดว่าเขากลายเป็นคนบ้า และเริ่มทำการฝังตัวเองลงหลุมแล้ว

แต่ในความเป็นจริงคือ Oakland Athletics ภายใต้การบริหารของ Billy นั้นมีความมุ่งมั่นที่จะใช้ข้อพิสูจน์มากกว่าที่จะใช้ความเก๋า และภูมิปัญญาเดิมๆ ของเหล่าแมวมอง โดยพยายามโน้มน้าวด้วยการวิเคราะห์ต่างๆ มาประกอบการตัดสินใจ ซึ่งสิ่งนี้ต้องอาศัยความมั่นใจและความเชื่อใจจากเจ้าของทีมด้วยเช่นเดียวกัน

เขาเคยบอกเข้าของทีมด้วยซ้ำว่าเราจะเห็นชัยชนะภายในเดือนกรกฏาคมปี 2002 ซึ่งสิ่งนั้นก็เกิดขึ้นจริง โดยระหว่างนั้น Billy ได้ใช้ความพยายามในการกระตุ้นผู้เล่นในทีมเป็นระยะเพื่อให้แต่ละคนสามารถทำผลงานออกมาได้ดีอยู่เสมอ

Key Learning : หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จคือผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจ ที่ต้องมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่พวกคุณกำลังทำ รวมไปถึงทีมของคุณตลอดเวลา เพื่อขับเคลื่อนองค์กรของคุณให้สามารถใช้ Data ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

การใช้เทคโนโลยี และทักษะที่จำเป็น

เราจะพบว่าจริงๆ แล้ว Peter Brand เป็นนักศึกษาเศรษฐศาสตร์ ที่มีความสามารถในการจัดการเรื่องตัวเลขได้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่เขาทำได้มากกว่านั้นคือเขายังรอบรู้เกี่ยวกับเรื่อง Computer Programing ต่างๆ และแสดงผลสิ่งที่วิเคราะห์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ซึ่งการวิเคราะห์ทั้งหมดนี้ Peter ทำได้โดยเขาเขียนโปรแกรมขึ้นมา เพื่อทำการวางแผนผู้เล่นแบบปีต่อปี โดยให้คะแนนแก่ผู้เล่นแต่ละคนในแต่ละช่วงเวลา พร้อมกับทำการ Visualized เพื่อที่จะได้พูดคุยกันทั้งผู้จัดการทีม และผู้เล่นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการเล่นของผู้เล่นแต่ละคนว่ามีอะไรที่จะต้องพัฒนา หรือมีผู้เล่นหน้าใหม่คนไหนบ้างที่อาจจะช่วยให้ทีมได้ชัยชนะ

Key Learning : ไม่ว่าคุณจะเรียบจบอะไรมาก็ตาม แต่ถ้าคุณกำลังต้องการจะเริ่มทำงานด้าน Data Analyst คุณควรมีความรู้เกี่ยวกับ Technology ต่างๆ หรือภาษา Programming ที่ใช้ในการวิเคราะห์ มีความเข้าใจในธุรกิจ สถิติ และกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ เพื่อสามารถนำเสนอสิ่งที่วิเคราะห์ออกมากับผู้อื่นได้ รวมไปถึงพร้อมต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อพัฒนาทักษะใหม่ๆ

moneyball-succes-data-driven-case-study

Source : COLUMBIA PICTURES | Moneyball (2011)

การสื่อสารและโน้มน้าว

ปัจจัยที่เรียกได้ว่าสำคัญมากๆ ในการประสบความสำเร็จของทีม Oakland Athletics คือความสามารถในการสื่อสารทั้งของ Peter Brand ที่สามารถอธิบายและโน้มโน้วให้ผู้จัดการทีมอย่าง Billy เชื่อในคำแนะนำต่างๆของเขาได้ง่าย ๆ และ Billy Beane ที่ก็สามารถถ่ายทอดสิ่งที่เขารู้ และได้รับคำแนะนำต่างๆ เหล่านี้ให้กับผู้มีส่วนได้เสียคนอื่นๆ เพื่อให้ได้ผู้เล่นใหม่ และโค้ชที่เหมาะสมกับทีมของเขา

Key Learning : การมีสกิลการสื่อสารที่ดีจะช่วยให้คุณนำเสนอและโน้มน้าวผู้มีส่วนได้เสียในการวิเคราะห์นั้นได้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจกับทุกส่วน และทำให้การจัดการทีมต่างๆ ได้รับการตัดสินใจ และดำเนินการได้อย่างถูกต้อง

succes-data-driven-case-study

Photo by Jed Jacobsohn | Getty Images

ชัยชนะแห่งศตวรรษ

ในฤดูกาลปี 2002 ในปีแรกที่ Oakland Athletics ได้เริ่มใช้ Data เข้ามาประกอบการตัดสินใจมากยิ่งขึ้น Billey Beane สามารถควบคุมงบประมาณสำหรับค่าตัวผู้เล่นไว้ได้ที่ 41 ล้านเหรียญ กับผลลัพธ์ชัยชนะต่อเนื่องสูงถึง 20 ครั้ง นับว่าเป็นการชนะต่อเนื่องกันที่สูงที่สุดในรอบ 103 ปีของสหรัฐอเมริกา และในช่วง 5 ปีที่เริ่มใช้ข้อมูล พวกเขาสามารถเป็นแชมป์รายการ American League West ถึง 3 สมัย จนทำให้เหล่าแมวมอง และเจ้าของค่ายเบสบอลต่างๆ เริ่มเปิดรับสมัครนักวิเคราะห์ของตนเองเพื่อทำแบบที่ Biley Beane และ Peter Brand ทำได้โดยปรับปรุง และคิด Metrics ใหม่ๆ ออกมาใช้ประกอบการตัดสินใจ

แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดที่ทำให้กลยุทธ์ Moneyball สำเร็จได้นั้นเป็นเพราะ Billy Beane มีความกล้ามากพอที่จะใช้ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้มาใช้ในการพลักดันทีมของเขา การที่ผู้นำเข้าใจศักยภาพของการวิเคราะห์ และกล้าเปลี่ยนองค์กรนั่นจึงทำศักยภาพเหล่านั้นส่งผล เรื่องราวของเขาสะท้อนให้เราเห็นถึงความได้เปรียบในการให้ Data Sceince เป็นส่วนหนึ่งใน DNA ขององค์กร แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดในการนำข้อมูลมาใช้เพื่อเพิ่มโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจอีกด้วย

และถ้าคุณอยากทำงาน หรือให้คนในทีมของคุณร่วมกันทำงานและตัดสินใจแบบ Data-informed ได้อย่างถูกต้อง ได้เรียนรู้ทั้ง

  • การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ตั้งแต่ดึงข้อมูล (Web Scraping) เข้าใจข้อมูล (Data Literacy) จัดการข้อมูล (Data Wrangling) วิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ไปจนถึงนำเสนอข้อมูล (Data Visualization)
  • ฝึกฝนและเรียนรู้ได้ผ่านทั้งแบบฝึกหัด Group Assignments และ Capstone Project กับเพื่อนร่วมเรียน ที่พวกคุณสามารถกำหนดหัวข้อที่สนใจอยากวิเคราะห์ได้เอง และสร้าง Learning Community ร่วมกัน
  • เปิดมุมมองใหม่ในการทำ Data Analystics จากตัวจริงในวงการ และผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์เต็ม ให้คุณโดดเด่นกว่าใครแม้ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนหลังจบหลักสูตร

ดูรายละเอียดและลงทะเบียนเพื่อรับส่วนลดพิเศษ
กับหลักสูตร Data Analytics Bootcamp ได้ที่นี่ คลิกเลย

data-analytic-bootcamp

ที่มา

The Story of Moneyball Proves Importance of Both Big Data and Big Ideas

Moneyball The must watch movie: Key Learnings for every Aspiring Data Analyst and Data Scientist

 

More in:Data

Comments are closed.