"ตั๊ง" กับเส้นทาง UX/UI - จากสถาปัตฯ สู่ Lead Designer บริษัทต่างชาติในวัย 26 ปี | Skooldio Blog

"ตั๊ง" กับเส้นทาง UX/UI - จากสถาปัตฯ สู่ Lead Designer บริษัทต่างชาติในวัย 26 ปี | Skooldio Blog

Make an Income Doing What You Love

สำหรับคนทำงานสายผลิตหรือ Content Creator คงจะดีไม่น้อยถ้าเราได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรักไปพร้อมๆ กับการมีรายได้คอยหล่อเลี้ยงให้มีกำลังใจสร้างสรรค์ผลงานต่อไป

แต่จะทำอย่างไร ในเมื่อการทำสิ่งที่ตัวเองรักอย่างเดียวไม่ตอบโจทย์การหารายได้ เหล่า Creator จึงต้องหันไปพึ่งพาเม็ดเงินโฆษณามากขึ้นเรื่อยๆ จนแพสชันและความรักในสิ่งที่ทำถูกเบียดบังให้ลดน้อยถอยลงไปตามกาลเวลา

Donation คือคำตอบหนึ่งสำหรับปัญหานี้

สำหรับคนไทย การบริจาคเงินให้ Creator ที่เราชื่นชอบโดยตรงอาจยังไม่ใช่เรื่องที่คุ้นชินเท่าไหร่นัก แต่ในต่างประเทศ ไอเดียนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่และกำลังเป็นตลาดที่แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่หลายเจ้าพยายามกระโดดเข้ามาแย่งส่วนแบ่งมากขึ้นเรื่อยๆ 

“Ko-fi” คือธุรกิจที่อยากสร้างรายได้ให้กับเหล่า Creator ด้วยการทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มรับบริจาคเงิน โดยชูจุดแข็งจากการไม่เก็บค่าธรรมเนียมจากเงินที่บริจาคแม้แต่บาทเดียว (0% Transaction Fee) ทำให้มั่นใจได้ว่าเงินที่บริจาคไปจะเข้ากระเป๋าเหล่านักผลิตครบถ้วนทุกบาททุกสตางค์

หน้าตา UI (User Interface) ที่ดูเป็นมิตร พร้อมกับการเลือกใช้คำว่า “Buy Me A Coffee” แทนการใช้คำว่า “Donate” กิมมิคเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้เองที่ทำให้เรารู้สึกสนุกจนอยากกดซื้อกาแฟให้ Creator ที่เราชื่นชอบอีกหลายๆ แก้ว

"ตั๊ง" กับเส้นทาง UX/UI - จากสถาปัตฯ สู่ Lead Designer บริษัทต่างชาติในวัย 26 ปี | Skooldio Blog

ตั๊ง–ธนนท์ วงษ์ประยูร Lead Designer, Ko-fi

แต่รู้ไหมว่า เบื้องหลังทุกงานออกแบบของ Product ของสตาร์ทอัพสัญชาติอังกฤษที่เราเห็นนี้ เป็นฝีมือของ ตั๊ง–ธนนท์ วงษ์ประยูร Lead Designer คนไทยคนเดียวแห่ง Ko-fi 

ไม่ใช่แค่งานออกแบบเท่านั้น แต่ตั๊งยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนา Digital Product ตัวนี้ในทุกขั้นตอนชนิดที่ตั๊งบอกกับเราว่า “ทำทุกอย่างจริงๆ”

หลังจบการศึกษาจากภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ตั๊งได้เริ่มต้นเส้นทางในสายงาน UX Design กระโดดจากความคุ้นเคยในการทำ Physical Product สู่ Digital Product ด้วยบทบาท UX/UI Designer ที่ Skooldio ก่อนที่จะมาลงเอยในตำแหน่ง Lead Designer แห่ง Ko-fi ในปัจจุบัน

ตลอดระยะเวลาหลายปี ตั๊งได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์และสั่งสมความรู้ด้าน UX/UI Design พ่วงด้วยทักษะ Front-end Web Developer และทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ด้วยทักษะที่ครบเครื่องนี้เอง ทำให้ตั๊งกลายเป็นหนึ่งใน UX/UI Designer คนหนึ่งที่หาตัวจับยาก

ในโอกาสที่ตั๊งรับหน้าที่เป็นหนึ่งใน Instructor ของ UX/UI Bootcamp ที่กำลังจะเริ่มต้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เราจึงติดต่อขอพูดคุยกับตั๊งถึงเส้นทางในสายงาน UX Design ประสบการณ์การพัฒนา Product ใน Remote Team และเบื้องลึกเบื้องหลังวิธีคิดในการทำงานของเขาที่จะทำให้คุณนำไปปรับใช้กับการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

ถ้าอ่านจบแล้วคิดว่าบทความนี้ดี จะกด “Buy Me A Coffee” ก็ได้นะ 🙂

"ตั๊ง" กับเส้นทาง UX/UI - จากสถาปัตฯ สู่ Lead Designer บริษัทต่างชาติในวัย 26 ปี | Skooldio Blog

Table of Contents

เรียนสถาปัตย์ภาค Industrial Design คุ้นเคยกับการสร้าง Physical Product มาตลอด อะไรคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้สนใจ Digital Product 

เล่าก่อนว่าภาค Industrial Design จะมีวิชาเลือกให้เรียนเยอะมาก จุดเปลี่ยนคือตอนปี 3 เราบังเอิญได้ไปลงเรียนวิชาหนึ่งที่สอนโดยรุ่นพี่ที่จบมาจาก Parsons School of Design สอนเกี่ยวกับ Technology and Design เราเลยได้ลองทำอะไรสนุกๆ หลายอย่างทั้งเขียนเว็บไซต์ เขียนเกม เขียน p5.js ยิง Projection Mapping ทำ Interactive Art ต่างๆ

ตอนนั้นเราสนุกกับสิ่งนี้มากจนตัดสินใจเลือกสายเทคโนโลยีหลังจากนั้นเป็นต้นมา พอขึ้นปี 4 ทุกคนต้องเลือกทำโปรเจกต์จบที่เกี่ยวข้องกับสายที่ตัวเองเลือก ช่วงนั้นเรามีแพสชั่นเรื่องการศึกษาเลยทำ Digital Product เป็นแพลตฟอร์มรีวิวอาจารย์ในคณะสถาปัตย์

การเรียน Industrial Design ช่วยต่อยอดสู่การเป็น UX Designer ได้อย่างไรบ้าง

ช่วยตั้งแต่เรื่องวิธีคิดที่ต้องให้ความสำคัญกับ User เราได้เรียนรู้การทำ Design Research จากหนังสือเรียน “Design Thinking Methodology” ที่คณะสถาปัตย์ใช้ เป็นหนังสือเล่มแรกๆ ที่พูดถึง Flow ของ Design Thinking Process เลยได้คลุกคลีกับกระบวนการคิดนี้มาตลอด รวมถึงเรื่อง Service Design ที่ได้เรียนรู้จากตอนทำ Ambience Design ว่าจะสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับคนที่เข้ามาในพื้นที่ได้อย่างไรผ่านการคิดจากมุมมองของคนที่จะเข้ามาใช้งานพื้นที่นั้นๆ

นอกจากนั้น เรายังได้เรียนรู้เรื่อง Manufacturing Process การที่เป็น Product Design ทำให้เราต้องเข้าใจ Process ทั้งหมด ต้องคิดทั้ง Workflow ของการ Launch Product หนึ่งๆ ว่าจะมี Stakeholder ส่วนไหนบ้างตั้งแต่การออกแบบ การผลิต ไปจนถึงการจัดจำหน่าย

ในส่วนนี้เราว่ามีความคล้ายกับ Digital Product ในแง่ที่ว่าเวลาเราจะออกแบบอะไรซักอย่างเราต้องคำนึงถึง Framework ของ Front-end ที่ Developer ในทีมใช้เพื่อให้ออกแบบ Blueprint ที่เอาไปทำต่อได้ง่าย ถ้าเราออกแบบโดยไม่คำนึงถึง Framework ที่ Developer ใช้ก็จะเอาไปปั้นหน้า UI ต่อได้ยาก

ได้เรียนรู้อะไรในช่วงที่ทำงานเป็น UX Designer ที่ Skooldio

ตอนทำงานที่ Skooldio เราได้เรียนรู้เยอะมากจากการทำโปรเจกต์ TCASter ด้วยความที่ Timeline การ Launch Product เร่งพอสมควร ประมาณ 3 เดือน ทำให้เราได้ลองทำและเรียนรู้จากหน้างานจริงๆ ได้ลองดีลกับ User ที่เป็นกลุ่มนักเรียนจริงๆ ได้ลองทำงานร่วมกับทีม Developer ครั้งแรก ได้เรียนรู้ในส่วนของ Front-end ว่าจะปรับงานออกแบบเราให้เหมาะกับแอพยังไงได้บ้าง 

"ตั๊ง" กับเส้นทาง UX/UI - จากสถาปัตฯ สู่ Lead Designer บริษัทต่างชาติในวัย 26 ปี | Skooldio Blog

หลังจากผ่านโปรเจกต์นี้เราได้เรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างตอนทำงานกับตอนเรียน ตอนเรียนเราอาจแค่ทำงานเพื่อส่งให้ได้เกรดแต่ Product ที่สร้างไม่ได้แก้ปัญหาจริงๆ แต่ตอนทำงานเราต้องรับโจทย์จากลูกค้าเลยต้องทำงานให้ตอบโจทย์ลูกค้าหรือ Business Unit อื่นๆ แล้วพอทำเสร็จคนตรวจแบบจะไม่ใช่อาจารย์แต่เป็น Business Team หรือ User ที่เราต้องเข้าไปคุยเพื่อรับฟีดแบ็กนำมาปรับปรุงและพัฒนา Product ต่อไป 

นอกจากนี้ยังต่างในเรื่องของการที่ Digital Product เป็น Ongoing Product ที่ไม่มีวันจบ ไม่เหมือนงานที่แค่ทำส่งแล้วผ่านก็ทิ้งมันไว้แบบนั้น แต่ Digital Product จะมีเวอร์ชั่นหนึ่งสองสามไปเรื่อยๆ ตัว Design System หรือตัว UI ก็ต้องพัฒนาและขยายตาม Product ที่โตขึ้นไปตามเวลา

จุดเริ่มต้นการทำงานที่ Ko-fi

ตอนนั้นเป็นช่วงที่เราออกจาก Skooldio เพื่อมาเตรียมตัวเรียนต่อป.โท บังเอิญไปเจอ Founder ของ Ko-fi อยู่ที่ร้านกาแฟใกล้ที่พักเราพอดี จริงๆ เรารู้จักเขามาก่อนและเห็นเขาอยู่แถวนั้นมาซักพักแล้ว วันนั้นเราเลยลองหาเรื่องชวนเขาคุยจนได้มารู้ว่า Product ของเขาคือ Ko-fi

เราเคยเห็น Ko-fi มาก่อนในเว็บ Product Hunt เลยเสนอตัวช่วยเขียน Design Review ให้ในส่วนของ UI เขาเลยเสนอให้มาช่วยทำ 3-4 วันต่อสัปดาห์ ทำตั้งแต่ Branding, Marketing Asset และ Front-end ทำไปเรื่อยๆ จนกลายมาเป็น Full-time ในท้ายที่สุด

Ko-fi คือ Product ที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาอะไร ให้ใคร และด้วยวิธีการไหน

Ko-fi คือแพลตฟอร์มที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับบรรดา Creator บนโลกออนไลน์ มีไอเดียคือการบริจาคเงินซื้อกาแฟให้ (“Let me buy you a coffee”) เป็นที่มาจากวัฒนธรรมของฝรั่งที่ชอบซื้อกาแฟให้กัน 

Creator จะสามารถหารายได้จาก Supporter ที่ชื่นชอบผลงานของเขาผ่าน 4 ช่องทางหลัก ตั้งแต่การบริจาคเงิน (Donation), การสมัครเป็นสมาชิก (Membership) เพื่อปลดล็อก Exclusive Content, การว่าจ้างผลิตผลงาน (Commission) และการขายสินค้า (Shop) ทั้งในรูปแบบ Physical และ Digital Product 

Ko-fi เติบโตขึ้นได้จาก Pain Point ของ Creator ที่อยากเขยิบตัวเองออกจากการพึ่งพาเม็ดเงินโฆษณามาเป็นการพึ่งพาแพสชันของตัวเองจริงๆ ด้วยแรงสนับสนุนจาก Supporter เราเห็นปัญหาว่าก่อนหน้านี้ หลายๆ แพลตฟอร์มที่ Creator อยู่ยังไม่มี Paywall หรือช่องทางให้ทำ Exclusive Content เพื่อให้คนจ่ายเงินแลกกับ Reward บางอย่างได้ เลยเป็นโอกาสของ Ko-fi ที่กระโดดให้มาจับตลาดตรงนี้และแก้ปัญหาให้ได้ก่อนเจ้าอื่น

Market Share ของ Ko-fi ในตอนนี้ส่วนใหญ่มาจาก Donation ถ้ามองย้อนไปก่อนหน้านั้นเราจะเห็นปุ่ม Donate ทั่วไปที่ดูไม่น่าดึงดูดให้กดเท่าไหร่ แต่ Ko-fi เล่นกับเรื่อง UX Writing แค่การใช้คำว่า “Buy This Creator A Coffee” เท่านั้นคำก็ดู Nice กว่าแล้ว และในช่วงแรก Interaction ของ Ko-fi จะเล่นกับกาแฟค่อนข้างเยอะ เช่น พอกดปุ่ม Donate จะมี Animation เติมกาแฟในแก้วและมีเสียงปิ๊ง ทำให้คนรู้สึกสนุกกับการ Donate มากขึ้น

Ko-fi ชูจุดขายเรื่องการไม่หัก Transaction Fee แล้วมีรายได้จากช่องทางไหนบ้าง

Ko-fi มีรายได้หลักจาก 2 ช่องทาง หนึ่งคือ Ko-fi Gold เป็นเหมือนตัว Premium ที่ Creator สามารถจ่ายเพื่อ Customize หน้า Profile ของตัวเองให้สนุกและมีลูกเล่นมากขึ้น ทั้งเปลี่ยนธีมสี หรือเปลี่ยนปุ่ม Buy Me A Coffee เป็น Beer, Pizza หรืออื่นๆ ได้

รายได้อีกทางมาจากการเก็บค่าธรรมเนียมใน Feature อื่นๆ ที่ไม่ใช่ Donation ถ้าไม่ได้ซื้อ Ko-fi Gold ทุก Transaction ที่เกิดขึ้นใน Shop และ Commission เราหัก 5% แต่ถ้าซื้อ Gold ก็จะไม่หัก ตรงนี้เองก็ทำให้ Creator ที่มีฐานผู้ติดตามเยอะกระโดดเข้ามาใช้ Ko-fi Gold มากขึ้น

"ตั๊ง" กับเส้นทาง UX/UI - จากสถาปัตฯ สู่ Lead Designer บริษัทต่างชาติในวัย 26 ปี | Skooldio Blog

ส่วนหนึ่งของทีม Ko-fi

เล่าถึงทีม Ko-fi และหน้าที่ของตัวเองในฐานะ Lead Designer ให้ฟังหน่อย 

Ko-fi เป็น Start-up สัญชาติอังกฤษ แต่เดิมมี Founder เป็นคนอังกฤษ 2 คน คนหนึ่งดูแลเรื่อง Tech อีกคนดูแลเรื่อง Marketing กับ Finance ทีมเราเป็น Cross-funcional Team ตอนนี้มีกันทั้งหมด 10 คน ผมเป็น Designer คนเดียวของทีม ทำหลายส่วนมาก แต่หลักๆ ในฐานะ Lead Designer จะดูแลอยู่ 3 ส่วนคือ Research, Design และ Front-end

หน้าที่ของ Product Designer ก็จะทำตั้งแต่การ Research ทำ Survey คุยกับ User เพื่อเก็บฟีดแบ็กมาขึ้นเป็นดีไซน์ ทำ Wireframe ทำตัว Prototype แล้วลองเอาไปทำ A-B Testing บ้าง จากนั้นก็เอามาปั้นขึ้นเป็น Front-end เอง ในส่วนของ Design เราทำงานร่วมกับ Business ร่วมกันวาง Branding Position ผมรับหน้าที่ทำ Branding Asset ทั้งหมดที่โพสต์ในเว็บไซต์และโซเชียล ตัว Copy บนหน้าเว็บเราก็เขียนเองแล้วให้ Native speaker มาช่วยตรวจภาษาให้อีกที

ทั้งหมดนี้เราเรียนรู้จากการลงมือทำเองทั้งหมด จะเห็นได้ว่าเราต้องเรียนรู้ทักษะ Front-end ขึ้นงานหน้าบ้านได้เอง ถึงจะทำสู้ Front-end Developer จริงๆ ไม่ได้แต่ก็พอจะทำงานให้เสร็จได้ในเวลาสั้นๆ ด้วยตัวเองเพื่อให้ทีมขยับได้เร็วขึ้น 

เล่าให้ฟังหน่อยว่ากว่าจะเป็น Product ชิ้นหนึ่ง มีกระบวนการอย่างไรบ้าง

ที่ Ko-fi เวลาเราเริ่มต้นคิด Product ซักชิ้นจะเริ่มพิจารณาจาก Business Objective ก่อน พอได้ Objective ที่ชัดแล้วค่อยกระโดดไปทำ Research ทำได้ทั้งในแง่ Quantitive และ Qualitative ทั้งการสัมภาษณ์ User ไปสำรวจตลาด ดูว่าคู่แข่งของเราทำอะไรอยู่หรือมี Product อะไรที่เขามีอยู่แล้วคล้ายกับสิ่งที่เราจะทำ

ต่อมาจึงเริ่มในส่วนงานออกแบบที่เราตั้งใจอยากให้ทุกคนในทีมมีส่วนร่วมให้ได้มากที่สุด พอเราเป็น Designer คนเดียวเลยต้องขอแรงทั้งจากฝั่ง Developer และ Business มาช่วย Ideate เพื่อให้ได้ Input มากขึ้น ไอเดียตรงไหนที่เราไม่เข้าใจก็จะขอให้เค้าลองสเก็ตช์มาให้ดูเพื่อให้เห็นภาพ 

จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนการ Validate ลองทำ Wireframe แบบ High-fidelity ทั้งนี้ตามสไตล์สตาร์ทอัพเราอาจจะทำในทางกลับกันคือ Launch Product ไปก่อนแล้วค่อย Validate มีปัญหาค่อยแก้กันหน้างานระหว่าง Production บางทีทำแบบนี้ก็พังเยอะเหมือนกันแต่ข้อดีคือเราจะได้ฟีดแบ็กเพื่อกลับมาแก้ไขได้เร็วกว่าเดิม

ขั้นตอนสุดท้ายเป็นขั้นของการกลับมาบันทึกว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นอย่างไร ตรงตาม Business Objective ที่ตั้งไว้ตอนแรกหรือเปล่า ถ้าไม่ตรง มีอะไรที่ผิดพลาดไปไหม แล้วเราจะแก้ไขอย่างไรได้บ้างในครั้งหน้า 

ที่ Ko-fi เราให้ความสำคัญกับเป้าหมายที่ไปถึงได้และวัดผลเป็นตัวเลขที่จับต้องได้ (Acheiveable and Measurable) เราเลยมักวัดผลลัพธ์ด้วยตัวเลขเป็นส่วนมาก  ถ้าทำแล้ววัดไม่ได้ทุกทีมก็จะไม่เห็นภาพตรงกันว่ามันดีขึ้นยังไง เช่น ทีม Business ที่ไม่ได้เข้าใจ User มาก แต่ถ้าเขาเห็นตัวเลขมันเพิ่มขึ้นก็จะรู้ได้ทันทีว่าปัญหาที่กำลังแก้มันดีขึ้นแล้ว

"ตั๊ง" กับเส้นทาง UX/UI - จากสถาปัตฯ สู่ Lead Designer บริษัทต่างชาติในวัย 26 ปี | Skooldio Blog

มี Case Studies มาเล่าเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ครั้งหนึ่งเราเคยตั้ง Business Objective ไว้ว่า “How can we improve on-boarding experience?” จากปัญหาเรื่อง Drop-off Rate ของคนที่เข้ามา Sign Up ในตอนนั้นพุ่งไปถึง 40% หมายความว่าคนที่เข้ามา Sign Up ในเว็บไซต์เรา 100 คน มี 40 คนที่หายไประหว่างทางก่อนจะถึงขั้น Verify E-mail ซึ่งเป็นขั้นที่เราจะนับว่าการ Sign Up ครั้งนั้นเสร็จสมบูรณ์

คำถามต่อมาคือ จะทำยังไงให้เค้า Verify E-mail หรือกระโดดเข้ามาใช้ Ko-fi ได้เยอะขึ้น Metrics หนึ่งที่เราตั้งไว้ชัดมากๆ คือ “How can we reduce incomplete sign up rate?” วิธีคือเราให้ Developer ไปทำ Research ด้วยการ Track ตัวเลขมาเลยว่ามันเกิดอะไรขึ้นในแต่ละ Flow แล้วทำออกมาเป็น Data Analytics ว่าตั้งแต่ Sign Up หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย Drop-off Rate ลดลงไปเท่าไหร่

กลับมาดูที่ขั้นตอนการ Sign Up เรามี 7 ขั้นตอนจาก Flow ทั้งหมด ฟังดูเยอะแต่เรามี Insights จากการทำ Testing มาว่ายิ่ง User กรอกข้อมูลลงไปเยอะเท่าไหร่เขาจะรู้สึกเหมือนตัวเองได้ Input อะไรลงไปในแพลตฟอร์มเยอะทำให้มีโอกาสกลับมาใช้งานและอยู่กับเรานานกว่า

จากการสังเกต Drop-off Rate จาก Flow ในแต่ละช่วง สิ่งที่เราสนใจคือ ทำไมคนถึงหายไปในขั้น Verify E-mail เยอะมาก เราเลยลองไปเช็คหน้า UI ตอน Verify E-mail หน้า UI บอกให้เรากลับไปเช็ค E-mail เพื่อกด Verify แล้วค่อยกลับมาที่หน้าเว็บไซต์

พอเราลองไปเล่นเองจริงๆ พบว่า เวลาฝรั่งเข้าไปเช็ค Inbox ในอีเมลจะหลุดสมาธิง่ายมาก เขาจะลืมตัวแล้วไปเช็คอย่างอื่นก่อน เช่น ถ้าเขาสมัครผ่านคอมพิวเตอร์แล้วแจ้งเตือนอีเมลขึ้นในโทรศัพท์ เขาจะไปเช็คแจ้งเตือนอย่างอื่นก่อนแล้วลืมมากด Verify

เราจึงพยายามหาทางว่าจะทำยังไงให้ Flow ตรงนี้ราบรื่นขึ้นได้บ้าง สุดท้ายมาลงเอยที่การใช้ OTP (One Time Password หรือชุดรหัสผ่านใช้ครั้งเดียวที่ระบบสร้างขึ้นมาเพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต) เพื่อให้คนไม่หลุดจาก Device ที่ตัวเองกำลังอยู่ไปสู่ Device อื่น ถ้ากำลังสมัครอยู่บนคอมก็ให้เห็น OTP จากมือถือแล้วกรอกไปในหน้าสมัครได้ทันที ผลลัพธ์ที่ได้คือ Incomplete Sign Up Rate ก็ลดลงมาก

สรุปบทเรียนที่ได้จากเหตุการณ์นี้คือ ถ้าเราตั้ง Objective ไว้ชัดแล้วรู้ว่าเรากำลังจะใช้ Metrics ไหนเป็นตัววัด งานออกแบบของเราก็จำเป็นต้องกลับตอบโจทย์สิ่งที่ตั้งไว้ตอนแรก

ด้วยความที่ Ko-fi ถูกเซตมาเป็น Remote Team มาตั้งแต่แรก มีแนวทางการทำงานที่ตกลงร่วมกันอย่างไรบ้าง

เราขอแชร์เป็น 3 แนวทางสำหรับคนที่ต้องทำงานใน Remote Team

หนึ่ง ทุกคนในทีมต้องมีเป้าหมายร่วมกัน เนื่องจากไม่ค่อยได้เจอหน้ากันบ่อยทำให้ยิ่งต้องวาง Vision ให้ชัด รู้ว่าตอนนี้ทีมเรากำลัง Pursue อะไรอยู่ ที่ Ko-fi เราใช้เป็น North Star Metrics เพื่อให้ทุกคนโฟกัสไปที่จุดเดียวแล้วเดินไปพร้อมๆ กัน 

สอง ทำให้ทุกคนในทีมเข้าถึงชุดข้อมูลและไฟล์ต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง สามารถนำเครื่องมือมาช่วยอำนวยความสะดวกได้ ทั้ง Slack ที่เป็นได้ทั้ง Dashboard, ต่อ Portal กับเครื่องมืออื่นๆ เพื่อให้แจ้งเตือนอัพเดตแต่ละครั้ง Sync ถึงทุกคนในทีมรวมถึง Feedback ที่ User กรอกมา ทุกคนในทีมก็สามารถเข้าไปอ่านเพื่อนำมาปรับปรุง Product ในส่วนของตัวเองได้ ส่วนไฟล์ Asset ต่างๆ จะเก็บไว้ใน Figma และ Notion ทำให้ทีม Business หรือ Developer ที่อยากเข้ามาดูหรือมาหยิบไฟล์ไปใช้ต่อก็ทำได้ง่าย

สาม ทำให้ทุกคนรู้ถึงสถานะของ Product เท่ากัน ที่ Ko-fi จะมี Daily Check-in คล้ายกับ Standup Meeting พิมพ์อัพเดตทิ้งไว้ใน Slack หรือมี Conference Call เพื่อคุยเรื่องที่สำคัญขึ้นมา นอกจากนี้ก็จะมี Tools ในการอัพเดตข้อมูลต่างๆ อย่าง Notion ที่เราจะเข้าไปอัพเดตงานในส่วนของเราให้คนอื่นมาตามอ่านได้ ทุกคนก็จะตามกันทันทั้งหมด

"ตั๊ง" กับเส้นทาง UX/UI - จากสถาปัตฯ สู่ Lead Designer บริษัทต่างชาติในวัย 26 ปี | Skooldio Blog

บรรยากาศการทำงาน remote team

เจออุปสรรคอะไรในการทำงานกับ Remote Team และจัดการกับปัญหานั้นอย่างไร

หลักๆ เป็นเรื่องการทำงานคนละ Timezone ทำให้เป็นปัญหาเวลาตรวจงาน ทีมที่อยู่คนละ Timezone ก็จะเกรงใจที่จะขอแก้หรือปรับงานเพราะสำหรับอีกฝั่งมันดึกแล้ว แต่พอเจอปัญหาแบบนี้ทำให้เรามีการจัดการเรื่อง Timeline ที่ชัดเจน มีการแพลนงานไว้ก่อนล่วงหน้า 1-2 สัปดาห์ทำให้วางแผนการทำงานได้เป็นระเบียบขึ้น

อาจเป็นวิธีการทำงานสไตล์ฝรั่งด้วยที่ยึดตามแพลนเป็นหลักและเคารพเวลาของกันและกัน ไม่มี Ad hoc บ่อยมากเท่าทีมที่อยู่ด้วยกันตลอด ข้อดีคือทำให้เราไม่เสีย Productivity และโฟกัสกับงานหลักได้ดีขึ้น

อีกอุปสรรคที่เจอจะเป็นเรื่องการสื่อสาร จะทำยังไงให้ทีมสื่อสารหากันได้ดีขึ้นและไวขึ้น ทำยังไงให้การประชุมทุกครั้งสั้น กระชับ ทีม Ko-fi เราประชุมกันน้อยมาก ทุกคนรู้ว่าตัวเองต้องทำอะไร ถ้ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นต้องรีบคุยกันให้เร็วที่สุด

เราเลยตกลงกันว่าทุกครั้งที่คุยกันจะใช้การสื่อสารแบบ User-centric คือยึด User เป็นหลักแล้วคุยให้เคลียร์ว่า Flow ที่เสนอไปช่วยแก้ปัญหาอะไรให้ User ได้ วิธีนี้เลยช่วยขจัดปัญหาเรื่องที่ Business Unit อื่นๆ มองว่าต้องทำอย่างนู้นอย่างนี้จนหาข้อสรุปร่วมกันไม่ได้ไปค่อนข้างเยอะ

"ตั๊ง" กับเส้นทาง UX/UI - จากสถาปัตฯ สู่ Lead Designer บริษัทต่างชาติในวัย 26 ปี | Skooldio Blog

แวะไปเยี่ยมออฟฟิศที่ UK

สิ่งที่ท้าทายในการเป็น Designer ใน Remote Team คืออะไร

การทำ UX Research แต่ก่อนเราถูกสอนมาว่าจะการทำ UX Research ต้องเข้าไปคุยกับ User แต่ด้วยความที่ User เราอยู่คนละซีกโลกเลยทลายความเชื่อตรงนี้ออกไปว่า จริงๆ เราไม่ต้องคุยกับ User บ่อยแต่เราสามารถเข้าไปดู Data หลังบ้านให้เห็น Pattern บางอย่างที่น่าจะเป็นปัญหาได้เหมือนกัน

หลังๆ มานี้เราจึงกระโดดเข้าไปดู Data มากขึ้น ด้วยความที่ทีม Ko-fi มี Portal ที่ค่อนข้างโปร่งใสทำให้ทุกทีมเข้าถึงข้อมูลได้เท่าๆ กัน ถ้า Designer อยากเข้าไปดูข้อมูลในส่วนไหนก็ทำได้เลย จุดนี้เองทำให้เราต้องเรียนรู้ทักษะด้าน Data Analytics ต้อง Query หาข้อมูลเป็นเพื่อมาสรุปดีไซน์ของเราได้ไวขึ้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังมีการพูดคุยสื่อสารกับ User อยู่ในช่องทาง Discord Channel ที่จะมี Lead User คือคนที่ใช้ Ko-fi ได้เก่งมากๆ มาอยู่ด้วยกันแล้วให้เขาคอยรายงานปัญหาหรือบัคต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้เรารู้ว่ามี Pain Point อะไรที่ต้องแก้ ต้องคอยเตือนตัวเองว่าถึงไม่ได้คุยกับ User ตลอดเวลาแต่เราต้องฟังเขาอยู่ตลอดๆ ส่วนนี้เองที่ทำให้เรารู้สึกว่ายังรักษาความเป็น UX Designer ที่เข้าไปคุยกับ User ได้อยู่

การเป็น UX/UI Designer ที่ไม่ได้แค่ออกแบบเป็นอย่างเดียว แต่ยังเขียนโค้ดเป็น วิเคราะห์ข้อมูลได้ และเข้าใจเรื่องธุรกิจ จะช่วยให้เราทำงานได้ดีขึ้นอย่างไรบ้าง

จริงๆ แล้ว UX/UI Designer คนนึงไม่จำเป็นต้องรู้ทั้งหมดที่ว่ามาก็ได้ แต่ด้วย Drive ส่วนตัวของเราที่ชอบทำอะไรเอง อยากเห็นของออกมาเสร็จในเวลาที่กำหนด การกระโดดมาเรียนรู้ Front-end และ Data Analytics เลยช่วยให้เราทำของให้เสร็จได้เร็วขึ้น

แต่ถ้าเป็น Designer อยู่แล้วแต่อยากเรียนรู้ด้านอื่นมากขึ้นก็ต้องย้อนกลับมาถามว่าเป้าหมายของเราที่อยากโฟกัสคืออะไร ถ้าอยากให้ Product ทำกำไรได้มากขึ้นก็ต้องดูเรื่อง Business มากขึ้น เรียนรู้เรื่อง Data Analytics ว่าเราจะทำเงินจาก User อย่างไรได้บ้างโดยไม่ทำ Branding เสีย หรืออีกคนอาจจะอยากทำ Product ให้เสร็จไวๆ และวัดผลได้ก็ต้องไปเรียนรู้ด้าน Coding หรือการติด Tracking ต่างๆ

สุดท้ายแล้วเรามองว่าการที่เราทำอะไรได้หลายอย่างช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ Workflow ของทั้งทีมได้มากขึ้น ได้เห็นภาพรวมของ Product นอกจากจะรู้ว่าจะต้องดีลกับ Stakeholder แต่ละส่วนยังไง เราจะรู้ว่าตัวเองยังพัฒนาในจุดไหนได้อีกที่จะช่วยให้การทำงานทั้งทีมดีขึ้นได้

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเป็น UX ที่ไม่ได้ทำเป็นแค่ Research แต่ทำ Wireframe และทำ UI เป็น จะช่วยให้ทีมเห็นภาพมากขึ้นจาก Text และ Data เยอะๆ พอตีความออกมาเป็น Solution ที่เป็นตัว Prototype ที่กดได้ ลอง Test ได้ แล้วจะช่วยตอบโจทย์ได้อย่างไร ทั้งทีมก็จะเห็นภาพตรงกันมากขึ้น

เสริมในจุดของความเป็น Remote Team พอเราต้องการทำให้การประชุมแต่ละครั้งกระชับ ตรงประเด็น เราเลยต้องพยายามมากขึ้นที่จะคุยกับอีกคนให้รู้เรื่อง สมมติถ้าเราต้องการคุยกับทีม Developer แต่เราไม่เข้าใจสิ่งที่เขาทำอยู่ก็เหมือนเราเสียเวลาเข้าประชุมเปล่าๆ โดยที่เราไม่ได้อะไร แต่ถ้าเราเรียนรู้ด้วยตัวเองเพื่อเข้าใจภาษาที่ Developer กำลังคุยกันก็จะดีทั้งต่อทีม ต่อตัวเราเอง และต่อ Product

รับหน้าที่อะไรใน UX/UI Bootcamp ครั้งนี้

ใน Bootcamp นี้ เรารับหน้าที่ Instructor ที่จะสอนในส่วนของ Prototyping & Design System โดยจะเรียนรู้ตั้งแต่การนำ Wireframe ซึ่งเป็น Solution ที่เราคิดมาทำ Prototype ด้วยโปรแกรม Figma เพื่อช่วยให้ทั้งทีมเข้าใจ Solution เห็นภาพได้ตรงกันมากขึ้น การออกแบบ Component แต่ละส่วนให้ Developer หรือคนอื่นๆ ในทีมเอาไปใช้ต่อได้ง่าย ไปจนถึงวิธีการออกแบบ Design System ให้ทำงานระหว่างทีมได้ราบรื่น 

เรื่อง Design System เป็นอีกเรื่องสำคัญมาก เพราะในปัจจุบัน Digital Product อยู่บนหลากหลาย Platform และ Device การมี Design System ที่ดีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้งานออกแบบ Product ทั้งหมดและทิศทางการทำงานของทีมจะไปในทิศทางเดียวกันทำให้เวลาคุยกันแต่ละคนจะรู้ว่ากำลังทำส่วนไหนอยู่

ทำไมต้องเรียน UX/UI Bootcamp กับ Skooldio

สำหรับสายงาน UX/UI สิ่งที่สำคัญคือการทำลงมือทำเพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์ในแต่ละโปรเจกต์ แน่นอนว่าในการเดินทางสายนี้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองแต่ใช้เวลาค่อนข้างนานในการลองผิดลองถูก ศึกษาหาข้อมูล หาประสบการณ์ต่างๆ

แต่ถ้ามาเริ่มต้นกับ Bootcamp นี้ คนที่ไม่มีพื้นฐานด้าน UX/UI มาก่อนจะเริ่มต้นได้เร็วและไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกเอง เพราะเนื้อหาในหลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น ถึงไม่มีประสบการณ์มาก่อนก็เข้าใจได้และค่อยๆ เรียนรู้ไปในทุกหัวข้อ ทุกเครื่องมือด้าน UX UI สอนผ่านประสบการณ์ตรงจากผู้สอนที่ทำงานในวงการ UX UI โดยตรง

ทีมงานผู้เชี่ยวชาญในวงการคอยให้คำแนะนำคุณอยู่ตลอด และพร้อมแบ่งปันประสบการณ์จากการทำงานจริงเพื่อต่อยอดสู่สร้างโปรเจกต์จริงได้ไวขึ้น ที่สำคัญที่สุด หลังจบ Bootcamp นี้เราอยากให้ทุกคนได้อะไรกลับไปจริงๆ ทุกคนจึงจะได้ลงมือทำโปรเจกต์จริงในทุกหัวข้อของแต่ละสัปดาห์เพื่อสะสมเป็นผลงานใส่ Portfolio นำไปสมัครงานได้ทันทีหลังจบ Bootcamp

อยากฝากอะไรให้กับคนที่อยากเริ่มต้นในสายงาน UX Design

ถ้าคุณอยากเป็น UX Designer ที่ทำ Digital Product ได้ดี คำตอบจะวนกลับมาที่คำว่า “User” เสมอ

ถ้าเราหลงทางหรือไม่รู้จะเริ่มพัฒนา Product ไปทางไหน ให้กลับไปถาม User ว่าเรากำลังแก้ไขประเด็นนี้อยู่ ถูกต้องไหม ช่วยแก้ปัญหาให้เขาได้จริงหรือเปล่า User เป็นเสมือน “เข็มทิศ” หรือ “ดาวเหนือ” ที่ให้เรากลับไปถามได้เสมอว่าเรามาถูกทางหรือยัง

อีกเรื่องคือการเป็น UX Designer จะต้องหมั่นหาความรู้ให้อัพเดต ทันโลกอยู่เสมอเพราะวงการ Tech เปลี่ยนเร็วมาก มี Tools ใหม่ออกมาเรื่อยๆ หนึ่งในวิธีที่เรียนรู้ได้ดีที่สุดคือ เรียนรู้จากคู่แข่งของเรา ไปดูว่าเขาทำอะไรอยู่ เป็นการรู้ทางหนีทีไล่ว่าแล้วเราควรจะไปทางไหน อีกอย่างคือดูว่าเขาทำอะไรได้ดีกว่า แล้วเราเอาตรงไหนมาปรับใช้กับ Product เราได้บ้าง

"ตั๊ง" กับเส้นทาง UX/UI - จากสถาปัตฯ สู่ Lead Designer บริษัทต่างชาติในวัย 26 ปี | Skooldio Blog

คลังความรู้ด้าน UX Design ที่อยากแนะนำ

ขอแนะนำเป็น 3 ส่วน ถ้าเป็นคอร์สออนไลน์จะมี designcode.io เป็นเว็บไซต์เรียนรู้ด้านดีไซน์ ถ้าสนใจเรียนรู้ Front-End จะมีหลักสูตร Front End Web Developer Nanodegree Program ของ Udacity ที่เราเคยเรียนอยู่

พอดแคสต์ที่เราฟังประจำจะมี Intercom On Product, Master of Scale และ How I Built This With Guy Raz ส่วน Community ในไทย จะมีกรุ๊ป UX Thailand สำหรับคนที่สนใจเรื่อง Figma เราเป็น Community Advocate ของ Friend of Figma Bangkok จะมีกรุ๊ป Friend of Figma, Bangkok ในเฟซบุ๊ก สามารถเข้าไปติดตามข่าวสาร  Meetup ที่จัดขึ้นอยู่เรื่อยๆ หรือเข้าไปดู Resource และความรู้ที่นำมาแบ่งปันในกลุ่มได้

 

More in:Design

Comments are closed.