“เราอยากให้ทุกคนทำบ้านในฝันได้ง่ายขึ้น”
นี่คือ Vision ของ NocNoc.com แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ที่รวบรวมสินค้าและวัสดุแต่งบ้านพร้อมบริการครบวงจร
ย้อนไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว พลอย–อนัญญา สหัสสะรังษี คือสมาชิกคนแรกของทีมและ Co-founder ของ NocNoc.com ซึ่งกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด จนกลายเป็นมาร์เกตเพลสด้านวัสดุก่อสร้างที่ครบวงจรที่สุดในไทย
ในวันนี้ พลอยได้สั่งสมประสบการณ์การเป็น Product Manager จากการเก็บเกี่ยวทักษะและประสบการณ์มาตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี กลั่นออกมาเป็นบทเรียนที่อยากแบ่งปันใน Product Management Bootcamp รุ่น 3 ของ Skooldio
เราได้หยิบยกบางส่วนของประสบการณ์และคำแนะนำของคุณพลอยมาไว้ในบทสัมภาษณ์ต่อจากนี้ บอกเลยว่า Product Manager ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไม่ควรพลาด
Table of Contents
- NocNoc.com คืออะไร?
- จุดเด่นของ NocNoc ที่ Marketplace เจ้าอื่นเลียนแบบไม่ได้?
- จุดเริ่มต้นการเป็น Product Manager ที่ NocNoc
- Product Manager ทำอะไรบ้าง?
- ความยากของการทำ Product ในรูปแบบ Marketplace?
- ความท้าทายในการ Product ใน Industry วัสดุก่อสร้างคืออะไร?
- อะไรคือความยากของการเป็น Product Manager?
- เล่าถึง Crisis ครั้งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้น และมีวิธีจัดการกับปัญหาครั้งนั้นอย่างไร?
- นอกจากทักษะการแก้ไขปัญหา Product Manager ต้องมีทักษะอะไรอีกบ้าง?
- เล่าถึง Product Team ที่ NocNoc ให้ฟังหน่อย
- การสร้างทีมสำคัญอย่างไรต่อการสร้าง Product
- ถ้าทีม Product นำโดย Product Manager ที่เก่ง จะช่วยสร้าง Benefit ให้องค์กรได้อย่างไร
- องค์กรแบบไหนควรมี Product Manager
- เราจะเริ่มปั้น Product Manager ในองค์กรได้อย่างไรบ้าง
- Product Manager ตอนนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในไทยหรือยัง
- ทำไมถึงมาเป็น Program Manager ของ Product Management Bootcamp รุ่นนี้
- อะไรคือจุดเด่นของ Product Management Bootcamp ของ Skooldio ที่แตกต่างจากที่อื่น
- Skooldio มีสอนเรื่อง Soft Skills ด้วย สิ่งนี้สอนกันอย่างไรได้บ้าง
- Bootcamp รุ่นนี้พิเศษกว่ารุ่นแรกยังไงบ้าง
- รุ่น 4 เปิดรับสมัครแล้ว!
NocNoc.com คืออะไร?
NocNoc.com คือมาร์เก็ตเพลสรวบรวมผู้ขายเฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้างและสินค้าตกแต่งบ้านมาไว้ในที่เดียว เรามี Vision ว่าอยากทำให้ทุกคนมีบ้านในฝันได้ง่ายขึ้นเพราะกว่าจะมีบ้านในฝันซักหลังได้ไม่ใช่เรื่องง่าย เราจึงเป็นเหมือนตัวกลางที่พาทั้งลูกค้าและผู้ขายที่มีความต้องการตรงกันมาเจอกัน
NocNoc.com
สิ่งที่เราทำคือการอำนวยความสะดวกด้านการขายให้กับร้านค้า ตั้งแต่การเพิ่มช่องทางการขาย การ Listing รายการสินค้า การชำระเงิน การขนส่ง การดูแลหลังการขาย รวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลการขาย (Data Analytics) ส่งกลับไปให้ร้านค้าเพื่อช่วยในการพัฒนา Product ให้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น
ในฝั่งของลูกค้า เราอยากให้เขาเข้ามาแล้วได้ของที่ตรงใจ สมมติอยากแต่งบ้านแบบใน Pinterest แต่ไม่รู้จะไปหาของแบบนั้นจากไหนเราก็ช่วยจัดหาสินค้าที่เขาต้องการ สามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าหรือรับตัวอย่างวัสดุไปดูได้ถึงบ้านเพื่อประกอบการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังมีบริการติดตั้งจากช่างที่รับประกันคุณภาพ ลูกค้าสามารถสบายใจได้ว่าจะไม่โดนโก่งราคาและได้สินค้าที่มีคุณภาพจริงๆ
จุดเด่นของ NocNoc ที่ Marketplace เจ้าอื่นเลียนแบบไม่ได้?
เรารู้สึกว่าไอเดียว่าจะทำอะไรเป็นเรื่องที่เลียนแบบกันได้ แต่สิ่งที่ NocNoc ต่างออกไปจากมาร์เก็ตเพลสเจ้าอื่นหลักๆ คือเรื่องของ Goal และ Value
Goal ของ NocNoc คือการอยากช่วยคนทำบ้านในฝันให้ง่ายขึ้น ช่วงแรกอาจเหมือนกันกับเจ้าอื่นในตลาดในแง่ของการขายของ แต่พอเรามี Goal ที่ต่าง ทำให้วิธีการที่จะไปถึง Goal นั้นต่างออกไปเพราะสิ่งที่เรากำลังจะไปเป็นคนละอย่างกัน
“วิธีการที่เรากำลังทำ คือการพยายามสร้าง Ecosystem ของการทำบ้าน ให้ครบจบในที่เดียว”
Ecosystem ของการทำบ้านจะเริ่มตั้งแต่เรื่องการออกแบบ การหา Design ที่ใช่สำหรับลูกค้า จากนั้นเป็นเรื่องการซื้อของและหาช่างที่จะมาติดตั้งของเหล่านั้นให้ได้ เรากำลังจะไปให้ถึงจุดนั้นแต่เริ่มที่การขายของก่อน
นอกจากในเรื่องของที่กำลังพัฒนาก็มีเรื่องของ Service ตอนนี้ NocNoc มี Service จัดหาช่างติดตั้งพื้น โดยเราพยายามเลียนแบบพฤติกรรมปัจจุบันให้มากที่สุดตั้งแต่การคัดกรองช่างที่มีคุณภาพมาให้เลือกแล้วให้ช่างลองคุยกับลูกค้า ต่อรองราคากันเองได้ มีการให้ฟีดแบ็กและรีวิวช่าง เราเองจะช่วยการันตีให้ในกรณีที่เกิดปัญหา
จุดเริ่มต้นการเป็น Product Manager ที่ NocNoc
ก่อนหน้านี้มีโอกาสได้ดูแลสตาร์ทอัพตัวหนึ่งที่พยายามแก้ปัญหาเรื่องช่างรับเหมากับเจ้าของบ้านที่สื่อสารแล้วเข้าใจไม่ตรงกันจนเกิดปัญหา เป็นธุรกิจที่ช่วยแก้ Pain ของลูกค้าได้จริง มีลูกค้าพร้อม ช่างพร้อมแต่เราขาดความรู้เรื่องเทคโนโลยีทำให้เรา Scale ไม่ได้เลย เราลุยทำทุกอย่างแบบบ้านๆ ไม่มีระบบอะไรเลย ทำไปถึงจุดหนึ่งเรารู้สึกเหนื่อยมาก มัน Scale ไม่ได้เพราะธุรกิจตอนนั้นเติบโตด้วยคนแต่ไม่ได้โตด้วยระบบ
บังเอิญมาเจอพี่ต้อม (ชลลักษณ์ มหาสุวีระชัย) ผู้ใหญ่ใน SCG ที่มี Vision เหมือนกันกับเราคืออยากแก้ปัญหาเรื่องการทำบ้านให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน พอมีโอกาสได้คุยกันพี่ต้อมเลยชวนไปทำโปรเจกต์ด้วยกัน เราเลยเข้าไปเป็นทั้ง Co-founder และพนักงานคนแรกของ NocNoc ตั้งแต่ day 1
รอบนี้เราได้รับการซัพพอร์ตมากขึ้น แต่ด้วยความที่เป็น Co-founder เราจะบ้าทำทุกอย่าง อยากให้สิ่งไหนเกิดเราจะไปทำให้มันเกิด อะไรที่เป็นปัญหาก็จะไปแก้ให้มันดีขึ้น พอถึงจุดหนึ่งที่ธุรกิจเริ่มโต มันถึงเวลาที่ต้องเลือกว่าจะสละงานบางอย่างแล้วรับคนเข้ามาทำแทนก็เลือกไม่ได้ ยังสับสนว่าเนื้องานจริงๆ ของเราคืออะไร
จนมีพี่คนอินเดียในทีมที่ดูแลเรื่อง Tech อยู่ที่อเมริกาบอกเราว่า Role ที่เราควรจะเป็นคือ Product Manager นะ ที่อเมริกามีมาซักพักแล้ว ตอนนั้นเราไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อนแต่พอลองมานั่งดูจริงๆ ว่าเราถนัดทำอะไรเลยมารู้ว่าเราเป็นคนสร้าง Product มาตลอด งานที่เราถนัดคือวางกลยุทธ์ของ Product ว่าทิศทางจะไปทางไหน คอยดูแลว่าจะเกิดอะไรขึ้น
หลังจากนั้นก็เริ่มศึกษาเกี่ยวกับ Product Manager มากขึ้น ลองคุยขอคำปรึกษาจาก Product Manager ต่างประเทศแล้วก็เริ่มเข้าใจสิ่งที่สงสัยมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็เริ่มโฟกัสกับงาน Product Manager ตั้งแต่นั้นมา
Product Manager ทำอะไรบ้าง?
หน้าที่ของ Product Manager คือการรับผิดชอบทำให้ Product หนึ่งๆ ประสบความสำเร็จ เป็นคนคอยมองภาพรวมแล้วโฟกัสที่ผลลัพธ์ว่าอยากให้เกิด Impact อะไรกับบริษัทหรือลูกค้า
ตำแหน่ง Product Manager จึงมีความเป็น Entrepreneur สูงมากเพราะต้องรับผิดชอบภาพรวม Product ที่เปรียบได้เป็น small business ขนาดย่อม Product Manager จึงต้องเข้าใจลูกค้า เข้าใจธุรกิจ เข้าใจ Resource และข้อจำกัดที่เรามี แล้วบาลานซ์ 3 สิ่งนี้เพื่อ Maximize ความสำเร็จของบริษัทให้ได้
ความยากของการทำ Product ในรูปแบบ Marketplace?
หลักๆ มี 3 ส่วน หนึ่งคือการควบคุมคุณภาพ จุดแข็งของมาร์เก็ตเพลสคือการเป็น All Choices เราทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่ใครเข้ามาขายก็ได้แต่เราไม่ได้เป็นเจ้าของสินค้าเอง ผลที่ตามมาคือเราไม่สามารถกำหนดคุณภาพในส่วนที่มาจากผู้ขายได้เลยทั้งข้อมูลรายละเอียดสินค้า รูปภาพ ระยะเวลาการจัดส่ง ตัวผู้ขายจะเป็นคนกำหนดเองทั้งหมด
วิธีแก้ในส่วนนี้คือการกำหนด Criteria ที่เราคิดว่าเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการขึ้นมา เช่น ราคาดี รูปภาพสินค้าชัดเจน ตอบลูกค้าเร็ว ถ้าร้านค้าไหนสามารถทำตาม Criteria นี้ได้เราก็จะเพิ่มการมองเห็นสินค้าให้มากขึ้น วิธีนี้จึงเป็นการ Push ร้านค้าให้ทำตาม Value ที่ลูกค้าอยากได้
ในขณะเดียวกันการที่เราให้ลูกค้าเห็นสินค้าเหล่านั้นได้เยอะเพราะเราเชื่อว่าสินค้าเหล่านั้นมี Potential ในการขาย พอคนเห็นสินค้าเขามากขึ้น เขาก็จะมีโอกาสในการขายมากขึ้น จัดว่าได้ Value ตรงนี้กลับไป ลูกค้าเองก็ได้สินค้าที่ดีตรงตามความต้องการ นับเป็น Value ในฝั่งของลูกค้า
ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามาร์เก็ตเพลสมีลักษณะของ Two-sided คือการมีลูกค้า 2 คน ทั้งจากฝั่งผู้ค้าและคนที่เข้ามาซื้อ เราในฐานะมาร์เก็ตเพลส ความยากจึงเป็นการหาวิธีบาลานซ์ Value ที่เป็นความต้องการจากจากทั้งสองฝั่งให้ตรงกันให้ได้
ความยากส่วนสุดท้ายคือการทำ Personalization ซึ่งจัดว่าเป็น Challenge ของทุกมาร์เก็ตเพลส พอเราไม่ได้เป็นเจ้าของสินค้าเองเหมือนพวก E-Commerce ทำให้การแนะนำสินค้าให้ลูกค้าแต่ละคนเป็นเรื่องยากเพราะลูกค้าที่เข้ามาบนมาร์เก็ตเพลสมีความต้องการหลากหลาย และเราเองก็ยังไม่รู้ว่าสินค้าตัวไหนดีไม่ดี
ในส่วนนี้เราจึงนำ Machine Learning เข้ามาช่วยพร้อมๆ ไปกับการ Encourage ให้ผู้ขายทำข้อมูลสินค้าที่ลูกค้าอยากรู้ตาม Criteria ควบคู่กันไปเพื่อแนะนำสิ่งที่ดีและตรงกับความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด
ความท้าทายในการ Product ใน Industry วัสดุก่อสร้างคืออะไร?
สิ่งที่ท้าทายคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและ Mindset คน ช่วงแรก NocNoc เริ่มขายพื้นไม้เป็นอย่างแรกเพราะเรามี Connection กับร้านไม้จำนวนมากและเรามั่นใจว่าเรามีของที่ดีที่สุดทั้งคุณภาพและราคา แต่การจะเปลี่ยนให้เขามาซื้อพื้นออนไลน์จึงเป็นเรื่องยากเพราะโดยปกติคนจะไปเลือกซื้อพื้นที่ร้าน ด้วยความที่พื้นเป็นของชิ้นใหญ่เลยอยากลองไปสัมผัสดูเองก่อน
ในช่วงแรกก็ Push ให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมยากเพราะ Mindset ของหลายคนก็ยังไม่เชื่อว่าสิ่งนี้จะเวิร์ก เราจึงแก้ปัญหานี้ด้วยบริการส่งชิ้นตัวอย่างวัสดุให้ไปดูถึงบ้าน พอทำไปเรื่อยๆ มันก็ทลายความเชื่อของหลายคนเหมือนกันว่าจริงๆ แล้วมันทำได้นะ ก่อนจะทำจริงเราก็มีการ Validate ไอเดียว่าทำได้จริงหรือเปล่าจนตอนนี้ก็เริ่มเห็นเทรนด์แล้วว่าคนเริ่มซื้อโดยไม่ไปดูที่ร้าน โดยเฉพาะลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัดที่ไม่สะดวกวิ่งเข้าเมืองเพื่อมาดูที่ร้าน คนก็เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมมากขึ้นเพราะไม่คิดว่าตัวเองจำเป็นต้องออกไปซื้อที่ร้านอีกแล้ว
อะไรคือความยากของการเป็น Product Manager?
ความยากคือการทำ Product ใน Agile Environment เนื้องานและปัญหาที่เข้ามาก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จึงต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา Product Manager จึงต้องเป็นคนดูแลการเปลี่ยนแปลง คอยบอกว่าอะไรสำคัญกว่า สำคัญน้อยลง เป็นคนที่เห็นภาพรวมและสามารถ Adjust และทำงานร่วมกับทีมให้เกิด Outcome ที่เราอยากเห็นให้ได้
อีกหนึ่งความท้าทายคือเรื่อง Crisis Management มาจากการที่เราไม่ได้นึกถึงปัญหาบางมุม พอถึงเวลาปล่อยของไปแล้วเกิดพัง พอเจอเคสแบบนี้บ่อยๆ เราจะเริ่มคิดได้กลมมากขึ้นว่าคราวหน้าต้องคิดเผื่อปัญหาแบบนี้ด้วย พอเรายิ่งเห็นหลายมุมเราจะเริ่มมองออกว่าจะมีตรงไหนที่ต้องระวัง เหมือนพอเราเจอปัญหาบ่อยๆ เราจะเริ่มเห็นเส้นระหว่างจุด ด้วยประสบการณ์ที่เจอมาจะสามารถลากจุดเชื่อมโยงได้ไว ตัดสินใจได้เร็วขึ้น
เล่าถึง Crisis ครั้งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้น และมีวิธีจัดการกับปัญหาครั้งนั้นอย่างไร?
เคยมีครั้งหนึ่งที่เว็บไซต์ของเราล่มในช่วงที่ปล่อยโปรแรง ปกติแล้วจะมีการเตรียมการเว็บไซต์เพื่อรองรับลูกค้าจำนวนมากที่จะเข้ามาแต่ในครั้งนั้นเราคาดการณ์ผิด คิดว่าเป็นแค่โปรเล็กๆ เตรียมโค้ดไว้แค่ 100 ออเดอร์ ปรากฎว่ามันเป็นโปรเล็กแต่ลดแรงทำให้วันจริงคนเข้ามาเยอะมากกว่าที่เราคิดจนเว็บล่มตั้งแต่ลูกค้ายังไม่ทันกดโค้ด
ตอนนั้นคนก็ไม่พอใจ มากระหน่ำคอมเมนต์ในโพสต์เฟซบุ๊กเราเยอะมาก บอกว่าเราหลอกบ้าง โค้ดไม่มีอยู่จริงบ้าง ตั้งใจทำเว็บล่มเพื่อเว็บข้อมูลลูกค้าบ้าง ทางเราไม่ได้มีเจตนาแบบนั้นอยู่แล้วแต่ที่มันเกิดขึ้นเพราะเราไม่ทันได้คาดการณ์ถึงปัญหานี้ไว้ก่อน ตอนนั้นทั้งทีมเครียดกันมาก น้อง Customer Service เองก็ต้องรับสายลูกค้าที่โทรมาต่อว่าทั้งคืนจนน้องร้องไห้
สถานการณ์ตอนนั้นจัดว่าวิกฤตมากจนเราตัดสินใจว่าในฐานะ Product Manager สิ่งแรกที่ต้องทำคือการเซฟทีม เราสั่งให้ทุกคนหยุดตอบ หยุดรับสาย ให้น้องๆ ไปพักแล้วให้พี่ๆ มาคุยกันว่าจะทำยังไงต่อ หลังจากคืนนั้นเราก็มีการออกแถลงการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น ปัญหาคืออะไร มีการชดเชยด้วยการแจกโค้ดเพิ่มให้อีกรอบหลังจากที่ปรับเว็บให้รองรับได้มากขึ้นแล้ว เป็นการออกมาแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อลูกค้า
นอกจากเคสนี้แล้วก็ยังมีกรณีอื่นๆ ที่เราไม่ได้คิดถึง Scenario นี้มาก่อน ปัญหาคือลูกค้ากดซื้อของอย่างเร่งด่วนช่วงที่มีโปรทำให้ไม่ทันอ่านว่าสินค้าที่กดสั่งเป็นสินค้าพรีออเดอร์สั่งผลิต พอรีบกดสั่งไปแล้วเพิ่งมาเห็นก็กลับมาว่าเรา ซึ่งจริงๆ เราเขียนไว้แล้วแต่รายละเอียดมันเยอะและอาจจะตัวเล็ก ลูกค้าที่รีบกดก็อาจจะไม่ทันได้อ่านหรือมองไม่เห็น เราเองก็รับมาปรับปรุงด้วยการเพิ่มกล่อง pop-up ก่อนทำรายการ
นอกจากทักษะการแก้ไขปัญหา Product Manager ต้องมีทักษะอะไรอีกบ้าง?
ทักษะเรื่องคนเป็นสิ่งสำคัญมาก หน้าที่สำคัญของ Product Manager คือการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาว่าควรจะแก้อะไรก่อนทำให้มีเรื่องของ Stakeholder Management เข้ามาเพราะทุกทีมมีโฟกัสปัญหาที่อยากแก้ต่างกัน เราในฐานะ Product Manager ต้องสื่อสารให้ทุกคนเข้าใจตรงกันว่าปัญหาที่ควรโฟกัสก่อนคืออะไร ถ้าทุกคนเข้าใจจะไปต่อง่าย
ช่วงแรกที่เริ่มทำที่ Nocnoc ก็เจอกับปัญหานี้เพราะช่วงเริ่มต้นจะมีความไม่รู้เต็มไปหมด ปัญหาเลยเยอะมาก ไม่รู้จะ Prioritize ปัญหาไหนก่อน ด่านแรกของ Product Manager คือต้องรู้ว่าปัญหาอะไรสำคัญแล้ว Prioritize ปัญหาและนำไปสื่อสารกับทีมว่าควรโฟกัสกับปัญหาไหนก่อน แล้ว Collaborate กับคนในทีมเพื่อแก้ปัญหานี้ร่วมกัน เหมือนเป็น Moderator ให้กับทีม
เล่าถึง Product Team ที่ NocNoc ให้ฟังหน่อย
ตอนนี้ NocNoc มีพนักงานทั้งบริษัท 200 กว่าคน แต่ส่วนของทีม Product Manager ที่เราดูแลอยู่มีประมาณ 10 คน Product Manager แต่ละคนก็จะรับผิดชอบทีม Product ที่ดูแลไปเลยเป็นเรื่องๆ เช่น มีทีมที่ดูแล Experience ของผู้ขาย ผู้ซื้อ Service หน้าบ้าน หลังบ้าน หรือในส่วนของ Operation
Product Manager ที่นี่โตมาจากหลายสาย มีทั้งที่โตมาจากสาย Tech สาย Project Manager หรือสาย Entrepreneur ที่เคยทำธุรกิจมาก่อน Product Manager แต่ละคนก็จะถูกส่งไปขึ้นกับแต่ละทีม แต่ละทีมก็จะมีโฟกัสของตัวเองที่เปลี่ยนไปตาม Priority ของบริษัทแต่ละช่วง
การสร้างทีมสำคัญอย่างไรต่อการสร้าง Product
จากประสบการณ์ เรากล้าพูดเลยว่าต่อให้เปลี่ยนธุรกิจอีกสิบรอบ หรือสร้าง Product อีกสิบอย่างก็ทำได้ถ้าทีมดี
จาก Day 1 จนถึงวันนี้ NocNoc เติบโตมาไกลกว่าที่เราคิดมาก แต่เรื่องที่เราภูมิใจมากที่สุดเป็นเรื่องการที่เราสามารถสร้างทีมที่ดีขนาดนี้ได้ ทีมที่ดีสำหรับเราคือทีมที่มองภาพรวมร่วมกันว่าอะไรคือสิ่งที่ Matter แล้วทุกคนจะช่วยกันทำให้มันเกิด ทุกคนพร้อมเรียนรู้ พร้อมที่จะแชร์และเติบโตไปด้วยกัน สำหรับเราสิ่งนี้คือ Perfect Team
เหตุผลที่ NocNoc ให้ Value เรื่องทีมเป็นพิเศษเพราะเรารู้สึกว่าเรื่อง Culture ของคนในทีมที่เลียนแบบกันไม่ได้ พลังของคนในทีมที่อยากเรียนรู้ อยากทำให้สำเร็จ เป็นสิ่งที่ทำให้ทีมเราแข็งแกร่งและเดินไปข้างหน้าได้เร็ว
ถ้าทีม Product นำโดย Product Manager ที่เก่ง จะช่วยสร้าง Benefit ให้องค์กรได้อย่างไร
การมี Product Manager ที่เก่งคือการที่มีคนที่มีความคิดเป็น Entrepreneur หมายความว่าเราจะมีคนที่คิดหาทางว่าจะสร้าง Product ที่ดีเพื่อแก้ปัญหาลูกค้าและจะ Maximize Value ให้บริษัทได้อย่างไรตลอดเวลา
ดังนั้น ถ้ามี Product Manager ที่เก่ง องค์กรก็จะได้ข้าวของที่เป็นประโยชน์ออกมาเยอะขึ้นและดีขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งถ้ากระจายให้มี Product Manager หลายคน แปลว่าองค์กรได้ยก Ownership บางอย่างให้คนที่มีความคิดแบบ Entrepreneur มาช่วยกันสร้าง Product ที่ดีให้กับบริษัทได้มากขึ้นเรื่อยๆ
องค์กรแบบไหนควรมี Product Manager
องค์กรที่มีคนต้องดูแลโปรเจกต์โดยเฉพาะองค์กรใหญ่ๆ ที่จะมีโปรเจกต์เล็กๆ หลายอัน คนที่ทำหน้าที่เป็น Head ในการดูแลโปรเจกต์เหล่านี้ควรจะมีทักษะ Product Management เป็นพื้นฐาน
องค์กรที่กำลังพัฒนา Product ทั้งในฝั่ง Physical และ Digital ก็มี Product Manager ได้ ถึงคำว่า Product จะดูเกี่ยวโยงกับภาพของธุรกิจดิจิทัลมากกว่าธุรกิจดั้งเดิมแต่มีรากฐานวิธีคิดในการบริหารจัดการที่เหมือนกัน เพียงแค่ในปัจจุบันที่ธุรกิจต้องการการหมุนเวียนที่ไวกว่าแต่ก่อนหลายเท่า การเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีจะช่วยให้เรานำมันมาประยุกต์ใช้บริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นได้
ยิ่งไปกว่านั้น เราว่ามอง Product Management เป็นทักษะที่ทุกคนในองค์กรควรมีเพราะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการทำงานทุกประเภท ทั้งทักษะการคิดแบบ Build, Measure, Learn การสร้าง Product ที่มี Impact ต่อผู้ใช้ การเจรจาต่อรองกับผู้ใหญ่ การทำงานร่วมกับคนอื่นในทีม
ถ้าเข้าใจกระบวนการคิดแบบ Product Manager ไม่ว่าจะทำตำแหน่งไหนก็สามารถทำได้ดีทั้งนั้น
เราจะเริ่มปั้น Product Manager ในองค์กรได้อย่างไรบ้าง
ควรเริ่มต้นจากการแยกคนที่มี Growth Mindset ออกมาก่อนแล้วสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้พวกเขาเรียนรู้และเติบโตด้วยการแยกทีมออกมาให้พวกเขาเหล่านี้ลองทำโปรเจกต์จริงๆ คนที่อยากพัฒนาตัวเองเป็นทุนเดิมจะเรียนรู้ไว ฝึกฝนง่าย และสามารถนำกลับไปถ่ายทอดให้คนอื่นได้ดี แต่วิธีนี้จะใช้เวลาเพราะต้องให้ลองผิดลองถูกอยู่ช่วงหนึ่ง
ถ้าต้องการให้ไวขึ้น วิธีที่ง่ายที่สุดคือส่งคนที่มีศักยภาพหรือคนที่มีหน้าที่ดูแลโปรเจกต์ในองค์กร
ไปเข้า Product Management Bootcamp อาจเริ่มจากการส่งคนเหล่านี้ไปเข้า Bootcamp มาก่อนแล้วกลับมาสอนคนอื่นในทีม ถ้าได้คนที่มีศักยภาพและถ่ายทอดต่อได้ดีกลับไปสอนเพื่อนๆ ต่อได้ก็จะง่ายขึ้น
ตัวผู้บริหารเองก็สามารถส่งตัวเองมาเรียนได้เพื่อให้เข้าใจเนื้องานของ Product Manager ทำให้กลับไปแล้วรู้ว่าจะสามารถสนับสนุนให้ส่วนไหนได้เพื่อสร้างทีม Product ที่ดี
ในระดับที่ใหญ่ขึ้นแนะนำว่าอยากให้จัด In-house Workshop เราคิดว่าสกิล Product Management เป็นเรื่องที่ควรรู้ทั้งบริษัท ถ้าอยากเพิ่มสกิลส่วนนี้ให้กับคนในองค์กรลองมาคุยกับ Skooldio เพื่อดูว่าบริษัทตัวเองมีปัญหาอะไรบ้าง ต้องการคอร์สไหนเข้าไปเสริมเพื่อจะ Customize คอร์สเข้าไปให้เหมาะกับ Context บริษัทได้
Product Manager ตอนนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในไทยหรือยัง
ถ้าเทียบกับเมื่อ 5-6 ปีที่แล้วถือว่าเป็นที่รู้จักขึ้นมาก แต่ Product Manager ในไทยตอนนี้รับหน้าที่ดูแล Product ใหญ่ๆ ยังไม่เหมือนกับต่างประเทศที่จะมี Product Manager คอยดูแล Product ที่เล็กลงมา ยังไม่รวมถึง Product Manager ในฐานะที่เป็นทักษะที่ทุกคนในทีม Product ควรจะมี
ทำไมถึงมาเป็น Program Manager ของ Product Management Bootcamp รุ่นนี้
เพราะเราอยากช่วยให้ทุกคนได้สร้าง Product ที่มีคุณค่าจริงๆ
ก่อนหน้านี้มีโอกาสไปสอนคอร์สเกี่ยวกับ Product Manager เลยเริ่มรู้สึกว่าเหมาะกับตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่เราต้องทำเยอะจนพอได้มาอธิบายให้คนฟังเลยรู้สึกว่าเราแชร์ได้ เทรนนิ่งได้
เรารู้สึกว่า Learning curve ของเราในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามันสูงมาก เราได้เจอทั้งเคสที่ล้มเหลวและประสบความสำเร็จมามาก ระหว่างทางเราก็เข้าใจอะไรผิดมาหลายอย่างจนคิดว่าเรามีประสบการณ์ให้แชร์ได้เยอะกับคนที่เพิ่งเริ่มทำหรือเริ่มทำแล้วเจอปัญหา เลยเป็นที่มาของการเข้ามามีส่วนร่วมใน Product Management Bootcamp ของ Skooldio ในรอบนี้อย่างเต็มตัว
อะไรคือจุดเด่นของ Product Management Bootcamp ของ Skooldio ที่แตกต่างจากที่อื่น
Product Management Bootcamp ของ Skooldio จะเน้นในเรื่องการสร้างประสบการณ์ของผู้เรียน นอกจากการปูพื้นฐานสิ่งที่ Product Manager ต้องรู้อย่างครบถ้วนแล้ว เรายังมีเคสตัวอย่างจาก Speakers ที่มีประสบการณ์จริงมาเยอะมาก ทำให้คนเรียนได้เห็นปัญหาจากหลายมุม ได้ลอง Trigger บางอย่างในสมองให้เปิดกว้างหรือ Explore ความคิดหรือพลิกแพลงได้เพราะการเป็น Product Manager ในโลกความเป็นจริงคือการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ
สิ่งที่ Skooldio ทำได้ดีคือทุกคนจะได้เรียนอย่างสนุกสนาน ทั้ง Fun and Inspiring ถ้าเกิดมาเรียนให้รู้สึกเกิดแรงบันดาลใจก่อนแล้วมาเข้าใจภาพรวมจะรู้สึกว่านำสิ่งที่เรียนไปใช้ Adapt ได้เพราะเข้าใจว่าที่มาที่ไปคืออะไร ยิ่งไปกว่านั้น Skooldio ยังโดดเด่นในเรื่องการมอบประสบการณ์การเรียนที่ถึงแม้จะเป็นแบบออนไลน์ แต่ทั้งวิธีการสอนและรูปแบบกิจกรรมได้รับการออกแบบมาให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับการเรียนแบบออฟไลน์ได้อย่างครบถ้วน
[อ่านวิธีการออกแบบ User Experience ของ Virtual Workshop ของเรา]
จุดที่พิเศษที่สุดของ Skooldio คือการมีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญตัวท็อประดับประเทศทั้งในด้าน Tech, Business และ Design รวบรวมมาเป็นทั้งผู้สอนและผู้ให้คำปรึกษาตลอดโครงการ รวมถึง Speakers ที่เป็น Product Manager ชื่อดังมากประสบการณ์ ผู้เรียนสามารถถามได้ทุกเรื่อง แนะนำได้ทุกโปรเจกต์และปัญหาที่กำลังเจออยู่ รับรองว่าได้ทั้งความรู้ คำปรึกษา และ Connection อย่างอัดแน่น
Skooldio มีสอนเรื่อง Soft Skills ด้วย สิ่งนี้สอนกันอย่างไรได้บ้าง
อย่างที่บอกไปว่าการเป็น Product Manager ที่ดีจะต้องเก่งเรื่องคนด้วย ตัว Soft Skills เองมีหลายมุม ไม่ว่าจะเป็นทักษะการ Empathize (เข้าถึงใจคน) การเจรจาต่อรอง การพรีเซนต์เบื้องต้น การสื่อสารกับคนในทีม
ใน Bootcamp นี้เราจะมีคลาสที่สอนเรื่อง Soft Skills โดยเฉพาะ โดยใน Workshop นี้จะให้ผู้เรียนได้ลอง Interact กับคนเพื่อทำความเข้าใจว่าคนในแต่ละทีมที่เราต้องทำงานด้วยเค้าคิดอย่างไร ทั้งทีม UX ทีม Tech ทีม Business ถ้าเข้าใจในส่วนนี้เราจะเป็น Product Manager ที่ดีขึ้นเพราะสามารถสื่อสารจากในมุมที่ทีมนั้นๆ สนใจและสามารถอธิบายให้เห็นได้จากมุมของเขา
หลังจากได้ลองเล่นแล้วทุกคนจะเข้าใจว่า Soft Skills สำคัญอย่างไร ได้ลองฝึกฝนจริงว่าถ้าจะทำให้ดีทำได้อย่างไร ถ้าเข้าใจก็จะนำกลับไปปรับใช้ได้และจะเป็นประโยชน์มากในการทำงาน
Bootcamp รุ่นนี้พิเศษกว่ารุ่นแรกยังไงบ้าง
ก่อนจะมารับบทบาทนี้ เราได้กลับไปทำการบ้านด้วยการย้อนกลับไปดูเนื้อหาของรุ่นที่แล้ว พูดคุยและรวบรวมฟีดแบ็กจากผู้เรียน ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของคนที่มาเรียนเพื่อที่จะปรับเนื้อหาให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียนเป็นพิเศษ ผนวกกับเสริมเนื้อหาที่เราคิดว่าในฐานะ Product Manager ควรจะรู้เพิ่มเติมจากรุ่นแรกจน Bootcamp ในรุ่นนี้ออกมาตรงใจและจะตอบจุดประสงค์ของผู้เรียนทุกคนได้
[ฟังจากผู้เรียนรุ่นที่ 1 ของเรา]
ข้อดีของรุ่นนี้คือเราเพิ่มเวลาเรียนมากขึ้น และ Value หลักที่เราจะให้เพิ่มในรุ่นนี้คือพาร์ท Consultation ที่เยอะขึ้นกับการทำโปรเจกต์จริง เราอยากให้คนที่กลับไปได้สร้าง Product ที่สร้างอิมแพคได้จริงๆ เพราะฉะนั้นใครที่กำลังทำโปรเจกต์ของตัวเองก็จะได้ใช้เวทีนี้ในการปั้นมันออกมา ถ้าไม่มีโปรเจกต์มาเลยทางเราก็ช่วยสร้างโจทย์ขึ้นมาได้เพราะเราอยากให้คนที่มาเรียนได้ลองคิดและแก้ปัญหาแบบ Product Manager จริงๆ
นอกจากทำโปรเจกต์แล้วเรายังมี Consultant เก่งๆ คอยให้คำปรึกษาอยู่ตลอดเวลา ข้อดีก็คือถึงจะเป็นเนื้อหาบางอย่างที่ไม่ได้เรียน แต่อาจารย์ทุกคนรู้ลึกมากในแต่ละด้าน คุณจะมี Specialist ให้ถามได้ตลอดทั้งคลาส
สุดท้ายเราอยากแนะนำว่าถ้าใครคิดที่จะเริ่มทำโปรเจกต์จริงก็อยากให้มาเรียน Bootcamp นี้ เพราะในช่วงเริ่มต้นการหาคน Consult หรือที่ปรึกษา ที่ช่วยเราทำเป็น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ปกติแล้วค่า Consult ต่อหนึ่งชั่วโมงราคาแพงมาก ถ้าคนที่เรียนเข้ามาถามเหมือนได้ใช้ Service ตรงนี้ฟรีและได้โปรเจกต์ที่สร้างอิมแพคได้จริงกลับไปด้วย
รุ่น 4 เปิดรับสมัครแล้ว!
สำหรับใครที่พลาด PM Bootcamp รุ่นก่อรไป ไม่ต้องเสียใจ เพราะ “Product Management Bootcamp: 10 สัปดาห์สู่การเป็น Product Manager” รุ่นที่ 4 เปิดรับสมัครแล้ว!
Bootcamp ที่สอนครบทั้งด้าน Business, Design, Technology, และ Way of Working ที่พร้อมพาคุณเริ่มต้นเป็น Product Manager สุดฮอต