Data from Customers for Customers

เมื่อคุณอยากสร้างกลยุทธ์ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ต้องเริ่มต้นสร้าง Data Strategies โดยมุ่งเน้นให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

สรุปวิธีสร้าง Data Strategies ด้วย The Data Flywheel Canvas

ในงาน Techsauce Global Summit 2023 ที่ผ่านมา ดร.วิโรจน์ จิรพัฒนกุล ได้มีร่วมจัดเวิร์กชอปในหัวข้อ Reimagine Your Business with Customer-Centric Data Strategies ที่ชวนผู้ฟังทุกคนมาร่วมคิด และเรียนรู้ถึงความสำเร็จขององค์กร หรือธุรกิจต่างๆ ในการสร้างสินค้า และบริการใหม่ๆ มาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า จากข้อมูลของลูกค้าเอง โดยได้อธิบายผ่าน The Data Flywheel Canvas ซึ่งเป็นแผนภาพในการเล่าถึง 4 องค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจด้วย Data Strategies โดยมุ่งเน้นให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

ลูกค้า (Customer)

จุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดคือลูกค้า ผ่านการทำความเข้าใจในความต้องการจริงๆ ของลูกค้า ว่าอะไรที่จะช่วยให้เขาใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น แต่หลายครั้งธุรกิจติดกับดักในการมองความยต้องของลูกค้าผ่านสินค้าและบริการเดิมที่ตนเองมี จนอาจพลาดโอกาสในการมองเห็นความต้องการ และโอกาสใหม่ๆ ในการพัฒนาสินค้าและบริการที่มีอยู่ หรือสร้างผลิตภัณฑ์ในอนาคต

ผลิตภัณฑ์ (Product)

Nike ในอดีตมีขายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่าย จึงไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าได้โดยตรง สิ่งที่ Nike ทำคือการสร้างแอปพลิเคชันเพื่อให้ผู้สวมใส่รองเท้าสามารถใช้ในการช่วยติดตามการวิ่ง และประมวลผลกิจกรรมต่างๆ ซึ่งทำให้รู้ได้ว่านักวิ่งแต่ละคนมีนิสัยการวิ่งอย่างไร ใครคือคนที่วิ่งเพื่อสุขภาพ เตรียมตัวสำหรับไปวิ่งมาราธอน หรือแค่วิ่งช่วงปีใหม่เพื่อถ่ายอวดเพื่อนๆ ในโซเชียลเท่านั้น
แต่ในยุคดิจิทัล หลายๆ ธุรกิจอยากเก็บข้อมูลลูกค้าจากการสร้างแอปพลิเคชัน แต่แอปพลิเคชันจำนวนมากกลับไม่มีผู้ใช้บริการเลย นั้นอาจเป็นเพราะผลิตภัณฑ์ของคุณนั้นไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าตั้งแต่ต้น ธุรกิจจึงควรเริ่มต้นโดยการตั้งคำถามว่าอะไรคือคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับจากสินค้าหรือบริการของคุณ และทำไมเขาจึงจำเป็นต้องใช้สิ่งนี้ตั้งแต่แรก

ข้อมูล (Data)

1 ในโจทย์สำคัญเกี่ยวกับข้อมูลคือธุรกิจควรทำอย่างไรให้ข้อมูลการทำธุรกรรมต่างๆ (Transactional Data) เปลี่ยนมาเป็นข้อมูลด้านพฤติกรรมของลูกค้า (Behavioral Data) ข้อมูลอะไรบ้างที่ต้องเก็บ แล้วจะเก็บข้อมูลเหล่านั้นอย่างไร
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าเรามีข้อมูลมากพอหรือยัง แต่คำถามอยู่ที่เราค้นหาข้อมูลเชิงลึกที่ซ่อนอยู่เจอแล้วหรือยัง
ธุรกิจธนาคารหากต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ การยึดติดกับรายการธุรกรรมระหว่างลูกค้ากับธนาคารนั้นก็อาจไม่เพียงพอ จึงใช้ปัญหาของลูกค้าในการชำระเงินที่ไม่อยากใช้เงินสด และไม่อยากสมัครบัตรเครดิต มาเป็นการชำระเงินผ่าน QR Code ที่ทำให้ธนาคารรู้ได้มากขึ้นว่าผู้บริโภคแต่ละคนมีพฤติกรรมการใช้เงินอย่างไร เมื่อมีข้อมูลมากขึ้น พวกเขาก็สามารถวางแผนสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์และสร้างคุณค่ากับลูกค้าได้มากขึ้น
data analytics bootcamp

การวิเคราะห์ (Analytics)

กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นมี 3 สิ่งหลักๆ ที่ธุรกิจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้
  • Metrics หรือตัวชี้วัดที่จะช่วยให้คุณเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ ในปัจจุบันว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น ส่งผลให้สามารถปรับแผน และความคล่องตัวในธุรกิจมากขึ้น
  • Insights ข้อมูลเป็นการบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในอดีต แต่การใช้ข้อมูลคือการมองหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ในข้อมูลเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็น Trends หรือ Pattern ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หรือแม้แต่จุดที่อาจแปลกไปจากข้อมูลอื่นๆ เพื่อให้คุณสามารถบอกได้ว่าสิ่งเหล่านั้นเกิดจากอะไร และในอนาคตอาจเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ผ่านการใช้ข้อมูลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • Data Product เป็นผลลัพธ์จากการใช้ข้อมูลที่ช่วยให้คุณมองเห็นโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ หรือแม้แต่ก้าวไปสู่การทำ Transformation สร้างโมเดลธุรกิจที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโต หรือเป็นดิจิทัลมากขึ้น ตอบโจทย์กับลูกค้า และช่วยเพิ่มข้อมูลในการพัฒนาสินค้าในอนาคต

เคสตัวอย่าง Data Strategies จาก Grab

ตัวอย่างที่หยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันนั้นเป็นบริษัทชั้นนำอย่าง Grab ที่เมื่อถามว่า Grab ทำธุรกิจอะไร บางคนอาจตอบว่าเป็นผู้ให้บริการขนส่ง แต่ในวันนี้ Grab ก้าวสู่การเป็น Superapp โดยเริ่มต้นจากปัญหาของลูกค้าที่ต้องการได้รับประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อมากขึ้นในการใช้บริการ ผ่านการชำระเงิน ผู้ขายสินค้าที่อยากได้เงินกู้ยืมเพื่อขยายธุรกิจ ไรเดอร์ที่อาจมองหาความคุ้มครองอย่างประกันชีวิตต่างๆ และเงินกู้ระยะสั้นเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

เมื่อรวมสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกัน Grab จึงเปิดบริการ Grabpay ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจด้านการเงิน ที่นอกจากรายได้จากบริการใหม่ ยังรวมไปถึงข้อมูลที่มากขึ้นจากการทำธุรกรรมต่างๆ ทั้งจากลูกค้า ร้านค้า และไรเดอร์นั่นเอง

เป้าหมายของการทำธุรกิจจึงอาจไม่ใช่เพียงแค่ติดอยู่กับธุรกิจเดิมไปตลอดเวลา แต่เป็นการหาทางในการขยายโอกาสทางธุรกิจ โดยเริ่มต้นจากสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ เพื่อนำข้อมูลจากการใช้งานของลูกค้ามาวิเคราะห์

ซึ่งกระบวนการทั้งหมดอาจไม่ได้เป็นเรื่องแค่ของทีม Data เท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความรู้ของหลายๆ ส่วนงานในองค์กรในการนำ Insights ออกมาจากข้อมูลของลูกค้าให้ได้มากที่สุด และสร้างประโยชน์กลับคืนสู่ลูกค้าอีกครั้ง

ถ้าหากคุณสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม หรือจัดอบรมในองค์กรเกี่ยวกับ Customer-Centric Data Strategies หรืออยากเริ่มต้นพัฒนาองค์กรให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัล ผ่านการอัปสกิลคนในองค์กรให้เก่งขึ้นแบบยกทีม ผ่านคอร์สเรียนออนไลน์ หรือ In-House Workshop หรือ Bootcamp ที่ผสมผสานการเรียนรู้ด้วยเนื้อหาที่อัดแน่น และเรียบเรียงให้เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจ
สอนโดยผู้เชี่ยวชาญแถวหน้าในวงการ ที่มีประสบการณ์ทำงาน และการสอนทั้งในด้าน Business, Technology, UX/UI Design และ Data สามารถติดต่อเพื่อพูดคุยกับทีมงาน Skooldio เพื่อเริ่มวางแผนพัฒนาองค์กรคุณนับจากนี้ร่วมกันได้ที่ hello@skooldio.com หรือกรอกรายละเอียดได้ที่ skooldio.com/business เพื่อให้ทีมงานติดต่อกลับ

More in:Business

Comments are closed.