burnout-boreout-brownout

ในชีวิตคนทำงานคงปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายๆ ครั้งต้องเผชิญกับช่วงที่ตัวเองรู้สึกหมดไฟ (Burnout) ในงานที่ทำอยู่ หรือรู้สึกเบื่อหน่ายกับงานที่มี ไม่ว่าจะเป็นเพราะความเครียดจากงาน สภาแวดล้อม หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงานกันเอง จนหลายๆ ครั้งจบลงที่การลาออก เพื่อย้ายไปทำงานที่ใหม่ หรือในอีกกรณีก็อาจตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าไปได้เลย

Burnout, Boreout, Brownout, I’m OUT

ไม่ว่าจะเป็นภาวะหมดไฟ ภาวะเบื่องาน หรือภาวะหมดใจ ล้วนมีส่วนมาจากความเหนื่อยล้าจากการทำงานทั้งสิ้นเพียงแต่แสดงออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป และแม้ว่าทุกคนจะรู้จักภาวะหมดไฟเป็นอย่างดี แต่ก็มีอาการอื่นๆ อีกที่เชื่อมโยงไปถึงความเบื่อหน่ายในงาน หรือแม้แต่การสูญเสียความหมายในการทำงานที่ไม่ควรถูกละเลยเช่นเดียวกัน

จากรายงานของ Corporate Balance Concepts บอกว่าแท้จริงแล้วอาการหมดไฟ อาจไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของการลาออก แต่เป็นอาการหมดใจ (Brownout) มากกว่า โดยจากการสำรวจพบว่าพนักงานกว่า 40% ลาออกเพราะอาการหมดใจ ในขณะที่อาการหมดไฟมีเพียง 5% เท่านั้น ดังนั้นมาเช็คกันดีกว่าว่าคุณอยู่ในภาวะเบื่องานระดับไหนกันแน่ และแต่ละระดับมีอาการและสาเหตุมาจากอะไรกัน

ภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome)

burnout syndrome

ภาวะหมดไฟ คือ ภาวะของการอ่อนล้าทางอารมณ์ที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงานมีมากเกินไป อย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยมีอาการหลักๆ ได่แก่มีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ มองโลกในแง่ลบ ขาดความมั่นใจ รู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ รวมไปถึงรู้สึกว่าความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หรือกับที่ทำงานเป็นไปในด้านลบ ห่างเหินจากคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย หรือลูกค้า

ลักษณะอาการภาวะหมดไฟ

  • รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หรือเหนื่อยล้าเรื้อรัง
  • มองโลกในแง่ร้าย
  • เบื่องาน
  • ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน
  • คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ปวดท้อง หรือมีอาการทางกายอื่นๆ เมื่อต้องมาทำงาน
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดได้ง่าย
  • ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
  • ทำงานได้ช้าลงมากกว่าปกติ
  • คุณภาพของงานที่ทำลดลง
  • ความสนใจในการทำงานลดลง

สาเหตุของภาวะหมดไฟ

  • ภาระงานหนักและปริมาณงานมาก (Overload) รบมไปถึงงานมีความซับซ้อน หรือต้องทำในเวลาที่จำกัด
  • ขาดอำนาจในการตัดสินใจ หรือมีปัญหาในการเรียงลำดับความสำคัญของงาน
  • ไม่ได้รับการตอบแทน หรือรางวัลที่เพียงพอต่องานที่ตัวเองมีส่วน
  • รู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน หรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
  • ได้รับความยุติธรรม ขาดความเชื่อมั่น และการเปิดใจยอทรับจากเพื่อนร่วมงาน
  • งานที่ทำไม่ได้ทำให้รู้สึกถึงคุณค่า หรือความภูมิใจในงานที่ทำ

ภาวะเบื่องาน (Boreout Syndrome)

boreout syndrome

ภาวะเบื่องาน คือ อาการเบื่องานที่มักเกิดขึ้นจากการทำงานที่ไม่มีความท้าทาย หรือน้อยเกินไป บางครั้งก็เกิดจากการทำงานที่ไม่สอดคล้องกับรายละเอียดของงาน โดยหลายคนมักสับสนกับภาวะหมดไฟ เนื่องด้วยมีลักษณะอาการคล้ายกัน แต่ภาวะเบื่องานนั้นเกิดจากงานส่วนใหญ่ที่ทำไม่น่าสนใจเพียงพอ ส่งผลให้รู้สึกว่าไม่ได้ใช้ศักยภาพในการทำงานเต็มที่ ทำให้เกิดภาวะถดถอยในการทำงาน หรือภาวะซึมเศร้าในที่สุด

ลักษณะอาการภาวะเบื่องาน

  • เบื่องานที่ตนเองทำอยู่
  • ไม่อยากมาทำงาน
  • ต้องฝืนตัวเองในการมาทำงาน หรือเริ่มต้นทำงาน
  • รู้สึกว่าตนเองมีความสามารถสูงกว่างาน
  • ไม่รู้สึกภาคภูมิใจในงานที่ทำ
  • คิดว่าตนเองไม่เหมาะสมกับงาน
  • มีส่วนร่วมกับงานของทีมน้อยลง
  • มองหางานใหม่อยู่ตลอดเวลา
  • ภูมิใจในตัวเองต่ำ
  • ชอบหาวิธีเลี่ยงงาน หรือฆ่าเวลา

สาเหตุของภาวะเบื่องาน

  • โครงสร้างงาน หรือการแบ่งงานไม่เท่าเทียม
  • งานที่ได้รับมอบหมายไม่มีความท้าทาย หรือได้รับงานน้อยเกินไป
  • ไม่รู้จุดประสงค์ในการทำงานที่ได้รับ
  • งานที่ได้รับไม่ตรงกับที่ตนเองคาดหวัง
  • งานที่ได้รับไม่เหมาะสมกับความสามารถ

ภาวะหมดใจ (Brownout syndrome)

brownout syndrome

ภาวะหมดใจ คือ ภาวะหมดใจในการทำงาน เป็นภาวะอารมณ์ที่รุนแรงที่สุดจากทั้ง 3 ภาวะ โดยมีสาเหตุหลักมาจากความคาดหวังต่อบุคคลสูง และกดดันให้บุคคลนั้นทำตามความคาดหวังดังกล่าว จนกลายเป็นการทำงานที่ขาดแรงจูงใจในการทำงาน และไม่เข้าใจว่าทำไปเพื่ออะไร แล้วเริ่มทำตัวออกห่างงานมากขึ้น โดยภาวะหมดใจ มีผลกระทบในระยะยาวทั้งต่องาน และชีวิตส่วนตัว และภาวะนี้ยังยากต่อการสังเกตุอาการด้วยตาเปล่า เนื่องจากหลายครั้งพนักงานที่มีอาการดังกล่าวยังคงสามารถทำงานได้ตามปกติทุกอย่าง แต่แท้จริงแล้วภายในใจรู้สึกอยากหยุดทำงานทุกอย่างตลอดเวลา และสิ่งที่ตามมาคือการ Quite Quitting หรือการลาออกแบบเงียบๆ ไปนั่นเอง

ลักษณะอาการภาวะหมดใจ

  • ลาทุกวันลาที่มี
  • มาทำงานสายโดยตั้งใจ
  • ขาดงานโดยไม่รู้สึกผิด
  • รู้สึกกดดันจากการทำงาน
  • ดองงาน หรือทิ้งงานโดยเจตนา
  • ความรับผิดชอบในงานลดลง
  • ทำงานแบบไร้ชีวิตจิตใจ ความกระตือรือร้นในการทำงานลดลง
  • ขาดการวางแผนในการทำงาน
  • พร้อมลาออกตลอดเวลา
  • มีอาการพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ปลีกตัวจากสังคมเพื่อนร่วมงาน

สาเหตุของภาวะหมดใจ

  • องค์กรไม่มีทิศทางในการทำงาน
  • องค์กรมีกฏระเบียบเข้มงวดมากจนเกินไป
  • ความไม่เท่าเทียมกันในการทำงาน
  • ขาดความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร
  • ความคาดหวังที่สูงจากเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า และสภาพแวดล้อม
  • การทำงานที่ไม่เป็นธรรม เช่นการทำงานในวันหยุดติดต่อกัน

ปัญหาสุขภาพใจในองค์กร

ไม่ว่าพนักงานในองค์กรจะตกอยู่ในสภาวะหมดไฟ (Burnout) ภาวะเบื่องาน (Boreout) หรือภาวะหมดใจ (Borwnout) ก็ล้วนส่งผลให้พนักงานลาออกจากองค์กรได้ทั้งนั้น จึงเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญขององค์กรในยุคที่การหาพนักงานที่มีความสามารถสูง (Talent Employee) นั้นทำได้ยากมากยิ่งขึ้น

โดยจากการศึกษาโดย Udemy ในปี 2016 พบว่าพนักงานในสหรัฐมากกว่า 43% ที่ประสบกับปัญหาเบื่องานนั้น มีโอกาสลาออกจากบริษัทมากถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับคนอื่นๆ ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก เพราะจากการศึกษาในปี 2021 โดย Capterra survey ในสหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์พบว่าพนักงานกว่า 42% บอกว่าต้องการลาออกจากงานเพราะภาวะเบื่องาน ในขณะที่อีกกว่า 25% มองว่าตัวเองไม่อยากทำงานที่ทำอยู่อีกต่อไป เพราะรู้สึกว่างานที่ทำอยู่ไม่มีความหมายอีกต่อไป

การศึกษาโดย Gallup ในปีเดียวกันยิ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาของภาวะเบื่องานมากขึ้นจากการที่คนทำงานกว่า 80% ขาดการมีส่วนร่วมในงาน ทำให้ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานที่ได้ลดลงตีมูลค่าได้กว่า 8.1 ล้านล้าน บาทต่อปี ดังนั้นในเวลานี้องค์กรต่างๆ จึงไม่ควรละเลยปัจจัยทางจิตใจจากภาวะเบื่องานต่างๆ ไม่ว่าจะหมดไฟ หมดใจ หรือหมดงาน

เริ่มต้นเรียนรู้ และเข้าใจปัญหาสุขภาพใจให้พร้อมรู้เท่าทันในตนเอง ได้แล้ววันนี้กับคอร์ส Mental Health First Aid สอนโดยครูต้น นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตบำบัด Merak Clinic

โดยคอร์สนี้จะพาคุณทำความเข้าใจสุขภาพใจของคุณเอง ผ่านวิธีการประเมินเบิ้องต้นด้วยตนเอง พร้อมแนวทางในการดูแลคนรอบข้าง หากประสบกับปัญหาสุขภาพจิตต่างๆ อยู่ รวมไปถึงแนวทางที่องค์กรจะสามารถช่วยเหลือพนักงานของตนเอง เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาได้

mental-health-first-aid

(คลิกเพื่อดูรายละเอียดคอร์สเพิ่มเติม)

Source :
https://www.forbesindia.com/article/lifes/burnout-boreout-brownout-whats-the-difference/76545/1
https://www.thetimes.co.uk/article/unhappy-at-work-youre-not-suffering-burnout-but-brownout-867df6br2zn
https://www.forbes.com/sites/forbescoachescouncil/2022/03/28/burned-out-or-bored-out-the-engagement-challenge-few-are-talking-about/

More in:Business

Comments are closed.