ในยุคที่ทุกคนให้ความสำคัญกับประสบการณ์การใช้งานของ User
การออกแบบ User Experience จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม แต่จะออกแบบ UX อย่างไรให้ User คิดออกในเสี้ยววินาทีว่าต้องกดอะไร? ปุ่มนี้แปลว่าอะไร? จะใช่อย่างที่เคยค้นหาไว้มั้ยนะ? โดยมาทำความรู้จักกับ Recognition rather than Recall กัน
หลักการ Recognition Rather than Recall เป็นหนึ่งในหลักการออกแบบ Usability Heuristics ที่ตั้งขึ้นโดย Nielsen Norman Group ตั้งแต่ปี 1994 ที่พูดถึงการออกแบบ Interaction ซึ่งยังประยุกต์ใช้ได้และถูกนำกลับมาพูดถึงบ่อยครั้งกับการออกแบบ Digital Product ในปัจจุบัน
นักจิตวิทยาได้แบ่งลักษณะ Memory retrieval หรือกระบวนการเรียกความทรงจำมาใช้ของมนุษย์ออกเป็นสองประเภทคือ
1. Recognition การนึกออก ระบุได้ว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร
2. Recall การระลึกได้
ซึ่งทั้งสองอย่างอาจจะฟังดูคล้ายกัน โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสัตว์ขี้เกียจ เลยจะหาทางลัดให้สมองเวลาตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆอยู่เสมอ โดย Recognition มักจะมี Cue (ตัวช่วย) ที่มาช่วยให้เราเปลี่ยนจากการนึกแบบ Recall มาเป็น Recognition ทำให้นึกออกง่ายขึน รู้ว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร ทำให้เกิดการตัดสินใจในจุดต่างๆได้ง่ายขึ้น
การออกแบบ User Experience จึงควรคำนึงถึงความเป็นไปได้ของ Cue ที่เข้ามาช่วยเสริมในแต่ละจุดเพื่อให้ User ทำ task ต่างๆได้อย่างสำเร็จลุล่วง ไม่ว่าจะเป็น task ง่ายๆ ตั้งแต่การเลือกกดปุ่มไปจนถึง task ที่ซับซ้อนขึ้นเช่น การยืนยันข้อมูลตัวตน โดยรู้สึกว่าไม่ต้องใช้ความพยายามมากจนเกินไป
Table of Contents
1. ใช้ Icon แทนตัวหนังสือ
การเลือกใช้ Icon แทน Text อาจพิจารณาใช้กับ
- Icon ที่ User คุ้นเคยฟังก์ชั่นอยู่แล้ว มีประสบการณ์พบเห็นจากเว็บอื่นๆ
- ฟังก์ชั่นที่อธิบายด้วย Text เข้าใจยาก เป็นศัพท์ที่อาจจะไม่คุ้น เช่น การสไตล์ขีดเส้นผ่านตัวหนังสือ หรือที่เรียกว่า Strikethrough
2. ใช้คำอธิบายประกอบ Icon ที่มีความกำกวม
จากข้อแรก พูดถึงเรื่องใช้ Icon แทน Text แต่ในทางกลับกันบางกรณี ถ้า Icon มีความกำกวมหรืออยู่ในบริบทที่ความหมายอาจไม่ชัดเจนพอ อาจใช้ Text กำกับ Icon ไปด้วย เพื่อเสริมความมั่นใจ ไม่ต้องให้ User คิดซ้ำอีกที
3. ใช้กราฟิกช่วยแสดง Notification
การใช้กราฟิกเช่น Notification badge ที่มีลักษณะเหมือนจุดแดงเล็กๆ ช่วยให้ดึงจุดความสนใจหรือแยกความแตกต่างระหว่างเมนูทั่วไปกับเมนูที่มีอัพเดท เมื่อ User เห็นจะรู้โดยทันทีว่า มีอะไรที่เข้ามาใหม่ที่ควรกดดู แทนที่จะต้องอธิบายซ้ำด้วยคำพูดอีกที
4. แสดงประวัติการค้นหา หรือคำค้นหายอดนิยม
ในเว็บหรือแอป ที่ User มีการเข้ามาใช้งานบ่อยๆ อาจคำนึงถึงการใส่ฟังก์ชั่นต่อไปนี้
- Suggest search/ Recent search คือแนะนำหัวข้อที่ User เคยค้นหาหรือ ที่เป็นที่นิยม
- Cart/ Bookmark/ Add to favorite/ View History คือแสดงลิสท์สินค้าที่ User เคยกดดูไว้
5. การให้ Verify ตัวตนโดยใช้สิ่งที่จำง่าย นึกออกได้ไว
การออกแบบ UX ให้ส่งเสริม Recognition เห็นได้ชัดเจนจากการ Verify account ต่างๆ เข่น Facebook และ Messenger ที่ให้ User เลือกรายชื่อคนที่คุยด้วยล่าสุดจาก list หรือ ขึ้นหน้าเพื่อนพร้อมชื่อ และถามว่าหน้าตรงกับชื่อหรือไม่ใช่
ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วยนะ
6. ใช้ Interaction อย่างอื่น นอกจากการให้นึกรหัส
ลดการเรียกความทรงจำแบบ Recall ของ User เมื่อต้องกรอกรหัสผ่านต่างๆ ผ่านระบบปลดล็อกอื่นๆได้ เช่น การจดจำใบหน้า, เสียง หรือ ลายนิ้วมือ
หลักการออกแบบ ที่เน้นให้ User ใช้ Recognition มากกว่า Recall นี้เป็นเพียงหนึ่งหลักใน Usability Heuristics ที่ Nielsen Norman Group ได้ตั้งไว้เท่านั้น
หลักการออกแบบ ที่เน้นให้ User ใช้ Recognition มากกว่า Recall นี้เป็นเพียงหนึ่งหลักใน Usability Heuristics ที่ Nielsen Norman Group ได้ตั้งไว้เท่านั้น
ถ้าอยากรู้หลักอื่นๆ เพิ่มเติมพร้อม Case studies จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญด้าน UX มาเจอกันได้ในคอร์ส Intro to UX Design