ผ่านไป 8 ตอนแล้วกับ Start-up ซีรี่ส์มาแรงส่งตรงจากเกาหลี เรื่องราวของเหล่าวัยรุ่นที่มีความฝันอยากจะปั้น Startup ของตัวเองให้ขึ้นมาเป็นบริษัทเทคชั้นนำแบบ Silicon Valley สาขาเกาหลี
ตลอดทั้งเรื่องที่ผ่านมา เราได้เห็นการแข่งขันที่เข้มข้น ความยากลำบากในการสร้าง Startup หรือการแย่งชิงบุคลากรกัน ซึ่งการจะปั้น Startup ให้สำเร็จนั้นมีปัจจัยที่หลากหลายมาก วันนี้เราเลยจะมาเล่าถึงหนึ่งปัจจัยที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าสำคัญสุดๆ ไปเลย นั้นก็คือคน เพราะทุกๆ บริษัทก็อยากได้คนที่เหมาะสมกับหน้าที่ที่สุดมาช่วยกันขับเคลื่อน ซึ่งความเหมาะสมกับหน้าที่ที่ว่าก็คือทักษะหรือสกิลนั้นเอง
ใครอยากเป็นได้แบบซอดัลมีหรือนัมโดซาน เราจะมาแนะนำสกิลต่างๆ ของตำแหน่งในทีมสตาร์ทอัพให้ได้รู้กัน ว่าการจะทำหน้าที่นั้นๆ ได้ ควรจะพัฒนาทักษะอะไรเพิ่มกันบ้าง
CEO
ตำแหน่งแรกเลยคือ CEO ตำแหน่งของ 2 พี่น้อง ซอดัลมี และวอนอินแจ ตำแหน่งนี้เรียกได้ว่าเป็นหัวเรือของบริษัทเลยทีเดียว เขาจะเป็นผู้ที่คอยดูแลทั้งเรื่องการขาย การหาทุน ทั้งคอยวางแผนในการพัฒนาบริษัท คอยจัดการความเรียบร้อยของทุกฝ่ายให้ทำงานด้วยกันได้อย่างดีและยังต้องเป็นคนที่คอยตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญๆ อีกด้วย
สกิลของ CEO นั้นจะค่อนไปทาง Soft Skill ซะมากกว่าเแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า Hard Skill ไม่จำเป็นต้องมี เพราะการที่ CEO มีความรู้ที่เจาะลึกมากขึ้นจะช่วยให้สามารถสื่อสารและเข้าใจวิธีการทำงานของคนในทีมได้มากกว่าเดิม ยิ่งการทำบริษัทเทคโนโลยี ยิ่งจำเป็นที่จะเข้าใจในสิ่งที่ทีมกำลังทำอยู่ และรู้ขีดความสามารถของทีม
แต่การรู้ลึกก็ไม่พอสำหรับ CEO เพราะตำแหน่งนี้ควรจะมีความรู้รอบตัวด้วย ต้องรู้ให้กว้าง อย่างในซีรีส์ ก็จะเห็นได้ต้ังแต่การคัดเลือก CEO เลย ว่าคนที่ได้นั้นจะต้องมีความรู้ ตอบคำถามถูกเป็นจำนวนมากก่อน ถึงจะมาเป็นได้ นอกจากนั้น CEO ต้องคอยอัพเดตข่าวสาร ความรู้ใหม่ๆ ตลอด เพื่อที่จะกำหนดแนวทางบริษัทให้ไปได้ถูกทาง ความพร้อมที่จะเรียนรู้จึงเป็นสิ่งแรกๆ ที่สำคัญสำหรับตำแหน่งนี้
และด้วย CEO จะต้องตัดสินใจตลอด ตำแหน่งนี้จึงจำเป็นต้องมีความเข้าอกเข้าใจคนในทีมรวมถึงตัวธุรกิจเป็นอย่างมาก เขาต้องรู้ว่าลูกค้าเป็นใคร ต้องการอะไร ซึ่งหลักการคิดสำคัญเลยที่ควรจะรู้เอาไว้สำหรับ CEO หรือใครที่อยากจะเป็น CEO แบบซอดัลมีและวอนอินแจคือ Design Thinking
ทำไมถึงควรรู้ นั่นก็เพราะ Design Thinking เรียกได้ว่าเป็นวิธีการคิดที่เหล่าบริษัทเทคยุคใหม่ให้ความสำคัญมาก ด้วยเทคโนโลยีมันเกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ การจะคิดค้น Innovation อะไรขึ้นมา ไม่ใช่ว่าคิดได้แล้วจะทำเลยแค่นั้น มันต้องไปดูว่าใครเป็นคนใช้ และคนใช้ต้องการสิ่งนั้นจริงๆ มั้ย ซึ่งหลัก Design Thinking ก็จะเป็น Framework ที่พาให้เราไปทำความเข้าใจผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น กระบวนการของ Design Thinking ไม่ได้ใช้แค่กับผู้ใช้งานเท่านั้น มันสามารถเอามาใช้กับทีม กับธุรกิจของเราก็ได้ เรียกว่าเป็นหลักการที่ครบ ควรเรียนรู้เอาไว้เป็นอย่างมาก (สิ่งที่คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Design Thinking)
อีกสกิลที่ขาดไม่ได้เลยของการเป็น CEO ที่ดีคือเรื่องของการจัดการ CEO นั้นจะต้องดูภาพรวมของทั้งบริษัท และคอยจัดการทั้งคนและจัดการระบบในการทำงาน เพราะไม่เช่นนั้นบริษัทก็คงจะไปไม่รอด ถ้าไม่มีคนคอยดูภาพรวมทั้งหมดอยู่
จริงๆ แล้วในบริษัทต่างๆ ก็จะมีอีกตำแหน่งหนึ่งที่มีหน้าที่ในการจัดการ ดูแลความคืบหน้าและความเรียบร้อย ที่คล้ายกับ CEO อยู่ เพียงแต่จะสเกลเล็กลงมากว่า คือดูแลแค่โปรดัก โปรดักหนึ่งไปเลย และไม่ต้องเป็นคนไปคุยหรือไปขายธุรกิจกับคนนอกแบบ CEO ทำ ตำแหน่งนั้นก็คือ Product Manager (PM) หรือจริงๆ จะบอกว่าเป็น CEO of Product ก็ว่าได้ เพราะเขาจะเป็นคนที่ดูแล รับผิดชอบทุกอย่างที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หนึ่งๆ ทั้งกระบวนการสร้าง การส่งมอบ การบริการ ความพึงพอใจของลูกค้า รวมถึงการสร้างคุณค่าให้กับบริษัทด้วย เรียกได้ว่าดูภาพรวมของโปรดักตัวนั้นๆ เหมือนเป็นเจ้าของไปแบบเต็มๆ เลย (5 เทคนิค PM ข้ามสาย)
ใครที่อยากจะเป็น CEO แต่ยังไม่ได้มีโอกาสนั้น ก็อาจจะลองฝึกจากการเป็น PM หรือ CEO of Product ดูก่อนก็ได้นะ แม้ว่าจะไม่ได้เหมือนกันซะทีเดียว แต่ก็เป็นการฝึก หลายๆ สกิลที่สามารถต่อยอดไปเป็นผู้บริหารที่ดีได้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการ การตัดสินใจ การวางแผน และความเป็นผู้นำไปในตัวด้วย
ใครที่สนใจตำแหน่งนี้ เรากำลังจะเปิดหลักสูตร Product Manager Bootcamp ด้วย หลักสูตร 10 สัปดาห์ ที่จะเทรนคุณอย่างเข้มข้น ให้คุณพร้อมเป็น PM ที่เก่งกาจเลย ถ้าใครสนใจ ลองลงชื่อไว้ก่อนได้ที่นี่เลย แล้วเราจะติดต่อไป รับรองคุ้มแน่
หรือใครที่อยากจะรู้หลักการคิด Design Thinking แต่ไม่รู้จะเริ่มจากไหน คุณมาถูกที่แล้ว เรามีคอร์ส Design Thinking ที่สอนโดยผู้ที่เชี่ยวชาญศิษย์เก่าจาก Stanford d.school เลย เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่นี่เลย
Developer
3 หนุ่ม Developer แห่ง ซัมซันเทค: นัมโดซาน คิมยงซาน และอีชอลซาน เรียกว่าเป็นตำแหน่งที่ขาดไม่ได้เลยจริงๆ สำหรับบริษัทเทคที่จะสร้าง Innovation เพราะเขาเหล่านี้คือมันสมองที่มาทำให้ภาพฝันธุรกิจออกมาเป็นจริงได้ โดย Developer นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ Front-end Developer, Back-end Developer และที่มาแรงในยุคนี้เลยคือ AI Developer
1. Front-End Developer จะเรียกง่ายๆ ก็คือหน้าบ้านนั้นเอง โดย Developer กลุ่มนี้จะเป็นผู้ที่สร้างและดูแล User Interface หรือสิ่งที่ผู้ใช้พบเมื่อเข้ามายังเว็บไซต์/แอปพลิเคชั่นของเรา เขาจะต้องคอยดูแล อัพเดต และแก้บัคส์ (Bugs) ด้วย ไม่ใช่แค่สร้างขึ้นมาเฉยๆ Developer กลุ่มนี้นอกจากต้องสร้างและดูแลหน้าบ้านแล้ว เขาก็จะต้องทำงานร่วมกับ Designer ด้วยเพราะเมื่อพูดถึงเรื่องความสวยความงามบนหน้าบ้าน ก็ต้องมีคนมาช่วยออกแบบอีกที (ตัวอย่างคนที่เปลี่ยนสายมาเป็น Front-end Developer)
โดยสกิลที่สำคัญในการเป็น Front-End Developer สำหรับ Web Development หลักๆ แล้วจะมี
- HTML (Hypertext Markup Language) หรือภาษาที่ใช้เขียนโครงสร้างของเว็บไซต์นั้นเอง เรียกได้ว่าเป็นกระดูกสันหลังของเว็บไซต์เลย
- CSS (Cascading Style Sheets) เป็นตัวที่สร้างความสวยงามให้กับเว็บไซต์ CSS ช่วยกำหนดองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสี, ตัวอักษร, ตำแหน่งต่างๆ และภาพด้วย
- JavaScript (JS) เป็นภาษาที่นิยมใช้มาก เพราะ JS มาช่วยทำให้เว็บไซต์สามารถสร้างลูกเล่นได้มากกว่าเดิม ซึ่งภาษา JS นั้นก็มี Framework แตกย่อยออกอีกหลายตัวไม่ว่าจะเป็น React.js , Vue.js หรือ Angular
ในส่วนของการพัฒนาแอปพลิเคชั่นก็จะมีระบบปฏิบัติการที่ต้องเขียนแยกจาก Web Development อีกอย่าง
- iOS โดยเขียนด้วยภาษา Obj-C หรือ Swift
- Android ภาษา Java หรือ Kotlin
หรือหากไม่ต้องการเสียเวลาเขียน Application แยกสำหรับลงทั้ง 3 platform (Web, iOS และ Android) ก็สามารถเลือกพัฒนา iOS และ Android พร้อม ๆ กันในโค้ดชุดเดียว (หรือที่เรียกว่า Hybrid Application) ผ่านเครื่องมืออย่าง Ionic ที่สามารถพัฒนาด้วยภาษา Web อย่าง HTML, CSS, JS และ Web Framework ได้เลย
10 ทักษะที่ Front-end Developer ควรมีกัน
2. Back End Developer หรือเรียกได้ว่าหลังบ้าน โดย Developer กลุ่มนี้ จะมีหน้าที่พัฒนาระบบ API (ระบบที่เชื่อมต่อ Server หนึ่งไปยังอีก Server หนึ่ง) สำหรับให้หน้าบ้านเรียกใช้ข้อมูล เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนฐานข้อมูล
โดยสกิลที่สำคัญๆ สำหรับ Back-End Developer จะเป็นเรื่องภาษาในการโปรแกรมมิ่ง ซึ่ง 2 ภาษาพื้นฐานเลยสำหรับใครที่อยากจะเริ่มใหม่ก็คือ JavaScript และ Python นอกจากนั้นก็จะมีภาษาอื่นๆ ที่ใช้อีกเช่น C#, PHP, Golang หรือ Ruby
นอกจากภาษา ก็จะมีเรื่องระบบในการจัดการข้อมูลหรือ Database ที่ชาว Back-End ต้องรู้เพราะพวกเขาจะต้องเป็นคนจัดการฐานข้อมูลหลังบ้านทั้งหมดด้วย
นอกจาก Front-End และ Back-End Developer แล้วก็จะมี Developer อีกประเภทหนึ่งที่เป็นที่ต้องการตัวเป็นอย่างมาก นั้นคือ Full-Stack Developer หรือจะเรียกง่ายๆ ก็คือเป็นนักพัฒนาที่สามารถทำได้ทั้ง Front-End และ Back-End ในคนเดียวเลย
Developer อีกกลุ่มที่เรียกว่ามาแรงสุดๆ ในยุคของข้อมูลก็คือ AI Developer โดย Developer กลุ่มนี้จะนำเอาข้อมูลต่างๆ มาสร้างโมเดลให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดตัดสินใจแทนมนุษย์ได้ เช่น Image recognition แบบที่ Samsan Tech พยายามทำ, Speech recognition, หรือการถามตอบแบบลำโพงของจีพยองนั้นเอง
โดยสกิลที่จำเป็นสำหรับคนที่สนใจ อย่างแรกเลยต้องเข้าใจเรื่อง Data ก่อน เพราะเราจะต้องเอา Data ไปป้อนให้กับคอมพิวเตอร์เรียน เพราะฉะนั้นเราก็ต้องเรียนก่อน เพื่อที่จะได้ไอเดียว่าเราเอา AI ไปทำอะไรได้บ้าง
เมื่อเข้าใจเรื่อง Data แล้วก็ถึงเวลาเรียนรู้เรื่อง Machine Learning ต่อเลย จะได้ทำได้เหมือน 3 หนุ่ม Samsan Tech
ใครที่อยากพัฒนาทักษะสาย Dev จะบอกว่า Skooldio นั้นเป๊ะมาก มีคอร์สให้ได้พัฒนาทักษะมากมายทั้งแบบ Online Course และแบบ Workshop เลย
ถ้าอยากพัฒนาทักษะสาย Front-End เราก็มีคอร์สเรียนออนไลน์ให้คนที่กำลังสนใจหลายคอร์สมากไม่ว่าจะเป็น
– Web Basics with HTML and CSS
– Modern JavaScript (ES6)
– Mastering Web Development with React
– Getting Started with Vue.js
– Android UI Design with XML
– Ionic
– Web Performance
ส่วนใครที่สนใจสกิล Back-end เราก็มีเช่นกัน
– Microservices
– Deploying Applications with Kubernetes Best Practices
– Automating Your Data Pipelines with Apache Airflow
หรือถ้าเป็น AI Developer ก็ได้เหมือนกัน
– Intro to Data Science
หรือจะเป็นทักษะด้าน Machine Learning ซึ่งสอนโดย Google Developer Expert ด้าน Machine Learning เลย แถมฟรีด้วย มีทั้งหมด 5 ตอน
– Intro to Deep Learning and TensorFlow
– Deep Learning For Images
– Deep Learning For Text
– Reinforcement Learning
– Generative Models
Designer
จองซาฮา Designer ตำแหน่งที่ขาดไม่ได้อีกตำแหน่งหนึ่ง เพราะเขาจะเป็นผู้บันดาลความสวยงามให้กับทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้ใช้งานจะเห็น ทุกๆ Touchpoint จะถูกคิดและออกแบบโดย Designer มาก่อนทั้งนั้น ซึ่ง Designer ในบริษัทเทคนั้น จริงๆ สามารถแบ่งความถนัดได้เป็น 2 กลุ่มเช่นเดียวกับ Developer แต่ Designer บางคนก็อาจจะทำควบไปเลยก็ได้
กลุ่มแรกเลยคือ UX Designer หรือ User Experience Designer กลุ่มนี้จะว่าด้วยประสบการณ์ของผู้ใช้งาน โดยนอกจากจะดูเรื่องความสวยงามแล้ว UX Designer จะต้องลงลึกไปถึงความรู้สึกของผู้ใช้งาน ความสะดวกของผู้ใช้งาน และคอยแก้ปัญหาเรื่องประสบการณ์ทั้งหมดที่ผู้ใช้จะพบกับการใช้โปรดัก เพราะฉะนั้น UX Designer จึงจำเป็นต้องเข้าใจพฤติกรรมของคนใช้ให้มากที่สุด เพื่อที่จะมาออกแบบโปรดักได้ถูกใจผู้ใช้ (รู้จัก 5 ตำแหน่งที่ UX Designer ต้องทำงานด้วย)
กลุ่มที่สองคือ UI Designer หรือ User Interface Designer กลุ่มนี้จะรับผิดชอบเรื่องความสวยงาม สี ขนาด องค์ประกอบต่างๆ ของโปรดักเพื่อทำให้ User นั้นได้เกิด Experience ตามแบบที่ UX ได้ออกแบบมา
สกิลที่สำคัญสำหรับ Designer ก็แบ่งตามประเภทของ Designer เลยคือ User Experience และ User Interface ซึ่งเราก็มีคอร์สสอนให้สำหรับใครที่อยากเริ่มต้นใหม่ทั้งคู่ด้วย
สำหรับ UX เรามีคอร์ส UX Foundation และคอร์ส Psychology and UX คอร์สที่คนสนใจจะเป็น Designer ควรจะรู้เอาไว้ด้วย เพราะการออกแบบเพื่อสร้างประสบการณ์นั้น ต้องอาศัยจิตวิทยาเข้ามาช่วยอย่างมาก เราจึงมีคอร์สนี้มาให้ครบสำหรับคนอยากเริ่มต้นใหม่ และตอนนี้กำลังเปิดให้ลงทะเบียนเรียนอยู่ด้วย เข้าไปดูรายละเอียดเวิร์คชอป Psychology and UX ได้ที่นี่
สำหรับ UI เราก็มีคอร์สเรียน Intensive UI ที่กำลังเปิดอยู่เหมือนกัน เข้าไปดูรายละเอียดเวิร์คชอป Intensive UI ได้เลยที่นี่เลย
Investor
ฮันจีพยอง กับตำแหน่งพระเอก เอ้ย Investor เป็นอีก 1 คนที่สำคัญสุดๆ ไปเลยเพราะเขาจะเป็นผู้ช่วยผลักให้ Startup เติบโตเป็นผู้นำในตลาดได้นั้นเอง
สำหรับ Investor นั้น นอกจากต้องมีเงินแล้ว ก็ต้องมีความรู้เรื่องธุรกิจเป็นอย่างดี เพื่อที่จะมองให้ออกว่าธุรกิจไหนจะสามารถเติบโตได้ เหมือนกับฮันจีพยองที่ไม่มีบริษัทไหนที่เขาไม่ลงเงิน เติบโตเป็นบริษัทชั้นนำ
ได้เลย
สำหรับ Investor นั้น เราเชื่อว่าคนกลุ่มนี้ต้องเป็นคนที่ประสบความสำเร็จอยู่แล้วในระดับหนึ่ง แต่การจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จได้คือคนที่พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา และเมื่อพูดถึงความรู้แล้ว มันมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นในโลกตลอดเวลา การเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีวันสิ้นสุด
สำหรับท่านไหนที่ต้องการจะหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เราก็มีโครงการ Digital Leadership Bootcamp หลักสูตรสำหรับผู้นำในยุคดิจิทัล หลักสูตรที่จะทำให้คุณเข้าใจธุรกิจในยุคใหม่มากกว่าเดิม พร้อมให้ลองลงมือทำกิจกรรมให้เกิดความเข้าใจ เพื่อสามารถนำไปใช้ได้จริง ใครที่สนใจสามารถลงชื่อติดตาม Digital Leadership Bootcamp เอาไว้ก่อนได้เลย
หรือถ้าอยากให้เราไปช่วยพัฒนาทักษะให้กับคนในองค์กรของคุณ ก็ทำได้เช่นกัน
แต่ถ้าหาก Investor ท่านไหนที่รู้สึกอัดอั้นอยากจะถ่ายทอดวิชาให้กับคนได้รู้ ท่านก็สามารถมาเป็น Instructor กับเราได้ด้วย ติดต่อเรามาที่อีเมล hello@skooldio.com ได้เลย