ถ้าวันนั้นเรามองว่าบุรุษไปรษณีย์เป็นแค่พนักงานรับส่งของ วันนี้องค์กรคงไม่กำไร

Board of Director คือ Game Changer ถ้าไม่มี Board ที่ให้ Direction ดี ๆ องค์กรก็ไปผิดทาง

องค์กรไทยแท้ อายุร้อยปี สู้ยุค Digital ได้ยังไงแบบมีกำไรติดมือ 

หนึ่งคำถามที่หลายคนอยากรู้ ชวนมาถอดกลยุทธ์แก้เกมของไปรษณีย์ไทย ที่พาองค์กรพลิกมาทำกำไร 78.54 ล้านบาท ในปี 2566 กับดร.เอกก์ ประธานกรรมการบริหารจากไปรษณีย์ไทย 

คุณเอกก์กล่าวว่าทุก ๆ ธุรกิจ ควรมีอย่างน้อย 1 จุดที่คนอื่นไม่มีทางมี 

สำหรับไปรษณีย์ไทย จุดแข็งคือ ‘บุรุษไปรษณีย์’ ที่ได้รับความไว้วางใจจากทุกบ้าน เข้าถึงได้ทุกที่ และนี่คือเคล็ดลับที่นำมาใช้ในการแก้เกม

บริษัทหลายที่ พอเริ่มจะขาดทุน ก็ Layoff พนักงาน เป็นเทรนด์ที่บริษัทเทคยักษ์ในต่างประเทศก็ทำเช่นกัน แต่ที่ไปรษณีย์ไม่ได้คิดแบบนั้น เขาพยายามใช้ Asset ที่มีอยู่คือบุรุษไปรษณีย์ให้คุ้มค่ามากที่สุด สุดท้ายจึงพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้ 

สรุป 3 กลยุทธ์แก้เกมของไปรษณีย์ไทย ที่พาองค์กรพลิกทำกำไร

กลยุทธ์ที่ 1 ในเมื่อแข่งที่ราคาไม่ได้ ก็ใช้ Ecosystem เข้าสู้

ตอนนี้ไปรษณีย์ไทยมีลูกค้าใหม่ คือ บริษัทที่บริการด้านสินเชื่อ เพราะรู้จักข้อมูลของลูกบ้านในพื้นที่ดี จึงเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการให้สินเชื่อได้ 

คนไทยคุ้นเคยกับบุรุษไปรษณีย์มาก บางบ้านถึงกับให้ของกิน ของฝากในวันเทศกาลกับบุรุษไปรษณีย์ นี่คือจุดแข็งที่เปลี่ยนมาสู่ท่าในการต่อสู้กับขนส่งเจ้าอื่น 

อีกทั้งเมื่อรู้จักคนในพื้นที่ดี ก็ตามหาคนให้ได้ อนาคตจะมีเจ้าไฟแนนซ์อื่น ๆ อย่าง รถมอเตอร์ไซต์ รถยนต์เป็นลูกค้าอีก 

คุณเอกก์เล่าว่า Business Model นี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากผู้บริหารไม่เปลี่ยนมุมมอง เพราะถ้าไปรษณีย์ไทยไม่ปรับตัว และส่งจดหมายอย่างเดียว บริษัทคงไปไม่ถึงกำไร 

แต่ไปรษณีย์มองว่าบุรุษไปรษณีย์คือ Asset ที่สำคัญขององค์กร แล้วมองหา Need ในตลาด พอ Pain point ลูกค้า มาจับเข้ากับ Asset และจุดแข็งของธุรกิจเรา นี่คือทางรอดของธุรกิจในระยะยาว

สุดท้ายแล้วบุรุษไปรษณีย์ยังได้ Commission ด้วย เพราะเขาเหนื่อยขึ้น ถือว่า WIN-WIN ทุกฝ่าย นี่คือกลยุทธ์ข้อแรกที่ถอดออกมา

กลยุทธ์ที่ 2 เพราะทางรอดของธุรกิจยุคนี้คือก้าวสู่ Digital

“ดูเวลาที่ประทับตราไปรษณีย์” คำนี้คือ Signature ของไปรษณีย์ไทย ที่นำมายกระดับสู่การเป็น Tech Post 

คุณเอกก์เล่าแนวคิดนี้ มาจากเรารับฟังปัญหาลูกค้าเยอะ จนเจอปัญหาหนึ่งที่หลายคนอารมณ์เสีย คือการ ‘เซ็นสด’ 

บางองค์กรอย่างประกัน กองทุนของธนาคาร มหาวิทยาลัย และใบสัญญาต่าง ๆ ยังขอให้เราเซ็นลายเซ็นแบบสด ๆ อยู่ บางที่ต้องเดินทางไปเองบ้าง ส่ง Messager มาให้เซ็นสดบ้าง

ซึ่งพอวิเคราะห์เหตุผลว่าทำไมเซ็นออนไลน์ไม่ได้ ก็พบว่าหากเกิดปัญหาขึ้นมาจะตรวจสอบยาก ทั้งระยะเวลาในโทรศัพท์ และลายเซ็นที่ถูกปลอมแปลงได้ 

เกิดเป็นธุรกิจ e-Timestamp ของไปรษณีย์ไทย รับส่งเอกสารดิจิทัลแบบปลอดภัย การันตีโดยไปรษณีย์ไทย องค์กรรัฐที่คนไทยให้ความเชื่อใจ หมดปัญหาเอกสารหาย เพราะผ่านไปอีก 10 ปี ก็ยังมีอยู่ในระบบ พูดถึงในด้านกำไรก็สูงมากเลยทีเดียว

ในอนาคตยังจะมี Digital Post ID จากไปรษณีย์ไทย ส่งของแบบไม่ต้องจ่าหน้าซอง แต่ใช้เป็นสลาก QR Code แปะแทนที่อยู่ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเปลี่ยนที่อยู่ได้ง่ายขึ้น(กรณีย้ายบ้านชั่วคราวและต้องการให้ของไปส่งที่อยู่ใหม่) และเพื่อป้องกันคนอื่นรู้ที่อยู่อาศัย 

กลยุทธ์ที่ 3 ลองกลั่นออกมา DNA การมีอยู่ของธุรกิจเราคืออะไร

ยกตัวอย่าง DNA ของ ไปรษณีย์ไทยคือ Companionship: ไปรษณีย์ไทยเป็นมิตรกับทุกบ้าน 

และ Navigator: บุรุษไปณีย์ไทยเข้าได้ทุกที่ ซอกแซกได้ทุกมุม 

คุณเอกก์เล่าว่าธุรกิจยุคนี้ รู้จักลูกค้าแค่ อายุ เพศ ไม่จำเป็นเท่า Lifestyle หลายบริษัทชอบแจก Sample ทั้งที่รู้ว่าไม่ใช่ทุกคนจะอยากใช้ และถ้าธุรกิจเราไปอยู่ในที่ ๆ มีคนที่ ‘น่าจะ’ อยากใช้ คงจะสร้างยอดขายได้มากกว่า 

ตอนนี้ไปรษณีย์ไทยกำลังสร้าง Business Model ใหม่ที่คล้ายกับ Ads mail หลังจากเก็บข้อมูล Lifestyle ลูกค้า อย่างเช่น บ้านนี้รักหมารักแมว บ้านนี้มีคนสูงวัยที่รักสุขภาพและชอบออกกำลังกาย 

Lifestyle พวกนี้แม่นเหมือนกับการ Retarget ของ Ads หากธุรกิจอื่นต้องการขายสินค้า แค่เพียงบอกงบที่มี ไปรษณีย์ไทยสามารถส่งโฆษณาไปหาได้ถูกบ้าน 

อนาคตอาจมี Subscription Model จากไปรษณีย์ไทยให้เราได้เห็นกัน เพราะเมื่อส่งโฆษณาไปหาลูกค้าที่ตรงกลุ่มอัตราการซื้อก็เพิ่มขึ้นแน่นอน นี่คือกลยุทธ์แก้เกมที่ไปรษณีย์ไทยกำลังต่อเติมอยู่ 


สรุปว่าด้วยการฟังเสียงลูกค้า หา DNA ของธุรกิจตัวเองและปรับตัวก้าวเข้าสู่ดิจิทัล เป็น 3 ข้อสำคัญในการพาองค์กรเก่าแก่ 100 ปีอย่างไปรษณีย์ไทยเติบโต

แม้จะเจอวิกฤตการเข้ามาของคู่แข่งหน้าใหม่ การ Dump ราคาในตลาด หรือพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป แต่ก็สามารถหาจุดยืนท่ามกลางตลาดที่แข่งขันดุเดือดได้จนกลับมาได้กำไร 78.54 ล้านบาท ในปี 2566

#เวิร์กเคสScenario #Skooldio

More in:Business

Comments are closed.