8 เหตุผลทำไมควรเขียน Scala
เราเคยเกริ่นถึงภาษา Scala ไปบ้างแล้วจากบทความ ภาษา Scala มีจุดเด่นอะไร? ทำไมกำลังมาแรงในสาย Developer และ Data Engineer แต่ในกลุ่มนักพัฒนาหลายคนยังสงสัยว่าภาษา Scala มีความเหมาะไปใช้ในงานแบบไหน? ทำไมถึงต้องหันมาศึกษา Scala ?
ความสงสัยนี้เกิดขึ้นกับนักพัฒนาทั่วโลก จนมีความเห็นจากกระทู้แลกเปลี่ยนความรู้หนึ่งกล่าวไว้ว่า
Whatever can be done in Java, can be done in Scala in much less time. So when you would spend less time coding, you’ll be having more time for your friends and family.
คำตอบจากนักพัฒนาท่านหนึ่งในกระทู้ที่ตั้งคำถามว่า “ทำไมถึงควรศึกษาภาษา Scala?” ซึ่งนักพัฒนาหลายคนก็ต่างสงสัยและให้ความสนใจกันอย่างมาก
เรามาลองดูกันว่าทำไมภาษา Scala จึงมีความน่าสนใจ และ 8 เหตุผลที่นักพัฒนาควรหันมาศึกษากันมากขึ้น

ภาษา Scala ดียังไง? มีจุดเด่นยังไง

1. รวมความสามารถของ OOP + FP ในภาษาเดียว

ภาษา Scala เกิดมาเป็น Multi-Paradigm Language ที่มีความผสมผสานความสามารถของ OOP (Object-Oriented Programming) และ FP (Functional Programming) ในตัวของภาษามันเอง โดย Scala นำจุดเด่นของทั้งสอง Paradigm มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ทำให้ตัวภาษามีประสิทธิภาพสูง และเรียกได้ว่าเรียนรู้ภาษาเดียวแต่ได้ความรู้ที่นำไปต่อยอดได้อีกมากมายเลยทีเดียว

2. โค้ดอ่านเข้าใจง่าย (Readable)

ด้วยคุณสมบัติของการเขียนแบบ OOP ที่เสริมด้วยความสามารถ Functional Programming ดังนั้นภาษา Scala นั้นจึงมีรูปแบบแผนที่ดี อ่านเข้าใจง่าย ซึ่งนอกจากความอ่านเข้าใจง่ายของตัว Code แล้ว ยังช่วยเสริมความ Productive ของการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกด้วย

3. ลด Complex code

ต่อยอดจากข้อที่แล้ว ภาษา Scala provide Functional Programming Feature ความสามารถที่ช่วยลดขั้นตอนยุ่งยากบางอย่าง ตัวอย่างเช่น ภาษา Scala ไม่จำเป็นต้องประกาศ Getter / Setter ทุกครั้ง หรือ Generate method toString(), equals() หรือ hashcode() ให้อัตโนมัติเพียงแค่ประกาศ Case Class ซึ่งช่วยทำให้ไม่ต้องเขียนโค้ดยาวๆ หลายบรรทัด ลดโอกาสเกิด Bug หรือ ปัญหาต่างๆ

4. เป็น Strongly Statically Type ที่มีระบบ Type Inference ที่ฉลาด

ภาษา Scala เป็น Static type ที่มีความยืดหยุ่นให้ความรู้สึกเหมือน Dynamic type ด้วยความสามารถของ Compiler ของ Scala สามารถในการอุปมานชนิดของข้อมูลได้ เราไม่ต้องระบุว่าแต่ละตัวแปรของเราจะใช้ type อะไร และระบบ Type Inference สามารถหาให้เราเองได้ว่าข้อมูลควรจะเป็น type อะไร

5. เหมาะกับการพัฒนาระบบ Concurrentcy และ Distribution

งานที่ Scala ส่วนใหญ่ถูกเลือกใช้จะเป็น Web Application, Machine Learning หรือ ระบบ Big Data ที่ต้องประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ภาษา Scala ใช้ Actor สำหรับการทำงาน Concurrency และ Distribution และใช้ Future กับ Promise ในการ process ข้อมูลแบบ Asynchronous ทำให้ง่ายที่จะทำการประมวลผลแบบพร้อมกัน (Concurrency) หรือการประมวลผลแบบกระจาย (Distribution) ให้มีการทำงานที่รวดเร็ว และภาษา Scala มีความสามารถทำ Parallel Programming ได้ เหมาะกับงานระบบที่มี Throughput มาก และต้องการ Latency น้อย เช่นระบบ Big Data ที่ต้องประมวลผลมหาศาล

6. มี Library และ Framework ตัวช่วยดีๆ รองรับ

ยกตัวอย่างเช่น Web framework อย่าง Lift Framework และ Play Framework หรือ based concurrent framework ที่ Implement actor model บน JVMอย่าง Akka รวมไปถึง Apache Spark ที่อยู่บน Hadoop เพื่อประมวลผลข้อมูล โดยใช้ภาษา Scala มากขึ้นในการทำ Data Science เป็นต้น

7. พัฒนาร่วมกับภาษา Java ได้อย่างไร้รอยต่อ

Scala พัฒนามาจาก Java และ สามารถรันบน Java Virtual Machine (JVM) ได้ จึงสามารถใช้ Library ร่วมกันกับ Javaได้ โดย Code สามารถอ้างอิง Class ของกันและกันได้ทั้ง Scala และ Java ซึ่งเป็นประโยชน์มาก ถ้าคุณคือคนเขียนภาษา Java ลองนึกภาพทีคุณสามารถนำความสามารถของ Scala ด้านบนเข้ามาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากๆ เลย

8. ทักษะ Scala เป็นที่ต้องการของตลาด ค่าตัวแพง

ปัจจุบันภาษา Scala ถูกใช้ในองค์กร Tech มากมายแม้แต่องค์กรระดับโลกอย่าง Twitter, Netflix, Airbnb, Agoda หรือ Linkedin หรือแม้แต่ในบริษัทที่อยู่ในไทยอย่าง องค์กร Tech ในกลุ่มธนาคารต่างๆ ก็มีการใช้ Scala ด้วยเช่นกัน แต่ปัจจุบันถือว่ายังขาดบุคลากรทั้ง Developer และ Data Engineer ที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษา Scala อีกจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสผู้ที่สนใจภาษา Scala ได้เรียนรู้พัฒนาทักษะเพื่อเปิดโอกาสเติบโตได้ในสายงาน เป็น Dev ที่หลายองค์กรตามหา

แม้ว่าถ้าเทียบสเกลของภาษายังคงห่างไกลกับภาษา Java อยู่มาก แต่ด้วยความสามารถภาษา Scala ที่สามารถพัฒนาร่วมกับภาษา Java ได้ ภาษา Scala จึงถูกนิยมใช้เพื่อทำงานบางอย่างที่ Java ยังขาดไป ด้วยการ provide ความสามารถต่างๆ Scala ให้ ไม่ต้องเขียนโค้ดหลายขั้นตอนและซับซ้อน ให้นักพัฒนาสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
——————————————————————————————
หากคุณคือ Software Developer หรือ Data Engineer ที่จะทำให้คุณรู้ว่าภาษา Scala มีความสามารถเจ๋งแค่ไหน! อีกทั้งยังเขียนสนุก จำนวน Code สั้นกระชับ อ่านง่ายแต่ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ และไม่ได้ศึกษายากจนน่ากลัวอย่างที่คิด!
ขอแนะนำ 2 คอร์สออนไลน์เรียนรู้ภาษา Scala ตั้งแต่เริ่มต้นพื้นฐานจนถึงระดับ Advanced 
สอนโดยคุณทวิร พานิชสมบัติ Software Stylist จาก Odd-e Thailand ผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ในวงการ Software Development มากว่า 20 ปี ผู้มีความหลงไหลในคุณสมบัติพิเศษของภาษา Scala โดยมีความตั้งใจออกแบบหลักสูตรสอนเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Scala ตั้งแต่พื้นฐานจนระดับ Advanced ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ช่วยในการทำงานและแก้ปัญหาการพัฒนาโปรแกรมของคุณง่ายขึ้นอย่างคาดไม่ถึง!

Scala Fundamentals Online Course

คอร์สออนไลน์ Scala Fundamentals จะพาคุณเปิดโลกของภาษา Scala ตั้งแต่เริ่มต้นพื้นฐานของ Scala ทำความเข้าใจ Syntax ของภาษา จนถึงพื้นฐานการเขียนโปรแกรมที่จะทำให้คุณเรียนรู้โครงสร้างของภาษา Scala ควบคู่การลงมือปฏิบัติจริงตลอดบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสนุกกับการเขียนโปรแกรมด้วย Scala และไม่ได้รู้สึกน่ากลัว หรือใช้งานยากอย่างที่หลายคนเข้าใจ สมัครเรียนเลย

คอร์ส Scala API Development Essentials 

คอร์ส Scala API Development Essentials

คอร์สภาคต่อที่จะพาคุณเรียนรู้การพัฒนา API ให้สมบูรณ์แบบและมีประสิทธิภาพสูงสุด แล้วคุณจะได้รู้ว่าภาษา Scala ช่วยให้การทำงานของคุณง่ายขึ้นแค่ไหน ด้วยความสามารถต่าง ๆ ของภาษา Scala ไม่ว่าจะเป็น Option, Future หรือ Mixin เป็นต้น พร้อมต่อยอดพัฒนา API จนสามารถ Deploy ขึ้น Environment ต่าง ๆ ได้ และนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงฉบับ Best Practices

🎉 พิเศษ ส่วนลดเปิดตัวคอร์สใหม่ ราคาเพียง 1,390 บาท จากราคาปกติ 1,990 บาท เพียงใช้โค้ด SCLAPI จำกัดจำนวน 100 ท่านแรกเท่านั้น (เฉพาะสมัครในนามบุคคล)

ใช้โค้ดส่วนลด 👉 สมัครเรียนเลย

——————————————————————————-
References

More in:Technology

Comments are closed.