Platform Engineering คือ แนวทาง Technology ที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถเร่งกระบวนการส่งมอบของแอพพลิเคชั่น/ซอฟต์แวร์ และเร่งสปีดในระดับที่สามารถสร้าง Value ให้กับธุรกิจได้
Gartner บริษัท IT Consulting & Research คาดการณ์ไว้ว่าในปี 2026 ว่า80% ขององค์กรที่ทำซอฟต์แวร์จะเริ่มสร้างทีมที่จะเป็น Internal Provider ที่มี Services, Component และ Tools ที่ Reuseable สำหรับใช้ในการส่งมอบแอพพลิเคชั่น และเชื่อว่าตัว Platform Engineering จะช่วยแก้ปัญหาใหญ่ของการทำงานร่วมกันระหว่าง Operators และ Developers
Table of Contents
Platform Engineering คืออะไร?
ที่มาของ Platform Engineering เกิดมาจากแนวคิดของ DevOps / DevSecOps ที่ผลักดันเป็น Mindset หรือ Culture ในองค์กร ในการสร้าง Procress การทำงานพัฒนาซอฟต์แวร์ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยความร่วมมือกันระหว่างทีม Dev, ทีม Operation และทีม Security (สามารถอ่าน แนวคิด DevOps หรือ DevSecOps เต็ม ๆ ได้ที่นี่)
ดังนั้น Platform Engineering คือการพัฒนา Internal Platform Product มาแก้ปัญหาการทำงาน หรือ พัฒนาการทำงานในองค์กรให้ตอบโจทย์ Self Service ให้ทีม Dev พัฒนาซอฟต์แวร์ออกมาเร็วขึ้นมากที่สุด เป็นรูปธรรมมากขึ้น พัฒนาโดยใช้แนวคิดของ DevOps หรือ DevSecOps นั่นเอง
คุณ Paul Delory VP Analyst ที่ Gartner กล่าวถึง Platform Engineering ไว้ว่า
Platform Engineering เกิดขึ้นเพื่อมาตอบโต้กับความยุ่งยากที่เกิดขึ้นของ Architecture ในซอฟต์แวร์ปัจจุบัน
ปัจจุบันนี้ End User ที่ไม่ใช่ Expert มักจะถูกมอบหมายงานให้ Operate Service ที่ยุ่งยากและมีผู้ที่เข้าใจหรือเชี่ยวชาญกับระบบนั้นน้อย เพื่อที่จะช่วย End User และลดแรงต้านจากงานที่พวกเขาทำ บริษัทต่าง ๆ ได้เริ่มสร้าง Operating Platforms ที่อยู่ตรงกลางระหว่าง End User และ Backing Serivce ที่ End-User ใช้อยู่
Platform Engineering กับ DevOps เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
Platform Engineering และ DevOps ตอบจุดประสงค์ที่แตกต่างกันและมีข้อดีของตัวเอง ขึ้นอยู่กับขนาดและความต้องการของทีมหรือบริษัท
ในขณะที่ Platform Engineering ช่วยให้เกิด Self-Service Capabilities และช่วยทำให้ Developer Experience และ Productivity ดีขึ้น ตัว Platform Engineering นี้อาจจะไม่เหมาะกับทีมที่มีขนาดเล็ก ซึ่งอาจจะมี Resource เพื่อ Maintain Automation และ Templates ต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้ ตัว DevOps จะเป็น Approach ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า และช่วยปูพื้นฐานการร่วมกันทำงานและ Agility
โดยตัว Platform Engineering จะถูกมองว่าเป็นวิวัฒนาการของ DevOps ซึ่งทั้งสองสามารถใช้ร่วมกันได้ ช่วยให้ทีม Platform สามารถเชื่อมช่องว่างระหว่าง Dev กับ IT Ops ให้แคบลงได้ ซึ่งทั้ง 2 สายต่างต้องใช้ทักษะความเชี่ยวชาญในเรื่องใกล้เคียงกันไม่ว่าจะเป็น Cloud computing, CI/CD, Infrastruture as Code รวมไปถึง Project management เป็นต้น
แล้ว Platform Engineering ทำงานอย่างไร?
ทีม Platform Engineering เรียกสั้น ๆ ว่าได้ว่า Platform Team ประกอบด้วย Site Reliability Engineer, DevOps Engineer และ Product Manager โดยในทีมจะทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาทั่วไปในองค์กรและเชื่อม Toolchains และ Workflows เข้าด้วยกันให้เป็นแนวทางในการทำงานที่แนะนำให้ใช้งานได้อย่างง่าย หรือ Easy-to-Navigate Golden Paths
เราสามารถแบ่งการทำงานของ Platform Engineer เป็นสามประเด็นหลักได้ ดังนี้
- ทำให้ประสบการณ์การของ Developer ดีขึ้น โดยการสร้าง Internal Developer Platforms ที่จะช่วยลดภาระทางปัญญา (Cognitive Load) ลดความตึงเครียดของงาน Developer และ ลดงาน Manual Work ที่ซ้ำซาก
- ตัว Platforms ไม่บังคับให้ใช้ Tools หรือ Approach ที่เฉพาะเจาะจง โดยโฟกัสให้ Developer สามารถ Build และ ส่งมอบซอฟต์แวร์ได้อย่างง่าย โดยยังคงไว้ซึ่งประโยชน์และความสามารถต่าง ๆ ภายใต้ Core Services ของ Platform
- ทีม Platform Engineering ดูแล Platform เป็นเหมือน Product ชิ้นหนึ่ง (ที่ใช้ภายในโดย Developer) และออกแบบ Platform ให้ถูกใช้ในแบบ Self-Service Manner
ทีม Platform Engineering จะถือเป็นทีม Product ทีมหนึ่ง กล่าวคือ มีการทำ User Research > ทำ Product Roadmap > สอบถาม Feedback ผู้ใช้ > และทำการตลาดตัว Internal Developer Platform ภายในให้กับลูกค้าซึ่งในที่นี้คือ Developers ในองค์กร การใช้วิธีการนี้จะทำให้มั่นใจได้ว่าตัว Internal Developer Platform จะตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้และ Platfrom จะถูก Adopt ไปใช้ทั่วองค์กร
ความสำคัญของ Platform Engineer ต่อองค์กร Tech ชั้นนำ
ปัจจุบันองค์กร Tech ชั้นนำยักษ์ใหญ่ระดับโลกไม่ว่าจะเป็น Apple, Google, Amazon หรือ Meta เป็นต้น ต่างก็รวมทีมพัฒนา Internal Developer Platform เพื่อสร้าง Culture และ Process การทำงานของทีมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทุกทีมให้คล่องตัวมากขึ้น ส่งผลให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้
การทำ Platform Engineering นั้นช่วยให้เกิดการบังคับใช้มาตราฐาน เพิ่ม Productivity ให้กลับ Developer และทำให้ Developer Experience ดีขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังช่วยให้ Productivity และ Performance ของทีมดีขึ้นภายใน DevOps Metrics ต่าง ๆ เช่น เวลา Recover โดยเฉลี่ย (MTTR) และ Change Failure Rate และยังช่วยให้เพิ่มความถี่ในการ Deployment และลด Lead Time
และตัว Internal Developer Platform ช่วยให้ Developer สามารถบรรลุแนวคิด
You Build It, You Run It
ซึ่งเป็นสิ่งที่ DevOps Culture ในองค์กรต่าง ๆ มุ่งมั่นอยากให้เกิดขึ้น Developer สามารถ Take Ownership มากขึ้น และลดกระบวนการ Configuration, Deployment, และ Roll-Back โดยไม่จำเป็นที่ต้องไปเกี่ยวข้องกับการ Operations นอกจากนี้ Internal Developer Platforms ยังช่วยเพิ่ม Visibility เพิ่มการทำงานร่วมกันภายในทีม และทำให้ Developer มีอิสระที่จะลอง Creative โดยไม่ต้องกังวลว่าจะทำของพัง
อ้างอิงข้อมูลจาก :
- https://www.gartner.com/en/articles/what-is-platform-engineering, https://humanitec.com/platform-engineering
- https://humanitec.com/blog/gartner-internal-developer-platforms-platform-engineering
- https://internaldeveloperplatform.org/why-build-an-internal-developer-platform/
ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกอีกต่อไป ✅ เรียนรู้จากการลงมือทำจริง ฉบับ Best Practices แบบ Step by Step พร้อมโจทย์ในการฝึกปฏิบัติที่เหมือนกับโลกการทำงานจริงทุกหัวข้อสำคัญของโลกการทำ DevOps / DevSecOps กับผู้เชี่ยวชาญระดับ TOP ของประเทศไทย
- DevOps Transformation
- Security in DevSecOps
- Infrastructure as Code And GitOps
- Observability : The Next Level Monitoring
สอนโดยคุณเดียร์ จิรายุส นิ่มแสง – Founder & CEO ของ Opsta (Thailand)และ Certified Kubernetes Administrator (CKA) & Certified Kubernetes Security Specialist (CKS) คนแรกของประเทศไทย
- ลงมือทำจริงบนระบบ Cloudlab ให้คุณได้เรียนรู้จากโจทย์ปัญหาในโลกการทำงานจริง
- พร้อมทีม TA มืออาชีพ คอยซัพพอร์ทช่วยเหลือตลอดหลักสูตร
- มีปัญหา สามารถนำมาขอคำปรึกษาได้กับผู้สอน ผู้เชี่ยวชาญช่วยวางระบบ DevSecOps Transformantion ให้มากกว่า 20 บริษัททั่วประเทศ